Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ลำดับชั้นหลักฐาน
ลำดับชั้นหลักฐาน (อังกฤษ: Evidence hierarchies) สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือโดยเปรียบเทียบของงานวิจัยทางชีวเวช (biomedical research) ประเภทต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีลำดับชั้นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ว่า ก็ยังมีมติร่วมกันอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงานวิจัยประเภทหลัก ๆ คือ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) น่าเชื่อถือกว่างานศึกษาแบบสังเกต (observational studies) ในขณะที่ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ (expert opinion) และหลักฐานโดยเรื่องเล่า (anecdotal evidence) น่าเชื่อถือน้อยที่สุด ลำดับชั้นหลักฐานบางอย่างจะถือว่าการปริทัศน์เป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์อภิมาน (meta analysis) น่าเชื่อถือกว่า RCT เพราะว่างานเหล่านี้มักจะรวบรวมข้อมูลจาก RCT หลาย ๆ งาน และจากงานประเภทอื่น ๆ ด้วย ลำดับชั้นหลักฐานเป็นเรื่องสำคัญของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine)
มีคำวิจารณ์ว่าลำดับชั้นหลักฐานแบบต่าง ๆ ให้ความเชื่อถือแก่ RCT มากเกินไป เพราะว่า ปัญหางานวิจัยทั้งหมดไม่สามารถตอบได้โดยใช้ RCT เพราะว่า เป็นงานที่ทำได้ยาก หรือเพราะมีปัญหาทางจริยธรรม นอกจากนั้นแล้ว แม้ว่าจะมีหลักฐานจาก RCT ที่มีคุณภาพสูง แต่หลักฐานจากงานวิจัยประเภทอื่น ๆ ก็ยังอาจจะสำคัญ
มีนักวิชาการท่านหนึ่งเสนอว่า
น้ำหนักความน่าเชื่อถือของงานวิจัยประเภทต่าง ๆ (คือ ลำดับชั้นหลักฐาน) เมื่อต้องตัดสินใจทำการรักษา จะให้ลำดับดังต่อไปนี้ คือ
- การปริทัศน์เป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมาน ของ "RCT ที่มีผลชัดเจน".
- การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีผลชัดเจน คือมีช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) ที่ไม่คาบเกี่ยวกับค่าขีดเริ่มต้นของผลที่จัดว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก
- การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีผลไม่ชัดเจน คือมีช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) ที่คาบเกี่ยวกับค่าขีดเริ่มต้นของผลที่จัดว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก (ซึ่งก็คือ ผลที่ได้จากวิธีการรักษามีค่าต่ำจนกระทั่งไม่ชัดเจนว่า มีผลจริง ๆ หรือไม่)
- งานศึกษาตามรุ่น (Cohort studies)
- งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (Case-control studies)
- งานศึกษาแบบข้ามกลุ่ม (Cross-sectional study)
- รายงานเค้ส (Case reports)
แหล่งข้อมูลอื่น
-
Concato J (2004-07). "Observational versus experimental studies: what's the research for a hierarchy?". NeuroRx. 1 (3): 341–7. doi:10.1602/neurorx.1.3.341. PMC 534936. PMID 15717036.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
- เว็บไซต์
- School of Health and Related Research, University of Sheffield, "Hierarchy of evidence". http://www.shef.ac.uk/scharr/ir/units/systrev/hierarchy.htm เก็บถาวร 2009-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 2008-03-31.
- The American Society for Experimental NeuroTherapeutics, Inc, "Observational Versus Experimental Studies: What’s the Evidence for a Hierarchy?"
Biomedical research: Clinical study design / Design of experiments
| |
---|---|
Overview | |
Controlled study (EBM I to II-1; A to B) |
|
งานศึกษาแบบสังเกต (EBM II-2 to II-3; B to C) |
|
วิทยาการระบาด/ methods |
|
Trial/test types | |
Analysis of clinical trials | |
Interpretation of results | |