Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
วัคซีน rVSV-ZEBOV

วัคซีน rVSV-ZEBOV

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
วัคซีน rVSV-ZEBOV
Ebola virus em.png
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้า เออร์เวโบ (Ervebo)
ชื่ออื่น V920
AHFS/Drugs.com Professional Drug Facts
ข้อมูลทะเบียนยา
ช่องทางการรับยา ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
รหัส ATC
  • None
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • US: ℞-only
  • In general: ℞ (Prescription only)
ตัวบ่งชี้
DrugBank
ChemSpider
  • none
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

วัคซีน rVSV-ZEBOV (อังกฤษ: Recombinant vesicular stomatitis virus-Zaire Ebola virus, rVSV-ZEBOV vaccine, Ebola Zaire vaccine live หรือ V920 vaccine มีตัวย่อ rVSV-ZEBOV) มีชื่อการค้าว่า Ervebo (เออร์เวโบ) เป็นวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคไวรัสอีโบลาอันมีเหตุจากไวรัสอีโบลาแซร์ (เรียกสั้น ๆ ว่า ไวรัสอีโบลา) เมื่อใช้กับคนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) rVSV-ZEBOV พบว่าช่วยป้องกันการระบาดโรคในระดับสูง ราว ๆ ครึ่งหนึ่งของผู้ได้วัคซีนจะมีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ตั้งแต่เบา ๆ จนถึงปานกลางรวมทั้งปวดหัว ล้า และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

rVSV-ZEBOV เป็นวัคซีนไวรัสมีดีเอนเอลูกผสม (recombinant DNA) ที่ไวรัสยังสามารถถ่ายแบบดีเอนเอต่อได้ (replication-competent) ประกอบด้วยไวรัส VSV (vesicular stomatitis virus) ในวงศ์ย่อย Rhabdoviridae ซึ่งก่อโรคปากอักเสบเป็นตุ่มพอง (vesicular stomatitis) ในสัตว์โดยไวรัสได้ผ่านพันธุวิศวกรรมให้แสดงออกไกลโคโปรตีนของไวรัสอีโบลาเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อไวรัสอีโบลา

วัคซีนได้รับอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหภาพยุโรปและสหรัฐในปี 2019 นักวิทยาศาสตร์แคนาดาที่แหล็บจุลชีววิทยาแห่งชาติแคนาดา (NML) ซึ่งเป็นส่วนของสำนักงานสาธารณสุขแห่งชาติแคนาดา (PHAC) ได้สร้างวัคซีนนี้ขึ้น PHAC ได้ให้สิทธิอนุญาตแก่บริษัทเล็ก ๆ คือนิวลิงก์เจเนติกส์ (NewLink Genetics) เพื่อพัฒนาวัคซีน ผู้ต่อมาให้สิทธิอนุญาตแก่บริษัทยักษ์ใหญ่คือ เมอร์ค ในปี 2014 วัคซีนได้ใช้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเมื่อโรคไวรัสอีโบลาระบาดในปี 2018 แล้วต่อมาใช้อย่างกว้างขวางในการระบาดทั่วของอีโบลาในคีวู พ.ศ. 2561–62 (ติดกับทะเลสาบคีวู) คือได้ให้วัคซีนแก่คน 9 หมื่นคน

การแพทย์

คนเกือบ 800 คนได้รับวัคซีน VSV-EBOV เป็นมาตรการฉุกเฉินโดยให้คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) เมื่อไวรัสอีโบลาได้ระบาดในประเทศกินีปี 2016 ในปี 2017 เมื่อโรคไวรัสอีโบลาเกิดระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กระทรวงสาธารณสุขของประเทศก็อนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นมาตรการฉุกเฉิน แม้จะไม่ได้ให้วัคซีนโดยทันที

ประสิทธิผล

ในเดือนเมษายน 2019 หลังจากให้วัคซีนเป็นจำนวนมากเมื่อโรคระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก องค์การอนามัยโลกได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเบื้องต้น โดยร่วมงานกับสถาบันงานวิจัยชีวเวชแห่งชาติของประเทศ เกี่ยวกับประสิทธิผลของโปรแกรมให้วัคซีนแบบให้คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) และกล่าวว่า วัคซีน rVSV-ZEBOV-GP มีประสิทธิผลระงับการระบาดของไวรัสอีโบลาในอัตราร้อยละ 97.5 เทียบกับเมื่อไม่ให้วัคซีน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงรวมทั้งปวดหัว เป็นไข้ ล้า ปวดเมื่อยข้อและกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ข้ออักเสบ ผื่น และเหงื่อออกผิดปกติ ส่วนปัญหาเฉพาะที่ฉีดยารวมทั้งเจ็บปวดและบวมแดง

เคมีชีวภาพ

rVSV-ZEBOV เป็นไวรัส VSV (vesicular stomatitis virus) ที่มีดีเอ็นเอลูกผสม (recombinant DNA) โดยลดความรุนแรง (attenuated) และยีนไกลโคโปรตีนหุ้มไวรัสธรรมชาติ คือ P03522 ได้แทนที่ด้วยยีน P87666 ของไวรัสอีโบลาสายพันธุ์ Kikwit 1995 Zaire strain บริษัทสวิส IDT Biologika เป็นผู้ผลิตวัคซีนเพื่อการทดลองระยะที่ 1 บริษัทเมอร์คเป็นผู้ผลิตวัคซีนเพื่อการทดลองระยะที่ 3 โดยใช้เซลล์เวโร (Vero cell) ที่บริษัทได้ใช้อยู่แล้วเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรตาไวรัส

ประวัติ

บริเวณที่ "ไวรัสอีโบลาแอฟริกาตะวันตก" ได้เริ่มต้นแล้วติดต่อในประเทศข้างเคียง ในที่สุดทำให้คนติดโรค 28,000 รายโดยร้อยละ 45 เสียชีวิต

สำนักงานสาธารณสุขแห่งชาติแคนาดา (PHAC) ได้สร้างวัคซีนนี้ขึ้นและ PHAC ก็ได้สิทธิบัตรในปี 2003 ระหว่างปี 2005-2009 มีการทดลองในสัตว์ 3 งานที่ได้ตีพิมพ์ ทั้งหมดได้ทุนจากรัฐบาลแคนาดาและสหรัฐ ในปี 2005 การฉีดวัคซีน EBOV หรือ MARV ในกล้ามเนื้อครั้งหนึ่งพบว่า ทำให้ภูมิคุ้มกันในลิงแสมตอบสนองโดยมีผลป้องกันอย่างสมบูรณ์ต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบลา (EBOV) และไวรัสมาร์บวร์ค (MARV) เฉพาะโรค ๆ ที่ปกติทำให้ถึงตาย

ในปี 2010 PHAC ได้ให้สัญญาอนุญาตทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับวัคซีนแก่บริษัทสหรัฐเล็ก ๆ คือ Bioprotection System ซึ่งเป็นบริษัทสาขาของนิวลิงก์เจเนติกส์ โดยได้เงินตอบแทน 205,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.7 ล้านบาท) และค่าสิทธิในอัตราร้อยละที่เป็นเลขโดดน้อย ๆ บริษัทนิวลิงก์ได้ทุนมาจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (จากสำนักงาน Defense Threat Reduction Agency) เพื่อพัฒนาวัคซีนหลายอย่าง

การระบาดใหญ่สุดของไวรัสอีโบลาได้เกิดในเดือนธันวาคม 2013 ในประเทศกินีในแอฟริกาตะวันตก วันที่ 12 สิงหาคม องค์การอนามัยโลกตัดสินว่า การให้วัคซีน RVSV-ZEBOV (ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ทดสอบในมนุษย์) แก่ผู้ติดไวรัสอีโบลาเป็นเรื่องถูกจริยธรรม รัฐบาลแคนาดาจึงได้บริจาควัคซีน 500 เข็มต่อองค์การ จนถึงเดือนตุลาคม 2014 บริษัทนิวลิงก์ก็ยังไม่ได้ผลิตวัคซีนและก็ไม่มีแผนทดลองในมนุษย์ จึงมีการร้องให้รัฐบาลแคนาดาบอกเลิกสัญญา นิวลิงก์จึงได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการจากองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้ง PHAC, สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐและองค์การอนามัยโลก เพื่อวางแผนการทดลองทางคลินิกของวัคซีน

ในเดือนตุลาคม 2014 นิวลิงก์ก็เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะ 1 ของวัคซีนในอาสาสมัครผู้มีสุขภาพดีเพื่อประเมินการตอบสนองของภูมิต้านทาน ระบุผลข้างเคียง และกำหนดขนาดยา ซึ่งทำในประเทศกาบอง เคนยา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ และแคนาดา ในเดือนพฤศจิกายน 2014 บริษัทได้ให้อนุญาตผูกขาดของวัคซีนแก่บริษัทเมอร์ค โดยได้เงินตอบแทน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,600 ล้านบาท) บวกค่าสิทธิ

งานศึกษาระยะ 1 เริ่มด้วยขนาดสูงซึ่งเป็นเหตุเกิดข้ออักเสบและปฏิกิริยาทางผิวหนังในคนบางพวก และก็พบไวรัสของวัคซีนที่ไขข้อของคนที่มีปัญหา การทดลองจึงยุติเพราะเหตุนั้น แล้วแนะนำให้ใช้ขนาดน้อยกว่า

ในเดือนมีนาคม 2015 การทดลองทางคลินิกระยะ 2 และระยะ 3 จึงเริ่มในประเทศกินีพร้อม ๆ กัน การทดลองระยะ 2 มุ่งที่แพทย์พยาบาลผู้ทำงานกับผู้ติดโรค ในขณะที่การทดลองระยะ 3 ให้วัคซีนแก่คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) รายงานขององค์การอนามัยโลกปี 2015 ในวารสารเดอะแลนซิตเสนอว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ (efficacy) สูง จึงยกเลิกกลุ่มควบคุมเพราะเหตุทางจริยธรรม และจะขยายจำนวนอาสาสมัคร แต่รายงานในวารสารเดอะแลนซิตปี 2018 ต่อมาก็ได้ตั้งข้อสงสัยในรูปแบบการทดลองและประสิทธิศักย์สูงที่พบในงานศึกษานี้

ในเดือนมกราคม 2016 องค์กรพันธมิตรวัคซีน GAVI Alliance ได้เซ็นสัญญากับบริษัทเมอร์ค ซึ่งเมอร์คได้ตกลงจะให้วัคซีน VSV-EBOV แก่องค์กรเมื่อไวรัสอีโบลาเกิดระบาดในอนาคต โดยได้เงินตอบแทน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 176 ล้านบาท) ซึ่งบริษัทจะใช้ทำการทดลองทางคลินิกและยื่นเรื่องให้องค์กรควบคุมเพื่ออนุมัติวัคซีน ในเวลาเดียวกัน บริษัทได้ยื่นเรื่องแก่องค์การอนามัยโลกตามโปรแกรม Emergency Use Assessment and Listing (EUAL) เพื่อให้สามารถใช้วัคซีนได้เมื่อเกิดโรคระบาด ซึ่งก็ได้ใช้เป็นมาตรการฉุกเฉินในประเทศกินีในเดือนมีนาคม 2016 การทดลองระยะ 3 ในประเทศกินีต่อมาจึงได้ตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม 2016 ซึ่งสื่อได้เผยแพร่อย่างกว้างขวางว่า วัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเกือบเต็มร้อย แม้ในเวลานั้นก็ยังไม่มีวางขายทั่วไปในตลาด

ในเดือนเมษายน 2017 คณะกรรมการแพทยศาสตรบัณฑิตยสถานแห่งชาติสหรัฐ (NAM) ได้ตีพิมพ์งานทบทวนการรับมือกับการระบาดของไวรัสอีโบลา โดยกล่าวถึงว่า วัคซีนแคนดิเดตได้คัดเลือกเพื่อทดลองทางคลินิกด้วยวิธีเช่นไร ได้ออกแบบการทดลองและดำเนินการอย่างไร และทบทวนข้อมูลที่ได้จากการทดลอง คณะกรรมการพบดว่า ข้อมูลที่ได้จากการทดลองในประเทศกินีระยะ 3 ตีความได้ยากเพราะเหตุหลายอย่าง รวมทั้งการทดลองไม่มีกลุ่มที่ใช้ยาหลอก เพราะได้เว้นไปเพราะเหตุทางจริยธรรมโดยที่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคณะกรรมการเองด้วยก็เห็นด้วยกับการตัดสินใจที่ทำ จึงเหลือแต่กลุ่มที่ให้วัคซีนทีหลังเป็นกลุ่มควบคุม แต่กลุ่มนี้ก็เลิกไปเช่นกันหลังจากการวิเคราะห์ในระหว่างานพบว่าวัคซีนให้ผลป้องกันในระดับสูง จึงทำให้ผลการทดลองไม่มีกำลังทางสถิติ คณะกรรมการพบว่า ถ้าวิเคราะห์ด้วยวิธี intention-to-treat analysis (การวิเคราะห์ความตั้งใจจะรักษา) วัคซีน rVSV-ZEBOV อาจไม่มีประสิทธิศักย์เลย แต่ก็เห็นด้วยกับผู้ทำงานศึกษาในเดือนธันวาคม 2016 ว่า ยาน่าจะมีประสิทธิศักย์บางส่วน แต่ก็ลงความเห็นว่า ข้ออ้างว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์มากหรือ 100% ไม่มีหลักฐาน

ในเดือนเมษายน 2019 หลังจากได้ติดตามการให้วัคซีนคนรอบข้างผู้ติดโรคในการระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผลเบื้องต้นแสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิผลระงับการระบาดของอีโบลาร้อยละ 97.5 เทียบกับเมื่อไม่ได้ให้วัคซีน ในเดือนกันยายน 2019 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้รับใบสมัครอนุญาตเวชภัณฑ์ทางชีวภาพ (Biologics License Application) เพื่อทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนอย่างรีบด่วน

ในเดือนตุลาคม 2019 สำนักงานเวชกรรมยุโรป (EMA) ได้แนะนำให้อนุญาตวางตลาดอย่างมีเงื่อนไข (conditional marketing authorization) แก่วัคซีน rVSV-ZEBOV-GP ในเดือนพฤศจิกายน 2019 คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้อนุมัติให้อนุญาตวางตลาดอย่างมีเงื่อนไขแก่วัคซีนเออร์เวโบ และองค์การอนามัยโลกก็ได้รับรองวัคซีนอีโบลาล่วงหน้า (prequalified) เป็นครั้งแรก

ในเดือนธันวาคม 2019 เออร์เวโบก็อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐ การอนุมัติให้ใช้สำหรับสำหรับบุคคลอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่าได้หลักฐานจากงานศึกษาในประเทศกินีเมื่อโรคระบาดในปี 2014-2016 เป็นงานศึกษาแบบสุ่มที่คนข้างเคียงผู้ยืนยันทางแหล็บว่าได้ติดโรคไวรัสอีโบลา และคนข้างเคียงของคนข้างเคียงอีกทีหนึ่งรวมกัน 3,537 คนได้รับวัคซีนเออร์เวโบ "ทันที" หรือ "ช้าไป 21 วัน" การออกแบบที่น่าสนใจนี้มุ่งระบุเครือข่ายสังคมและตำแหน่งที่อยู่ซึ่งอาจเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน ของคนไข้เมื่อมีอาการของโรค หรือครอบครัวที่ได้มาพบเจอกับคนไข้ในช่วงที่ป่วยหรือตาย เมื่อเทียบกรณีคนติดโรคในบรรดา 2,108 คนผู้ได้วัคซีนทันที กับคนอีก 1,429 คนที่ได้วัคซีนแบบล่าช้า เออร์เวโบพบว่ามีประสิทธิผลเต็มร้อยในการป้องกันกรณีโรคอีโบลาที่เกิดอาการ 10 วันหรือยิ่งกว่าหลังได้วัคซีน คือไม่มีคนได้วัคซีนที่เกิดอาการหลัง 10 วันจากวันที่ได้วัคซีนในกลุ่มที่ได้ทันที เทียบกับกรณีติดโรค 10 คนในกลุ่มที่ได้วัคซีนล่าช้าไป 21 วัน

ในงานศึกษาต่อ ๆ มา การตอบสนองของร่างกายทางสารภูมิต้านทานเหตุเออร์เวโบได้ประเมินในคนประเทศไลบีเรีย 477 คน บวกอีกประมาณ 500 คนในเซียร์ราลีโอน บวกอีกประมาณ 900 คนในแคนาดา สเปน และสหรัฐ แล้วพบว่า การตอบสนองทางภูมิต้านทานในคนประเทศแคนาดา สเปน และสหรัฐก็คล้ายกับบุคคลในไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน ความปลอดภัยของวัคซีนได้ประเมินกับคนประมาณ 15,000 คนในแอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ ผลข้างเคียงมากสุดก็คือจุดที่ฉีดเจ็บหรือบวมแดง ปวดหัว เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ และล้า องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนเออร์เวโบแก่บริษัทเมอร์ค ต่อมาบริษัทจึงยุติการพัฒนาวัคซีนแบบ rVSV ที่เกี่ยวข้องกันสำหรับไวรัสมาร์บวร์ค (rVSV-MARV) และไวรัสอีโบลาซูดาน (rVSV-SUDV) แล้วคืนสิทธิสำหรับวัคซีนเหล่านี้แก่ PHAC แต่ความรู้ในการพัฒนาวัคซีน rVSV ที่บริษัทได้ด้วยทุนของ GAVI ก็ยังเป็นของบริษัทที่คนอื่นไม่สามารถใช้เพื่อพัฒนาวัคซีน rVSV อื่น ๆ ได้

โรคไวรัสอีโบลาในปี 2018

การระบาดของไวรัสอีโบลาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกปี 2018

เมื่อไวรัสอีโบลาได้ระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเดือนพฤษภาคม 2018 ก็ได้ใช้วัคซีน ZEBOV การติดตามคนผู้สัมผัสกับผู้ติดโรค 1,706 คน (แล้วได้ให้วัคซีนแก่คนรอบข้างผู้ติดโรคเป็น ring vaccination จำนวน 3,330 คน) ในที่สุดก็ไม่เหลือผู้ติดโรคเลยเมื่อถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2018 หลังจากกำหนด 42 วันที่ไม่มีใครติดโรคใหม่เลย การระบาดก็จัดว่ายุติในวันที่ 24 กรกฎาคม

การระบาดของไวรัสอีโบลาที่เขตคีวู

ในวันที่ 1 สิงหาคม โรคไวรัสอีโบลาได้เกิดระบาดในเขตคีวูเหนือในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หลังจาก 6 เดือน จำนวนคนติดโรค (รวมทั้งที่น่าจะเป็นและสงสัย) รวม 1,615 คนโดยเสียชีวิต 930 คน โดยเหตุการณ์ความรุนแรงในเขตนี้ได้ช่วยกระจายไวรัส

ผลงานเบื้องต้นแสดงว่า การให้วัคซีนแก่คนรอบข้างผู้ติดโรค (ring vaccination) มีประสิทธิผลลดการระบาดของโรคอย่างดียิ่ง

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение