Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

วัคซีนโควิด-19

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
อัตราประชากรที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสแล้วในประเทศต่าง 
แผนที่แสดงการอนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิดในประเทศต่าง 
  อนุญาตให้ใช้ทั่วไป กำลังให้วัคซีนเป็นจำนวนมาก
  อนุญาตให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน (EUA) กำลังให้วัคซีนเป็นจำนวนมาก
  อนุญาตให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน (EUA) มีแผนจะให้วัคซีนเป็นจำนวนมาก

วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวัคซีนที่มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโคโรนาที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 โดยก่อนที่จะเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 ได้มีความพยายามในการพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคไวรัสโคโรนาชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส หรือ SARS) และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส หรือ MERS) มาอย่างต่อเนื่อง ความพยายามเหล่านี้ได้สะสมความรู้พอสมควรเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของไวรัสโคโรนา ซึ่งได้ช่วยให้การพัฒนาเทคโนโลยีวัคซีนโควิดต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นปี 2020 ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2020 ซึ่งมีการเผยแพร่ลำดับยีนผ่านจีเซด (GISAID) และ ณ วันที่ 19 มีนาคม อุตสาหกรรมยาทั่วโลกก็ได้ประกาศคำมั่นสัญญาที่จะทำการเพื่อจัดการโรค วัคซีนโควิด-19ได้เครดิตโดยทั่วไปว่าช่วยลดการติดต่อ ความรุนแรง และอัตราการตายเนื่องกับโรค

ในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 วัคซีนหลายชนิดสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการโดยมีประสิทธิศักย์สูงถึงร้อยละ 95 ณ เดือนกรกฎาคม 2021 มีวัคซีน 20 ชนิดที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในประเทศอย่างน้อย 1 ประเทศรวมทั้งวัคซีนอาร์เอ็นเอ 2 ชนิด (ไฟเซอร์และโมเดอร์นา), วัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย 9 ชนิด (BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม, วัคซีนของ Chinese Academy of Medical Sciences, ซิโนแว็ก, โคแว็กซินของภารัตไบโอเทค, CoviVac ของ Chumakov Centre, COVIran Barakat ของ Shifa Pharmed Industrial Group, Minhai-Kangtai (KCONVAC), QazVac ของ Research Institute for Biological Safety Problems และ WIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม) วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นเวกเตอร์ 5 ชนิด (สปุตนิกไลท์และสปุตนิกวีของสถาบันวิจัยกามาเลีย, แอสตร้าเซนเนก้า, Ad5-nCoV ของแคนซิโนไบโอลอจิกส์ และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน) และวัคซีนหน่วยย่อยโปรตีนของไวรัสโควิด-19 จำนวน 4 ชนิด (Abdala ของ Center for Genetic Engineering and Biotechnology, EpiVacCorona ของสถาบันเวกตอร์, Soberana 02 ของ Finlay Institute และ ZF2001 ของ Anhui Zhifei Longcom) มีวัคซีนแคนดิเดตซึ่งได้เข้าสู่การวิจัยเพื่อใช้รักษาแล้ว 330 ชนิด ในจำนวนนี้ 30 ชนิดกำลังทดลองในระยะที่ 1, 30 ชนิดในระยะที่ 1-2, 25 ชนิดในระยะที่ 3 และ 8 ชนิดในระยะที่ 4

ประเทศต่าง ๆ มีแผนแจกจำหน่ายวัคซีนโดยจัดลำดับการให้ตามกลุ่มที่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้สูงอายุ และกลุ่มที่เสี่ยงติดแล้วแพร่โรค เช่น บุคลากรทางแพทย์ มีประเทศที่กำลังพิจารณาฉีดวัคซีนเพียงโดสเดียวในเบื้องต้นเพื่อขยายฉีดวัคซีนแก่ประชาชนให้มากที่สุดจนกว่าจะมีวัคซีนพอ

จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2021 องค์กรสาธารณสุขรวม ๆ กันทั่วโลกรายงานว่า ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ถึง 5,000 ล้านโดสแล้ว ผู้ผลิตวัคซีนได้ระบุจำนวนโดสวัคซีนที่จะสามารถผลิตในปี 2021 ไว้ดังนี้ ออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า 3,000 ล้านโดส, ไฟเซอร์}-ไบออนเทค 1,300 ล้านโดส ผู้ผลิตสปุตนิกวี ซิโนฟาร์ม ซิโนแว็ก และจอห์นสันแอนด์จอห์นสันรายละ 1,000 ล้านโดส โมเดอร์นา}}ตั้งเป้าผลิต 600 ล้านโดส และแคนซิโนไบโอลอจิกส์ 500 ล้านโดส แต่จนถึงเดือนธันวาคม 2020 ประเทศต่าง ๆ ก็ได้สั่งวัคซีนล่วงหน้าเกิน 10,000 ล้านโดสแล้ว โดยครึ่งหนึ่งเป็นประเทศรายได้สูงแม้จะมีประชากรเพียงร้อยละ 14 ของโลก เพราะความต้องการวัคซีนสูงเยี่ยงนี้ในช่วงปี 2020–21 ประชาชนของประเทศกำลังพัฒนาที่จัดว่ามีรายได้น้อยอาจไม่ได้รับวัคซีนจากผู้ผลิตเหล่านี้จนถึงปี 2023 หรือ 2024 จึงทำให้โปรแกรมโคแว็กซ์จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ส่งวัคซีนได้ทั่วถึงกันทั่วโลก

การกระจายวัคซีนโควิด-19 แบ่งตามประเทศและดินแดน
(ณ วันที่ 17 มีนาคม 2566)
ประเทศและดินแดน รับวัคซีนแล้ว % ประชากร
 Emojione 1F310.svg โลก 5,559,040,130 ุ69.70%
Flag of the People's Republic of China.svg จีน 1,310,292,000 91.89%
Flag of India.svg อินเดีย 1,027,384,975 72.50%
Flag of Europe.svg สหภาพยุโรป 338,160,884 75.12%
Flag of the United States.svg สหรัฐ 269,650,596 81.22%
Flag of Indonesia.svg อินโดนีเซีย 203,657,535 73.92%
Flag of Brazil.svg บราซิล 189,603,842 88.06%
Flag of Pakistan.svg ปากีสถาน 162,881,618 69.07%
Flag of Bangladesh.svg บังกลาเทศ 151,206,039 88.33%
Flag of Japan.svg ญี่ปุ่น 104,686,063 84.46%
Flag of Mexico.svg เม็กซิโก 97,179,493 76.22%
Flag of Vietnam.svg เวียดนาม 90,485,463 92.16%
Flag of Russia.svg รัสเซีย 88,637,093 61.25%
Flag of Nigeria.svg ไนจีเรีย 79,248,347 36.26%
Flag of the Philippines.svg ฟิลิปปินส์ 78,484,848 67.92%
Flag of Iran.svg อิหร่าน 65,159,767 73.58%
Flag of Germany.svg เยอรมนี 64,873,989 77.81%
Flag of Turkey.svg ตุรกี 57,941,051 67.89%
Flag of Thailand.svg ไทย 57,005,497 79.62%
Flag of Egypt.svg อียิปต์ 55,155,346 49.69%
Flag of France.svg ฝรั่งเศส 54,662,907 80.61%
Flag of the United Kingdom (1-2).svg สหราชอาณาจักร 53,806,963 79.97%
Flag of Italy.svg อิตาลี 50,887,501 86.20%
Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้ 44,828,388 86.51%
Flag of Ethiopia.svg เอธิโอเปีย 44,695,420 37.16%
Flag of Colombia.svg โคลอมเบีย 42,959,468 82.81%
Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา 41,479,690 91.14%
Flag of Spain.svg สเปน 41,343,396 86.93%
Flag of Myanmar.svg พม่า 34,777,314 64.64%
Flag of Canada.svg แคนาดา 34,763,194 90.40%
Flag of Tanzania.svg แทนซาเนีย 33,954,133 51.84%
Flag of Peru.svg เปรู 30,356,472 89.15%
Flag of Malaysia.svg มาเลเซีย 28,131,787 82.89%
 Flag of Nepal.svg เนปาล 27,718,158 90.74%
Flag of Saudi Arabia.svg ซาอุดีอาระเบีย 27,018,975 74.21%
Flag of Morocco.svg โมร็อกโก 25,019,146 66.79%
Flag of South Africa.svg แอฟริกาใต้ 23,970,891 40.02%
Flag of Poland.svg โปแลนด์ 22,871,373 57.38%
Flag of Australia.svg ออสเตรเลีย 22,236,698 84.95%
Flag of Venezuela.svg เวเนซุเอลา 22,157,232 78.29%
Flag of the Republic of China.svg ไต้หวัน 21,875,104 91.55%
Flag of Uzbekistan.svg อุซเบกิสถาน 21,674,823 62.59%
Flag of Uganda.svg ยูกันดา 18,867,075 39.93%
Flag of Mozambique.svg โมซัมบิก 18,640,008 56.54%
Flag of Chile.svg ชิลี 18,088,517 92.27%
Flag of Sri Lanka.svg ศรีลังกา 17,143,761 78.53%
Flag of Ukraine.svg ยูเครน 15,729,617 36.19%
Flag of Angola.svg แองโกลา 15,349,780 43.13%
Flag of Ecuador.svg เอกวาดอร์ 15,331,441 85.17%
Flag of Cambodia.svg กัมพูชา 15,275,527 91.10%
Flag of Kenya.svg เคนยา 14,317,039 26.50%
Flag of the Taliban.svg อัฟกานิสถาน 14,258,889 34.67%
Flag of Côte d'Ivoire.svg โกตดิวัวร์ 13,568,372 48.18%
Flag of Ghana.svg กานา 12,853,113 38.40%
Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ 12,775,557 73.00%
Flag of Sudan.svg ซูดาน 12,628,561 26.94%
Flag of the Democratic Republic of the Congo.svg สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 12,557,145 12.68%
Flag of Iraq.svg อิรัก 11,332,925 25.47%
Flag of Zambia.svg แซมเบีย 11,158,619 55.74%
Flag of Kazakhstan.svg คาซัคสถาน 10,858,101 55.98%
Flag of Cuba.svg คิวบา 10,730,079 95.70%
Flag of Rwanda.svg รวันดา 10,572,981 76.75%
Flag of the United Arab Emirates.svg สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 9,991,089 100.00%
Flag of Portugal.svg โปรตุเกส 9,780,727 95.23%
Flag of Belgium.svg เบลเยียม 9,265,890 79.50%
Flag of Guatemala.svg กัวเตมาลา 8,915,029 49.96%
Flag of Romania.svg โรมาเนีย 8,186,546 41.64%
Flag of Greece.svg กรีซ 7,934,228 76.40%
Flag of Algeria.svg แอลจีเรีย 7,840,131 17.75%
Flag of Sweden.svg สวีเดน 7,775,538 73.71%
Flag of Somalia.svg โซมาเลีย 7,729,842 43.93%
Flag of Guinea.svg กินี 7,661,653 55.28%
Flag of Bolivia.svg โบลิเวีย 7,361,008 60.94%
Flag of the Dominican Republic.svg สาธารณรัฐโดมินิกัน 7,312,443 65.12%
Flag of Tunisia.svg ตูนิเซีย 7,218,016 58.42%
Flag of the Czech Republic.svg เช็กเกีย 6,975,898 66.48%
Flag of Hong Kong.svg ฮ่องกง 6,914,179 92.33%
Flag of Austria.svg ออสเตรีย 6,898,666 77.17%
Flag of Israel.svg อิสราเอล 6,722,752 71.15%
Flag of Honduras.svg ฮอนดูรัส 6,530,252 62.59%
Flag of Belarus.svg เบลารุส 6,527,591 68.46%
Flag of Zimbabwe.svg ซิมบับเว 6,437,808 40.25%
Flag of Hungary.svg ฮังการี 6,420,813 64.42%
Flag of Chad.svg ชาด 6,253,472 35.28%
Flag of Nicaragua.svg นิการากัว 6,237,297 89.77%
 Flag of Switzerland (Pantone).svg สวิตเซอร์แลนด์ 6,096,377 69.75%
Flag of Niger.svg ไนเจอร์ 5,935,299 22.65%
Flag of Laos.svg ลาว 5,888,649 79.31%
Flag of Azerbaijan.svg อาเซอร์ไบจาน 5,373,253 52.10%
Flag of Tajikistan.svg ทาจิกิสถาน 5,282,863 54.18%
Flag of Singapore.svg สิงคโปร์ 5,160,551 91.55%
Flag of Jordan.svg จอร์แดน 4,821,579 43.25%
Flag of Sierra Leone.svg เซียร์ราลีโอน 4,785,341 55.61%
Flag of Denmark.svg เดนมาร์ก 4,782,640 81.31%
Flag of El Salvador.svg เอลซัลวาดอร์ 4,652,597 73.69%
Flag of Malawi.svg มาลาวี 4,624,515 22.66%
Flag of Costa Rica.svg คอสตาริกา 4,605,172 88.89%
Flag of Burkina Faso.svg บูร์กินาฟาโซ 4,531,047 19.98%
Flag of Finland.svg ฟินแลนด์ 4,524,323 81.66%
Flag of Norway.svg นอร์เวย์ 4,346,995 79.99%
Flag of New Zealand.svg นิวซีแลนด์ 4,301,076 82.95%
Flag of Ireland.svg ไอร์แลนด์ 4,107,508 81.77%
Flag of Paraguay.svg ปารากวัย 3,987,939 58.81%
Flag of Liberia.svg ไลบีเรีย 3,825,381 72.14%
Flag of Benin.svg เบนิน 3,697,190 27.69%
Flag of Mali.svg มาลี 3,613,292 15.99%
Flag of Panama.svg ปานามา 3,529,545 80.06%
Flag of Kuwait.svg คูเวต 3,456,481 80.97%
Flag of Cameroon.svg แคเมอรูน 3,431,986 12.29%
Flag of Serbia.svg เซอร์เบีย 3,354,075 48.81%
Flag of Oman.svg โอมาน 3,257,365 71.18%
Flag of Syria.svg ซีเรีย 3,209,797 14.51%
Flag of South Sudan.svg ซูดานใต้ 3,142,971 28.80%
Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย 3,006,793 87.85%
Flag of Qatar.svg กาตาร์ 2,851,847 105.81%
Flag of Slovakia.svg สโลวาเกีย 2,822,919 51.82%
Flag of Lebanon.svg เลบานอน 2,740,227 49.92%
Flag of Senegal.svg เซเนกัล 2,684,696 15.50%
Flag of the Central African Republic.svg สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 2,381,935 42.69%
Flag of Madagascar.svg มาดากัสการ์ 2,352,235 7.94%
Flag of Croatia.svg โครเอเชีย 2,321,299 57.60%
Flag of Libya.svg ลิเบีย 2,316,327 34.00%
Flag of Mongolia.svg มองโกเลีย 2,272,965 68.27%
Flag of Togo.svg โตโก 2,244,456 25.36%
Flag of Bulgaria.svg บัลแกเรีย 2,106,404 31.06%
Flag of Mauritania.svg มอริเตเนีย 2,100,271 44.35%
Flag of Palestine.svg ปาเลสไตน์ 2,012,767 38.34%
Flag of Lithuania.svg ลิทัวเนีย 1,956,960 71.16%
Flag of Botswana.svg บอตสวานา 1,942,221 73.84%
Flag of Kyrgyzstan.svg คีร์กีซสถาน 1,654,886 24.96%
Flag of Georgia.svg จอร์เจีย 1,654,504 44.03%
Flag of Latvia.svg ลัตเวีย 1,346,184 71.84%
Flag of Albania.svg แอลเบเนีย 1,345,763 47.35%
Flag of Slovenia.svg สโลวีเนีย 1,265,802 59.72%
Flag of Bahrain.svg บาห์เรน 1,241,174 84.31%
Flag of Armenia.svg อาร์มีเนีย 1,128,072 38.01%
Flag of Mauritius.svg มอริเชียส 1,123,773 86.48%
Flag of Moldova.svg มอลโดวา 1,106,705 33.81%
Flag of Yemen.svg เยเมน 1,017,116 3.02%
Flag of Lesotho.svg เลโซโท 1,011,261 43.86%
Flag of Bosnia and Herzegovina.svg บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 943,394 28.91%
Flag of The Gambia.svg แกมเบีย 934,799 34.55%
Flag of Kosovo.svg คอซอวอ 906,858 50.89%
Flag of East Timor.svg ติมอร์-เลสเต 883,018 65.83%
Flag of Estonia.svg เอสโตเนีย 869,187 65.55%
Flag of North Macedonia.svg มาซิโดเนียเหนือ 854,392 40.81%
Flag of Jamaica.svg จาเมกา 852,562 30.15%
Flag of Trinidad and Tobago.svg ตรินิแดดและโตเบโก 753,588 49.39%
Flag of Fiji.svg ฟีจี 711,924 76.57%
Flag of Bhutan.svg ภูฏาน 699,116 89.35%
Flag of the Republic of the Congo.svg สาธารณรัฐคองโก 695,760 11.92%
Flag of Macau.svg มาเก๊า 679,361 97.72%
Flag of Cyprus.svg ไซปรัส 670,969 74.88%
Flag of Namibia.svg นามิเบีย 610,021 23.76%
Flag of Guinea-Bissau.svg กินี-บิสเซา 556,228 26.42%
Flag of Eswatini.svg เอสวาตีนี 511,632 42.58%
Flag of Guyana.svg กายอานา 495,285 61.24%
Flag of Luxembourg.svg ลักเซมเบิร์ก 481,945 74.42%
Flag of Malta.svg มอลตา 478,733 89.77%
Flag of Brunei.svg บรูไน 450,404 100.31%
Flag of the Comoros.svg คอโมโรส 438,825 53.41%
Flag of Haiti.svg เฮติ 406,534 3.51%
Flag of Maldives.svg มัลดีฟส์ 399,225 76.22%
Flag of Papua New Guinea.svg ปาปัวนิวกินี 376,350 3.71%
Flag of Djibouti.svg จิบูตี 367,858 32.82%
Flag of Cape Verde.svg กาบูเวร์ดี 356,734 60.68%
Flag of the Solomon Islands.svg หมู่เกาะโซโลมอน 343,821 47.47%
Flag of Gabon.svg กาบอง 311,040 13.02%
Flag of Iceland.svg ไอซ์แลนด์ 309,770 84.00%
Flag of the Turkish Republic of Northern Cyprus.svg นอร์เทิร์นไซปรัส 301,673 78.80%
Flag of Montenegro.svg มอนเตเนโกร 292,783 46.63%
Flag of Equatorial Guinea.svg อิเควทอเรียลกินี 270,109 16.53%
Flag of Suriname.svg ซูรินาม 267,820 45.26%
Flag of Belize.svg เบลีซ 251,956 62.17%
Flag of France.svgFlag of FLNKS.svg นิวแคลิโดเนีย 192,323 66.33%
Flag of Samoa.svg ซามัว 191,371 86.05%
Flag of French Polynesia.svg เฟรนช์พอลินีเชีย 190,908 62.33%
Flag of Vanuatu.svg วานูอาตู 176,624 54.06%
Flag of the Bahamas.svg บาฮามาส 174,147 42.48%
Flag of Barbados.svg บาร์เบโดส 163,833 58.17%
Flag of São Tomé and Príncipe.svg เซาตูเมและปรินซีปี 127,438 56.04%
Flag of Curaçao.svg กือราเซา 108,601 56.81%
Flag of Kiribati.svg คิริบาส 100,900 76.88%
Flag of Aruba.svg อารูบา 90,314 84.83%
Flag of Tonga.svg ตองงา 87,265 81.66%
Flag of Seychelles.svg เซเชลส์ 85,770 80.06%
Flag of Jersey.svg เจอร์ซีย์ 84,365 76.14%
Flag of the Isle of Mann.svg ไอล์ออฟแมน 69,560 81.44%
Flag of Antigua and Barbuda.svg แอนติกาและบาร์บูดา 64,290 68.97%
Flag of the Cayman Islands.svg หมู่เกาะเคย์แมน 61,859 90.01%
Flag of Saint Lucia.svg เซนต์ลูเชีย 60,140 33.43%
Flag of Andorra.svg อันดอร์รา 57,901 72.52%
Flag of Guernsey.svg เกิร์นซีย์ 54,223 85.62%
Flag of Bermuda.svg เบอร์มิวดา 48,554 75.65%
Flag of Grenada.svg เกรนาดา 44,180 35.21%
Flag of Gibraltar.svg ยิบรอลตาร์ 42,175 129.07%
Flag of the Faroe Islands.svg หมู่เกาะแฟโร 41,715 85.04%
Flag of Greenland.svg กรีนแลนด์ 41,243 72.52%
Flag of Saint Vincent and the Grenadines.svg เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 37,502 36.07%
Flag of Saint Kitts and Nevis.svg เซนต์คิตส์และเนวิส 33,794 70.88%
Flag of Burundi.svg บุรุนดี 33,361 0.26%
Flag of Dominica.svg ดอมินีกา 32,995 45.57%
Flag of the Turks and Caicos Islands.svg หมู่เกาะเติกส์และเคคอส 32,815 71.76%
Flag of Turkmenistan.svg เติร์กเมนิสถาน 32,240 0.53%
Flag of the Netherlands.svg ซินต์มาร์เติน 29,788 67.41%
Flag of Liechtenstein.svg ลิกเตนสไตน์ 26,767 68.01%
Flag of Monaco.svg โมนาโก 26,672 67.49%
Flag of San Marino.svg ซานมารีโน 26,357 77.50%
Flag of the British Virgin Islands.svg หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 19,466 62.55%
Flag of the Netherlands.svg แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ 19,109 72.26%
Flag of the Cook Islands.svg หมู่เกาะคุก 15,112 88.73%
Flag of Nauru.svg นาอูรู 13,106 103.27%
Flag of Anguilla.svg แองกวิลลา 10,854 68.36%
Flag of France.svg วาลิสและฟูตูนา 7,150 61.66%
Flag of Tuvalu.svg ตูวาลู 6,368 53.40%
Flag of Saint Helena.svg เซนต์เฮเลนา 4,361 71.83%
Flag of the Falkland Islands.svg หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 2,632 75.57%
Flag of Tokelau.svg โทเคอเลา 2,203 116.38%
Flag of Montserrat.svg มอนต์เซอร์รัต 2,104 47.68%
Flag of Niue.svg นีวเว 1,650 102.23%
Flag of the Pitcairn Islands.svg หมู่เกาะพิตแคร์น 47 100.0%
Flag of North Korea.svg เกาหลีเหนือ 0 0.00%

อ้างอิง

หมายเหตุ

สาระสำคัญและประวัติ

ซาร์สและเมอร์ส

มีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนาในสัตว์หลายอย่าง รวมทั้งโรคหลอดลมอักเสบเหตุติดเชื้อไวรัส (infectious bronchitis virus) ในนก โรคไวรัสโคโรนาในสุนัข (canine coronavirus) และโรคไวรัสโคโรนาในแมว (feline coronavirus) โครงการก่อน ๆ ที่พัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสในสกุล Coronaviridae ที่มนุษย์ติดเชื้อ มุ่งใช้สำหรับกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส หรือ SARS) และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส หรือ MERS) โดยทั้งสองได้ทดสอบในสัตว์ทดลองแล้ว

ตามวรรณกรรมงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระหว่างปี 2005–2006 แม้รัฐบาลและองค์กรสาธารณสุขต่าง ๆ ทั่วโลกจะได้ให้ความสำคัญกับการหาและพัฒนาวัคซีนบวกยาใหม่ ๆ แต่จนถึงปี 2020 ก็ยังไม่มีวัคซีนรักษาหรือป้องกันโรคซาร์สที่แสดงว่าปลอดภัยและมีประสิทธิผลในมนุษย์

โรคเมอร์สก็ยังไม่มีวัคซีนด้วย เมื่อโรคเมอร์สกำลังระบาด เชื่อกันว่า งานวิจัยเกี่ยวกับโรคซาร์สที่ได้ทำแล้วอาจเป็นโครงแบบที่มีประโยชน์เพื่อพัฒนาวัคซีนและพัฒนาวิธีการรักษาโรค จนถึงเดือนมีนาคม 2020 มีวัคซีนโรคเมอร์สชนิดหนึ่ง (อาศัยดีเอ็นเอ) ที่ได้ผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 กับมนุษย์แล้ว และมีวัคซีนอีก 3 อย่างที่กำลังอยู่ในกระบวนการโดยทั้งหมดเป็นวัคซีนมีไวรัสเป็นเวกเตอร์, 2 อย่างมีอะดีโนไวรัส (ChAdOx1 nCoV-19, BVRS-GamVac) เป็นเวกเตอร์ และอีกอย่างมี modified vaccinia Ankara (MVA) เป็นเวกเตอร์

การพัฒนาวัคซีนโควิดในปี 2020

ในอดีตยังไม่เคยมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่สามารถพัฒนาได้จนสำเร็จอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปี และวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสำหรับใช้ในมนุษย์ก็ยังไม่เคยมีผลิตมาก่อน หลังจากได้พบโรคปอดบวมเหตุไวรัสโคโรนาแบบใหม่เมื่อเดือนธันวาคม 2019 ก็ได้ตีพิมพ์ลำดับยีนของโควิด-19 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2020 ซึ่งจุดชนวนการตอบสนองฉุกเฉินในระดับนานาชาติเพื่อเตรียมรับโรคระบาดและเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค

ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2020 องค์การอนามัยโลกคาดว่า จะมีวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่เป็นเหตุของโรคอย่างเร็วก็ใช้เวลา 18 เดือน อัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของโควิดทั่วโลกเมื่อต้นปี 2020 ได้กระตุ้นให้ก่อพันธมิตรระดับนานาชาติและกระตุ้นให้รัฐระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาวัคซีนหลายชนิดในระยะเวลาสั้น ๆ จึงมีวัคซีนแคนดิเดต 4 อย่างที่เริ่มการทดลองในมนุษย์ในเดือนมีนาคม (ดูตารางการทดลองทางคลินิกที่เริ่มในปี 2020 ต่อไป)

องค์การอนามัยโลกประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดถึง 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 250,000 ล้านบาท) เพื่อพัฒนาวัคซีนสามอย่างหรือมากกว่าที่มีเทคโนโลยีและการจัดจำหน่ายต่าง ๆ กันเพื่อระงับการระบาดของโควิดทั่วโลก จนถึงเดือนเมษายน 2020 ก็มี "บริษัทและสถาบันเกือบ 80 แห่งใน 19 ประเทศ" ที่กำลังดำเนินการอันเสมือนกับสถานการณ์ตื่นทองนี้แล้ว ในเดือนเมษายนเช่นกัน เซพี (CEPI) ได้ประเมินว่าอาจมีวัคซีนแคนดิเดตต้านโรคโควิดถึง 6 อย่าง ที่พันธมิตรนานาชาติควรเลือกพัฒนาให้ผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2–3 และ 3 อย่างควรช่วยลดระเบียบราชการที่จุกจิกเกินไปให้ผ่านการตรวจสอบของรัฐและการตรวจสอบคุณภาพได้ โดยจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 62,851 ล้านบาท) ส่วนงานวิเคราะห์อีกงานหนึ่งประเมินว่า จะต้องพัฒนาวัคซีนแคนดิเดตในเบื้องต้นพร้อม ๆ กัน 10 อย่างก่อนจะเลือกเพียงไม่กี่อย่างเพื่อพัฒนาจนถึงให้อนุมัติได้

ในเดือนกรกฎาคม 2020 ศูนย์ความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติสหราชอาณาจักร บวกกับหน่วยงานความมั่นคงการสื่อสารต่าง ๆ ของแคนาดา สำนักงานความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานแห่งความมั่นคงไซเบอร์สหรัฐ (Cybersecurity Infrastructure Security Agency) และสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ ได้ร่วมกันกล่าวหาว่านักเลงคอมพิวเตอร์ที่ประเทศรัสเซียสนับสนุนได้พยายามขโมยงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาและวัคซีนโควิดจากสถาบันวิชาการและสถาบันยาในประเทศต่าง ๆ แต่รัสเซียก็ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้

การพัฒนาทั่วโลก

ในช่วงปี 2020 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของการพัฒนาวัคซีนโควิดจากต้นปีก็คือ การเพิ่มการร่วมมือกันระหว่างบริษัทยาข้ามชาติกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ, รูปแบบบริษัทและจำนวนบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศต่าง ๆ ที่ได้เล็งความสนใจไปที่วัคซีนโควิด ตามเซพี เมื่อจำแนกตามภูมิภาค องค์กรที่พัฒนาวัคซีนโควิดร้อยละ 40 อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือเทียบกับร้อยละ 30 ในเอเชียและออสเตรเลียร้อยละ 26 ในยุโรป โดยมีโครงการจำนวนน้อยในอเมริกาใต้และแอฟริกา

Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator และโคแว็กซ์

องค์กรนานาชาติรวมทั้งองค์การอนามัยโลก, เซพี (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations, CEPI), กาวี, มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ และรัฐบาลต่าง ๆ ได้ก่อตั้งโครงการ "Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator" เพื่อหาเงินทุน เร่งการวิจัยและพัฒนา การผลิต และการเข้าถึงอย่างยุติธรรมทั่วโลกสำหรับชุดตรวจโควิด วิธีการรักษา และการได้ใบอนุญาตเพื่อผลิตวัคซีน โดยมีโปรแกรมพัฒนาโดยเฉพาะที่เรียกว่า โคแว็กซ์ (COVAX Pillar) โคแว็กซ์มุ่งอำนวยให้ได้ใบอนุญาตเพื่อผลิตวัคซีนโควิดหลายอย่าง มุ่งให้มีราคาที่ยุติธรรม มุ่งให้ได้วัคซีนถึง 2,000 ล้านโดสไม่เกินปลายปี 2021 เพื่อป้องกันบุคลากรทางแพทย์ผู้เป็นหน่วยหน้าและคนที่เสี่ยงมากที่สุด โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำจนถึงปานกลาง (รวมทั้งประเทศไทย)

จนถึงเดือนธันวาคม 2020 โครงการ ACT Accelerator รวม ๆ แล้วได้เงินทุนมา 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 75,000 ล้านบาท) มีวัคซีนแคนดิเดต 9 อย่างที่ได้เงินทุนจากโคแว็กซ์และเซพี จึงจัดเป็นกลุ่มที่มีวัคซีนโควิดมากที่สุด โดยมีประเทศ 189 ประเทศ ตกลงว่าจะร่วมแผนการผลิตจัดส่งวัคซีนในที่สุด ในต้นปี 2020 องค์การอนามัยโลกได้ออกสื่อสัญญาณต่อเนื่องซึ่งได้สัญญาว่าจะได้เงิน 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสองแสนแปดหมื่นล้านบาท) จากประเทศ 40 ประเทศเพื่อสนับสนุนการเร่งพัฒนาวัคซีน

ในเดือนกรกฎาคม องค์การประกาศว่าประเทศ 165 ประเทศ ซึ่งมีประชากรทั้งหมดร้อยละ 60 ของทั้งโลกได้ตกลงกับแผนการของโคแว็กซ์เพื่อให้แจกจำหน่ายวัคซีนที่ได้อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน ซึ่งรับประกันว่าประเทศที่เข้าร่วมแต่ละประเทศจะได้ส่วนแบ่งวัคซีนเพื่อให้แก่ประชากรที่เสี่ยงสุดร้อยละ 20 ของประเทศไม่เกินปลายปี 2021

ส่วนองค์กรการร่วมมืองานวิจัยโลกเพื่อความเตรียมพร้อมต่อโรคติดต่อ (Global Research Collaboration for Infectious Disease Preparedness) กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การอนามัยโลกและประเทศสมาชิกเพื่อจัดลำดับความจำเป็นในการได้ทุนของงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อประสานงานระหว่างองค์กรนานาชาติผู้ให้ทุนกับองค์กรที่ทำงานวิจัย เพื่ออัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของวัคซีน และเพื่อหลีกเลี่ยงการให้ทุนซ้ำซ้อน ส่วนสหพันธ์โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงและการติดเชื้ออุบัติใหม่ (International Severe Acute Respiratory and Emerging Infection Consortium ตัวย่อ ISARIC) ก็กำลังจัดระเบียบและเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับโควิดเพื่อให้เกิดผลต่อนโยบายสาธารณสุขของรัฐในเรื่องการแจกจำหน่ายวัคซีนที่จะได้

ในวันที่ 4 มิถุนายน มีงานประชุมสุดยอดเสมือนที่ประสานงานจากกรุงลอนดอน มีผู้แทนจากองค์กรของรัฐและเอกชนจากประเทศ 52 ประเทศ รวมทั้งประมุขแห่งรัฐ 35 ท่านจากประเทศกลุ่ม 7 และกลุ่ม 20 เพื่อระดมเงิน 8,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสองแสนแปดหมื่นล้านบาท) เพื่อสนับสนุนให้กาวี (พันธมิตรโลกเพื่อวัคซีนและการให้ภูมิคุ้มกัน) เตรียมให้วัคซีนโควิดแก่เด็ก 300 ล้านคนในประเทศด้อยพัฒนาตลอดจนถึงปี 2025 ผู้บริจาครายใหญ่รวมทั้งมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณห้าหมื่นล้านบาท) และสหราชอาณาจักร (330 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงต่อปีเป็นเวลา 5 ปีรวมเป็นเงินประมาณหกหมื่นหกพันล้านบาท)

ในเดือนธันวาคม มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์บริจาคทรัพย์อีก 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณเจ็ดพันแปดร้อยล้านบาท) ให้แก่ ACT Accelerator เพื่อ "สนับสนุนการส่งชุดตรวจโควิด-19 การรักษา และวัคซีนใหม่ ๆ โดยเฉพาะแก่ประเทศมีรายได้ต่ำและปานกลาง" ในช่วงปี 2021 จึงรวมการบริจาคทรัพย์เกี่ยวกับโควิดของมูลนิธิเป็น 1,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 55,000 ล้านบาท)

เซพี

เซพี (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations, CEPI) เป็นองค์กรนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นในปี 2017 มุ่งทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้พัฒนาวัคซีนนานาชาติเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ เซพีได้จัดตั้งกองทุน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 64,600 ล้านบาท) โดยเป็นหุ้นส่วนทั่วโลกกับองค์กรของรัฐ เอกชน การกุศล กับประชาสังคมเพื่อเร่งวิจัยและทดลองวัคซีนแคนดิเดตสำหรับโควิด 9 อย่าง โดยมีเป้าหมายให้มีหลายอย่างพัฒนาจนได้อนุมัติภายในปี 2020–21สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ได้บริจาคเงิน915 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสองหมื่นเก้าพันล้านบาท) แก่เซพีแล้วในต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ ซึ่งมีเป้าหมายในด้านการวิจัยและการแจกจำหน่ายวัคซีน ได้บริจาคเงิน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณเจ็ดพันเก้าร้อยล้านบาท) ให้แก่องค์การเพื่องานวิจัยและการให้การศึกษาแก่สาธารณชนในเรื่องวัคซีนโควิด

ตลอดการระบาดทั่วปี 2020 เซพีได้ให้เงินทุนพัฒนาวัคซีนแคนดิเดต 9 อย่างโดยตั้งใจให้มีเทคโนโลยีวัคซีนหลายหลากต่าง ๆ กันเพื่อลดความเสี่ยงการล้มเหลวซึ่งปกติจะสูงเมื่อพัฒนาวัคซีน จนถึงเดือนธันวาคม องค์กรและโปรแกรมการวิจัยที่ได้การสนับสนุนจากเซพีรวมแอสตร้าเซนเนก้า/มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (AZD1222), Clover Biopharmaceuticals (SCB-2019), CureVac (Zorecimeran/CVnCoV), Inovio (INO-4800), สถาบันปาสเตอร์ (MV-SARS-CoV-2), โมเดอร์นา (mRNA-1273), Novavax (NVX-CoV2373), SK bioscience (GBP510), และมหาวิทยาลัยฮ่องกง

รัฐบาลของประเทศ

รัฐบาลของประเทศที่จัดงบประมาณเพื่อลงทุนในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับงานวิจัยวัคซีน งานพัฒนา และการผลิตเริ่มต้นในปี 2020 รวมทั้งรัฐบาลกลางของแคนาดา ซึ่งประกาศทุน 275 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณหกพันสี่ร้อยล้านบาท) สำหรับโครงการงานวิจัยวัคซีน 96 โครงการ ทั้งในบริษัทและในมหาวิทยาลัย โดยมีแผนจะสร้าง "ธนาคารวัคซีน" เพื่อฝากวัคซีนไว้หลายอย่างที่สามารถใช้ถ้าโรคระบาดอีก ยังมีการลงทุนเพิ่มอีก 1,100 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณสองหมื่นหกพันล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการทดลองทางคลินิกในแคนาดาแล้วพัฒนาโซ่การผลิตและการแจกจำหน่ายสำหรับวัคซีน วันที่ 4 พฤษภาคม รัฐบาลแคนาดาจัดงบประมาณ 850 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณสองหมื่นล้านบาท) ให้แก่องค์การอนามัยโลกเนื่องกับการออกสื่อสัญญาณต่อเนื่องเพื่อระดมทุน 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้วัคซีนโควิด

ผังของสำนักงาน Government Accountability Office ของสหรัฐ เปรียบเทียบการพัฒนาวัคซีนธรรมดากับไทม์ไลน์ที่เร่งเร็วขึ้น รวม ๆ คือ (บน) ทั่วไปใช้เวลา 10–15 ปีกว่าจะได้อนุมัติในสหรัฐ (ล่าง) เร่งเร็วใช้เวลาไม่กี่ปี คำแปลคร่าว  (จากซ้ายไปขวาบนลงล่าง) - Exploratory = การวิจัยสืบเสาะ, Preclinic = การทดลองระยะพรีคลินิก, Clinical Trials = การทดลองทางคลินิกแบ่งเป็นระยะ , FDA Review and Approval = การพิจารณาและอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ, Manufacturing = การผลิต, FDA Rolling Review and Approval = การพิจารณาและอนุมัติที่ทำอย่างต่อเนื่อง, Rapid Manufacturing = การผลิตอย่างรวดเร็ว

ในประเทศจีน รัฐบาลได้ให้เงินกู้มีดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้พัฒนาวัคซีนผ่านธนาคารกลาง และหาที่ดินให้เพื่อให้บริษัทสร้างโรงงานผลิตวัคซีน จนถึงเดือนมิถุนายน 2020 วัคซีนแคนดิเดต 6 อย่างจาก 11 อย่างที่กำลังทดสอบเบื้องต้นในมนุษย์มาจากองค์กรของจีน บริษัทวัคซีนและสถาบันวิจัย 3 แห่งได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลจีนเพื่อการวิจัย เพื่อการทดลองทางคลินิก และการผลิตวัคซีนซึ่งดีที่สุด โดยให้ความสำคัญกับการได้หลักฐานประสิทธิศักย์ของวัคซีนเร็ว ๆ ยิ่งกว่าความปลอดภัย วันที่ 18 พฤษภาคม จีนได้สัญญาว่าจะให้เงิน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณหกหมื่นสามพันล้านบาท) เพื่อสนับสนุนงานขององค์การอนามัยโลกเพื่อกำจัดโควิด วันที่ 22 กรกฎาคม จีนได้ประกาศว่าจะให้เงินกู้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 32,000 ล้านบาท) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในลาตินอเมริกาและแคริบเบียนสามารถซื้อวัคซีนจากจีนได้ วันที่ 24 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีจีนหลี่ เค่อเฉียงประกาศว่า จะแจกจำหน่ายวัคซีนของจีนให้แก่ประเทศเอเชียอาคเนย์ 5 ประเทศ คือกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนาม ก่อนอื่นเมื่อได้วัคซีนแล้ว

ในบรรดาประเทศสหภาพยุโรป เมื่อเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศสประกาศการลงทุน 4.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณร้อยห้าสิบสี่ล้านบาท) ในสหพันธ์การวิจัยวัคซีนโควิดผ่านเซพี ที่องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันปาสเตอร์ (ฝรั่งเศส), Themis Bioscience (ออสเตรีย) และมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก (สหรัฐ) จะมีบทบาท ซึ่งเพิ่มทุนการพัฒนาวัคซีนโควิดของ CEPI เป็น 480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณหมื่นห้าพันล้านบาท) ในเดือนมีนาคม คณะกรรมาธิการยุโรปได้ลงทุน 80 ล้านยูโร (ประมาณ 2,769 ล้านบาท) กับ CureVac ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของเยอรมนีเพื่อพัฒนาวัคซีนแบบเอ็มอาร์เอ็นเอ ส่วนรัฐบาลเยอรมันเองก็ได้ลงทุนต่างหากกับบริษัทอีก 300 ล้านยูโร (ประมาณหมื่นสี่พันล้านบาท) ในเดือนมิถุนายน เบลเยียม นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์เป็นผู้บริจาครายสำคัญให้แก่ CEPI เพื่อวิจัยวัคซีนโควิดในยุโรป

ในเดือนเมษายน รัฐบาลสหราชอาณาจักรก่อตั้งคณะกรรมการวัคซีนโควิดเฉพาะกิจเพื่อเร่งพัฒนาวัคซีนผ่านการร่วมงานระหว่างอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย กับองค์กรต่าง ๆ ของรัฐตลอดขั้นตอนการพัฒนาวัคซีน รวมทั้งกำหนดโรงพยาบาลในประเทศเพื่อทำการทดลองทางคลินิก กฎการอนุมัติ และการผลิตในที่สุด โครงการริเริ่มพัฒนาวัคซีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้รับงบประมาณ 44 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณพันแปดร้อยล้านบาท) ในเดือนเมษายน

สำนักงานวิจัยและพัฒนาทางชีวเวชขั้นสูงสหรัฐ (Biomedical Advanced Research and Development Authority ตัวย่อ BARDA อ่านว่า บาร์ดา) เป็นองค์กรของรัฐบาลกลางสหรัฐที่ให้ทุนกับเทคโนโลยีรักษาโรค ได้ประกาศลงทุนเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสามหมื่นหนึ่งพันล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนโควิด และเตรียมตัวผลิตวัคซีนแคนดิเดตที่มีหวังที่สุดในสหรัฐ วันที่ 16 เมษายน บาร์ดาลงทุน 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณหมื่นห้าพันล้านบาท) กับบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) และหุ้นส่วนคือจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน บาร์ดายังมีงบประมาณอีก4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณแสนสามหมื่นล้านบาท) สำหรับพัฒนาวัคซีน ดังนั้น จึงอาจลงทุนพัฒนาวัคซีนแคนดิเดตได้ถึง 6–8 อย่างที่จะทดลองทางคลินิกในปี 2020–2021 โดยบริษัทต่าง ๆ เช่น Sanofi Pasteur (ฝรั่งเศส) และ Regeneron (สหรัฐ)

ในวันที่ 15 พฤษภาคม รัฐบาลกลางสหรัฐได้ประกาศให้งบประมาณกับโปรแกรมเร่งด่วนคือ Operation Warp Speed (แปลได้ว่า ปฏิบัติการความเร็วเหนือแสง) โดยมุ่งให้เริ่มทดลองวัคซีนแคนดิเดตทางคลินิกในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2020 แล้วผลิตวัคซีนที่ได้อนุมัติ 300 ล้านโดสให้ได้ในเดือนมกราคม 2021 ผู้นำโปรแกรมนี้เป็นนายพลทหารบกสหรัฐ ในเดือนมิถุนายน ผู้นำโปรแกรมแจ้งว่า จะทำงานร่วมกับบริษัท 7 บริษัทที่กำลังพัฒนาวัคซีนแคนดิเดตสำหรับโควิด คือ โมเดอร์นา จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เมอร์ค ไฟเซอร์ และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดที่ร่วมมือกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า บวกกับบริษัทอีกสองบริษัท แม้บริษัทไฟเซอร์ภายหลังจะระบุว่า "บริษัทไม่ได้ยอมรับเงินทุน (จากรัฐ)... การลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาของไฟเซอร์ทั้งหมดเป็นการเสี่ยง"

การทดลองขององค์การอนามัยโลก

ในเดือนเมษายน 2020 องค์การอนามัยโลกได้ตีพิมพ์แผนการวิจัยและพัฒนาไวรัสโคโรนาใหม่ ซึ่งเตรียมแผน "การวิจัยทางคลินิกขนาดใหญ่ ทำในระดับนานาชาติ มีศูนย์หลายศูนย์ ทำแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม" เพื่อให้สามารถ "ประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของวัคซีนแคนดิเดตแต่ละอย่างพร้อม ๆ กันภายใน 3–6 เดือนที่มีให้ใช้ทดลอง" แผนการนี้มี "โพรไฟล์ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย" (Global Target Product Profile ตัวย่อ TPP) ซึ่งจำแนกคุณสมบัติของวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลไว้เป็น 2 หมวด คือ "วัคซีนเพื่อการป้องกันในระยะยาวสำหรับบุคคลที่เสี่ยงโควิดสูงกว่า เช่น บุคลากรทางการแพทย์" และวัคซีนอื่น ๆ ที่ให้ภูมิคุ้มกันอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการระบาดใหม่

องค์การยังได้จัดตั้งทีมนานาชาติ คือ ทีพีพี (TPP) ขึ้นเพื่อ

  1. ประเมินการพัฒนาวัคซีนแคนดิเดตที่มีอนาคตมากสุด
  2. สร้างข้อมูล/แผนที่เกี่ยวกับวัคซีนแคนดิเดตและการทดลองทางคลินิกของวัคซีนทั่วโลก แล้วตีพิมพ์อัปเดตแผนของวัคซีนโดยอัปเดตบ่อย 
  3. ประเมินและตรวจคัดวัคซีนแคนดิเดตที่มีอนาคตมากสุดพร้อม ๆ กันอย่างเร็วก่อนจะทดสอบในมนุษย์
  4. ออกแบบและประสานการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีหลายศูนย์ และทำในระดับนานาชาติซึ่งเรียกว่าการทดลองซอลิแดริตี (Solidarity trial) เพื่อให้สามารถประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของวัคซีนแคนดิเดตต่าง ๆ ที่กำลังทดลองทางคลินิกในประเทศที่มีอัตราการติดโรคโควิดสูง แล้วตีความและแชร์ผลที่ได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก

ทีมนานาชาตินี้จะจัดลำดับความสำคัญว่า วัคซีนใดควรเข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 และระบุโพรโทคอล/เกณฑ์วิธีของการทดลองระยะ 3 แบบเข้ากันได้สำหรับวัคซีนทั้งหมดที่เข้าสู่ระยะก่อนได้รับอนุมัตินี้

แบบทดลองที่ปรับได้สำหรับการทดลองซอลิแดริตี

แบบทดลองทางคลินิกที่กำลังทำอยู่อาจปรับได้โดยเรียกว่าเป็น "adaptive design" (แบบปรับได้) ถ้าข้อมูลที่ได้ในการทดลองให้ความชัดเจนตั้งแต่เนิ่น ๆ เกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีน ไม่ว่าจะบวกหรือลบ ดังนั้น การทดลองร่วม (Solidarity trial) ขององค์การอนามัยโลกสำหรับวัคซีนหลายอย่างที่ทดลองทางคลินิกในปี 2020 จะใช้วิธีเช่นนี้เพื่อให้สามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของการทดลองได้อย่างรวดเร็วในศูนย์ทดลองทุกแห่งเมื่อผลปรากฏ วัคซีนแคนดิเดตใหม่ที่เข้าเกณฑ์ยังอาจเพิ่มเข้าในโปรแกรมการทดลองร่วม และวัคซีนแคนดิเดตที่ปรากฏโดยหลักฐานว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิศักย์ไม่ดีเทียบกับยาหลอกและวัคซีนอื่น ๆ ก็จะยกเลิกทดลองในโปรแกรมนี้

แบบปรับได้ที่ใช้ในการทดลองวัคซีนแคนดิเดตทางคลินิกระยะที่ 2–3 อาจทำให้ระยะการทดลองสั้นลงโดยมีอาสาสมัครผู้รับวัคซีนน้อยกว่า ช่วยเร่งการตัดสินใจไม่ว่าจะหยุดการทดลองตั้งแต่ต้น ๆ หรือตัดสินใจว่ามีผล หลีกเลี่ยงทำการวิจัยซ้ำ ๆ และเพิ่มการประสานงานเพื่อเปลี่ยนแบบการทดลองที่ทำร่วมในศูนย์ประเทศต่าง 

หุ้นส่วน การแข่งขัน และการแจกจำหน่าย

บริษัทยายักษ์ใหญ่ที่มีประสบการณ์ผลิตวัคซีนเป็นจำนวนมาก ๆ รวมทั้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แอสตร้าเซนเนก้า และแกล็กโซสมิธไคลน์ กำลังสร้างพันธมิตรกับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และมหาวิทยาลัยเพื่อเร่งการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรวมสมรรถภาพทางการเงินและการผลิตเพื่อสร้างเทคโนโลยีวัคซีนโรคระบาดทั่วแบบใช้ตัวเสริม (adjuvant) แกล็กโซสมิธไคลน์จึงได้จับมือกับซาโนฟี่ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนแบบที่ไม่ค่อยทำกันระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่นานาชาติเพื่อเร่งพัฒนาวัคซีน

เมื่อโควิด-19 กำลังระบาดไปทั่วอย่างรวดเร็วในปี 2020 องค์การนานาชาติเช่นองค์การอนามัยโลกและเซพี ผู้พัฒนาวัคซีน รัฐบาล และอุตสาหกรรมก็ได้ประเมินการแจกจำหน่ายวัคซีนที่จะได้ ประเทศผลิตวัคซีนแต่ละประเทศอาจถูกโน้มน้าวให้ขายวัคซีนในราคาสูงสุด หรือใช้วัคซีนในประเทศของตนก่อน ผู้เชี่ยวชาญเน้นว่า วัคซีนที่จะอนุมัติควรมีราคาที่พอซื้อได้และมีให้สำหรับบุคคลหน่วยหน้าในการรักษาพยาบาลและคนที่จำเป็นมากสุด ในเดือนเมษายน เดอะเดลีเทลิกราฟ (ลอนดอน) รายงานว่า สหราชอาณาจักรได้ตกลงทำการร่วมกับประเทศและองค์กรนานาชาติอื่น ๆ รวมทั้งประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลีเพื่อค้นหาวัคซีนและแชร์ผลที่ได้ และตกลงว่า ประชาชนอังกฤษจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษเพื่อได้วัคซีนโควิดที่มหาวิทยาลัยอังกฤษซึ่งได้รับเงินภาษีของประชาชนเป็นผู้พัฒนาขึ้น บริษัทหลายแห่งมีแผนผลิตวัคซีนเพื่อเริ่มต้นขายในราคาถูก แล้วเพิ่มราคาเพื่อให้ได้กำไรภายหลังถ้าต้องฉีดวัคซีนทุกปีและเมื่อประเทศต่าง ๆ ตุนวัคซีนเผื่ออนาคต

องค์การอนามัยโลกและเซพีกำลังสร้างทรัพยากรทางการเงินและแนวปฏิบัติเพื่อส่งวัคซีนที่มีประสิทธิผล 3 อย่างหรือยิ่งกว่าไปทั่วโลก โดยสำนึกว่าประเทศต่าง ๆ และประชากรกลุ่มต่าง ๆ ย่อมจำเป็นต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนที่มีประสิทธิผลน่าจะจัดก่อนอื่นให้แก่บุคลากรทางแพทย์และกลุ่มประชากรที่เสี่ยงป่วยหนักและเสี่ยงตายมากสุดจากการติดโรค เช่น คนชราหรือคนจนที่อยู่ในชุมชนแออัด ทั้งองค์การอนามัยโลก เซพี และกาวีต่างก็ได้แสดงความเป็นห่วงว่า ประเทศร่ำรวยไม่ควรได้วัคซีนโควิดก่อนประเทศอื่น ๆ แต่ควรพิจารณาความจำเป็นในหมู่ประชากรและความจำเป็นเพื่อลดปัญหาทางเศรษฐกิจ

กำหนดเวลาต่าง ๆ ที่ต้องย่อลง

ประเด็นต่าง ๆ ทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาของกลุ่มประชากรที่อ่อนแอ และปัญหาการผลิตวัคซีนเป็นพัน ๆ ล้านโดสล้วนอาจกดดันให้ย่อกำหนดเวลาต่าง ๆ ในการพัฒนาวัคซีนและในบางกรณี อาจรวมระยะการทดลองทางคลินิกหลายระยะเข้าด้วยกันแล้วทำพร้อม ๆ กันโดยใช้เวลาแค่เดือน ๆ ซึ่งปกติต้องทำเป็นลำดับต่อ ๆ กันเป็นปี ๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้พัฒนาวัคซีนประเทศจีนและศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคจีน (Chinese Center for Disease Control and Prevention) ได้เริ่มงานพัฒนาวัคซีนในเดือนมกราคม 2020 แต่เพียงแค่ถึงเดือนมีนาคม ก็กำลังตรวจดูวัคซีนแคนดิเดตเป็นจำนวนมากโดยใช้กำหนดเวลาที่ย่อลง และมีจุดประสงค์เพื่อแสดงความแข็งแกร่งของเทคโนโลยีจีนเหนือของสหรัฐ และเพื่อให้ชาวจีนมั่นใจถึงคุณภาพวัคซีนที่ผลิตในจีน

เพื่อเร่งพัฒนาวัคซีนในกำหนดเวลาย่อ ๆ สำหรับโรคระบาดทั่ว ทั้งผู้พัฒนาวัคซีนและรัฐบาลได้ยอมรับความเสี่ยงเมื่อลัดวงจรพัฒนาวัคซีนปกติ ผู้บริหารของอุตสาหกรรมคนหนึ่งถึงกับกล่าวว่า "วิกฤติการณ์ของโลกใหญ่จนกระทั่งเราแต่ละคนจะต้องยอมเสี่ยงที่สุดเดี๋ยวนี้เพื่อยุติโรคนี้" มีเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายเรื่องรวมทั้งระดับความเป็นพิษที่ยอมรับได้ (คือความปลอดภัย) การตั้งเป้าที่กลุ่มประชากรที่อ่อนแอ ความก้าวหน้าอย่างมากของประสิทธิศักย์วัคซีนที่ต้องมี ระยะการป้องกันของวัคซีน ระบบการส่งยาพิเศษ (เช่น ให้ทางปากหรือทางจมูก แทนที่จะฉีด) ขนาดการให้ยา ความเสถียรของวัคซีนและวิธีการเก็บในคลัง การอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินก่อนได้รับอนุมัติทั่วไป วิธีการผลิตดีที่สุดเพื่อให้ได้วัคซีนเป็นพัน ๆ ล้านโดส และการแจกจำหน่ายวัคซีนที่ได้อนุมัติ ถ้านับเริ่มจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 วัคซีนถึงร้อยละ 84–90 ล้มเหลวในช่วงพัฒนาการแล้วไม่ได้รับอนุมัติให้วางตลาดขาย ถ้าเริ่มจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 วัคซีนร้อยละ 25.7 ล้มเหลวและไม่ได้รับอนุมัติโดยที่สุด ผู้ผลิตวัคซีนอาจจะลงทุนไปแล้วเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสามหมื่นหนึ่งพันล้านบาท) โดยได้ผลิตวัคซีนเป็นล้าน ๆ โดสไปแล้วที่ใช้ไม่ได้ ในกรณีของโควิด-19 โดยเฉพาะ ประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่อัตราร้อยละ 70 อาจพอระงับการระบาดทั่ว เพราะถ้ามีประสิทธิศักย์เพียงร้อยละ 60 การระบาดก็ยังอาจต่อไปได้ และประสิทธิศักย์ที่น้อยกว่าร้อยละ 60 จะไม่ก่อภูมิคุ้มกันหมู่พอระงับการกระจายเชื้อโดยตนเอง

โรคที่ระบาดทั่วในปี 2020 ได้สร้างปัญหากับสถาบันวิจัยเพราะการเว้นระยะห่างทางสังคมและการปิดห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนก็ขาดแคลนขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการซื้อแข่งขันกันในระดับนานาชาติหรือการเข้ายึดของรัฐ กำหนดเวลาต่าง ๆ สำหรับการทดลองทางคลินิก ซึ่งปกติเป็นกระบวนการที่ทำเป็นลำดับต่อ ๆ กันโดยใช้เวลาเป็นปี ๆ ก็กำลังย่อเป็นการทดลองตรวจความปลอดภัย ประสิทธิศักย์ และหาขนาดยาที่ทำพร้อม ๆ กันโดยใช้เวลาเป็นแค่เดือน ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อความปลอดภัย

แพลตฟอร์มเทคโนโลยี

ในเดือนกันยายน 2020 นักวิทยาศาสตร์ของเซพีรายงานว่า มีแพลตฟอร์เทคโนโลยี 9 แพลตฟอร์มที่กำลังวิจัยและพัฒนาในช่วงปี 2020 เพื่อสร้างวัคซีนต้านโควิด-19 โดยยังมีวัคซีนแคนดิเดตเป็นจำนวนมากที่ไม่ระบุแพลต์ฟอร์มเทคโนโลยี แพลตฟอร์มโดยมากสำหรับวัคซีนที่อยู่ในช่วงทดลองทางคลินิกจนถึงเดือนกันยายนได้เล็งโปรตีน spike ของไวรัสและรูปแบบต่าง ๆ ของโปรตีนนี้เพื่อใช้เป็นแอนติเจนหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค แพลตฟอร์มที่กำลังพัฒนาในปี 2020 รวมเทคโนโลยีกรดนิวคลีอิก (คือ เอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ (modRNA) หรือดีเอ็นเอ), เวกเตอร์ไวรัสที่ไม่ขยายพันธุ์, เพปไทด์, โปรตีนจากยีนลูกผสม, ไวรัสโควิดลดฤทธิ์ที่ยังเป็น และไวรัสโควิดเชื้อตาย

เทคโนโลยีวัคซีนที่กำลังพัฒนาเพื่อโควิดหลายอย่างไม่เหมือนกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ใช้กันอยู่แล้ว แต่จัดเป็นของใหม่ที่ทำงานเฉพาะเจาะจงกับกลไกการแพร่เชื้อของโควิด เทคโนโลยีที่ใช้ยังอาจเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการแอนติเจน และบางอย่างอาจมีประสิทธิผลดีกว่าในกลุ่มประชากรย่อยต่าง ๆ รวมทั้งคนชรา เด็ก หญิงมีครรภ์ และคนไข้ที่ภูมิต้านทานอ่อนแอ

วัคซีนแคนดิเดตที่อาจสร้างโปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2 แล้วทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองรวมทั้ง (1) เอ็มอาร์เอ็นเอที่เข้ารหัสยีนของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้เซลล์สร้างโปรตีนของไวรัส (2) เป็นโปรตีนที่ผิวหุ้มไวรัสโควิด-19 ที่ผลิตจากยีนลูกผสม (3) เวกเตอร์ไวรัสที่มียีนของโควิด-19 ซึ่งทำให้เซลล์สร้างโปรตีนของไวรัส
ผังแสดงการทำงานของวัคซีนอาร์เอ็นเอ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวัคซีนโควิด-19 รวมทั้งของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคและของบริษัทโมเดอร์นา เอ็มอาร์เอ็นเอ ซึ่งอาจบรรจุอยู่ในอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิดจะเข้าไปในเซลล์แล้วได้การแปลรหัสเป็นโปรตีนของไวรัสโควิด-19 ซึ่งก่อการตอบสนองจากภูมิคุ้มกัน แล้วทำให้ภูมิคุ้มกันรู้จักโปรตีนของไวรัส เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ในอนาคต ก็จะตอบสนองต่อเชื้อได้อย่างเข้มแข็งและรวดเร็ว
สถิติวัคซีนโควิด‑19 สำหรับเทคโนโลยีต่าง ๆ (ก.พ. 2021)
เทคโนโลยี แคนดิเดต ที่กำลังทดลอง
ในมนุษย์
ที่ได้อนุมัติใน
อย่างน้อย 1 ประเทศ
ประเทศที่
อนุมัติให้ใช้
เวกเตอร์ไวรัสที่ไม่ขยายพันธุ์ 35 4 4 55
ใช้อาร์เอ็นเอ 36 3 2 42
ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย 19 5 3 25
หน่วยย่อยโปรตีนของไวรัสโควิด-19 80 4 1 2
ใช้ดีเอ็นเอ 23 2 0 0
อนุภาคคล้ายไวรัส 19 1 0 0
เวกเตอร์ไวรัสที่ยังขยายพันธุ์ 23 0 0 0
ไวรัสโควิด-19 เป็น ๆ แต่ลดฤทธิ์แล้ว 4 0 0 0

วัคซีน

จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม ประเทศ 17 ประเทศ และสหภาพยุโรป ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคคือ tozinameran เป็นการฉุกเฉิน บาห์เรนยังอนุมัติให้วางตลาดขายฉุกเฉินสำหรับวัคซีน BBIBP-CorV ของบริษัทซิโนฟาร์ม โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่อมาก็ได้ทำเช่นกัน ในสหราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 16 ธันวาคม คน 138,000 คนได้รับ tozinameran ในอาทิตย์แรกของโปรแกรมการฉีดวัคซีนของประเทศ ในวันที่ 11 ธันวาคม 2020 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุญาตให้ใช้ tozinameran เป็นการฉุกเฉิน อีกอาทิตย์ต่อมา ก็ให้อนุญาตเช่นกันกับวัคซีน mRNA-1273 ของบริษัทโมเดอร์นา จึงเป็นประเทศแรกที่อนุญาตให้ใช้วัคซีน 2 อย่างเป็นการฉุกเฉิน

เซพีจัดระยะการพัฒนาวัคซีนเป็นสามกลุ่ม คือ (1) ระยะการสำรวจ (exploratory) คือการวางแผนและออกแบบวัคซีนโดยไม่มีการประเมินในสิ่งมีชีวิต (2) พรีคลินิก (preclinical) คือการประเมินในสิ่งมีชีวิตและเตรียมตัวผลิตสารประกอบเพื่อจะทดสอบในมนุษย์ หรือ (3) ที่เริ่มทดสอบความปลอดภัยในมนุษย์อาสาสมัครที่สุขภาพดีระยะที่ 1 แล้ว จนถึงกลางเดือนกันยายน มีวัคซีนแคนดิเดต 321 อย่างที่ได้ยืนยันแล้วว่ากำลังทดลองทางคลินิก หรือว่าเป็นโครงการสำรวจหรือพรีคลินิก

การทดลองระยะที่ 1 โดยหลักทดสอบความปลอดภัยและขนาดยาเป็นเบื้องต้นโดยให้ยาแก่อาสาสมัครสุขภาพดีเป็นสิบ ๆ คน ระยะที่ 2 ซึ่งทำหลังประสบความสำเร็จในระยะที่ 1 จะตรวจปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน, ขนาดของยา (คือตรวจประสิทธิศักย์โดยใช้ค่าวัดของสารบ่งชี้ทางชีวภาพ คือ biomarker) และผลที่ไม่พึงประสงค์ ปกติทำกับคนเป็นร้อย ๆ คน การทดลองระยะ 1–2 ทดสอบความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในเบื้องต้นโดยจะกำหนดขนาดที่ได้ผลให้แม่นยำด้วย ส่วนการทดลองระยะที่ 3 ปกติจะมีอาสาสมัครมากกว่า มีกลุ่มควบคุม และทดสอบประสิทธิผลป้องกันโรคของวัคซีน (เป็นการทดลองแบบแทรกแซง คือ interventional) และจะเฝ้าสังเกตผลที่ไม่พึงประสงค์เมื่อใช้ขนาดยาที่ดีสุด นิยามของความปลอดภัยของวัคซีน ประสิทธิศักย์ จุดยุติทางคลินิก (clinical endpoint) ในการทดลองระยะที่ 3 อาจต่างกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ เช่นการนิยามระดับผลข้างเคียง การติดเชื้อ หรือการแพร่เชื้อ และว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบรุนแรงหรือแบบปานกลาง

วัคซีนที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว

ดูเพิ่มที่รายการขึ้นทะเบียนวัคซีน (ภาษาอังกฤษ)

องค์กรควบคุมของประเทศต่าง ๆ ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีน 11 ชนิดเป็นการฉุกเฉิน ในจำนวนนั้น 6 ชนิดได้รับอนุมัติจากองค์กรควบคุมที่องค์การอนามัยโลกจัดว่ามีระเบียบเคร่งครัด (stringent regulatory authorities) อย่างน้อย 1 แห่ง

วัคซีนที่อนุมัติเป็นการฉุกเฉินหรือให้ใช้ทั่วไป
วัคซีนแคนดิเดต
ผู้พัฒนา/ผู้ให้ทุน
ของประเทศ เทคโนโลยี จำนวนโดส
ระยะห่าง
อุณหภูมิเก็บ การทดลองก่อนวางตลาด
(จำนวนอาสาสมัคร)
การทดลองหลังวางตลาด
(จำนวนอาสาสมัคร)
แอสตร้าเซนเนก้า (Vaxzevria, Covishield)

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, แอสตร้าเซนเนก้า, เซพี

สหราชอาณาจักร, สวีเดน อะดีโนไวรัสของชิมแปนซีที่แปลงเพื่อใช้เป็นเวกเตอร์ (ChAdOx1) 2 โดส
4-12 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (30,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอกเพื่อตรวจประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
สถานะ - ประสิทธิศักย์อยู่ที่ร้อยละ 76 หลังจากโดสแรกและร้อยละ 81 หลังจากโดสที่สองโดยฉีดห่างกัน 12 สัปดาห์หรือยิ่งกว่า
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค. 2020 – ส.ค. 2021, บราซิล (5,000),สหราชอาณาจักร, อินเดีย
ระยะ 4 (10,000)
การรักษาที่ไม่ได้จัดกลุ่มโดยสุ่ม
ช่วงเวลาและแหล่ง: กพ. 2021-ธค. 2024 ในเดนมาร์ก
ไฟเซอร์ (Comirnaty)

ไบออนเทค, ไฟเซอร์

เยอรมนี สหรัฐ อาร์เอ็นเอ (เอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ หุ้มด้วยอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิด) 2 โดส
3-4 สัปดาห์
−70±10 °C (ตู้แช่แข็งพิเศษ) ระยะ 3 (43,998)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
สถานะ - ผลบวกที่พบจากการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองได้ประกาศเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2020 แล้วตีพิมพ์ในวันที่ 10 ธ.ค. 2020 โดยรายงานประสิทธิศักย์ทั่วไปถึงร้อยละ 95
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020 – พ.ย. 2020,เยอรมนี สหรัฐ
ระยะ 4 (10,000)
การรักษาที่ไม่ได้จัดกลุ่มโดยสุ่ม
ช่วงเวลาและแหล่ง: กพ. 2021 – ธค. 2024 เดนมาร์ก
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

Janssen Pharmaceutica (หน่วยงานของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน), BIDMC

สหรัฐ เนเธอร์แลนด์ เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัสลูกผสมที่ไม่ขยายพันธุ์ (Ad26) 1 โดส 2–8 °C ระยะ 3 (40,000)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
สถานะ - ผลบวกจากการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองได้ประกาศในวันที่ 29 ม.ค. 2021 วัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดโรคแบบมีอาการอ่อนจนถึงปานกลางร้อยละ 66 (ร้อยละ 64 ในแอฟริกาใต้จนถึงร้อยละ 72 ในสหรัฐ) และแบบมีอาการหนักร้อยละ 85
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020 – 2023, สหรัฐ อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก เปรู ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ และยูเครน
BBIBP-CorV

หน่วยงานของซิโนฟาร์ม คือ Beijing Institute of Biological Products

จีน ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (เพาะใน vero cell) 2 โดส
3-4 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (48,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำคู่ขนาน เพื่อตรวจความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ในการป้องกันโรค
สถานะ - ผลการทดลองที่ตรวจสอบโดยผู้รู้เสมอกันระบุว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการที่ร้อยละ 78.1
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020 – ก.ค. 2021, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน จอร์แดนอาร์เจนตินาโมร็อกโกเปรู
โมเดอร์นา (Spikevax)

โมเดอร์นา, NIAID, BARDA, เซพี

สหรัฐ เอ็มอาร์เอ็นเอ (เอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ หุ้มด้วยอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิด) 2 โดส
4 สัปดาห์
−20±5 °C
(ตู้แช่แข็งยา)
ระยะ 3 (30,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอกเพื่อทดสอบประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
สถานะ - ผลบวกที่พบจากการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2020 แล้วตีพิมพ์วันที่ 30 ธ.ค. 2020 โดยรายงานประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 94.1
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020 – ต.ค. 2022, สหรัฐ
ระยะ 4 (10,000)
การรักษาที่ไม่ได้จัดกลุ่มโดยสุ่ม
ช่วงเวลาและแหล่ง: Feb 2021 – Dec 2024, Denmark
สปุตนิกวี (Gam-COVID-Vac)

สถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลีย

รัสเซีย เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัสลูกผสมที่ไม่ขยายพันธุ์ (Ad5 และ Ad26) 2 โดส
3 สัปดาห์
−18 °C
(ตู้แช่แข็งยา)
ระยะ 3 (40,000)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก เพื่อตรวจประสิทธิศักย์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และความปลอดภัย
สถานะ - การวิเคราะห์ผลการทดลองในระหว่างที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนซิตระบุประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 91.6 โดยไม่มีผลข้างเคียงเกินปกติ
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2020 – พ.ค. 2021, รัสเซีย, เบลารุส,อินเดีย,เวเนซุเอลา,สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โคโรนาแว็ก

ซิโนแว็ก

จีน ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (เพาะใน vero cell) 2 โดส
2-4 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (33,620)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก เพื่อตรวจประสิทธิศักย์และความปลอดภัย
สถานะ - ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในตุรกีซึ่งได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันแล้วแสดงประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 83.5 งานศึกษาหนึ่งในชิลีแสดงประสิทธิศักย์ป้องกันร้อยละ 65 สำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการ, ร้อยละ 87 สำหรับการเข้า รพ., ร้อยละ 90 สำหรับการเข้าห้องไอซียู และร้อยละ 86 สำหรับการเสียชีวิต

ส่วนงานในบราซิลระบุว่ามีประสิทธิศักย์ป้องกันร้อยละ 50.7 สำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการทั้งหมด, ร้อยละ 83.7 สำหรับการติดเชื้อที่มีอาการเบา และเต็มร้อยสำหรับการมีอาการหนัก
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020 – ต.ค. 2021, บราซิล (15,000); ส.ค. 2020 - ม.ค. 2021, อินโดนีเซีย (1,620); ต.ค. – พ.ย. 2020, จีน (1,040); พ.ย. 2020 – ม.ค. 2022, ชิลี (3,000); เม.ย. 2021 – มิ.ย. 2022, ฟิลิปปินส์ (ระยะ 2-3: 352); ก.ย. 2020 – ก.พ. 2021, ตุรกี (13,000)

ระยะ 4 (37,867)
การรักษา
ช่วงเวลาและแหล่ง: บราซิล ก.พ. 2021 – ก.พ. 2022, เมืองเซอร์ฮานา รัฐเซาเปาลู (27,711); มี.ค. 2021 – มี.ค. 2022, เมืองมาเนาส์ รัฐอามาโซนัส (10,156)
โคแว็กซิน (BBV152)

ภารตะไบโอเทค, สภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย

อินเดีย ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (เพาะใน vero cell) 2 โดส
4 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (25,800)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
สถานะ - บริษัทรายงานว่า ผลระหว่างการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 พบว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 78
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–มี.ค. 2021, อินเดีย
ระยะ 4 (1,000)
การรักษาที่ไม่ได้จัดกลุ่มโดยสุ่ม
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2021 – ธ.ค. 2021, อินเดีย
สปุตนิกไลท์

สถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลีย

รัสเซีย เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัสลูกผสมที่ไม่ขยายพันธุ์ (Ad26) 1 โดส 2–8 °C ระยะ 3 (7,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ. – ธ.ค. 2021, รัสเซีย (6,000)
Convidicea

แคนซิโนไบโอลอจิกส์, Beijing Institute of Biotechnology of the Academy of Military Medical Sciences

จีน เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัสลูกผสม (Ad5) 1 โดส 2–8 °C ระยะ 3 (40,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำหลายศูนย์ทั่วโลก เพื่อตรวจประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
สถานะ - ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 การวิเคราะห์ผลการทั่วโลกในระหว่างพบประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 65.7 ต่อโรคโควิด-19 ที่มีอาการ และร้อยละ 90.98 สำหรับโรคอาการรุนแรง
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.–ธ.ค. 2020, จีน; ก.ย. 2020 – ธ.ค. 2021, ปากีสถาน; ก.ย. 2020 – ธ.ค. 2020, รัสเซีย, จีน, อาร์เจนตินา, ชิลี;เม็กซิโก; ปากีสถาน;ซาอุดีอาระเบีย
WIBP-CorV

หน่วยงานของซิโนฟารม์ คือ Wuhan Institute of Biological Products

จีน วัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (เพาะใน vero cells) 2 โดส
3 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (51,600)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
สถานะ - ผลงานการทดลองที่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันแล้วแสดงประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการที่ร้อยละ 72.8
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020 – มี.ค. 2021, บาห์เรน, อียิปต์, จอร์แดน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์; ก.ย. 2020 – ก.ย. 2021, เปรู; ก.ย. 2020 – ธ.ค. 2020, โมร็อกโก
EpiVacCorona

สถาบันเวกตอร์

รัสเซีย หน่วยย่อยเพปไทด์ของไวรัสโควิด-19 2 โดส
3 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (40,150 (ตามแผน), 3,000 (เริ่ม))
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย เพื่อประเมินประสิทธิศักย์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และความปลอดภัย
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020 – ธ.ค. 2021, รัสเซีย (3,000)
ZF2001 (ZIFIVAX)

Anhui Zhifei Longcom Biopharmaceutical Co. Ltd.

จีน หน่วยย่อยโปรตีนแบบลูกผสมของไวรัสโควิด-19 3 โดส
30 วัน
2–8 °C ระยะ 3 (29,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020 – เม.ย. 2022, จีน, เอกวาดอร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน
Abdala

BioCubaFarma, Center for Genetic Engineering and Biotechnology

คิวบา ส่วนประกอบของไวรัสโควิด-19 3 โดส
2 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (48,290)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำในหลายศูนย์ อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.-ก.ค. 2021, คิวบา
CoviVac

The Chumakov Centre ที่วิทยาศาสตรบัณฑิตยสถานรัสเซีย

รัสเซีย ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (เพาะใน vero cells) 2 โดส
2 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (32,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย เพื่อตรวจประสิทธิศักย์และความปลอดภัย
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค. 2021 – ?, รัสเซีย (3,000)
QazCovid-in (QazVac)
Research Institute for Biological Safety Problems
คาซัคสถาน ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย 2 โดส
3 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (3,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพราง
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021 – ก.ค. 2021, คาซัคสถาน
Minhai COVID-19 vaccine (KCONVAC)

Minhai Biotechnology Co., Shenzhen Kangtai Biological Products Co. Ltd.

จีน ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (เพาะใน vero cell) 2 โดส
4 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (28,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.-พ.ย. 2021, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
COVIran Barakat (COVIRAN)

Barakat Pharmaceutical Group, Shifa Pharmed Industrial Group

อิหร่าน ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย 2 โดส
4 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (30,500)
ระยะ 2-3a (20,000) - การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำแบบคู่ขนาน
ระยะ 3b (10,500)
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.-มิ.ย. 2021, อิหร่าน
Covidful (Chinese Academy of Medical Sciences COVID-19 vaccine)

Chinese Academy of Medical Sciences, Institute of Medical Biology

จีน ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย 2 โดส
2 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (34,020)
การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์เดียว อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ม.ค.-ก.ย. 2021, บราซิล, มาเลเซีย
Soberana 02 (FINLAY-FR-2)

BioCubaFarma, Instituto Finlay de Vacunas

คิวบา ส่วนประกอบของไวรัสโควิด-19 (คอนจูเกต) 2 โดส
4 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (44,010)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำในศูนย์หลายศูนย์ ทำแบบคู่ขนาน อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.-พ.ค. 2021, คิวบา, อิหร่าน, เวเนซุเอลา
ZyCoV-D

Cadila Healthcare, Biotechnology Industry Research Assistance Council

อินเดีย พลาสมิดของดีเอ็นเอที่แสดงออกโปรตีน S ของไวรัสโควิด-19 3 โดส
4 สัปดาห์
2–8 °C ระยะ 3 (30,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพราง
ช่วงเวลาและแหล่ง: ม.ค.-พ.ค. 2021, อินเดีย

การทดลองทางคลินิกในมนุษย์

วัคซีนแคนดิเดตป้องกันโรคโควิด-19 ที่กำลังทดลองในระยะ 1-3
วัคซีนแคนดิเดต
ผู้พัฒนา/ผู้ให้ทุน
ประเทศกำเนิด เทคโนโลยี ระยะทดลองปัจจุบัน (จำนวน)
รูปแบบการทดลอง
ระยะทดลองที่เสร็จแล้ว (จำนวน)
การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน/ผลไม่พึงประสงค์
รอการอนุมัติ
Novavax COVID-19 vaccine (Covovax)

โนวาแวกซ์, เซพี

สหรัฐ ซับยูนิต/อนุภาคคล้ายไวรัส (อนุภาคนาโนของหน่วยย่อยโปรตีนหนามลูกผสมของไวรัสโควิด-19 บวกกับตัวเสริม) ระยะ 3 (49,600)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2020 – ม.ค. 2021, สหราชอาณาจักร (15,000); ธ.ค. 2020 – มิ.ย. 2023, สหรัฐ เม็กซิโก ปวยร์โตรีโก (33,000)อินเดีย (ระยะ 1/2: 1,600)
ระยะ 1-2 (131)

การตอบสนองของสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์และ IgG เมื่อใช้ตัวเสริมและหลังจากฉีดยาเพิ่ม ผลไม่พึงประสงค์ - อาการเกิดในระยะสั้นและเบา คือเจ็บที่จุดฉีด ปวดหัว ล้า และปวดกล้ามเนื้อ

Sanofi-GSK COVID-19 vaccine (VAT00008, Vidprevtyn)
Sanofi Pasteur , แกล็กโซสมิธไคลน์ (GSK)
ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ซับยูนิต (โปรตีน S ลูกผสมของ SARS-CoV-2 ที่เติมตัวเสริม) ระยะ 3 (37,430)
การทดลองระยะที่ 3 แบบมีกลุ่มคู่ขนาน ทำเป็นหลายระยะ อำพรางแบบปรับปรุงทั้งสองฝ่าย มีหลายกลุ่ม (multi-armed) เพื่อประเมินประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของวัคซีน SARS-CoV-2 แบบโปรตีนลูกผสมที่เติมยาเสริม 2 ชนิด คือสายพันธุ์เดียว (monovalent) หรือสองสายพันธุ์ (bivalent) สำหรับผู้ใหญ่อายุ 18 ปีและยิ่งกว่า
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค. 2021 – ม.ค. 2023, โคลอมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน กานา ฮอนดูรัส อินเดีย (3,000) ญี่ปุ่น เคนยาเม็กซิโกไนจีเรีย ปากีสถาน ศรีลังกา ยูกันดา สหรัฐ
ระยะ 1-2 (1,160)
ระยะ 1-2a (440) การทดสอบการตอบสนองทางภูมิคุ้รมกันและความปลอดภัยของวัคซีน (มียาเสริม หรือไม่มียาเสริม) ในอาสาสมัครสุขภาพดีอายุ 18 ปีและยิ่งกว่า
Phase IIb (720): Immunogenicity and Safety of SARS-CoV-2 Recombinant Protein Vaccine With AS03 Adjuvant in Adults 18 Years of Age and Older.
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2020–เม.ย. 2022, สหรัฐ
CureVac COVID-19 vaccine (CVnCoV)

CureVac, เซพี

เยอรมนี วัคซีนอาร์เอ็นเอแบบไม่ดัดแปลง ระยะ 3 (44,433)
ระยะ 2b/3 (มีอาสาสมัคร 39,693 คน) ทดสอบประสิทธิศักย์และความปลอดภัย ทำในศูนย์หลายศูนย์

ระยะ 3 (2,360+180+1,200+1,000=4,740 คน) เป็นการทดลองแแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ บางแห่งอำพรางผู้สังเกตการณ์ บางแห่งไม่อำพราง
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–มิ.ย. 2022, อาร์เจนตินา เบลเยียม โคลอมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน ฝรั่งเศส เยอรมนี เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ ปานามา เปรู เสปน

ระยะ 1-2 (944)
ระยะ 1 (284): การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์บางส่วน โดยเพิ่มขนาดยา (dose-escalation) เพื่อทดสอบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและผลที่ไม่พึงประสงค์

ระยะ 2a (660): การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์บางส่วน ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ เพื่อยืนยันขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย 2020–ต.ค. 2021, เบลเยียม (ระยะ 1), เยอรมนี (ระยะ 1), ปานามา (2a), เปรู (2a)

CoVLP

Medicago, แกล็กโซสมิธไคลน์

แคนาดา สหราชอาณาจักร อนุภาคคล้ายไวรัสที่มีอาร์เอ็นเอลูกผสมที่ทำในพืช และใช้ตัวเสริม AS03 จากแกล็กโซสมิธไคลน์ ระยะ 2-3 (30,918)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก และ event-driven
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–ธ.ค. 2021, บราซิล แคนาดา สหราชอาณาจักร สหรัฐ
ระยะ 1 (180)
สถานะ - เกิดสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ในวันที่ 42 หลังการฉีดยาครั้งที่ 1 (วันที่ 21 หลังฉีดยาครั้งที่ 2) ในระดับเป็น 10 เท่าของผู้รอดชีวิตจากการติดโรคโควิด
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020–ก.ย. 2021, แคนาดา
ภาวะฉุกเฉิน (1)
Valneva COVID-19 vaccine (VLA2001)

Valneva

ฝรั่งเศส ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย ระยะ 3 (4,769)
ระยะ 3 (4,019+750) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์ non-inferiority
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.-ธ.ค. 2021, นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร
ระยะ 1-2 (3,039)
ระยะ 1/2 (153 คน) การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์

ระยะ 2 (2,886 คน) การทดลองแบบสุ่มเพื่อตรวจการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและผลไม่พึงประสงค์สำหรับการฉีดวัคซีนบูสต์เพื่อป้องกันสายพันธุ์โควิด-19ดั้งเดิมและสายพันธุ์ใหม่ ๆ
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-มิ.ย. 2021, สหราชอาณาจักร

Nanocovax

Nanogen Pharmaceutical Biotechnology JSC

เวียตนาม วัคซีนซับยูนิตเป็นโปรตีนหนามของ Sars-Cov-2 ลูกผสมโดยเพิ่มตัวเสริมเป็นอลูมินัม ระยะ 3 (13,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ ปรับได้ (Adaptive)
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2021–ก.ค. 2022, เวียดนาม
ระยะ 1-2 (620)
ระยะ 1 (60 คน) ไม่อำพราง โดยเพิ่มจำนวนโดส

ระยะ 2 (560 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020–มิ.ย. 2021, เวียดนาม

ภาวะฉุกเฉิน (1)
UB-612

United Biomedical,Inc, Vaxxinity, Diagnosticos da America

บราซิล สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต (Multitope peptide based S1-RBD-protein based vaccine) ระยะ 3 (18,320)
ระยะ 2b/3 (7,320 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ และศึกษากาตอบสนองต่อโดส (Dose-Response)

ระยะ 3 (11,000 คน)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ม.ค. 2021–มี.ค. 2023, ไต้หวัน (ระยะ 2b/3) อินเดีย (ระยะ 3)

ระยะ 1-2 (3,910)
ระยะ 1 (60): การศึกษาแบบไม่อำพราง/ไม่ปิด

ระยะ 2 (3,850 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2020–ม.ค. 2021, ไต้หวัน

ภาวะฉุกเฉิน (1)
TURKOVAC

สถาบันสุขภาพตุรกี

ตุรกี ไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย ระยะ 3 (40,800)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้วัคซีนอื่น (active-controlled) อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย 2021–ก.ย. 2021, ตุรกี
ระยะ 1-2 (294)
ระยะ 1 (44 คน) การทดลองเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและการก่อภูมิคุ้มกันของวัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย คือ ERUCOV-VAC โดยมีขนาดสองขนาด ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสองครั้งแก่อาสาสมัครที่มีสุขภาพดี เป็นงานศึกษาแลลมีกลุ่มควบคุมที่ให้ยาหลอก

ระยะ 2 (250 คน) การทดลองเพื่อระบุประสิทธิศักย์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และความปลอดภัยของวัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย คือ ERUCOV-VAC โดยมีขนาดสองขนาด เป็นการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–เม.ย. 2021, ตุรกี

West China Hospital COVID-19 vaccine

Jiangsu Province Centers for Disease Control and Prevention, West China Hospital (WestVac Biopharma), Sichuan University

จีน วัคซีนซับยูนิต (เป็นโปรตีนลูกผสมที่เพาะใน Sf9 cell) ระยะ 3 (40,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก มีศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2021–ก.พ. 2022, อินโดนีเซีย เคนยา ฟิลิปปินส์
ระยะ 1-2 (5,128)
ระยะ 1 (168 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์เดียว

ระยะ 2a (960 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์เดียว ระยะ 2b (4,000 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์เดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2020-พ.ค. 2021, จีน

SCB-2019

Clover Biopharmaceuticals, Dynavax Technologies, เซพี

จีน วัคซีนซับยูนิตเป็นโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 (spike protein trimeric subunit) โดยเติมตัวเสริมคือ CpG 1018 และอลูมิเนียม ระยะ 3 (29,300)
ระยะ 2/3 (29,000 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม อำพรางทั้งสองฝ่าย

ระยะ 3 (300 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021–ต.ค. 2022, เบลเยียม บราซิล โคลอมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เยอรมนี เนปาล ปานามา ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ แอฟริกาใต้ ยูเครน

ระยะ 1-2 (950)
ระยะ 1 (150 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย

ระยะ 2 (800 คน) การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2020–ต.ค. 2021, ออสเตรเลีย (ระยะ 1) จีน (ระยะ 2)

Walvax COVID-19 vaccine (ARCoV)

PLA Academy of Military Science, Walvax Biotech, Suzhou Abogen Biosciences

จีน วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 3 (28,000)
การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค.–พ.ย. 2021, จีนมาเลเซีย เม็กซิโก เนปาล
ระยะ 1-2 (908)
ระยะ 1 (168 คน)

ระยะ 2 (420 คน) ระยะ 1/2 (320 คน)
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2020–ต.ค. 2021, จีน

COVAX-19 (SpikoGen)

Vaxine Pty Ltd, Cinnagen

ออสเตรเลีย อิหร่าน วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนลูกผสม) ระยะ 3 (16,876)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย มีแขนสองข้าง (two-armed)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค.–ก.ย. 2021, อิหร่าน
ระยะ 1-2 (440)
ระยะ 1 (40 คน)

ระยะ 2 (400 คน) การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย มีแขนสองข้าง (Two-armed)
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2020–ก.ค. 2021, แอดิเลด (ออสเตรเลีย) อิหร่าน

GRAd-COV2

ReiThera, Lazzaro Spallanzani National Institute for Infectious Diseases

อิตาลี วัคซีนอะดีโนไวรัสของชิมแปนซีที่ดัดแปลง (มีรหัสว่า GRAd) เพื่อเป็นเวกเตอร์ ระยะ 3 (10,300)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ สุ่มตัวอย่างแบบเป็นชั้น (stratified)
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.–ต.ค. 2021, อิตาลี


ระยะ 1 (90)
อาสาสมัคร (มี 2 กลุ่มแบ่งตามวัยคือ 18-55 ปีและ 65-85 ปี) จัดโดยสุ่มให้ได้รับวัคซีนซึ่งให้เพิ่มขึ้น ๆ หนึ่งในสามอย่าง หรือให้ยาหลอก แล้วตรวจติดตามเป็นเวลา 24 สัปดาห์ อาสาสมัครร้อยละ 92.5 ที่ได้วัคซีนเกิดสารภูมิต้านทาน
แหล่ง: กรุงโรม
ช่วงเวลา: ส.ค.–ธ.ค. 2020
GBP510

SK Bioscience Co. Ltd., แกล็กโซสมิธไคลน์

เกาหลีใต้ วัคซีนซับยูนิต (เป็นอนุภาคนาโนโปรตีนลูกผสมและเติมตัวเสริม AS03) ระยะ 3 (4,000)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้วัคซีนอื่น (active-controlled) อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มคู่ขนาน ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2021-มี.ค. 2022, เกาหลีใต้
ระยะ 1-2 (580)
ระยะ 1-2 (260-320 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ ตรวจหาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.–ส.ค. 2021, เกาหลีใต้
Bio E COVID-19 (Corbevax)
Biological E. Limited, Baylor College of Medicine,

เซพี

อินเดีย สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต (ประกอบด้วยแอนติเจนชนิดหนึ่ง) ระยะ 3 (1,268)
ระยะ 2b/3 การศึกษาตามแผน (prospective) ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ มีแขนข้างเดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.–ส.ค. 2021, อินเดีย
ระยะ 1-2 (360)
การทดลองแบบสุ่ม มีกลุ่มคู่ขนาน
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–ก.พ. 2021, อินเดีย
Inovio COVID-19 Vaccine (INO-4800)

Inovio Pharmaceuticals, เซพี, สถาบันสุขภาพแห่งชาติเกาหลี, International Vaccine Institute

เกาหลีใต้ สหรัฐ ว้คซีนดีเอ็นเอ (พลาสมิดของดีเอ็นเอส่งด้วยวิธี electroporation) ระยะ 2-3 (6,578)
ระยะ 2/3 (6,578 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–ก.ย. 2022, สหรัฐ (ระยะ 2/3)
ระยะ 1-2 (920)
ระยะ 1a (120 คน) การทดลองแบบไม่อำพราง

ระยะ 1b-2a (160 คน) การทดลองแบบหาขนาดยา ระยะ 2 (640 คน) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย หาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย. 2020–ก.พ. 2022, จีน (ระยะ 2) เกาหลีใต้ (ระยะ 1b-2a), สหรัฐ

AG0302-COVID‑19
AnGes Inc.,

Japan Agency for Medical Research and Development

ญี่ปุ่น วัคซีนดีเอ็นเอ (พลาสมิด) ระยะ 2-3 (500)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–เม.ย. 2021, ญี่ปุ่น
ระยะ 1-2 (30)
การทดลองทั้งแบบสุ่มและไม่สุ่ม ใช้วัคซีนสองโดส ทำที่ศูนย์เดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย.–พ.ย. 2020, โอซากะ
202-CoV

Shanghai Zerun Biotechnology Co., Walvax Biotech

จีน วัคซีนซับยูนิตเป็นโปนตีนหนาม (CHO cell) บวกกับตัวเสริม CpG และอลูมิเนียม) ระยะ 2 (1,056)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค.–ธ.ค. 2021, จีน
ระยะ 1 (144)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค.–ธ.ค. 2021, จีน
V-01

Livzon Mabpharm, Inc.

จีน วัคซีนซับยูนิตเป็นโปรตีน fusion ลูกผสมของไวรัสโควิด-19 ระยะ 2 (880)
การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.–พ.ค. 2021, จีน
ระยะ 1 (180)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์เดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ.–มี.ค. 2021, จีน
DelNS1-2019-nCoV-RBD-OPT (DelNS1-nCoV-RBD LAIV)

Beijing Wantai Biological Pharmacy, University of Hong Kong

จีน ฮ่องกง วัคซีนเวกเตอร์ไวรัสที่ขยายพันธุ์ได้โดยรวมยีน RBD ของไวรัสโควิด-19 ระยะ 2 (720)
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020–ธ.ค. 2021, จีน
ระยะ 1 (60)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2020–ต.ค. 2021, จีน
Brilife (IIBR-100)

สถาบันวิจัยชีวภาพอิสราเอล

อิสราเอล วัคซีนมีเวกเตอร์ไวรัสเป็น vesicular stomatitis virus (ลูกผสม) ระยะ 2-3 (550)
ระยะ 2b/3 (550) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค.–ต.ค. 2021, อิสราเอล


ระยะ 1-2 (1,040)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอกและเพิ่มขนาดยา ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ต.ค. 2020–พ.ค. 2021, อิสราเอล
Razi Cov Pars

Razi Vaccine and Serum Research Institute

อิหร่าน วัคซีนซับยูนิตเป็นโปรตีนหนามลูกผสมของไวรัสโควิด-19 ระยะ 2 (500)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย มีกลุ่มคู่ขนาน 2 กลุ่ม
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.–มิ.ย. 2021, อิหร่าน
ระยะ 1 (133)
การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ม.ค.–มี.ค. 2021, อิหร่าน
FAKHRAVAC (MIVAC)

Organization of Defensive Innovation and Research

อิหร่าน วัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย ระยะ 2 (500)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม แบบกลุ่มคู่ขนาน อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย.–ก.ค. 2021, อิหร่าน
ระยะ 1 (135)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย มีรูปแบบเป็น factorial design.
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.–เม.ย. 2021, อิหร่าน
ยังไม่ได้ตั้งชื่อ

Ihsan Gursel, Scientific and Technological Research Council of Turkey

ตุรกี อนุภาคคล้ายไวรัส ระยะ 2 (330)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มคู่ขนาน อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย.–ก.ย. 2021, ตุรกี
ระยะ 1 (36)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.–พ.ค. 2021, ตุรกี
COH04S1

City of Hope Medical Center

สหรัฐ วัคซีนเวกเตอร์ไวรัส ระยะ 2 (240)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้วัคซีนที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2021–มิ.ย. 2023, แคลิฟอร์เนีย (สหรัฐ)
ระยะ 1 (129)
การศึกษาหาขนาดวัคซีน
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020 – พ.ย. 2022, แคลิฟอร์เนีย
ยังไม่ได้ตั้งชื่อ

มหาวิทยาลัยชิงหฺวา, Tianjin Medical University, Walvax Biotech

จีน วัคซีนเวกเตอร์ไวรัส ระยะ 2 (180)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค.–พ.ย. 2021, จีน
ระยะ 1 (30)
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค.–มิ.ย. 2021, จีน
ABNCoV2

Bavarian Nordicมหาวิทยาลัยรัดเบาด์ไนเมเคิน

เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ อนุภาคคล้ายไวรัส ระยะ 2 (150)
การทดลองแบบไม่อำพราง เพิ่มขนาดยาเป็นลำดับ ทำที่ศูนย์เดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2021-2022, เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์
ระยะ 1 (42)
การทดลองแบบไม่อำพราง เพิ่มขนาดยาเป็นลำดับ ทำที่ศูนย์เดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.-ธ.ค. 2021, เนเธอร์แลนด์
ARCT-154 (VBC-COV19-154 ในเวียดนาม)

Arcturus Therapeutics, Vinbiocare

สหรัฐ เวียดนาม วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1-3 (21,000)
ระยะ 1/2/3 (100+300+600+20,000=21,000) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค.-ต.ค. 2021, เวียดนาม
พรีคลินิก
SCB-2020S

Clover Biopharmaceuticals

จีน วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (150)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2021–เม.ย. 2022, ออสเตรเลีย
พรีคลินิก
NDV-HXP-S (ButanVac, COVIVAC, HXP-GPOVac, Patria)

Icahn School of Medicine at Mount Sinai, Institute of Vaccines and Medical Biologicals, Butantan Institute, Laboratorio Avimex, National Council of Science and Technology, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน

บราซิล เม็กซิโก ไทย สหรัฐ เวียดนาม ใช้ไวรัส Newcastle disease virus (NDV) เป็นเวกเตอร์ (ที่แสดงออกโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 ทั้งแบบมีตัวเสริม CpG 1018 และไม่มี) / หรือวัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย ระยะ 1-2 (6,439)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021–พ.ค. 2022, บราซิล (5,394) เม็กซิโก (ระยะ 1: 90) ไทย (460) เวียดนาม (495)
พรีคลินิก
ยังไม่ได้ตั้งชื่อ

National Vaccine and Serum Institute, Lanzhou Institute of Biological Products Co., Ltd., Beijing Zhong Sheng Heng Yi Pharmaceutical Technology Co., Ltd., Zhengzhou University

จีน วัคซีนซับยูนิต (เป็นโปรตีนลูกผสมเพาะด้วย CHO Cell) ระยะ 1-2 (3,580)
ระยะ 1/2 การทดลองทางคลินิกเพื่อตรวจความปลอดภัย ความอดทนรับได้ และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของวัคซีนในผู้มีสุขภาพดีอายุ 3 ปีและยิ่งกว่า
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย. 2021–ต.ค. 2022, จีน
พรีคลินิก
ARCT-021

Arcturus Therapeutics, Duke-NUS Medical School

สหรัฐ สิงคโปร์ วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1-2 (798)
ระยะ 1/2 (92) การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย

ระยะ 2 (600) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ ทำในภูมิภาคหลายแห่ง ทำในศูนย์หลายศูนย์ กับผู้ใหญ่สุขภาพดีเพื่อตรวจสอบ ความปลอดภัย ผลข้างเคียง และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ระยะ 2a (106) การทดลองแบบไม่อำพรางเพื่อขยายตรวจสอบความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในระยะยาวเมื่อให้วัคซีนโดสเดียวแก่อาสาสมัครจากการทดลองแม่ที่ได้รับยาหลอกหรือไม่เกิด ตรวจเลือดเป็น seronegative
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2020–เม.ย. 2022, Singapore, United States (phase IIa)

พรีคลินิก
VBI-2902

Variation Biotechnologies

สหรัฐ อนุภาคคล้ายไวรัส ระยะ 1-2 (780)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ เพิ่มขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021-มิ.ย. 2022, แคนาดา
พรีคลินิก
ICC Vaccine

Novavax

สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (640)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2021–มี.ค. 2022, ออสเตรเลีย
พรีคลินิก
Sanofi-Translate Bio COVID-19 vaccine (MRT5500)

Sanofi Pasteur, Translate Bio

ฝรั่งเศส สหรัฐ วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1-2 (333)
การศึกษาแบบสุ่ม มีกลุ่มคู่ขนาน ทำเป็นลำดับ คือ sentinel cohort ตามด้วย full enrollment cohort ลำดับแรกเป็นการศึกษาแบบไม่อำพราง ทำเป็นขั้น ๆ เพิ่มขนาดยา เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของยา 2 ขนาดเมื่อฉีด 2 โดส ลำดับสองเป็นการศึกษาแบบอำพรางทั้ง 4 ฝ่ายเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในคนต่างอายุ 2 กลุ่ม โดยครึ่งหนึ่งได้รับวัคซีนโดสเดียว อีกครึ่งที่เหลือได้รับวัคซีนสองโดส
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021–ก.ย. 2022, ฮอนดูรัส สหรัฐ ออสเตรเลีย
พรีคลินิก
EuCorVac-19

EuBiologics Co

เกาหลีใต้ วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนหนามลูกผสมของไวรัสโควิด-19 บวกกับตัวเสริม) ระยะ 1-2 (280)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ ตรวจสอบขนาดของยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ. 2021–มี.ค. 2022, ฟิลิปปินส์ (ระยะ 2) เกาหลีใต้ (ระยะ 1/2)
พรีคลินิก
RBD SARS-CoV-2 HBsAg VLP

SpyBiotech

สหราชอาณาจักร อนุภาคคล้ายไวรัส ระยะ 1-2 (280)
การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2020-?, ออสเตรเลีย
พรีคลินิก
GX-19 (GX-19N)

Genexine consortium, International Vaccine Institute

เกาหลีใต้ วัคซีนดีเอ็นเอ ระยะ 1-2 (410)
ระยะ 1-2 (170+210+30) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก บางงานอำพรางทั้งสองฝ่าย บางงานไม่อำพราง มีแขนเดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2020–ก.ค. 2021, กรุงโซล
พรีคลินิก
AV-COVID-19

AIVITA Biomedical, กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย

สหรัฐ อินโดนีเซีย Dendritic cell vaccine (dendritic cell ของคนไข้เองที่ได้นำออกมาใส่โปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 โดยใส่เพิ่ม GM-CSF หรือไม่ใส่) ระยะ 1-2 (202)
ปรับได้ (adaptive)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-ก.พ. 2022, อินโดนีเซีย (ระยะ 1) สหรัฐ (ระยะ 1/2)
พรีคลินิก
COVID-eVax

Takis Biotech

อิตาลี วัคซีนดีเอ็นเอ (injection followed by electroporation) ระยะ 1-2 (160)
การทดลองแบบไม่อำพราง ทำที่ศูนย์หลายศูนย์

ระยะ 1 แบบเพิ่มขนาดยา ระยะ 2 มีแขนเดียวหรือสองแขน สุ่มจัดกลุ่ม เพิ่มขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ.-ก.ย. 2021, อิตาลี

พรีคลินิก
BBV154

Bharat Biotech

อินเดีย วัคซีนที่มีอะดีโนไวรัสเป็นเวกเตอร์ (พ่นจมูก) ระยะ 1-2 (175)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.–มิ.ย. 2021, อินเดีย
พรีคลินิก
ChulaCov19

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไทย วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1-2 (72)
ระยะ 1 (72) การทดลองโดยเพิ่มขนาดยา ทำที่ศูนย์เดียว กับอาสาสมัคร 2 กลุ่ม คือ ผู้มีอายุระหว่าง 18-55 ปี และระหว่าง 56-75 ปี

ระยะ 2 การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ ทำที่ศูนย์หลายศูนย์ เพื่อตรวจความปลอดภัย ผลข้างเคียง และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้มีสุขภาพดีอายุระหว่าง 18-75 ปี
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค.–ก.ย. 2021, ไทย

พรีคลินิก
COVID-19/aAPC

Shenzhen Genoimmune Medical Institute

จีน วัคซีนมีเล็นทิไวรัสเป็นเวกเตอร์ (with minigene modifying aAPCs) ระยะ 1 (100)
Single group, open-label study to evaluate safety and immunity.
แหล่ง: เมืองเชินเจิ้น
ช่วงเวลา: ก.พ. 2020–ธ.ค. 2024
พรีคลินิก
LV-SMENP-DC

Shenzhen Genoimmune Medical Institute

จีน วัคซีนมีเล็นทิไวรัสเป็นเวกเตอร์ (with minigene modifying DCs) ระยะ 1-2 (100)
Single-group, open label, multi-center study to evaluate safety and efficacy.
แหล่ง: เมืองเชินเจิ้น
ช่วงเวลา: มี.ค. 2020–ธ.ค. 2024
พรีคลินิก
ImmunityBio COVID-19 vaccine (hAd5)

ImmunityBio

สหรัฐ วัคซีนเวกเตอร์ไวรัส ระยะ 1-2 (540)
การทดลองระยะ 1/2 เพื่อตรวจความปลอดภัย ผลข้างเคียง และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันสำหรับวัคซีนบูสต์เสริมที่ฉีดใต้ผิวหนังและที่ให้ทางปาก วัคซีนเล็งเป้าที่โปรตีนหนามและ nucleocapsid ของไวรัสโควิด-19 และมุ่งเพิ่มภูมิคุ้มกันทางเซลล์ทีของอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนสองโดส (Prime + Boost) ที่อนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้ว
ช่วงเวลาและแหล่ง: ต.ค. 2020-ก.ย. 2021, แอฟริกาใต้ สหรัฐ
พรีคลินิก
HGC019

Gennova Biopharmaceuticals, HDT Biotech Corporation

อินเดีย สหรัฐ วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 2-3 (4,400)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก ตามแผน อำพรางผู้สังเกตการณ์ ทำที่ศูนย์หลายศูนย์เพื่อตรวจความปลอดภัย ความอดทนรับได้ และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่สุขภาพดี

ระยะ 2 (400) ระยะ 3 (4,000)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2021-?, อินเดีย

ระยะ 1-2 (620)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก หาขนาดยา มีกลุ่มคู่ขนาน ไขว้กลุ่ม ทำที่ศูนย์หลายศูนย์เพื่อตรวจความปลอดภัย ความอดทนรับได้ และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้หใญ่สุขภาพดี

ระยะ 1 (120) การศึกษาแบบไม่อำพรางกับผู้มีสุขภาพดีอายุ 18-70 ปี. ระยะ 2 (500) การศึกษาแบบอำพรางผู้สังเกตการณ์ในผู้มีสุขภาพดีอายุ 18-75 ปี
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย. 2021-ต.ค. 2021, อินเดีย

PTX-COVID19-B

Providence Therapeutics

แคนาดา วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (60)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ม.ค.-พ.ค. 2021, แคนาดา
พรีคลินิก
COVAC-2

Vaccine and Infectious Disease Organization (University of Saskatchewan)

แคนาดา วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 บวกกับตัวเสริม) ระยะ 1 (108)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ เพิ่มขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ. 2021 – ต.ค. 2022, แฮลิแฟกซ์ (แคนาดา)
พรีคลินิก
COVI-VAC (CDX-005)

Codagenix Inc.

สหรัฐ วัคซีนเชื้อลดฤทธิ์ ระยะ 1 (48)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย เพิ่มขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-มิ.ย. 2021, สหราชอาณาจักร
พรีคลินิก
CoV2 SAM (LNP)

แกล็กโซสมิธไคลน์

สหราชอาณาจักร วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (40)
การทดลองแบบไม่สุ่ม ไม่อำพราง เพิ่มขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ.-มิ.ย. 2021, สหรัฐ
พรีคลินิก
COVIGEN

Bionet Asia, Technovalia, มหาวิทยาลัยซิดนีย์

ออสเตรเลีย ไทย วัคซีนดีเอ็นเอ ระยะ 1 (150)
การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย หาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ. 2021-มิ.ย. 2022, ออสเตรเลีย ไทย
พรีคลินิก
MV-014-212

Meissa Vaccine Inc.

สหรัฐ วัคซีนเชื้อลดฤทธิ์ ระยะ 1 (130)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021-ต.ค. 2022, United States
พรีคลินิก
S-268019

Shionogi

ญี่ปุ่น วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (300)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย มีกลุ่มคู่ขนาน
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-มิ.ย. 2022, ญี่ปุ่น
พรีคลินิก
KBP-201

Kentucky Bioprocessing

สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (180)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ มีกลุ่มคู่ขนาน
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-พ.ค. 2022, สหรัฐ
พรีคลินิก
AdCLD-CoV19

Cellid Co

เกาหลีใต้ วัคซีนเวกเตอร์ไวรัส ระยะ 1-2 (150)
ระยะ 1 การทดลองแบบไม่อำพราง เพิ่มขนาดยา ทำที่ศูนย์เดียว

ระยะ 2a การทดลองแบบสุ่ม ไม่อำพราง ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-ก.ค. 2021, เกาหลีใต้

พรีคลินิก
AdimrSC-2f

Adimmune Corporation

ไต้หวัน วัคซีนซับยูนิต (Recombinant RBD +/− Aluminium) ระยะ 1 (70)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ไม่อำพราง หาขนาดยา ทำที่ศูนย์เดียว
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค.-พ.ย. 2020, ไต้หวัน
พรีคลินิก
AKS-452

University Medical Center Groningen

เนเธอร์แลนด์ วัคซีนเป็นเวกเตอร์ซับยูนิต ระยะ 1-2 (130)
การทดลองแบบไม่สุ่ม ไม่อำพราง ทำที่ศูนย์เดียว combinatorial
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.-มิ.ย. 2021, เนเธอร์แลนด์
พรีคลินิก
GLS-5310

GeneOne Life Science Inc.

เกาหลีใต้ วัคซีนดีเอ็นเอ ระยะ 1-2 (345)
การทดลองแบบรวมระยะ 1 (เพิ่มขนาดยา) และ 2a (อำพรางทั้งสองฝ่าย) แบบสุ่ม ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-ก.ค. 2022, เกาหลีใต้
พรีคลินิก
Covigenix VAX-001

Entos Pharmaceuticals Inc.

แคนาดา วัคซีนดีเอ็นเอ ระยะ 1-2 (72)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ หาขนาดยา และปรับได้
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.-ส.ค. 2021, แคนาดา
พรีคลินิก
NBP2001

SK Bioscience Co. Ltd.

เกาหลีใต้ วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนลูกผสมบวกกับตัวเสริมประเภทอลูมิเนียม) ระยะ 1 (50)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ เพิ่มขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-เม.ย. 2021, เกาหลีใต้
พรีคลินิก
CoVac-1

University of Tübingen

เยอรมนี วัคซีนซับยูนิต (เพปไทด์) ระยะ 1-2 (104)
ระยะ 1 (36) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์ เพิ่มขนาดยา

ระยะ 1/2 (68) การทดลองเพื่อตรวจความปลอดภัย และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของผู้ที่มีความบกพร่องทางแอนติบอดีหรือ Bcell
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020-ก.พ. 2022, เยอรมนี

พรีคลินิก
bacTRL-Spike

Symvivo

แคนาดา วัคซีนดีเอ็นเอ ระยะ 1 (24)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2020-ก.พ. 2022, ออสเตรเลีย
พรีคลินิก
CORVax12

Providence Health & Services

สหรัฐ วัคซีนดีเอ็นเอ ระยะ 1 (36)
การทดลองแบบไม่สุ่ม ไม่อำพราง มีกลุ่มคู่ขนาน เพื่อตรวจความปลอดภัยของวัคซีน 2 โดสที่ฉีดห่างกัน 4 สัปดาห์โดยมี/หรือไม่มีตัวเพิ่มคือ electroporated IL-12p70 plasmid ในคน 2 กลุ่มแบ่งโดยวัย คือ กลุ่มอายุ 18-50 ปี และกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปี
ช่วงเวลาและแหล่ง: ธ.ค. 2020-ก.ค. 2021, สหรัฐ
พรีคลินิก
ChAdV68-S (SAM-LNP-S)

สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ, Gritstone Oncology

สหรัฐ วัคซีนเวกเตอร์ไวรัส ระยะ 1 (150)
การทดลองแบบไม่อำพราง มีกลุ่มคู่ขนาน เพิ่มขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021-ก.ย. 2022, สหรัฐ
พรีคลินิก
VXA-CoV2-1 (VXA-NVV-104)

Vaxart

สหรัฐ วัคซีนเวกเตอร์ไวรัส ระยะ 1 (83)
ระยะ 1a (35) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย

ระยะ 1b (48) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2020-ส.ค. 2021, สหรัฐ

พรีคลินิก
SpFN COVID-19 vaccine

United States Army Medical Research and Development Command

สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1 (72)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย. 2021-ต.ค. 2022, สหรัฐ
พรีคลินิก
MVA-SARS-2-S (MVA-SARS-2-ST)

University Medical Center Hamburg-Eppendorf

เยอรมนี วัคซีนเวกเตอร์ไวรัส ระยะ 1-2 (270)
ระยะ 1 (30) การทดลองแบบเปิด ทำที่ศูนย์เดียว

ระยะ 1b/2a (240) การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำที่ศูนย์หลายศูนย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: ต.ค. 2020-มี.ค. 2022, เยอรมนี

พรีคลินิก
ReCOV

Jiangsu Rec-Biotechnology Co Ltd

จีน วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนลูกผสมรวมโปรตีนหนามและ RBD เพาะใน CHO cell) ระยะ 1 (160)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย หาขนาดยา เป็นระยะแรกที่ทดลองในมนุษย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.-ก.ค. 2021, นิวซีแลนด์
พรีคลินิก
Koçak-19 Inaktif Adjuvanlı COVID-19 vaccine

Kocak Farma

ตุรกี วัคซีนซึ่งใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว ระยะ 1 (38)
การศึกษาระยะที่ 1 เพื่อตรวจความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนในขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งฉีดเข้าในกล้ามเนื้อของอาสาสมัครสุขภาพดี เป็นการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.-มิ.ย. 2021, ตุรกี
พรีคลินิก
mRNA-1283

โมเดอร์นา

สหรัฐ วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (125)
การทดลองแบบสุ่ม อำพรางผู้สังเกตการณ์ หาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021-เม.ย. 2022, สหรัฐ
พรีคลินิก
DS-5670

Daiichi Sankyo

ญี่ปุ่น วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1-2 (152)
การศึกษาระยะที่ 1/2 เพื่อตรวจความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนในอาสาสมัครญี่ปุ่นผู้ใหญ่และคนชราผู้มีสุขภาพดี
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021-ก.ค. 2022, ญี่ปุ่น
พรีคลินิก
CoV2-OGEN1

Syneos Health, US Specialty Formulations

สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1 (45)
การทดลองระยะแรกในมนุษย์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย.-ธ.ค. 2021, นิวซีแลนด์
พรีคลินิก
KD-414

KM Biologics Co

ญี่ปุ่น วัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย ระยะ 1-2 (210)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย มีกลุ่มคู่ขนาน
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021-ธ.ค. 2022, ญี่ปุ่น
พรีคลินิก
CoVepiT

OSE Immunotherapeutics

ฝรั่งเศส วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1 (48)
การทดลองแบบสุ่ม ไม่อำพราง
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.-ก.ย. 2021, ฝรั่งเศส
พรีคลินิก
HDT-301

Senai Cimatec

บราซิล วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (78)
การทดลองแบบสุ่ม ไม่อำพราง หาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย.-ก.ย. 2021, บราซิล
พรีคลินิก
SC-Ad6-1

Tetherex Pharmaceuticals

สหรัฐ เวกเตอร์ไวรัส ระยะ 1 (40)
การทดลองระยะแรกในมนุษย์ ไม่อำพราง หาขนาดยา ฉีดโดสเดียวหรือสองโดส
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย-ธ.ค. 2021, ออสเตรเลีย
พรีคลินิก
ยังไม่ตั้งชื่อ

Osman ERGANIS, Scientific and Technological Research Council of Turkey

ตุรกี วัคซีนไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย ระยะ 1 (50)
การศึกษาระยะที่ 1 เพื่อตรวจความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีนเชื้อตายบวกยาเสริมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ในอาสาสมัครสุขภาพดี ฉีดใต้ผิวหนัง แบ่งเป็นสองกลุ่มที่ใช้ยาขนาดไม่เท่ากัน
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.-ต.ค. 2021, ตุรกี
พรีคลินิก
EXG-5003

Elixirgen Therapeutics, Fujita Health University

ญี่ปุ่น สหรัฐ วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1-2 (60)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย. 2021-ม.ค. 2023, ญี่ปุ่น
พรีคลินิก
mRNACOVID-19 Vaccine

Stemirna Therapeutics Co. Ltd.

จีน วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (240)
การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค.-ก.ค. 2021, จีน
พรีคลินิก
IVX-411

Icosavax, Seqirus Inc.

สหรัฐ อนุภาคคล้ายไวรัส ระยะ 1-2 (168)
ระยะ 1/2 (84) การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2021-2022, ออสเตรเลีย
พรีคลินิก
QazCoVac-P

Research Institute for Biological Safety Problems

คาซัคสถาน วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (244)
ระยะ 1 การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม อำพราง

ระยะ 2 การทดลองแบบสุ่ม ไม่อำพราง
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย.-ธ.ค. 2021, คาซัคสถาน

พรีคลินิก
LNP-nCOV saRNA-02

MRC/UVRI & LSHTM Uganda Research Unit

ยูกันดา วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (42)
การทดลองเพื่อตรวจความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิต้านทานซึ่งเป็นวัคซีนแบบ Self-amplifying Ribonucleic Acid ในอาสาสมัครชาวยูกันดาทั้งที่มีภูมิและไม่มีภูมิต้าทานไวรัสโควิด-19
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย. 2021-มิ.ย. 2022, Uganda
พรีคลินิก
Noora

Baqiyatallah University of Medical Sciences

อิหร่าน วัคซีนซับยูนิต (โปรตีน RBD ลูกผสม) ระยะ 1 (70)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย.-ส.ค. 2021, อิหร่าน
พรีคลินิก
Baiya SARS-CoV-2 Vax 1

Baiya Phytopharm Co Ltd.

ไทย วัคซีนซับยูนิตที่เพาะในพืช (เป็นโปรตีน RBD-Fc บวกกับยาเสริม) ระยะ 1 (96)
การทดลองแบบสุ่ม ไม่อำพราง หาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ย.-ธ.ค. 2021, Thailand
พรีคลินิก
CVXGA1

CyanVac LLC

สหรัฐ เวกเตอร์ไวรัส ระยะ 1 (80)
ไม่อำพราง
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค.-ธ.ค. 2021, สหรัฐ
พรีคลินิก
ยังไม่ตั้งชื่อ

St. Petersburg Scientific Research Institute of Vaccines and Sera of Russia at the Federal Medical Biological Agency

รัสเซีย วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนลูกผสม) ระยะ 1-2 (200)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค.-? 2021, รัสเซีย
พรีคลินิก
LVRNA009

Liverna Therapeutics Inc.

จีน วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (24)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค.-พ.ย. 2021, จีน
พรีคลินิก
PHH-1V

Hipra

สเปน วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (30)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม อำพรางผู้สังเกตการณ์ หาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค.-พ.ย. 2021, สเปน
พรีคลินิก
Versamune-CoV-2FC

Farmacore Biotechnology, PDS Biotechnology Corporation, Faculty of Medicine of Ribeirão Preto

บราซิล สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (360)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ย. 2021-มี.ค. 2022, บราซิล
พรีคลินิก
ยังไม่ตั้งชื่อ

North's Academy of Medical Science Medical biology institute

เกาหลีหนือ วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนหนามบวกกับ Angiotensin-converting enzyme 2) ระยะ 1-2 (?)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.ค. 2020, เกาหลีหนือ
พรีคลินิก
ยังไม่ตั้งชื่อ

ซิโนฟาร์ม

จีน วัคซีนซับยูนิต ระยะ 1-2 (?)
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย. 2021-?, จีน
พรีคลินิก
Vabiotech COVID-19 vaccine

Vaccine and Biological Production Company No.1 (Vabiotech)

เวียดนาม วัคซีนซับยูนิต พรีคลินิก
สถานะ - รอทำการทดลองระยะที่ 1
?
INO-4802

Inovio Pharmaceuticals

สหรัฐ วัคซีนดีเอ็นเอ พรีคลินิก
สถานะ - รอทำการทดลองระยะที่ 1/2
?
Bangavax (Bancovid)

Globe Biotech Ltd of Bangladesh

บังกลาเทศ วัคซีนอาร์เอ็นเอ พรีคลินิก
สถานะ - รออนุมัติให้ทำการทดลองระยะแรก
?
ยังไม่ตั้งชื่อ

Indian Immunologicals, Griffith University

ออสเตรเลีย อินเดีย วัคซีนเชื้อลดฤทธิ์ พรีคลินิก ?
EPV-CoV-19

EpiVax

สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต (T cell epitope-based protein) พรีคลินิก ?
CV2CoV

CureVac, แกล็กโซสมิธไคลน์

เยอรมนี สหราชอาณาจักร วัคซีนอาร์เอ็นเอ พรีคลินิก ?
DYAI-100

Sorrento Therapeutics, Dyadic International, Inc.

สหรัฐ วัคซีนซับยูนิต พรีคลินิก ?
ยังไม่ตั้งชื่อ

กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย, Malaysia Institute of Medical Research Malaysia, Universiti Putra Malaysia

มาเลเซีย วัคซีนอาร์เอ็นเอ พรีคลินิก ?
ARCT-165

Arcturus Therapeutics

สหรัฐ วัคซีนอาร์เอ็นเอ พรีคลินิก
สถานะ - รอการอนุมัติให้ทำาการทดลองระยะ 1/2
?
AdCOVID

Altimmune Inc.

สหรัฐ เวกเตอร์ไวรัส ยกเลิกแล้ว (180)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ. 2021-ก.พ. 2022, สหรัฐ
พรีคลินิก
LNP-nCoVsaRNA

หน่วย Medical Research Council Clinical Trials Unit ที่อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน

สหราชอาณาจักร วัคซีนอาร์เอ็นเอ ระยะ 1 (105)
การทดลองระยะที่ 1 แบบสุ่มโดยทดลองเพิ่มขนาดยา (15) แล้วขยายเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย (อย่างน้อย 200)
แหล่ง: สหราชอาณาจักร
ช่วงเวลา: มิ.ย. 2020-ก.ค. 2021
พรีคลินิก
TMV-083

Institut Pasteur

ฝรั่งเศส เวกเตอร์ไวรัส ยกเลิกแล้ว (90)
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ยาหลอก
ช่วงเวลาและแหล่ง: ส.ค. 2020-ก.ค. 2021, เบลเยียม ฝรั่งเศส
?
SARS-CoV-2 Sclamp/V451

มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์, Syneos Health, เซพี, Seqirus (ส่วนของ CSL Limited)

วัคซีนซับยูนิต (โปรตีนหนามทำให้เสถียรด้วย molecular clamp บวกกับตัวเสริม MF59) ยกเลิกแล้ว (120)
การทดลองแบบสุ่มและใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย ตรวจหาขนาดยา
สถานะ - ได้ผลบวกลวงเมื่อตรวจไวรัสเอชไอวีในอาสาสมัคร
แหล่ง: บริสเบน
ช่วงเวลา: ก.ค.-ต.ค. 2020
?


V590 และ V591/MV-SARS-CoV-2

เมอร์ค (Themis BIOscience), สถาบันปาสเตอร์, University of Pittsburgh's Center for Vaccine Research (CVR), เซพี

สหรัฐ ฝรั่งเศส วัคซีนที่ใช้ไวรัส Vesicular stomatitis เป็นเวกเตอร์ หรือ Measles morbillivirus เป็นเวกเตอร์ ยกเลิกแล้ว
สถานะ - การทดลองระยะที่ 1 พบการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในระดับอ่อนกว่าที่พบในการติดเชื้อจริง ๆ และที่พบในวัคซีนโควิด-19 อื่น 

การฉีดวัคซีนบูสต์ชนิดเดียวกัน

ในเดือนกรกฎาคม 2021 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ได้ร่วมกันแถลงการณ์ว่า การฉีดวัคซีนบูสต์ยังไม่จำเป็นสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนตามสูตรแล้ว โดยระบุด้วยว่า องค์กรต่าง ๆ ของรัฐรวมทั้ง FDA, CDC, และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐมุ่งมั่นใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดเพื่อพิจารณาว่า เมื่อไรจึงต้องฉีดวัคซีนบูสต์ ต่อมาในเดือนสิงหาคม FDA และ CDC จึงได้อนุมัติให้ฉีดวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอเป็นตัวบูสต์สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การฉีดวัคซีนบูสต์ต่างชนิด

ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเชื่อว่า การฉีดวัคซีนสองโดสต่างชนิดกัน (prime-boost vaccination) จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันเทียบกับการฉีดวัคซีนสองโดสเหมือนกัน โดยมีงานศึกษาที่กำลังตรวจสอบผลเช่นนี้อยู่ แม้จะยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนไขว้เช่นนี้ แคนาดาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปต่างก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนโดสที่สองต่างชนิดกันสำหรับบุคคลที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นโดสที่หนึ่ง

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 กลุ่มวิจัยวัคซีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้เริ่มการทดลองซึ่งตรวจสอบการได้วัคซีนโควิด-19 สองโดสโดยต่างชนิด ณ เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ก็ได้ดำเนินไปถึงการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 แล้วโดยมีงานสองงาน คือ Com-COV และ Com-COV2

งานทดลอง Com-COV เปรียบการฉีดวัคซีนไขว้คือ วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้ากับของไฟเซอร์-ไบออนเทค เทียบกับการฉีดวัคซีนสองชนิดสองเข็มประเภทเดียวกัน โดยมีระยะห่าง 28 วัน (4 สัปดาห์) หรือ 84 วัน (12 สัปดาห์) ระหว่างโดส ส่วนงานทดลอง Com-COV2 ฉีดวัคซีนโดสแรกซึ่งไม่เป็นของแอสตร้าเซนเนก้าก็เป็นของไฟเซอร์ ส่วนโดสที่สองเป็นของโมเดอร์นา หรือของโนวาแวกซ์ หรือเป็นวัคซีนชนิดเดียวกันกับโดสแรก โดยฉีดห่างกัน 56 วัน (8 สัปดาห์) หรือ 84 วัน (12 สัปดาห์)

งานศึกษาอีกงานหนึ่งในสหราชอาณาจักรกำลังตรวจการฉีดบูสต์ซึ่งเลือกวัคซีนโดยสุ่ม วัคซีนอาจเป็นของแอสตร้าเซนเนก้า, ของไฟเซอร์, ของโมเดอร์นา, ของโนวาแวกซ์, VLA2001, CureVac, หรือของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

การฉีดวัคซีนไขว้ที่กำลังทดลองทางคลินิก
โดสแรก โดสสอง ตารางการฉีด ระยะการทดลอง (จำนวนอาสาสมัคร), ช่วงเวลา และเขตที่ทำ
แอสตร้าเซนเนก้า
ไฟเซอร์
แอสตร้าเซนเนก้า
ไฟเซอร์
วันที่ 0 และ 28
วันที่ 0 และ 84
ระยะ 2 (820)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ.-ส.ค. 2021, สหราชอาณาจักร
สปุตนิกไลท์ แอสตร้าเซนเนก้า
ของโมเดอร์นา
ของซิโนฟาร์ม
ระยะ 2 (121)
ช่วงเวลาและแหล่ง: ก.พ.-ส.ค. 2021, อาร์เจนตินา
แอสตร้าเซนเนก้า
ไฟเซอร์
แอสตร้าเซนเนก้า
ไฟเซอร์
โมเดอร์นา
โนวาแวกซ์
วันที่ 0 และ 56-84 ระยะ 2 (1,050)
ช่วงเวลาและแหล่ง: มี.ค. 2021-ก.ย. 2022, สหราชอาณาจักร
Convidecia ZF2001 วันที่ 0 และ 28
วันที่ 0 และ 56
ระยะ 4 (120)
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย.-ธ.ค. 2021, จีน
แอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ วันที่ 0 และ 28 ระยะ 2 (676)
ช่วงเวลาและแหล่ง: เม.ย. 2021-เม.ย. 2022, สเปน
แอสตร้าเซนเนก้า
ไฟเซอร์
โมเดอร์นา
ไฟเซอร์
โมเดอร์นา
วันที่ 0 และ 28
วันที่ 0 และ 112
ระยะ 2 (1,200)
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค. 2021-มี.ค. 2023, แคนาดา
ไฟเซอร์
โมเดอร์นา
ไฟเซอร์
โมเดอร์นา
วันที่ 0 และ 42 ระยะ 2 (400)
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค. 2021-ม.ค. 2022, ฝรั่งเศส
แอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ วันที่ 0 และ 28
วันที่ 0 และ 21-49
ระยะ 2 (3,000)
ช่วงเวลาและแหล่ง: พ.ค.-ธ.ค. 2021, ออสเตรีย
จอห์นสัน ไฟเซอร์
จอห์นสัน
โมเดอร์นา
วันที่ 0 และ 84 ระยะ 2 (432)
ช่วงเวลาและแหล่ง: มิ.ย. 2021-ก.ย. 2022, เนเธอร์แลนด์

งานวิจัยพรีคลินิก

ในเดือนเมษายน องค์การอนามัยโลกแถลงการณ์โดยเป็นตัวแทนของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลกว่าจะร่วมมือกันเพื่อเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด โดยชักชวนองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรที่กำลังพัฒนาวัคซีนแคนดิเดต องค์กรควบคุมและตั้งนโยบายของรัฐ ผู้ให้เงินทุน องค์กรสาธารณสุข และรัฐบาล ให้ร่วมมือกันเพื่อให้สามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิผลได้โดยมีปริมาณเพียงพอในการแจกจำหน่ายให้แก่เขตต่าง ๆ ทั้งหมดของโลกโดยเฉพาะเขตที่ยากจน

เมื่อวิเคราะห์ประวัติของอุตสาหกรรมพัฒนาวัคซีนก็พบว่า การพัฒนาจะล้มเหลวในอัตราร้อยละ 84–90 อนึ่ง เพราะโควิดเป็นไวรัสใหม่ มีลักษณะต่าง ๆ ที่ยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และต้องใช้กลยุทธ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวัคซีน ทุก ๆ ขั้นตอนจึงเสี่ยงไม่สำเร็จสูงมาก

เพื่อประเมินประสิทธิผลที่วัคซีนหนึ่ง ๆ อาจมี ก็จะต้องพัฒนาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์และสัตว์จำลองซึ่งเฉพาะเจาะจงต่อโควิดที่ไม่เคยมีมาก่อน และสิ่งจำลองเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถทดสอบยืนยันกับลักษณะต่าง ๆ ของไวรัสที่ยังไม่ปรากฏ เป็นสิ่งที่ต้องร่วมกันทำโดยกำลังจัดตั้งในปี 2020 ในบรรดาวัคซีนแคนดิเดตที่ยืนยันแล้วว่ากำลังพัฒนา บริษัทเอกชนเป็นผู้พัฒนาในอัตราร้อยละ 70 ที่เหลือนักวิชาการ รัฐบาล และองค์กรสาธารณสุขเป็นผู้พัฒนา

ผู้พัฒนาวัคซีนโดยมากเป็นบริษัทเล็ก ๆ หรือทีมนักวิจัยในมหาวิทยาลัยผู้มีประสบการณ์น้อยในการออกแบบวัคซีนให้ประสบความสำเร็จ มีทุนจำกัดเพื่อทำงานทดลองทางคลินิกที่ซับซ้อนและเพื่อผลิตวัคซีนถ้าไม่ได้บริษัทเภสัชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติเป็นหุ้นส่วน ผู้กำลังพัฒนาวัคซีนรวมองค์กรในสหรัฐและแคนาดาซึ่งทั้งสองรวมกันมีงานวิจัยวัคซีนที่กำลังดำเนินการเป็นอัตราร้อยละ 46 ทั้งหมดของโลก เทียบกับเอเชียที่ร้อยละ 36 รวมทั้งประเทศจีน และกับยุโรปที่ร้อยละ 18

การทดลองระยะ 1 ที่วางแผนในปี 2020

วัคซีนแคนดิเดตที่กำลังออกแบบหรือพัฒนาในระยะพรีคลินิกสำหรับโควิดอาจไม่ได้รับอนุมัติให้ศึกษาในมนุษย์ช่วงปี 2020 เพราะเป็นพิษ ไม่มีประสิทธิผลชักนำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง หรือล้มเหลวในด้านต่าง ๆ ในสัตว์ทดลอง หรืออาจไม่มีทุนพอ สำหรับโรคติดเชื้อ โอกาสประสบความสำเร็จของวัคซีนแคนดิเดตในการฝ่าอุปสรรคระยะพรีคลินิกแล้วเข้าสู่การทดลองในมนุษย์ระยะที่ 1 อยู่ในอัตราร้อยละ 41–57

ค่าใช้จ่ายของการทดลองเบื้องต้นในมนุษย์ค่อนข้างสูงสำหรับผู้พัฒนาวัคซีน ประเมินอยู่ที่ 14–25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 440–786 ล้านบาท) สำหรับโปรแกรมการทดลองระยะที่ 1 ทั่วไป แต่ก็อาจถึง 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,200 ล้านบาท) ได้เหมือนกัน เมื่อเปรียบเทียบกับ|โรคไวรัสอีโบลาที่ระบาดทั่วระหว่างปี 2013–2016 ซึ่งมีวัคซีนแคนดิเดต 37 ชนิดที่พัฒนาอย่างเร่งด่วน มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีน โดยมีค่าใช้จ่ายเพื่อยืนยันประสิทธิผลในการทดลองระยะที่ 2–3 ประมาณพันล้านดอลลาร์สหรัฐ (35,292 ล้านบาท)

วัคซีนที่ไม่เฉพาะเจาะจงโรคโควิด

วัคซีนบางชนิดมีผลที่ไม่เฉพาะเจาะจง (non-specific effects) คืออาจมีประโยชน์เกินนอกเหนือจากโรคที่ป้องกัน

แม้อ้างว่า (มี.ค., มิ.ย. และ ก.ค.) อัตราการตายเหตุโควิดจะต่ำกว่าในประเทศที่ฉีดวัคซีนบีซีจีเพื่อป้องกันวัณโรคเป็นปกติ แต่องค์การอนามัยโลกก็กล่าวในเดือนเมษายนว่า ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนนี้มีผลต้านโควิด ในเดือนมีนาคม 2020 ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มการทดลองวัคซีนบีซีจีแบบสุ่มเพื่อลดการติดโรคโควิดโดยรับแพทย์พยาบาล 1,000 คนออสเตรเลียก็ทดลองแบบสุ่มเช่นกันโดยรับแพทย์พยาบาล 4,170 คน

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยยาหลอกเพื่อตรวจว่าวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (ป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน) สามารถป้องกันแพทย์พยาบาลจากโรคโควิดจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2020 ที่กรุงไคโรโดยรับอาสาสมัคร 200 คน

วัคซีนบีซีจี

นักวิจัยได้ศึกษาวัคซีนบีซีจีอันอาจมีผลที่ไม่เฉพาะเจาะจง (non-specific effects) เป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังจากสังเกตการณ์ว่าอัตราตายและความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าในประเทศกำลังพัฒนา (ที่มักใช้วัคซีนนี้) แต่องค์การอนามัยโลกก็เตือนว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจมีผลต่อข้อสังเกตเช่นนี้เช่น อัตราการตรวจโรคโควิดและภาระโรค (disease burden) ในการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วัคซีนนี้พบว่ามีผลไม่เฉพาะเจาะจงเป็นการป้องกันการติดเชื้อทางลมหายใจอื่น 

ปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานพอสนับสนุนข้อสรุปว่า วัคซีนบีซีจีมีประสิทธิภาพป้องกันโควิด ในเดือนตุลาคม มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ (อังกฤษ) ประกาศการทดลองนานาชาติขนาดใหญ่เพื่อศึกษาว่า การให้วัคซีนบีซีจีสามารถลดอันตรายของโควิดต่อบุคลากรทางแพทย์หรือไม่ ซึ่งเนเธอร์แลนด์ก็ประกาศเช่นเดียวกันในเดือนพฤษภาคมก่อนหน้านั้น

การใช้ตัวเสริม (adjuvant)

จนถึงเดือนกันยายน 2020 วัคซีนแคนดิเดต 11 อย่างที่อยู่ในระยะการทดลองทางคลินิกใช้ตัวเสริมเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันตัวเสริม หรือ immunological adjuvant เป็นสารที่เลือกใช้กับวัคซีนเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจน เช่นต่อไวรัสโควิดหรือไข้หวัดใหญ่ ตรง ๆ ก็คือ ตัวเสริมอาจใช้กับวัคซีนโควิดเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและเพิ่มประสิทธิศักย์ในการลดหรือป้องกันการติดเชื้อโควิดในบุคคลที่ได้วัคซีน ตัวเสริมอาจมีประสิทธิภาพเป็นพิเศษในเทคโนโลยีที่ใช้ไวรัสโควิดเชื้อตาย (inactivated) ในวัคซีนโปรตีนที่ได้จากยีนลูกผสม (recombinant protein) หรือในวัคซีนที่ใช้เวกเตอร์ (vector) เกลืออะลูมิเนียม (aluminum salt, alum) เป็นตัวเสริมแรกที่ใช้ในวัคซีนซึ่งได้อนุมัติ โดยเลือกใส่ในวัคซีนที่ใช้ตัวเสริมเกินร้อยละ 80 และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 เป็นสารที่เริ่มกลไกทางโมเลกุลและเซลล์อย่างหลายหลากเพื่อเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน รวมทั้งการปล่อยไซโตไคน์ที่เสริมการอักเสบ

ประสิทธิศักย์

เส้นโค้งการติดไวรัสโควิด-19 ที่แสดงอาการแบบสะสม (cumulative incidence curve) หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค (โทซิแนเมแรน) โดสแรก เทียบกับที่ฉีดยาหลอก ในการทดลองทางคลินิกแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย คือทั้งผู้ฉีดยาและผู้ตรวจสอบไม่รู้ว่าผู้ฉีดยาได้วัคซีนหรือยาหลอก (เส้นแดง) ยาหลอก (เส้นน้ำเงิน) โทซิแนเมแรน

ประสิทธิศักย์ของวัคซีน (efficacy) หมายถึงสมรรถภาพของวัคซีนในการลดความเสี่ยงการติดโรคของผู้ได้รับวัคซีนในการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม โดยเทียบกับผู้ไม่ได้รับ ประสิทธิศักย์ที่ ร้อยละ 0 หมายถึงวัคซีนไม่มีผลเลย (คือมีผลเท่ากับยาหลอก) และที่ร้อยละ 50 ก็หมายถึงการมีกรณีการติดโรคครึ่งหนึ่งเทียบกับผู้ไม่ได้วัคซีน

ประสิทธิศักย์อาจลดลงถ้าผู้ฉีดจับแขนหรือบีบแขนของผู้รับวัคซีนอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังแทนที่จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แนวทางการปฏิบัติปัจจุบันของศูนย์ป้องกันโรคสหรัฐก็คือไม่ควรฉีดวัคซีนซ้ำหลังจากที่ได้ฉีดพลาดเข้าใต้ผิวหนัง

เป็นการยากที่จะเทียบประสิทธิศักย์ของวัคซีนต่างชนิดกัน เพราะข้อมูลประสิทธิศักย์ของวัคซีนแต่ละชนิดได้จากการทำการทดลองกับกลุ่มประชากรที่ต่างกัน ในภูมิภาคที่ต่างกัน และกับไวรัสสายพันธุ์ต่าง  กัน สำหรับโควิด-19 ประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 67 อาจพอชลอให้โรคระบาดช้าลง แต่วัคซีนที่มีในปัจจุบันก็ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันแบบกำจัดเชื้อ (sterilizing immunity) ซึ่งจำเป็นในการป้องกันไม่ให้โรคติดต่อ ประสิทธิศักย์ของวัคซีนจริง ๆ สะท้อนเพียงการป้องกันโรค และอาจเป็นตัวบ่งชี้การติดต่อเชื้อที่ไม่ดีเพราะผู้ไม่มีอาการก็ยังสามารถแพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้มาก

องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และสำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) มีเกณฑ์ประสิทธิศักย์ขั้นต่ำของวัคซีนโควิด-19 ที่ร้อยละ 50 สำหรับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ ทั่วไปแล้ว การฉีดวัคซีนให้ประชากรร้อยละ 75 เป็นเป้าหมายที่เชื่อว่าปฏิบัติได้จริง ดังนั้น วัคซีนจึงต้องมีประสิทธิภาพอย่างน้อยร้อยละ 70 เพื่อไม่ให้โรคระบาด (ขึ้นอยู่กับค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน คือ ) และร้อยละ 80 เพื่อกำจัดโรคโดยไม่ต้องควบใช้นโยบายอื่น ๆ เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม

ประสิทธิศักย์ที่ไม่น้อยของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอบางอย่างหลังจากฉีดเพียงแค่โดสเดียวเป็นตัวบ่งว่า การฉีดวัคซีนแต่ละโดสสัมพันธ์อย่างไม่เชิงเส้นกับประสิทธิศักย์ ซึ่งจริง ๆ ก็ได้เห็นแล้วตั้งแต่การทดลองระยะที่ 1-2 และแสดงนัยว่า การให้วัคซีนในขนาดที่เฉพาะบุคคล ๆ (เช่น ให้เต็มสูตรสำหรับคนชรา ให้น้อยลดสำหรับเยาวชน และให้เพิ่มสำหรับผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง) อาจช่วยเร่งการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเมื่อวัคซีนมีจำกัด และช่วยย่นระยะเหตุการณ์ระบาด ดังที่จริง ๆ แบบจำลองการระบาดได้แสดงให้เห็นแล้ว

พิสัยต่าง ๆ ในตารางต่อไปนี้มีช่วงความเชื่อมั่น (CI) ที่ร้อยละ 95 ยกเว้นจะระบุเป็นพิเศษ โดยค่าเป็นจริงสำหรับคนทุกช่วงอายุตามแหล่งอ้างอิง โดยนิยามแล้ว ความแม่นยำของค่าประเมินที่ไม่มีช่วงความเชื่อมั่นจะยังไม่ชัดเจน ค่าประสิทธิศักย์ในการป้องกันโรคที่มีอาการรุนแรงเป็นเรื่องสำคัญสุด เพราะการเข้า รพ. และความตายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ต้องป้องกันก่อนอื่น วัคซีนที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้มีค่าประสิทธิศักย์ดังต่อไปนี้

วัคซีน ประสิทธิศักย์ตามความรุนแรงของโรค ที่ทำการทดลอง แหล่งอ้างอิง
น้อยหรือปานกลางอย่างเบา  รุนแรงแต่ไม่ถึงเข้า รพ. และไม่ถึงตาย รุนแรงจนถึงเข้า รพ. หรือถึงตาย
ออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า 81% (6091%) 100% (97.5 % CI, 72100%) 100% หลายประเทศ
76% (6882%) 100% 100% สหรัฐ
ไฟเซอร์-ไบออนเทค 95% (9098%) 66% (−125 to 96%) หลายประเทศ
95% (9098%) ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน สหรัฐ
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 66% (5575%) 85% (5497%) 100% หลายประเทศ
72% (5882%) 86% (−9 to 100%) 100% สหรัฐ
68% (4981%) 88% (8100%) 100% บราซิล
64% (4179%) 82% (4695%) 100% แอฟริกาใต้
โมเดอร์นา 94% (8997%) 100% 100% สหรัฐ
ซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) 78% (6586%) 100% 100% หลายประเทศ
สปุตนิกวี 92% (8695%) 100% (94100%) 100% รัสเซีย
ซิโนแวค 51% (3662%) 84% (5894%) 100% (56100%) บราซิล
84% (6592%) 100% 100% (20100%) ตุรกี
โคแว็กซิน 78% (6586%) 93% (57100%) อินเดีย
สปุตนิกไลท์ 79% ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน รัสเซีย
Convidecia 66% 91% ไม่มีรายงาน หลายประเทศ
ซิโนฟาร์ม (WIBP-CorV) 73% (5882%) 100% 100% หลายประเทศ
Abdala 92% (8696%) ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน คิวบา
Soberana 02 62% ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน คิวบา
โนวาแวกซ์ 90% (7595%) 100% 100% สหราชอาณาจักร
60% (2080%) 100% 100% แอฟริกาใต้
90% ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน สหรัฐ
ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน เม็กซิโก
CureVac 48% ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน หลายประเทศ
ZyCoV-D 67% ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน อินเดีย

ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล (effectiveness)

งานศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในสถานการณ์จริงจะวัดว่า วัคซีนสามารถป้องกันเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการติดเชื้อ อาการแสดง การเข้า รพ. และการตายได้แค่ไหน โดยติดตามตรวจสอบกับกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ในเหตุการณ์จริงที่ปัจจัยต่าง ๆ ไม่ได้เป็นไปตามคาดหวังทุกอย่าง

  • ในอิสราเอลช่วง 20 ธันวาคม 2020 - 28 มกราคม 2021 ในบรรดาคน 715,425 คนที่ฉีดวัคซีนของโมเดอร์นาหรือของไฟเซอร์-ไบออนเทค พบว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หลังจากได้โดสที่สอง มีเพียง 317 คน (ร้อยละ 0.04) ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-19 โดยมีอาการเบาจนถึงปานกลาง และมีเพียง 16 คน (ร้อยละ 0.002) ที่ต้องเข้า รพ.
  • ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ วัคซีนของโมเดอร์นาและของไฟเซอร์-ไบออนเทคมีผลป้องกันดีมากในสถานการณ์จริง คือ เมื่อได้วัคซีนครบ ประสิทธิภาพป้องกันโรคทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (≥14 วันหลังจากโดสที่สอง) อยู่ที่ร้อยละ 90 ส่วนเมื่อได้วัคซีนเพียงโดสเดียว ประสิทธิภาพป้องกันโรค (≥14 วันหลังจากโดสแรกแต่ก่อนได้โดสที่สอง) อยู่ที่ร้อยละ 80
  • ในสหราชอาณาจักร มีบุคลากรทางแพทย์ 15,121 คนใน รพ. 104 แห่งผู้ตรวจไม่พบแอนติบอดีสำหรับโควิด-19 ก่อนงานศึกษานี้ ที่ได้ติดตามตรวจด้วย RT-PCR อาทิตย์ละสองครั้งระหว่าง 7 ธันวาคม 2020 - 5 กุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่สายพันธุ์อัลฟากำลังระบาด งานศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่ได้วัคซีนกับผู้ที่ไม่ได้วัคซีน โดยร้อยละ 90.7 ได้วัคซีนและที่เหลือร้อยละ 9.3 ไม่ได้ แล้วพบว่า วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคลดการติดเชื้อทั้งหมด (รวมทั้งแบบไม่แสดงอาการ) 72% (5886%) 3 สัปดาห์หลังจากโดสแรกและ 86% (7697%) 1 สัปดาห์หลังจากโดสที่สอง
  • ในอิสราเอล งานศึกษากับกลุ่มประชากรทั่วไปจาก 17 มกราคม - 6 มีนาคม 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่อัลฟาเป็นสายพันธุ์หลัก พบว่า วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคลดการติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการร้อยละ 94 และลดการติดเชื้อแบบแสดงอาการร้อยละ 97
  • งานศึกษากับคนไข้ของมาโยคลินิกก่อนผ่าตัดในสหรัฐแสดงว่า วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ร้อยละ 80
  • งานศึกษาหนึ่งในสหราชอาณาจักรพบว่า วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าโดสหนึ่งมีผลป้องกันโรค 73% (2790%) สำหรับผู้มีอายุ 70 ปีและยิ่งกว่า
วัคซีน ประสิทธิภาพตามความรุนแรงของโรค ภูมิภาค อ้างอิง
ไม่แสดงอาการ แสดงอาการ การเข้า รพ. การตาย
ออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า ไม่มีรายงาน 89% (7894%) ไม่มีรายงาน อังกฤษ
ไฟเซอร์-ไบออนเทค 92% (9192%) 97% (9797%) 98% (9798%) 97% (9697%) อิสราเอล
92% (8895%) 94% (8798%) 87% (55100%) 97% อิสราเอล
ไม่มีรายงาน 78% (7779%) 98% (9699%) 96% (9597%) อุรุกวัย
85% (7496%) ไม่มีรายงาน สหราชอาณาจักร
90% (6897%) ไม่มีรายงาน 100% สหรัฐ
โมเดอร์นา 90% (6897%) ไม่มีรายงาน 100% สหรัฐ
ซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) ไม่มีรายงาน 84% อาร์เจนตินา
ไม่มีรายงาน 94% เปรู
สปุตนิกวี ไม่มีรายงาน 98% ไม่มีรายงาน รัสเซีย
ไม่มีรายงาน 98% 100% 100% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ซิโนแวค ไม่มีรายงาน 66% (6566%) 88% (8788%) 86% (8588%) ชิลี
ไม่มีรายงาน 60% (5961%) 91% (8993%) 95% (9396%) อุรุกวัย
ไม่มีรายงาน 94% 96% 98% อินโดนีเซีย
ไม่มีรายงาน 80% 86% 95% บราซิล
สปุตนิกไลท์ ไม่มีรายงาน 79% 88% 85% อาร์เจนตินา

อัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุมวิกฤติ

แม้เป้าหมายแรกสุดในเหตุการณ์โรคระบาดทั่วก็คือป้องกันคนไม่ไให้ติดโรค แต่เป้าหมายระยะยาวปกติก็คือเพื่อกำจัดโรคในที่สุด แต่จะทำอย่างนี้ได้ สัดส่วนประชากรที่มีภูมิคุ้มกันจะต้องยิ่งกว่าอัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุมวิกฤติ คือ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน คือ และประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดต่อโรค คือ ดังนี้คือ

สำหรับเชื้อโควิด-19 ถ้าสมมุติว่า R0 ≈ 2.87 อัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุมวิกฤติก็จะต้องยิ่งกว่าร้อยละ 72.4 สำหรับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันการติดต่อโรคได้ร้อยละ 90 เมื่อใช้สมการเดียวกัน ประสิทธิภาพป้องกันการติดต่อโรคที่จำเป็นของวัคซีนสามารถคำนวณได้โดยสมการ

ถ้าสมมุติเช่นกันว่า R0 ≈ 2.87 และสมมุติว่า จริง ๆ คงจะฉีดวัคซีนให้ประชากรได้ประมาณร้อยละ 75 วัคซีนก็จะต้องมีประสิทธิภาพป้องกันการติดต่อโรคได้ยิ่งกว่าร้อยละ 86.9 แต่ถ้าสมมุติอัตราการฉีดวัคซีนที่จริง ๆ ทำไม่ได้ว่าเต็มร้อย วัคซีนก็จะต้องมีประสิทธิภาพป้องกันการติดต่อโรคได้ยิ่งกว่าร้อยละ 65.2 และที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่านี้ก็จะไม่สามารถกำจัดโรคได้

จนถึงเดือนมิถุนายน 2021 งานศึกษาหลังวางตลาด (post-marketing) หลายงานได้ประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ แม้การป้องกันการติดเชื้อจะมีผลชะลอการติดต่อโรค (โดยเฉพาะแบบไม่แสดงอาการ) แต่ก็ยังต้องตรวจสอบผลระงับการติดต่อโรคที่ได้แน่นอนต่อไป

ไวรัสโควิด-19 บางสายพันธุ์ติดต่อได้ง่ายกว่า คือมีค่าระดับการติดเชื้อยังผล (effective reproduction number) ที่สูงกว่า ซึ่งระบุว่ามีค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐานที่สูงกว่า ดังนั้น การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยอัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุมที่สูงกว่า หรือวัคซีนต้องมีประสิทธิภาพป้องกันการติดต่อได้สูงกว่า หรืออาจจะต้องได้ปัจจัยทั้งสองอย่าง

ในเดือนกรกฎาคม 2021 ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านระบุว่า การได้ภูมิคุ้มกันหมู่ในปัจจุบันอาจเป็นไปไม่ได้เพราะว่าสายพันธุ์เดลตายังสามารถติดต่อได้แม้ในบุคคลที่ฉีดวัคซีนแล้ว ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐมีข้อมูลที่ระบุว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วสามารถแพร่เชื้อสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเจ้าหน้าที่เชื่อว่าไม่เกิดกับสายพันธุ์โควิด-19 อื่น 

สายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19

ข้อมูลเพิ่มเติม: สายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19
วิดีโอภาษาอังกฤษขององค์การอนามัยโลก ซึ่งอธิบายว่าสายพันธุ์ของโรคเกิดขึ้นได้อย่างไรในเขตที่ประชาชนไม่ได้ฉีดวัคซีน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไวรัสโควิด-19 กับมนุษย์ตอนแรกเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเพราะการฉีดวัคซีน โอกาสการเกิดสายพันธุ์โควิดที่ดื้อต่อแอนติบอดีที่วัคซีนรุ่นปัจจุบันกระตุ้นให้เกิด อาจทำให้ต้องปรับปรุงวัคซีน การทดลองต่าง ๆ ได้ระบุว่า วัคซีนที่พัฒนาเพื่อต่อต้านสายพันธุ์ดั้งเดิมมีประสิทธิศักย์ต่อต้านการติดเชื้อแบบแสดงอาการที่ลดลงสำหรับสายพันธุ์บางสายพันธุ์

อัลฟา (B.1.1.7)

ในเดือนธันวาคม สายพันธุ์ใหม่ของไวรัสโควิด-19 คือสายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) ได้พบเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร

องค์การอนามัยโลกระบุว่ามีหลักฐานจำกัดที่แสดงว่าวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า ของไฟเซอร์-ไบออนเทค และโนวาแวกซ์ยังคงประสิทธิผล/ประสิทธิภาพต่อต้านสายพันธุ์อัลฟาอยู่ ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูล ในเรื่องการคงระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ซึ่งป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการและสำคัญในการยุติเหตุการณ์ระบาดทั่ว วัคซีนที่ใช้มากที่สุดรวมทั้งสปุตนิกวี วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค ของโมเดอร์นา ของซิโนแวค ของซิโนฟาร์ม และโคแว็กซิน ก็ปรากฏว่าคงระดับแอนติบอดีสำหรับสายอัลฟาด้วย สำหรับวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า ระดับแอนติบอดีลดลงเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูล

ผลเบื้องต้นแสดงว่า วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและโมเดอร์นาสามารถป้องกันสายพันธุ์นี้

งานศึกษาหนึ่งระบุว่า วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิศักย์ระหว่าง 42-89 ต่อต้านสายพันธุ์นี้ เทียบกับร้อยละ 71-91 สำหรับสายพันธุ์อื่น

ผลเบื้องต้นจากการทดลองทางคลินิกระบุว่า วัคซีนโนวาแวกซ์มีประสิทธิภาพประมาณร้อยละ 96 สำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการสำหรับสายพันธุ์ดั้งเดิม และประมาณร้อยละ 86 สำหรับสายพันธุ์อัลฟา

เบตา (B.1.351)

ข้อมูลเพิ่มเติม: สายพันธุ์ของ SARS-CoV-2 § เบตา

องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีหลักฐานจำกัดจากงานศึกษาเบื้องต้นหลายงานที่แสดงว่าวัคซีนต่าง ๆ มีประสิทธิศักย์/ประสิทธิภาพต่อต้านสายพันธุ์เบตาลดลงในระดับต่าง ๆ รวมทั้งวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า (อาจจะมาก) โนวาแวกซ์ (ปานกลาง) วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคและจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (น้อย) โดยยังไม่มีข้อมูลสำหรับวัคซีนอื่น ๆ ในเรื่องการคงระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ซึ่งป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการและสำคัญในการยุติเหตุการณ์ระบาดทั่ว วัคซีนที่ใช้มากที่สุดรวมทั้งวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า สปุตนิกวี จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ไฟเซอร์-ไบออนเทค โมเดอร์นา และโนวาแวกซ์ล้วนมีแอนติบอดีลดลงในระดับน้อยจนถึงมาก ยกเว้นซิโนแวคและซิโนฟาร์มที่มีแอนติบอดีลดลงน้อย โดยวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูล

โมเดอร์นาได้เริ่มทำการทดลองวัคซีนรุ่นใหม่เพื่อจัดการสายพันธุ์เบตา (B.1.351) แล้ว ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2021 บริษัทไฟเซอร์ประกาศว่า สำหรับสายพันธุ์นี้ อานุภาพทำลายฤทธิ์ไวรัสของแอนติบอดีที่เนื่องกับวัคซีนลดลงถึง 2/3 โดยระบุด้วยว่ายังไม่สามารถกำหนดประสิทธิศักย์ของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ งานศึกษาหลายงานต่อมาได้ตรวจน้ำเหลืองของคนไข้ที่ได้ฉีดวัคซีนของโมเดอร์นาและของไฟเซอร์-ไบออนเทคแล้วยืนยันว่า อานุภาพทำลายฤทธิ์ไวรัสของแอนติบอดีที่เนื่องกับวัคซีนลดลงจริง ๆ แต่ในวันที่ 1 เมษายน 2021 รายงานจากการทดลองวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคในแอฟริกาใต้กลับรายงานว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพเต็มร้อยจนถึงตอนนั้น (คือ อาสาสมัครที่ฉีดวัคซีนไม่มีใครติดโรคเลย) เทียบกับกลุ่มยาหลอกที่อาสาสมัคร 6 คนติดเชื้อชนิดเบตา

ในเดือนมกราคม 2021 บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันซึ่งกำลังทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในแอฟริกาใต้ รายงานว่าประสิทธิศักย์การป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการปานกลางจนถึงหนักอยู่ที่ร้อยละ 72 ในสหรัฐและร้อยละ 57 ในแอฟริกาใต้

ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ หนังสือพิมพ์อังกฤษ Financial Times ได้รายงานข้อมูลเบื้องต้นจากงานศึกษาในแอฟริกาใต้ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดที่แสดงว่า วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิศักย์ลดลงสำหรับสายพันธุ์นี้ โดยพบว่า ในบรรดาผู้ได้รับวัคซีน 2,000 คน วัคซีนสามารถป้องกันโรคได้เพียงเล็กน้อยยกเว้นแต่คนที่มีอาการหนักสุด ต่อมาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2021 กระทรวงสาธารณสุขแอฟริกาใต้จึงระงับแผนการฉีดวัคซีนนี้ 1 ล้านโดสให้แก่ประชาชน

ในเดือนมีนาคม 2021 มีรายงานว่า "ประสิทธิศักย์เบื้องต้นที่พบ" ของโนวาแว็กซ์ (NVX-CoV2373) สำหรับการติดเชื้อชนิดเบตาที่มีอาการอ่อน ปานกลาง และรุนแรง สำหรับอาสาสมัครที่ตรวจไม่พบเอชไอวีอยู่ที่ร้อยละ 51

แกมมา (P.1)

ข้อมูลเพิ่มเติม: สายพันธุ์ของ SARS-CoV-2 § แกมมา

องค์การอนามัยโลกระบุว่ามีหลักฐานจำกัดที่แสดงว่าวัคซีนของซิโนแวคและของซิโนฟาร์ม ยังคงประสิทธิผล/ประสิทธิภาพต่อต้านสายพันธุ์แกมมาอยู่ ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูล ในเรื่องการคงระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ซึ่งป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการและสำคัญในการยุติเหตุการณ์ระบาดทั่ว วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าและของซิโนแวคไม่ลดหรือแทบไม่ลดประสิทธิภาพต่อต้านสายพันธุ์แกมมาเลย วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและของโมเดอร์นาลดลงบางเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูล ดังนั้น สายพันธุ์แกมมา (P.1, 20J/501Y.V3) ซึ่งเริ่มต้นพบที่บราซิล ดูเหมือนจะหลบภูมิคุ้มกันเนื่องกับวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคได้บ้าง

เดลตา (B.1.617.2)

สายพันธุ์เดลตา หรือ B.1.617.2 หรือ G/452R.V3 หรือ 21A หรือ 21A/S:478K ได้พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือนตุลาคม 2020 แต่หลังจากนั้นก็ได้กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ แล้ว เป็นสายพันธุ์ลูกหลานของ B.1.617 เช่นเดียวกับสายพันธุ์แคปปาที่กำลังตรวจสอบ ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2021 นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้ประกาศสายพันธุ์นี้ (ซึ่งมีจุดเด่นคือ ไม่มีการกลายพันธุ์ E484Q) ว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงโดยกำหนดรหัสเป็น VOC-21APR-02 หลังจากที่พบหลักฐานว่ามันกระจายไปได้เร็วกว่าไวรัสดั้งเดิมและอาจกระจายได้เร็วเท่าสายพันธุ์อัลฟา มันมีการกลายพันธุ์ L452R, T478K และ P681R แต่ก็ไม่เหมือนกับสายพันธุ์แคปปาเพราะไม่มีการกลายพันธุ์ E484Q

องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีหลักฐานจำกัดจากงานศึกษาเบื้องต้นต่าง ๆ ที่แสดงว่าวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าและของไฟเซอร์-ไบออนเทคยังคงประสิทธิผล/ประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์นี้ ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูล ในเรื่องการคงระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ซึ่งป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการและสำคัญในการยุติเหตุการณ์ระบาดทั่ว วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก และวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและโคแว็กซินมีประสิทธิภาพลดลงน้อยจนถึงปานกลาง ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูล

ข้อจำกัดและปัญหาที่อาจเกิด

การรีบเร่งพัฒนาและผลิตวัคซีนเพื่อโควิด-19 ที่ระบาดทั่วอาจเพิ่มความเสี่ยงและอัตราความล้มเหลวของการได้วัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล งานศึกษาหนึ่งพบว่าในระหว่างปี 2006-2015 สำหรับวัคซีน การได้รับอนุมัติให้ทำการทดลองระยะที่ 1 แล้วผ่านการทดลองระยะที่ 3 อย่างสำเร็จอยู่ที่อัตราร้อยละ 16.2 และเซพีก็ได้ระบุว่าอัตราประสบความสำเร็จของวัคซีนแคนดิเดตที่กำลังพัฒนาอยู่ในปี 2020 น่าจะอยู่ที่เพียงร้อยละ 10

ในเดือนเมษายน 2020 รายงานของเซพีระบุว่า "การประสานงานและการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและเป็นสากลระหว่างผู้พัฒนาวัคซีน องค์กรควบคุม องค์กรตั้งนโยบาย ผู้ให้เงินทุน องค์กรสาธารณสุข และรัฐบาลเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้วัคซีนแคนดิเดตในระยะสุดท้าย ๆ สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอและแจกจำหน่ายให้แก่เขตติดโรคทั้งหมดได้อย่างยุติธรรม โดยเฉพาะแก่เขตที่ยากจน" แต่ประชากรอาจถึงร้อยละ 10 ก็รู้สึกว่าวัคซีนไม่ปลอดภัยหรือไม่จำเป็น และไม่ยอมรับวัคซีน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสาธารณสุขของโลกที่ได้ชื่อว่า vaccine hesitancy (ความลังเลกับวัคซีน) และเพิ่มความเสี่ยงว่าโควิดจะเกิดระบาดอีก ในกลางปี 2020 งานสำรวจสองงานประเมินว่าประชากรสหรัฐร้อยละ 67 หรือ 80 จะยอมรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด โดยมีความต่าง ๆ กันมากเหตุระดับการศึกษา การมีงานทำ เชื้อชาติ และภูมิลำเนา

ปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ

งานวิจัยเบื้องต้นเพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโดยใช้สัตว์แบบจำลองที่เฉพาะต่อโรคโควิด (เช่น หนูเพาะให้มียีนหน่วยรับ ACE) และใช้สัตว์ทดลองอื่น ๆ และไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ แสดงว่าต้องรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับ 3 เมื่อทดลองไวรัสที่ยังไม่ตาย และต้องร่วมมือกันในระดับสากลเพื่อให้มีมาตรฐานรักษาความปลอดภัย

การเพิ่มฤทธิ์ของเชื้อโดยอาศัยภูมิต้านทาน (ADE)

แม้วัคซีนจะมุ่งช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารภูมิต้านทานเพื่อกำจัดเชื้อโรค แต่วัคซีนก็อาจมีผลตรงกันข้ามโดยเพิ่มฤทธิ์ของเชื้อ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า การเพิ่มฤทธิ์ของเชื้อโดยอาศัยภูมิต้านทาน (antibody-dependent enhancement, ADE) ซึ่งเพิ่มสมรรถภาพของไวรัสในการจับกับเซลล์เป้าหมายในร่างกายแล้วจุดชนวนอาการพายุไซโตไคน์เมื่อติดเชื้อหลังจากได้วัคซีน แพลตฟอร์มเทคโนโลยีของวัคซีน (เช่น ใช้ไวรัสเป็นเวกเตอร์, ใช้โปรตีน spike ของไวรัส หรือใช้หน่วยย่อยโปรตีนของไวรัส), ขนาดวัคซีนที่ให้, ระยะเวลาระหว่างการให้วัคซีนซ้ำ ๆ เพราะโอกาสการติดเชื้อโควิดอีก และอายุมาก ล้วนเป็นปัจจัยที่กำหนดความเสี่ยงและความรุนแรงของ ADE การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนก็ยังขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ รวมทั้งความแม่นยำของกลไกการทำงานของวัคซีน หรือวิธีการให้ (ฉีดในกล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง ให้ทางปาก ให้ทางจมูก เป็นต้น)

ประสิทธิศักย์ (efficacy)

ดูหัวข้อหลักที่ประสิทธิศักย์

ประสิทธิภาพ (effectiveness) ของวัคซีนขึ้นอยู่กับประสิทธิศักย์ (efficacy) ของวัคซีน ประสิทธิศักย์ที่น้อยกว่าร้อยละ 60 ก็อาจไม่ก่อภูมิคุ้มกันหมู่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เสี่ยงติดโรค เช่น ยีน สุขภาพ (โรคประจำตัว อาหาร การตั้งครรภ์ ไวหรือแพ้อะไรง่าย) ภูมิคุ้มกัน อายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม อาจเป็นปัจจัยปฐมภูมิหรือทุติยภูมิซึ่งมีผลต่อความรุนแรงเมื่อติดโรคและการตอบสนองต่อวัคซีน คนชรา (อายุเกิน 60 ปี) ผู้มีภูมิแพ้ และคนอ้วนเสี่ยงมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอแล้วทำให้วัคซีนไม่มีประสิทธิผล จึงอาจต้องใช้เทคโนโลยีวัคซีนโดยเฉพาะ ๆ สำหรับคนกลุ่มเฉพาะ ๆ หรือต้องให้วัคซีนซ้ำ ๆ เพื่อจำกัดการแพร่เชื้อ อนึ่ง การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอาจเปลี่ยนโครงสร้างที่เป็นเป้าหมายของวัคซีน ทำให้วัคซีนไม่ได้ผล

การรับสมัครอาสาสมัครเพื่อทดลอง

ผู้พัฒนาวัคซีนต้องลงทุนแข่งขันในระดับนานาชาติเพื่อหาอาสาสมัครสำหรับการทดลองทางคลินิกระยะ 2–3 ให้มีจำนวนเพียงพอเพราะไวรัสระบาดไปในอัตราต่าง ๆ กันทั้งข้ามประเทศและในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนมิถุนายน บริษัทผลิตวัคซีนจีนคือซิโนแว็กไบโอเท็กได้ร่วมมือกับมาเลเซีย แคนาดา สหราชอาณาจักร และบราซิลเพื่อรับอาสาสมัครในการทดลองและเพื่อผลิตวัคซีนให้ได้จำนวนเพียงพอสำหรับการทดลองระยะที่ 3 ในประเทศบราซิลที่โรคได้เร่งระบาดเพิ่มขึ้น เพราะจีนควบคุมการระบาดทั่วของโควิดได้ ผู้พัฒนาวัคซีนจีนจึงต้องร่วมมือกับนานาชาติเพื่อทำงานศึกษาในมนุษย์ระยะปลาย ซึ่งเป็นการแข่งขันหาอาสาสมัครสู้กับผู้ผลิตอื่น ๆ และกับโปรแกรม Solidarity trial ที่องค์การอนามัยโลกเป็นผู้จัด

นอกจากปัญหาการแข่งขันหาอาสาสมัครแล้ว ผู้จัดทำการทดลองอาจเจอกับคนที่ไม่ต้องการได้วัคซีนเพราะเหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ที่ค้านกับความเห็นพ้องของนักวิทยาศาสตร์ หรือไม่เชื่อในวิทยาศาสตร์ที่ใช้เพื่อสร้างเทคโนโลยีวัคซีนและสมรรถภาพการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีน

การมีบุคลากรที่ชำนาญในการให้วัคซีนไม่พออาจเป็นอุปสรรคต่อการทดลองทางคลินิกที่ต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การรับสมัครอาสาสมัครในเขตชนบทที่มีความหนาแน่นประชากรน้อย อาสาสมัครที่มีอายุ เชื้อชาติ และปัญหาทางสุขภาพต่าง 

ค่าใช้จ่าย

วัคซีนต้านโควิดที่มีประสิทธิผลอาจลดความเสียหายทางเศรษฐกิจของโลกเป็นล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และดังนั้น ค่าใช้จ่ายเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับวัคซีนเมื่อเทียบกันแล้วก็เล็กน้อย ในตอนต้น ๆ ของเหตุการณ์ระบาดทั่ว ยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถสร้างวัคซีนสำหรับไวรัสนี้ได้อย่างปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีราคาที่พอซื้อไหว และก็ยังไม่รู้ด้วยว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาวัคซีนเท่าไร เป็นไปได้ว่าการลงทุนเป็นเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นอาจไม่ได้ผลอะไร

หลังจากสร้างวัคซีนได้แล้ว จะต้องผลิตวัคซีนเป็นพัน ๆ ล้านโดสแล้วแจกจ่ายทั่วโลก ในเดือนเมษายน 2020 มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ประเมินว่า การผลิตและการแจกจำหน่ายวัคซีนอาจมีค่าใช้จ่ายถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณแปดแสนล้านบาท)

คณะกรรมาธิการยุโรปจัดให้มีการประชุมทางวิดีโอของผู้นำโลกในวันที่ 4 พฤษภาคม 2020 ซึ่งได้สัญญาว่าจะให้เงิน 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาวัคซีนไวรัสโคโรนา (เป็นงานเดียวกับขององค์การอนามัยโลก)

จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2020 บริษัทที่ได้เงินทุนจากโปรแกรมปฏิบัติการความเร็วเหนือแสงของสหรัฐได้ตั้งราคาวัคซีนเบื้องต้นประมาณ 19.5–25 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 610–780 บาท) ต่อโดส (คนหนึ่งปกติต้องใช้ 2 โดส) ซึ่งเป็นราคาประมาณเท่า ๆ กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในเดือนธันวาคม 2020 นักการเมืองเบลเยียมผู้หนึ่งได้เปิดเผยราคาที่สหภาพยุโรปตกลงซื้อวัคซีนจากบริษัทต่าง 

ราคาวัคซีนที่สหภาพยุโรปตกลงซื้อจากผู้ผลิต
ผู้ผลิต ราคาต่อโดส บาทโดยประมาณ
แอสตร้าเซนเนก้า €1.78 62
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน US$8.50 266
ซาโนฟี่/แกล็กโซสมิธไคลน์ €7.56 265
ไฟเซอร์/ไบออนเทค €12.00 420
Curevac €10.00 350
โมเดอร์นา US$18.00 564

การแจกจำหน่าย

วัคซีนต่าง ๆ ต้องขนส่งและจัดการต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น วัคซีน tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคต้องส่งในตู้แช่แข็งพิเศษโดยมีอุณหภูมิระหว่าง −80 ถึง −60 องศาเซลเซียส ต้องใช้ใน 5 วันหลังละลาย ต้องสั่งอย่างน้อย 975 โดส จึงคงมีแต่ รพ. ใหญ่ ๆ ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือดีที่สามารถให้วัคซีนนี้ได้

ส่วนวัคซีนของโมเดอร์นาต้องเก็บแช่แข็งระหว่าง −25 ถึง −15 องศาเซลเซียส แต่เมื่อแช่แข็งแล้ว ก็สามารถเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 8 องศาเซลเซียสจนถึง 30 วัน

การไร้ข้อมูลที่เปิดเผยและความไม่เชื่อใจ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศให้อนุมัติวัคซีนของจีนคือ BBIBP-CorV แต่ก็ไม่ได้ประกอบด้วยข้อมูลและรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ไม่เหมือนกับวัคซีนที่พัฒนาในประเทศตะวันตกบางประเทศ วัคซีนจีนมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิศักย์น้อย แม้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะระบุว่า ได้พิจารณางานวิเคราะห์ในระหว่างของบริษัท แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า ได้วิเคราะห์ข้อมูลดิบเองอย่างเป็นอิสระ และก็ไม่ชัดเจนว่า บริษัทได้สรุปข้อมูลอย่างไร เพราะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้ระบุรายละเอียดการวิเคราะห์ที่สำคัญ เช่น จำนวนคนติดเชื้อและอายุของอาสาสมัคร

นักวิทยาการระบาดชาวจีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกล่าวว่า "ยากที่จะรู้ว่าวัคซีนได้ผลดีขนาดไหน ผมหวังว่ามันคงเป็นจริง" การไม่ทำข้อมูลให้เป็นสาธารณะอาจจำกัดบริษัทจากการแจกจำหน่ายวัคซีนไปยังประเทศบางประเทศ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีน นักวิทยาการคนเดียวกันระบุว่า การโน้มน้าวให้ประเทศอื่น ๆ คล้อยตามจะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นและข้อมูลที่ดีซึ่งสามารถให้ตรวจดูได้ ส่วนนักวิทยาไวรัสที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงอีกคนหนึ่งเป็นห่วงว่า ประเทศต่าง ๆ อาจต้องเลือกยอมรับวัคซีนโดยไม่มีการวิเคราะห์ที่เป็นอิสระ หรือเลือกไม่ใช้วัคซีนนี้เลย

วัคซีนจีนอีกอย่างคือ CoronaVac ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ในวันที่ 14 ธันวาคม 2020 สำนักงานควบคุมสาธารณสุขบราซิล (Anvisa) ระบุว่า การให้อนุมัติเพื่อใช้ในประเทศจีนไม่ใช่เรื่องเปิดเผย คือไม่มีข้อมูลว่าใช้กฎเกณฑ์อะไรในการอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศจีนเมื่อเดือนมิถุนายน 2020

สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ โคโรนาแว็ก § ความโปร่งใส

ปัญหาของการศึกษาแบบ "ท้าทาย" ที่เสนอ

เพราะโรคโควิดที่กำลังระบาดทั่วเป็นเรื่องฉุกเฉินทั่วโลก จึงต้องพิจารณายุทธการย่อเวลาเพื่ออนุมัติให้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด โดยเฉพาะการย่อเวลาของการทดลองทางคลินิกระยะ 2-3 ที่ปกติยาวเป็นปี ๆ งานศึกษาแบบ "ท้าทาย" เป็นการทดลองวัคซีนโดยจงใจทำให้อาสาสมัครติดเชื้อ เป็นวิธีที่เคยทำกับโรคที่เสี่ยงตายน้อยกว่าโควิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไข้รากสาดน้อย อหิวาตกโรค และมาลาเรีย คือเมื่อได้ตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีนแคนดิเดตในสัตว์ทดลองและมนุษย์ที่สุขภาพปกติแล้ว อาจต้องท้าทาย (challenge) จงใจให้อาสาสมัครติดเชื้อโควิด โดยมีกลุ่มควบคุมและข้ามงานทดลองระยะ 3 ซึ่งปกติต้องทำ เพื่อช่วยเร่งให้อนุมัติใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคได้อย่างกว้างขวาง

เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 อาสาสมัครผู้ใหญ่หนุ่มสาวเป็นโหล ๆ จะจงใจทำให้ติดเชื้อโควิดในการทดลองแบบท้าทายใน รพ. ในกรุงลอนดอนซึ่งบริหารโดยหน่วยบริหารวัคซีนโควิดเฉพาะกิจของรัฐบาลอังกฤษ โดยหลังจากกำหนดขนาดไวรัสที่ทำให้ติดเชื้อได้ ก็จะตรวจสอบประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อของวัคซีนแคนดิเดตสำหรับโควิด 2 อย่างหรือมากกว่านั้น

งานศึกษาแบบท้าทายมีสองขั้นตอน ขั้นแรกตรวจสอบวัคซีนแคนดิเดตว่าปลอดภัยหรือไม่และมีผลต่อภูมิต้านทานอย่างไรทั้งในสัตว์ทดลองและผู้ใหญ่อาสาสมัครสุขภาพดี (100 คนหรือน้อยกว่านั้น) โดยทำพร้อม ๆ กันซึ่งปกติจะทำเป็นลำดับต่อกันเริ่มจากสัตว์ก่อน เมื่อขั้นแรกได้ผลดี ขั้นสองเป็นการทดลองขนาดใหญ่ระยะ 2–3 และให้วัคซีนขนาดที่ได้ผลแก่อาสาสมัครผู้ไม่ได้ติดโรคมาก่อน มีความเสี่ยงน้อย (เช่น ผู้มีอายุน้อย) โดยจงใจทำให้ติดเชื้อไวรัสโควิดเพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ให้ยาหลอก หลังจาก "ท้าทาย" ให้ติดโรคเช่นนี้ ก็จะเฝ้าตรวจอาสาสมัครอย่างใกล้ชิดในคลินิกที่มีอุปกรณ์วัสดุพร้อมมือและสามารถช่วยชีวิตได้ถ้าจำเป็น การอาสาเป็นผู้ร่วมงานศึกษาแบบท้าทายในช่วงเกิดโรคระบาดทั่วเช่นนี้ คล้ายกับการเข้าปฏิบัติการในเหตุการณ์ฉุกเฉินของแพทย์พยาบาลเพื่อรักษาคนไข้โรคโควิด หรือของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง หรือของผู้บริจาคอวัยวะ

แม้งานศึกษาเช่นนี้จะน่าสงสัยทางจริยธรรมเพราะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออาสาสมัครเหตุโรครุนแรงขึ้นอาศัยวัคซีน เพราะไม่ชัดเจนว่าวัคซีนปลอดภัยในระยะยาวหรือไม่ หรือเพราะประเด็นปัญหาอื่น ๆ แต่ตามผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโรคติดต่อบางท่าน งานศึกษาเช่นนี้ก็อาจเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้สามารถผลิตวัคซีนที่มีผลได้อย่างรวดเร็วและช่วยลดจำนวนคนตายเหตุโควิดที่กะว่าอาจตกเป็นล้าน ๆ คนทั่วโลก

ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2020 องค์การอนามัยโลกได้พัฒนาแนวปฏิบัติที่แสดงกฎเกณฑ์การศึกษาโควิดแบบท้าทายในอาสาสมัครสุขภาพดี รวมวิธีการประเมินทางวิทยาศาสตร์และทางจริยธรรม การปรึกษาหารือและการประสานงานกับประชาชน การเลือกและการขอคำยินยอมของอาสาสมัคร และการดูแลสอดส่องโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ

การอนุญาตให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน (EUA)

เมื่อโควิดได้เริ่มระบาดทั่วเมื่อต้นปี 2020 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่แนวทางการจดบัญชีรายการยาให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน (Emergency Use Listing) สำหรับวัคซีนใหม่ ๆ เป็นกระบวนการที่ได้มาจากการระบาดทั่วของอีโบลาระหว่างปี 2013-2016 ซึ่งบังคับว่า วัคซีนแคนดิเดตที่พัฒนาเพื่อการฉุกเฉินอันเป็นอันตรายถึงชีวิตต้องผ่านมาตรฐาน GMP และต้องผ่านการพัฒนาตามกระบวนการให้อนุญาตก่อน (prequalification) ขององค์การ แม้เมื่อมีวัคซีนใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นในระหว่างการระบาดทั่วของโควิด การให้อนุญาตก็ยังบังคับให้ส่งเอกสารแบบเต็มในเรื่องการพัฒนาและคุณภาพการผลิต เทียบกับสหภาพยุโรป ที่บริษัทสามารถใช้กระบวนการพิจารณาอย่างต่อเนื่อง (rolling review) คือให้ข้อมูลตามเท่าที่ได้ในการทดลองระยะที่ 3 แทนที่จะส่งข้อมูลเต็มซึ่งต้องทำเป็นเดือน ๆ หรือปี ๆ หลังการทดลองในกระบวนการปกติ กระบวนการเช่นนี้ทำให้คณะกรรมการเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในมนุษย์ยุโรป (CHMP) สามารถประเมินข้อมูลในเวลาจริง ซึ่งช่วยให้วัคซีนแคนดิเดตอันมีอนาคตสามารถได้อนุมัติอย่างรวดเร็วจากสำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ในเดือนตุลาคม กระทรวงสาธารณสุขแคนาดาและสำนักงานการแพทย์ยุโรปได้เริ่มการพิจารณาอย่างต่อเนื่องสำหรับวัคซีนของบริษัทโมเดอร์นา และในแคนาดาเดือนพฤศจิกายน สำหรับวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค

วันที่ 24 มิถุนายน 2020 ประเทศจีนได้อนุมัติวัคซีนของบริษัทแคนซิโนไบโอลอจิกส์เพื่อให้ใช้อย่างจำกัดในทหาร และอนุมัติวัคซีนแบบไวรัสโควิดฆ่าแล้วสองอย่างเพื่อใช้ในการฉุกเฉินสำหรับผู้ประกอบอาชีพความเสี่ยงสูง ในวันที่ 11 สิงหาคม 2020 รัสเซียประกาศการอนุมัติวัคซีนสปุตนิก วี เพื่อใช้ในการฉุกเฉิน แต่เดือนหนึ่งต่อจากนั้น ก็ยังมีวัคซีนเพียงจำนวนน้อยที่แจกจำหน่ายนอกการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในเดือนกันยายน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อนุมัติวัคซีนของบริษัทซิโนฟาร์มเป็นการฉุกเฉินสำหรับบุคลากรทางแพทย์ โดยบาห์เรนก็ทำเช่นเดียวกันในเดือนพฤศจิกายนต่อมา

ในสหรัฐ องค์การอาหารและยาอาจให้อนุมัติเป็นการฉุกเฉินแก่วัคซีนโควิดก่อนจะได้หลักฐานเต็มจากการทดลองระยะที่ 3 ในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่าใช้อย่างผิด ๆ เพราะเหตุทางการเมือง เป็นการลดมาตรฐาน และเพิ่มความรู้สึกต่อต้านวัคซีนของประชาชนในช่วงปี 2020 ในวันที่ 8 กันยายน 2020 บริษัทยาแนวหน้า 9 บริษัทที่วิจัยวัคซีนโควิดจึงได้ร่วมให้สัญญาว่า จะยื่นคำขอใช้เป็นการฉุกเฉินก็ต่อเมื่อการทดลองระยะที่ 3 ได้ระบุวัคซีนว่าปลอดภัยและมีประสิทธิศักย์แล้ว

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2020 บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคได้ยื่นคำขอใช้วัคซีนของบริษัทเป็นการฉุกเฉินแก่องค์การอาหารและยาสหรัฐ โดยองค์การก็ประกาศว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาเรื่องวัคซีนและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เกี่ยวข้อง (VRBPAC) ขององค์การจะพิจารณาคำขอนี้ในวันที่ 10 ธันวาคม ในเดือนพฤศจิกายน องค์การได้อธิบายว่า การอนุญาตให้ใช้เป็นการฉุกเฉินก็คือ "กลไกที่อำนวยการทำให้มีและการใช้วิธีแก้ปัญหาทางแพทย์รวมทั้งวัคซีน ในช่วงความฉุกเฉินทางสาธารณสุข เช่น การระบาดทั่วของโควิด-19 ในปัจจุบัน" เมื่อองค์การอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินแล้ว ผู้พัฒนาวัคซีนก็ยังต้องดำเนินการทดลองระยะที่ 3 ต่อไปเพื่อบูรณาการข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีน โดยในที่สุดก็จะยื่นคำขออนุมัติแบบเต็ม

ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2020 บริษัทโมเดอร์นาได้ยื่นคำขอใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินแก่องค์การอาหารและยาสหรัฐ

บาห์เรน

ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2020 องค์การควบคุมทางสุขภาพแห่งชาติบาห์เรน (National Health Regulatory Authority, NHRA) ได้อนุญาตให้ใช้วัคซีน BBIBP-CorV ของบริษัทซิโนฟาร์ม และวัคซีน tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคเป็นการฉุกเฉิน

แคนาดา

ในวันที่ 9 ธันวาคม 2020 กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) ได้อนุญาตให้นำเข้าวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคเพื่อใช้ในการฉุกเฉินอย่างชั่วคราว มีวัคซีน 30,000 โดสส่งมาถึงแคนาดาในวันที่ 13 ธันวาคม โดยกะว่าจะได้ 249,000 โดสไม่เกินปลายปี 2020 และ 6 ล้านโดสก่อนเดือนเมษายน 2021

เม็กซิโก

ในวันที่ 11 ธันวาคม 2020 คณะกรรมการกลางป้องกันความเสี่ยงทางอนามัย (Federal Commission for the Protection against Sanitary Risk, COFEPRIS) ของเม็กซิโกได้อนุญาตให้ใช้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคเป็นการฉุกเฉิน วัคซีนได้สั่งแล้ว 34.4 ล้านโดสโดยเริ่มส่งตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม

ฟิลิปปินส์

ในวันที่ 2 ธันวาคม 2020 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์โรดรีโก ดูแตร์เต ได้สั่งองค์กรอาหารและยาฟิลิปปินส์ให้ให้อนุญาตใช้วัคซีนและการรักษาโควิดอื่น ๆ เป็นการฉุกเฉิน โดยมีข้อแม้อย่างหนึ่งว่า ผู้ผลิตวัคซีนต้องได้อนุญาตให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศอื่น ๆ ที่มีการควบคุมดี องค์การก็ได้ประกาศว่าผู้ผลิตวัคซีน 3 รายคือไฟเซอร์ แอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแว็กก็ได้สอบถามเรื่องกระบวนการขออนุญาตให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศ

สหราชอาณาจักร

ในวันที่ 2 ธันวาคม 2020 สำนักงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency, MHRA) แห่งสหราชอาณาจักรได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค คือ Tozinameran (BNT162b2) เป็นการฉุกเฉิน เป็นประเทศแรกที่อนุมัติวัคซีนนี้ และประเทศตะวันตกแรกที่ให้อนุมัติเป็นการฉุกเฉินแก่วัคซีนโควิด

สหรัฐ

ในวันที่ 11 ธันวาคม 2020 องค์กรอาหารและยาสหรัฐได้อนุญาตให้ใช้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทคเป็นการฉุกเฉิน

การให้อนุญาต

วัคซีนจะได้อนุญาตตามความสำเร็จของการทดลองทางคลินิกระยะ 1–3 ที่ได้แสดงความปลอดภัย, การสร้างภูมิคุ้มกันโรคเมื่อใช้ขนาดยาโดยเฉพาะ, ประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มประชากรเป้าหมาย และประสิทธิภาพการป้องกันที่คงยืน คณะผู้เชี่ยวชาญการวางมาตรฐานทางชีวภาพขององค์การอนามัยโลกได้สร้างแนวปฏิบัตินานาชาติเพื่อผลิตและควบคุมคุณภาพของวัคซีน เป็นกระบวนการหมายให้องค์กรควบคุมของรัฐต่าง ๆ ใช้ในการให้อนุญาตวัคซีนของตนเอง ปกติผู้ผลิตจะไม่ได้รับอนุญาตจนกว่าวัคซีนจะได้พิสูจน์ว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในระยะยาว องค์กรควบคุมนานาชาติหรือของรัฐ เช่น สำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) หรือองค์กรอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration, FDA) จะเป็นผู้ตรวจพิจารณาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีน

การสร้างความมั่นใจและการยอมรับวัคซีนที่ได้อนุมัติแก่สาธารณชนเป็นหน้าที่การสื่อสารของรัฐและบุคลากรทางแพทย์เพื่อให้โปรแกรมการฉีดวัคซีนดำเนินไปได้ด้วยดี, เพื่อช่วยชีวิตคน และช่วยคืนสภาพทางเศรษฐกิจ ในเบื้องต้น วัคซีนจะมีจำนวนจำกัดเพราะเหตุผลทางการผลิต, การแจกจำหน่าย และโลจิสติกส์ จึงต้องมีแผนการจัดสรรวัคซีนจำนวนจำกัดที่มี และจัดลำดับกลุ่มประชากรที่ควรได้วัคซีนแรก 

องค์การอนามัยโลก

วัคซีนที่พัฒนาเพื่อแจกจำหน่ายข้ามชาติผ่านกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติต้องได้การอนุญาตก่อน (pre-qualification) ขององค์การอนามัยโลกเพื่อให้ได้มาตรฐานสากลในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย การสร้างภูมิคุ้มกัน และประสิทธิศักย์ จึงจะนำไปใช้ในประเทศต่าง ๆ มากมายได้ ผลิตภัณฑ์ต้องผลิตได้อย่างสม่ำเสมอโดยผ่านมาตรฐาน GMP เมื่อองค์กรของสหประชาชาติมีส่วนร่วมในการให้อนุญาตวัคซีน ประเทศแต่ละประเทศจะร่วมมือโดย 1) ให้อนุญาตวัคซีน ให้อนุญาตการวางขาย สำหรับผู้ผลิตและหุ้นส่วนในการแจกจำหน่าย 2) สอดส่องผลของยาหลังจากวางตลาด (postmarketing surveillance) รวมทั้งบันทึกผลที่ไม่พึงประสงค์หลังการให้วัคซีน องค์การอนามัยโลกทำงานร่วมกับองค์กรของรัฐเพื่อตรวจโรงงานผลิตและผู้จำหน่ายว่าผ่านมาตรฐาน GMP และกฎควบคุมต่าง ๆ หรือไม่ ประเทศบางประเทศอาจเลือกซื้อวัคซีนที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรควบคุมของประเทศอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือเช่น สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) หรือองค์การอาหารและยาสหรัฐ แต่ราคาก็อาจจะแพงกว่า และวิธีการแจกจำหน่ายก็อาจใช้ในประเทศกำลังพัฒนานั้น ๆ ไม่ได้

ออสเตรเลีย

ในเดือนตุลาคม 2020 องค์กรสินค้าเพื่อการรักษา (Therapeutic Goods Administration, TGA) ของออสเตรเลียได้ให้อนุญาตชั่วคราวแก่วัคซีนโควิดคือ ChAdOx1 nCoV-19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีน Tozinameran (BNT162b2) ของบริษัทไฟเซอร์

สหภาพยุโรป

ในสหภาพยุโรป วัคซีนสำหรับโรคระบาดทั่ว เช่น ไข้หวัดใหญ่ จะได้อนุญาตแบบต่าง ๆ รวมทั้ง อนุญาตทั่วไป (centralized) คือรัฐสมาชิกทั้งหมดปฏิบัติตาม หรืออนุญาตในบางประเทศ (decentralized) หรืออนุญาตในประเทศ ๆ เดียว โดยทั่วไปแล้ว รัฐสมาชิกจะอนุโลมตามแนวทางการควบคุมและโปรแกรมทางคลินิกที่กำหนดโดยคณะกรรมการเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในมนุษย์ (Committee for Medicinal Products for Human Use, CHMP) ของยุโรป ซึ่งเป็นคณะกรรมการทางวิทยาศาสตร์ของสำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ซึ่งมีหน้าที่ให้อนุญาตวัคซีน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญหลายกลุ่มที่ประเมินและสอดส่องความก้าวหน้าของวัคซีนทั้งก่อนและหลังการให้อนุญาตและการแจกจำหน่ายทำหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการนี้ ในเดือนตุลาคม 2020 CHMP ได้เริ่มทำการพิจารณาอย่างต่อเนื่อง (rolling reviews) สำหรับวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และ Tozinameran (BNT162b2) ของบริษัทไฟเซอร์

ในเดือนพฤศจิกายน 2020 CHMP ได้เริ่มการพิจารณาอย่างต่อเนื่องสำหรับวัคซีนโควิดของบริษัทโมเดอร์นาคือ mRNA-1273

ในเดือนธันวาคม 2020 EMA ได้รับคำขออนุญาตวางตลาดแบบมีเงื่อนไข (conditional marketing authorization) แก่วัคซีนแบบ modRNA คือ Tozinameran และ mRNA-1273 การประเมินวัคซีนจะทำอย่างเร่งด่วนโดยอาจลงความเห็นภายในไม่กี่อาทิตย์

ในเดือนธันวาคม 2020 CHMP ได้เริ่มการพิจารณาอย่างต่อเนื่องสำหรับวัคซีนโควิด Ad26.COV2.S ของบริษัท Janssen-Cilag International N.V.

สหรัฐ

ตามกฎขององค์การอาหารและยาสหรัฐ การแสดงหลักฐานว่าวัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิศักย์ทางคลินิกจะเหมือนกับกระบวนการอนุมัติยาที่แพทย์สั่ง ถ้ายาผ่านการทดลองทางคลินิกระยะต่าง ๆ บริษัทก็จะยื่นคำขอที่เรียกว่า Biologics License Application ซึ่งต้องแนบหลักฐานอย่างละเอียดว่าวัคซีนแคนดิเดตแสดงประสิทธิศักย์และความปลอดภัยตลอดระยะการพัฒนา เพื่อการพิจารณาทางวิทยาศาสตร์โดยคณะผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ รวมทั้งแพทย์ นักสถิติ นักจุลชีววิทยา และนักเคมี หลังจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญก็จะตรวจโรงงานผลิตว่า ได้มาตรฐาน GMP หรือไม่ โดยฉลากยาต้องมีข้อมูลสำหรับแพทย์พยาบาลเกี่ยวกับการใช้ยาและความเสี่ยง เพื่อให้สามารถสื่อสารและให้ยากับสาธารณชนได้

คณะกรรมการที่ปรึกษาเรื่องแนวปฏิบัติเพื่อสร้างภูมิคุมกัน (Advisory Committee on Immunization Practices) ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐได้ลงมติในวันที่ 2 ธันวาคมว่า วัคซีนที่ได้แรก ๆ ควรจัดให้กับแพทย์พยาบาลและผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานพยาบาลระยะยาวก่อน โดยระบุด้วยว่าเมื่อการผลิตเพิ่มขึ้นแล้วกลุ่มที่ได้ต่อ ๆ มาควรเป็นคนชรา ผู้ทำการฉุกเฉิน (รวมตำรวจ นักผจญเพลิง) ครู และผู้ทำการจำเป็นที่ไม่สามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้ดี และบุคคลที่มีโรคร่วมหลายโรค อย่างไรก็ตาม รัฐต่าง ๆ ในสหรัฐจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะจัดสรร แจกจำหน่าย จัดการโลจิสติกส์อย่างไร เพื่อให้วัคซีนแก่ทุก ๆ คนเมื่อมีวัคซีน หลังจากให้อนุญาต การสอดส่องวัคซีนและการผลิตรวมทั้งการตรวจเป็นระยะ ๆ ว่ายังได้มาตรฐาน GMP หรือไม่ ก็จะทำต่อไปตราบเท่าที่ผู้ผลิตยังได้อนุญาตอยู่ โดยผู้ผลิตอาจต้องยื่นเอกสารเพิ่มเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตแต่ละขั้น ๆ ว่ายังสามารถคงฤทธิ์ ความปลอดภัย และความบริสุทธิ์ของวัคซีนได้หรือไม่

การสอดส่องผลของยาหลังจากวางตลาด

จนกว่าจะได้ใช้วัคซีนในกลุ่มประชากรทั่วไป ก็ยังอาจไม่รู้ผลไม่พึงประสงค์ทั้งหมดของวัคซีน จึงทำให้ผู้ผลิตต้องสอดส่องผลของยาหลังจากวางตลาด (postmarketing surveillance) หรือบางครั้งเรียกว่า การทดลองทางคลินิกระยะที่ 4 ของวัคซีนเมื่อกำลังให้แก่สาธารณชนทั่วไป องค์การอนามัยโลกทำงานร่วมกับรัฐสมาชิกเพื่อสอดส่องผลของยาหลังจากวางตลาด ส่วนองค์การอาหารและยาสหรัฐมีโปรแกรม Vaccine Adverse Event Reporting System ที่สอดส่องปัญหาความปลอดภัยของวัคซีนเมื่อกำลังให้แก่สาธารณชน

การวางตลาดและการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน

ปัญหาการวางตลาด

จนถึงเดือนมิถุนายน 2020 บริษัท รัฐบาล องค์กรสาธารณสุขนานาชาติ และกลุ่มวิจัยในมหาวิทยาลัยได้ลงทุนเป็นหมื่น ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาวัคซีนแคนดิเดตเป็นสิบ ๆ อย่าง และเตรียมตัวตั้งโปรแกรมให้วัคซีนเพือสร้างภูมิคุ้มกันต้านการติดเชื้อโควิด-19การลงทุนของบริษัทและความจำเป็นต้องสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นก่อความกังวลในเรื่องการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ "วิธีการทางตลาด" ว่าวัคซีนที่ได้อนุมัติจะมีราคาแพง ว่าประเทศร่ำรวยจะได้วัคซีนก่อน และว่าเขตที่โรคระบาดแย่สุดจะไม่ได้วัคซีนหรือได้น้อย ซึ่งพยากรณ์ว่าจะเกิดในประเทศยากจน มีประชากรหนาแน่น ที่ไม่สามารถซื้อวัคซีนได้

การร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกับแอสตร้าเซนเนก้า (เป็นบริษัทยายักษ์ใหญ่ในประเทศสหราชอาณาจักรมีรายได้ประมาณแปดแสนล้านบาทในปี 2016) ก่อความกังวลเรื่องราคาวัคซีนและการแชร์ผลกำไรของการขายวัคซีนทั่วโลก เพราะปัญหาว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัยซึ่งได้เงินภาษีของประชาชนมีสิทธิขายหรือไม่ บริษัทจึงแจ้งว่า ราคาเบื้องต้นของวัคซีนจะไม่รวมกำไรสำหรับบริษัทตราบเท่าที่โรคยังระบาดอยู่

ในต้นเดือนมิถุนายน บริษัทตกลงให้เซพีและกาวีผลิตและแจกจำหน่ายวัคซีน 300 ล้านโดสถ้าวัคซีนของออกซฟอร์ดพิสูจน์ว่าปลอดภัยและได้ผลโดยแลกเปลี่ยนกับการลงทุน 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสองหมื่นสี่พันล้านบาท) โดยเท่ากับเพิ่มสมรรถภาพการผลิตวัคซีนของบริษัทเป็นมากกว่า2,000 ล้านโดสต่อปี การวางตลาดวัคซีนโรคระบาดทั่วเป็นการลงทุนที่เสี่ยงสูง เพราะอาจเสียเงินทุนค่าพัฒนาและการเตรียมตัวผลิตวัคซีนถ้าวัคซีนแคนดิเดตปรากฏว่าไม่ปลอดภัยหรือไม่ได้ผล บริษัทยาข้ามชาติคือไฟเซอร์ระบุว่า ไม่สนใจเป็นหุ้นส่วนกับรัฐ เพราะจะเป็น "มือที่สาม" ที่ทำให้โปรแกรมวัคซีนของบริษัทล่าช้า อนึ่ง ยังมีความกังวลด้วยว่า โปรแกรมเร่งพัฒนา เช่น Operation Warp Speed (ปฏิบัติการความเร็วเหนือแสง) ของสหรัฐ กำลังเลือกวัคซีนแคนดิเดตเพราะความได้เปรียบทางการผลิตเพื่อย่นระยะเวลาการพัฒนา ไม่ได้เลือกเทคโนโลยีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิศักย์สูงสุด

อำนาจอธิปไตย

การเลือกแจกจำหน่ายวัคซีนให้แก่ประเทศไม่กี่ประเทศ ซึ่งคนตะวันตกเรียกว่า "vaccine sovereignty" (อธิปไตยวัคซีน) เป็นข้อวิจารณ์ข้อหนึ่งของหุ้นส่วนการพัฒนาวัคซีน เช่นหุ้นส่วนระหว่างมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกับแอสตร้าเซนเนก้า ว่าจะเลือกแจกจำหน่ายวัคซีนภายในสหราชอาณาจักรและต่อ "ผู้ให้ราคาสูงสุด" คือสหรัฐ ผู้ได้จ่ายเงินล่วงหน้า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสามหมื่นแปดพันล้านบาท) เพื่อคนอเมริกัน แม้ก่อนที่วัคซีนของออกซฟอร์ดหรือของซาโนฟี่จะได้พิสูจน์ว่าปลอดภัยและได้ผล มีความกังวลว่า ประเทศบางประเทศที่ผลิตวัคซีนอาจจำกัดการส่งออกเพื่อตุนวัคซีนโควิดสำหรับประชาชนของตนก่อน

ในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลจีนได้ให้คำมั่นสัญญาว่า วัคซีนจีนที่สำเร็จจะเป็น "สินค้าสาธารณะของโลก" (global, public good) คือบอกเป็นนัยว่า จะผลิตวัคซีนให้พอแจกจำหน่ายทั้งในประเทศและนอกประเทศ อนึ่ง ไม่เหมือนกับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ ซึ่งต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำมาก วัคซีนอันเป็นไวรัสฆ่าแล้วของซิโนแว็กและซิโนฟาร์มต้องเก็บไว้ในเพียงตู้เย็นเก็บยาธรรมดา จึงอาจน่าใช้มากกว่าในประเทศกำลังพัฒนา

ในเดือนมิถุนายน สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก ได้สิทธิจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าให้ผลิตวัคซีน 1,000 ล้านโดสสำหรับประเทศมีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง โดยครึ่งหนึ่งจะเป็นของอินเดีย ถ้าประเทศออสเตรเลียผลิตวัคซีนด้วย ก็อาจเลือกปฏิบัติเช่นกัน

การเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน

ดูบทความหลักที่: โคแวกซ์

เพราะการพัฒนาและการผลิตวัคซีนแคนดิเดตยังมีผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจน รวมทั้งอัตราความล้มเหลวสูงในช่วงทดสอบในมนุษย์ องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งเซพี องค์การอนามัยโลก และองค์กรวัคซีนการกุศล เช่น มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์และกาวี ได้ระดมทุนเกินกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในต้นปี 2020 เพื่อเป็นทุนพัฒนาวัคซีนและเตรียมตัวแจกจำหน่ายให้วัคซีน โดยเฉพาะแก่เด็กในประเทศด้อยพัฒนา

เซพีแถลงการณ์ว่า รัฐบาลต่าง ๆ ควรจัดระบบจัดสรรวัคซีนที่ยุติธรรมทั่วโลกสำหรับวัคซีนที่จะได้ โดยประสานงานการผลิต การจัดหาทุนและการซื้อ และประกันว่าไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงต่อผู้พัฒนาวัคซีน องค์กรได้ตั้งขึ้นเพื่อเฝ้าตรวจการแจกจำหนายวัคซีนป้องกันโรคติดต่อที่ยุติธรรมไปยังประเทศรายได้น้อยและปานกลาง เซพีได้ปรับปรุงนโยบายการเข้าถึงได้อย่างยุติธรรมที่ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจใช้กับทุนพัฒนาวัคซีนโควิดขององค์กรด้วย คือ

  1. ราคาวัคซีนจะต้องตั้งให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ในอาณาเขตที่ได้รับผลหรืออาจได้รับผลจากการระบาดของโรคที่เงินทุนของเซพีได้ใช้เพื่อพัฒนาวัคซีน
  2. ข้อมูล วิธี และวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้พัฒนาวัคซีนต้องแชร์กับ (หรือถ่ายโอนให้แก่) เซพี เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาวัคซีนต่อได้ถ้าบริษัทเลิกลงทุนกับวัคซีนแคนดิเดตที่มีอนาคต
  3. เซพีต้องสามารถเข้าถึง หรือสามารถจัดการสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น สิทธิบัตร) สำหรับวัคซีนที่มีอนาคต
  4. เซพีจะได้รับผลประโยชน์ทางการเงินที่อาจพอกพูนขึ้นจากการพัฒนาวัคซีนที่เซพีสนับสนุน เพื่อนำกลับไปลงทุนเพื่อสนับสนุนภารกิจขององค์กรในการทำประโยชน์ทางสาธารณสุขในระดับโลก
  5. ความโปร่งใสของข้อมูลในระหว่างหุ้นส่วนการพัฒนาควรใช้เกณฑ์ "WHO Statement on Public Disclosure of Clinical Trial Results" และบังคับให้ตีพิมพ์ผลโดยเข้าถึงได้อย่างเสรี

แต่ผู้ผลิตวัคซีนบางรายก็ต่อต้านข้อเสนอนี้เป็นบางส่วน

กลุ่มนานาชาติบางกลุ่ม เช่น Centre for Artistic Activism และ Universities Allied for Essential Medicines สนับสนุนให้เข้าถึงวัคซีนโควิดที่อนุมัติได้อย่างยุติธรรม นักวิทยาศาสตร์สนับสนุนให้องค์การอนามัยโลก เซพี บริษัท และรัฐบาลร่วมมือกันเพื่อจัดสรรวัคซีนโควิดที่จะได้โดยกำหนดด้วยความเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะการให้วัคซีนก่อนอย่างเร่งด่วนแก่บุคลากรทางแพทย์ กลุ่มประชากรที่อ่อนแอ และเด็ก ในช่วงปี 2020 องค์การอนามัยโลก กาวี และเซพี ได้รวมกำลังก่อตั้งโคแว็กซ์ ซึ่งเป็นโปรแกรมประสานงานสร้างวัคซีนที่เข้าถึงได้อย่างยุติธรรมทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์นานาชาติและบุคคลที่เป็นห่วงจำนวนหนึ่ง (รวมทั้งบุคลากรขององค์กรทางศาสนา) ได้ร้องให้ทำวัคซีนโควิดให้เป็นสาธารณสมบัติ ตามตัวอย่างการพัฒนาวัคซีนโปลิโอโดยแพทย์ชาวอเมริกันโจนัส ซอล์กผู้ไม่ได้จดสิทธิบัตร วัคซีนโควิด-19 ที่ได้ผลควรจะได้อนุมัติและผลิตในประเทศต่าง ๆ และศูนย์การผลิตยาทั่วโลก เพื่อให้สามารถแจกจำหน่ายได้อย่างยุติธรรมและมีราคาถูกยิ่งขึ้นในระดับโลก

โซ่อุปทาน

ในช่วงปี 2021 และหลังจากนั้น การแจกจำหน่ายวัคซีนโควิดต้องอาศัยการขนส่งและการติดตามวัคซีนถึง 10,000-19,000 ล้านขวด ซึ่งจะเป็นความท้าทายทางโซ่อุปทานอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จนถึงเดือนกันยายน 2020 ผู้เชี่ยวชาญทางโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ก็ยังแสดงความเป็นห่วงว่า เครือข่ายทั้งภายในประเทศและนานาชาติที่มีอยู่แล้วเพื่อแจกจำหน่ายวัคซีนอาจไม่พอรับรองจำนวนหรือความเร่งด่วนของวัคซีนโควิด เพราะสมรรถภาพการขนส่งได้เสื่อมลงเหตุการล็อกดาวน์และการลดจำนวนพนักงานในช่วงปี 2020 เมื่อกล่าวถึงความท้ายทายต่อองค์กรที่ต้องประสานงานกันต่าง ๆ รวมทั้งโปรแกรมโคแว็กซ์ บริษัทยาสากล ผู้รับจ้างผลิตวัคซีน บริษัทขนส่งทั้งในประเทศและนานาชาติ คลังจัดเก็บวัคซีน และองค์กรสาธารณสุขในแต่ละประเทศ ประธานบริหารของกาวีได้ระบุว่า "การส่งวัคซีนเป็นพัน ๆ ล้านโดสไปทั่วโลกอย่างมีประสิทธิภาพจะมีอุปสรรคทางโลจิสติกส์และทางแผนการที่ซับซ้อนอย่างยิ่งตลอดทั้งโซ่อุปทาน"

ตัวอย่างที่เน้นความใหญ่โตของปัญหาก็คือ สมาคมการขนส่งทางอากาศนานาชาติ (International Air Transport Association, IATA) ระบุว่า จะต้องมีเครื่องบินขนส่งโบอิง 747 ซึ่งประกอบกับตู้เย็นวัคซีนพิเศษที่รักษาอุณหภูมิอย่างแม่นยำถึง 8,000 ลำเพื่อใช้ส่งยาเพียงโดสหนึ่งไปยังประเทศเกิน 200 ประเทศทั่วโลก โดยกาวีก็ระบุอีกว่า "สำหรับการระบาดทั่วที่แพร่ไปอย่างรวดเร็ว จะไม่มีใครปลอดภัยยกเว้นทุกคนปลอดภัย"

เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีวัคซีนและงานวิจัยทางคลินิกระยะต้น ๆ ที่ได้เงินทุนเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว โซ่อุปทานที่จำเป็นหลังวัคซีนได้อนุมัติกลับไม่ได้รับความสนใจเท่าในด้านการวางแผน การประสานงาน ความมั่นคงปลอดภัย และการลงทุน ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ทรัพยากรเพื่อแจกจำหน่ายวัคซีนในประเทศที่มีรายได้ต่ำจนถึงปานกลาง (รวมทั้งประเทศไทย) โดยเฉพาะในการให้วัคซีนแก่เด็ก อาจไม่เพียงพอหรือไม่มีเลย แต่อาจปรับปรุงโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดได้ถ้าสามารถซื้อและแจกจำหน่ายในระดับภูมิภาคหรือระดับชาติ

ในเดือนกันยายน โปรแกรมโคแว็กซ์รวมประเทศ 172 ประเทศซึ่งประสานแผนงานเพื่อให้ได้โซ่อุปทานของวัคซีนโควิดที่ดีสุด และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติก็ได้เข้าร่วมกับโคแว็กซ์เพื่อตระเตรียมเงินทุนและโซ่อุปทานเพื่อให้วัคซีนแก่เด็กในประเทศกำลังพัฒนา 92 ประเทศ

โลจิสติกส์

ข้อมูลเพิ่มเติม: การเก็บวัคซีน และ ลูกโซ่ความเย็น

การมีระบบโลจิสติกส์ในการให้วัคซีนจะช่วยให้มีเครื่องไม้เครื่องมือ บุคลากร และวัคซีนที่ได้อนุมัติอย่างข้ามพรมแดน ซึ่งอาจรวมการจัดการและเฝ้าสอดส่องวัคซีน การบริหารการเก็บและขนส่งที่ต้องใช้ตู้เย็น และความปลอดภัยในการแจกจำหน่ายวัคซีนภายในระบบ เป้าของโปรแกรมโคแว็กซ์ก็เพื่อรวมศูนย์และจัดการทรัพยากรทางโลจิสติกส์อย่างยุติธรรมในบรรดาประเทศที่เข้าร่วมด้วย โดยรวมเข้าด้วยกันซึ่งการผลิต การขนส่ง และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโซ่อุปทานโดยทั่วไปและมีเครื่องมือในการพยากรณ์วัคซีน การประเมินความต้องการ การบริหารวัคซีนภายในประเทศ การจัดการวัคซีนที่อาจเสีย และการบริหารวัคซีนในคลัง ปัจจัยทางโลจิสติกส์อื่น ๆ ที่จะทำในระดับนานาชาติเมื่อแจกจำหน่ายวัคซีนโควิดอาจรวม

  • การสืบติดตามวัคซีนแต่ละขวดได้ผ่านบาร์โค้ด
  • การแชร์ผลการตรวจสอบ (audit) ผู้จัดจำหน่าย
  • การแชร์ระบบติดตามขวดวัคซีนเริ่มจากผู้ผลิตไปจนถึงบุคคลที่ได้วัคซีน
  • การใช้อุปกรณ์สอดส่องอุณหภูมิของวัคซีน
  • การตรวจและการประกันความเสถียรของอุณหภูมิ
  • เทคโนโลยีการบรรจุและการขนส่งใหม่ 
  • การเก็บสะสมวัคซีนในคลัง
  • การจัดการเครื่องมือเครื่องใช้ภายในประเทศ (อุปกรณ์ป้องกันโรค สารทำให้เจือจาง กระบอกฉีดยา เข็มฉีดยา จุก เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานสำหรับตู้เย็นเก็บวัคซีน การจัดการของเสีย/ขยะ เป็นต้น)
  • เทคโนโลยีการสื่อสาร
  • การบริหารผลต่อสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศ

ตามผู้ผลิตวัคซีนรายหนึ่ง ปัญหาทางโลจิสติกส์ในขั้นใดขั้นหนึ่งอาจสะดุดโซ่อุปทานทั้งโซ่ และถ้าโซ่อุปทานของวัคซีนล้มเหลว ความเสียหายทางเศรษฐกิจและทางมนุษยชนเหตุการระบาดทั่วอาจยืดยาวเป็นปี 

กำลังการผลิต

จนถึงเดือนสิงหาคม 2020 แม้เมื่อมีวัคซีนแคนดิเดตเพียงไม่กี่อย่างที่กำลังทดลองทางคลินิกในระยะที่ 3 โดยยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนเพื่อกำหนดความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ รัฐบาลต่าง ๆ ก็ได้สั่งวัคซีนล่วงหน้ามากกว่า 2,000 ล้านโดสโดยมีค่าใช้จ่ายเกิน 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 158,000 ล้านบาท) รัฐบาลอังกฤษได้สั่งวัคซีนสำหรับปี 2021 ล่วงหน้าเป็นจำนวน 5 โดสต่อประชากรหนึ่งคน เป็นจำนวนที่ก่อความท้อใจแก่องค์กรต่าง ๆ เช่น องค์การอนามัยโลกและกาวีซึ่งกำลังโปรโมตการเข้าถึงวัคซีนอย่างยุติธรรมและทั่วถึงกันโดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ในเดือนกันยายน เซพีให้ทุนสนับสนุนทั้งงานวิจัยพื้นฐานและการทดลองทางคลินิกสำหรับวัคซีนแคนดิเดต 9 อย่าง โดยมีอีก 9 อย่างที่กำลังประเมิน และตกลงจะผลิตวัคซีนที่ได้อนุมัติ 3 อย่างเป็นจำนวน 2,000 ล้านโดสไม่เกินปี 2021 ทั่วไปแล้วก่อนปี 2022 ทั่วโลกอาจผลิตวัคซีนระหว่างเจ็ดพันถึงหมื่นล้านโดส แต่การสั่งวัคซีนล่วงหน้าของประเทศร่ำรวยก็อาจทำให้วัคซีนไม่มีสำหรับประเทศที่ยากจน

หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมโคแว็กซ์ในเดือนตุลาคม จีนก็ระบุว่าจะผลิตวัคซีน 600 ล้านโดสก่อนสิ้นปี 2020 และผลิตอีกพันล้านโดสในปี 2021 แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจำนวนเท่าไรจะใช้ในจีนเองซึ่งมีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน ซิโนฟาร์มกล่าวว่า บริษัทอาจมีกำลังผลิตวัคซีนเกิน 1,000 ล้านโดสในปี 2021 โดยหุ้นส่วนในดูไบคือบริษัท G42 Healthcare ก็มุ่งจะผลิตให้ได้ถึง 100 ล้านโดสในปี 2021 ให้ใช้ในตะวันออกกลาง ส่วนซิโนแว็กก็กล่าวว่า บริษัทมุ่งสร้างโรงงานที่สองให้เสร็จปลายปี 2020 เพื่อเพิ่มกำลังผลิตวัคซีน CoronaVac เป็น 600 ล้านโดสซึ่งเป็นทวีคูณจากจำนวนเดิม โดยหุ้นส่วนในบราซิลคือ Instituto Butantan มีแผนจะผลิตให้ถึง 100 ล้านโดส และหุ้นส่วนในอินโดนีเซียคือ Bio Farma ก็มีแผนจะผลิตให้ได้ 250 ล้านโดส

สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียมีแผนจะผลิตวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส แต่ก็ระบุแล้วว่าครึ่งหนึ่งจะใช้ในอินเดีย

ส่วนประธานบริหารของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าระบุว่า "ปัญหาไม่ใช่การผลิตวัคซีนเอง มันอยู่ที่ขวดบรรจุ คือโลกไม่มีขวดบรรจุพอ" เพื่อเตรียมตัวรับมือกับการสั่งขวดเป็นจำนวนมาก บริษัทผลิตภัณฑ์แก้วอเมริกันรายหนึ่งได้ลงทุน 163 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5,100 ล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานผลิตขวดวัคซีน แต่การมีแก้วพอและการควบคุมความปนเปื้อนก็อาจเป็นปัญหา ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายการผลิตสูงขึ้นและกำไรน้อยลงสำหรับผู้พัฒนาวัคซีน ในสถานการณ์ที่เรียกร้องให้วัคซีนมีราคาพอจ่ายไหว

วัคซีนต้องดูแลและขนส่งตามกฎควบคุมสากล ต้องรักษาไว้ที่อุณหภูมิอันแน่นอนต่าง ๆ กันแล้วแต่เทคโนโลยีของวัคซีน และต้องใช้ก่อนเสื่อมเมื่อเก็บไว้ในคลัง โซ่อุปทานของวัคซีนโควิดคาดว่าจะมีขนาดมหึมาเพื่อให้ส่งไปยังประชากรทั่วโลกได้ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัวการขนส่งเยี่ยงนี้รวมอุปกรณ์และคลังเก็บที่ควบคุมอุณหภูมิ โครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม บุคลากรที่ได้ฝึกเพื่อให้วัคซีน และการเฝ้าติดตามอย่างระมัดระวัง จะมีการใช้อาร์เอฟไอดี (การระบุตัวด้วยคลื่นวิทยุ) เพื่อติดตามและยืนยันวัคซีนของจริงโดยเริ่มจากผู้ผลิต ไปตามโซ่อุปทาน จนถึงผู้ได้วัคซีน

โซ่เย็น (cold chain)

ข้อมูลเพิ่มเติม: โซ่เย็น

วัคซีนและตัวเสริมไม่เสถียรโดยธรรมชาติเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน จึงทำให้ต้องมี "โซ่เย็น" (cold chain) คือมีการแช่เย็นในการขนส่งและการเก็บตลอดโซ่อุปทาน ปกติที่อุณหภูมิราว2–8 องศาเซลเซียส เพราะวัคซีนโควิดใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ จึงก่อปัญหาใหม่ ๆ ในการจัดการบริหารโซ่เย็น มีวัคซีนบางอย่างที่เสถียรเมื่อแช่แข็งแต่ไม่คงตัวเมื่อเจอความร้อน บางอย่างไม่ควรแช่แข็งเลย และบางอย่างเสถียรตลอดทุกอุณหภูมิ ความเสียหายเหตุการแช่แข็งและการฝึกบุคลากรในพื้นที่ไม่ดีพอจึงอาจเป็นปัญหาสำคัญ

ถ้าวัคซีนโควิดมากกว่าหนึ่งอย่างได้อนุมัติ โซ่เย็นวัคซีนอาจต้องแก้ปัญหาความไวอุณหภูมิในระดับต่าง ๆ ข้ามประเทศต่าง ๆ ที่มีภูมิอากาศต่าง ๆ และมีทรัพยากรในพื้นที่เพื่อรักษาอุณหภูมิต่าง ๆ กัน วัคซีนของซิโนฟาร์มและซิโนแว็กเป็นตัวอย่างของวัคซีนอันใช้ไวรัสที่ฆ่าแล้วซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองระยะที่ 3 อันสามารถขนส่งโดยระบบโซ่เย็นที่มีอยู่แล้วได้ กล่าวคือสามารถแช่เย็นในอุณหภูมิระหว่าง 2–8 องศาเซลเซียส

วัคซีนอาร์เอ็นเออาจมีความยากลำบากในการผลิตในปริมาณมาก ๆ หรือรักษาไว้ไม่ให้เสื่อม คือต้องใช้ตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำพิเศษเพื่อเก็บในคลังและในการขนส่ง ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนอาร์เอ็นเอของโมเดอร์นาต้องใช้โซ่เย็นเพียงแค่เหนือจุดเยือกแข็งโดยเก็บได้เป็นเวลาจำกัด แต่วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคต้องเก็บในตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำ −80 ถึง −60 องศาเซลเซียสตลอดการขนส่งจนถึงจุดให้วัคซีน

หลังจากเจาะขวดวัคซีนด้วยเข็มฉีดแล้ว ก็จะใช้ได้เพียงแค่ 6 ชม. แล้วก็ต้องทิ้งไป หน่วยบริการในพื้นที่จึงต้องบริหารการแช่แข็งและการให้วัคซีน เพราะวัคซีนโควิดน่าจะขลาดแคลนเมื่อเริ่มใช้ในเบื้องต้น บุคลากรก็จะต้องหลีกเลี่ยงการทำของเสีย ซึ่งปกติอาจจะถึงร้อยละ 30 ของวัคซีนที่มี โซ่อุปทานยังอาจมีปัญหากับวิธีการขนส่งวัคซีนในพื้นที่ชนบท เช่น ด้วยจักรยานยนต์หรือด้วยโดรนส่งของ กับการต้องให้วัคซีนครั้งที่สอง กับการใช้สารทำให้เจือจาง กับการเข้าถึงกลุ่มประชากรเป้าหมาย เช่น บุคลากรทางแพทย์ เด็ก และคนชรา

การขนส่งทางอากาศและทางบก

การประสานงานเครื่องบินขนส่งระดับนานาชาติจำเป็นในการแจกจำหน่ายวัคซีนโควิดที่มีจำกัดเวลาและอุณหภูมิ แต่จนถึงเดือนกันยายน 2020 เครือข่ายขนส่งเช่นนี้ก็ยังไม่พร้อมขนส่งวัคซีนในระดับนานาชาติ ประธานบริหารของสมาคมการขนส่งทางอากาศนานาชาติ (IATA) ได้กล่าวในเดือนกันยายนว่า "การขนส่งวัคซีนโควิด-19 อย่างปลอดภัยจะเป็นภาระหน้าที่ซึ่งศตวรรษหนึ่งมีครั้งเดียวของอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศทั่วโลก แต่นี่เป็นไปไม่ได้ถ้าไม่วางแผนล่วงหน้าอย่างระมัดระวัง ซึ่งต้องทำเดี๋ยวนี้ เราวิงวอนให้รัฐบาลเป็นผู้นำในการอำนวยการร่วมมือกันตลอดโซ่โลจิสติกส์เพื่อจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ความมั่นคงและปลอดภัย และกระบวนการตรวจที่ชายแดนให้พร้อมกับงานขนาดยักษ์และซับซ้อนข้างหน้านี้"

เพราะการลดจำนวนผู้โดยสารทางอากาศอย่างหนักในช่วงปี 2020 สายการบินต่าง ๆ จึงได้ไล่พนักงานออก ลดจุดหมายที่บริการ และนำเครื่องบินไปเก็บในโรงเก็บระยะยาว ดังนั้น องค์กรผู้นำในการซื้อหาและแจกจำหน่ายวัคซีนโควิดภายในโปรแกรมโคแว็กซ์คือกาวีและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ จึงกำลังเตรียมตัวส่งวัคซีนเป็นจำนวนมากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่เคยมี โดยประสานงานกับบริษัทขนส่งทางอากาศนานาชาติ การควบคุมคนเข้าเมืองและการตรวจอากรสินค้า และการใช้บริการของเครื่องบินขนส่งอาจถึง 8,000 ลำเพียงแค่จะส่งวัคซีนโดสเดียวไปยังประเทศต่าง 

วัคซีนสองอย่างแรก ๆ ที่ได้อนุมัติคือ Tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค และ mRNA-1273 ของโมเดอร์นาต้องแช่แข็งในระหว่างการขนส่ง โดยใช้ตู้บรรจุที่ออกแบบเป็นพิเศษ และน้ำแข็งแห้ง แต่น้ำแข็งแห้งก็ปกติอนุญาตเป็นจำนวนจำกัดบนเครื่องบินเพราะแก๊สจากการการระเหิดอาจเป็นพิษ ในสหรัฐ องค์การบริหารการบินแห่งชาติจำกัดจำนวนน้ำแข็งแห้งสำหรับเครื่องบินโบอิง 777 เพียงแค่ 1.4 ตัน แต่ก็อนุญาตชั่วคราวให้สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ขนส่งถึง 6.8 ตัน คือเป็นวัคซีนเกือบ 1 ล้านโดส ระหว่างกรุงบรัสเซลส์จนถึงเมืองชิคาโก อเมริกันแอร์ไลน์ โบอิง และเดลตาแอร์ไลน์ก็กำลังเพิ่มสมรรถภาพการขนส่งน้ำแข็งแห้งสำหรับเที่ยวบิน โดยสายการบินอเมริกัน เดลตา และยูไนเต็ดต่างก็มีเครือข่ายขนส่งสินค้าแช่เย็นในสหรัฐของตน ๆ ส่วนเฟดเอกซ์และยูพีเอสได้ติดตั้งตู้แช่เข็งเย็นพิเศษที่ศูนย์เครื่องบินขนส่งในยุโรปและอเมริกาเหนือ

ความมั่นคงปลอดภัยและคอรัปชั่น

ยาเป็นสินค้าปลอมที่มีค่ามากที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าเกิน 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 6.3 ล้านล้านบาท) ซึ่งทำให้วัคซีนโควิดอันมีความต้องการอย่างยิ่งเสี่ยงถูกปลอม ถูกขโมย เสี่ยงการฉ้อฉลและการโจมตีทางไซเบอร์ (cyberattack) ตลอดโซ่อุปทาน จนกระทั่งถึงเรียกวัคซีนว่าเป็น "ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดในโลก" โดยตำรวจสากลเรียกมันว่า "ทองเหลว" และเตือนถึงการมีอาชญากรรมประเภทต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ระบบป้องกันคอรัปชั่น การสร้างความโปร่งใส การระบุหน้าที่รับผิดชอบก็กำลังตั้งขึ้นเพื่อลดและกำจัดคอรัปชั่นเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ของวัคซีนโควิด แต่การไร้กฎหมายที่มีโครงสร้างเดียวกันระหว่างประเทศต่าง ๆ การไร้สมรรถภาพทางเทคโนโลยี วัคซีนที่มีจำกัด และความไม่สามารถระบุหรือติดตามวัคซีนของจริงหรือของปลอม ก็อาจเป็นอัตรายต่อชีวิตของผู้ได้วัคซีน และอาจทำให้การระบาดทั่วของโควิดไม่สิ้นสุด ดังนั้น ผู้ผลิตวัคซีนจึงใช้เทคโนโลยีติดตามเพื่อตามขวดวัคซีนไปจนตลอดโซ่อุปทาน และใช้เครื่องมือดิจิตัลแบบชีวมาตร (biometric) เพื่อสร้างความปลอดภัยสำหรับวัคซีน

ในเดือนธันวาคม 2020 ตำรวจสากลเตือนว่า พวกมาเฟียอาจแทรกตัวเข้าไปในโซ่อุปทานของวัคซีนแล้วขโมยวัคซีนหรือขโมยข้อมูล หรือแม้แต่ขายชุดวัคซีนปลอม อนึ่ง วัคซีนที่ต้องแช่แข็งอยู่ตลอดก็เสี่ยงต่อวินาศกรรมด้วย

อุปกรณ์จีพีเอสจะใช้ติดตามวัคซีนในสหรัฐ ในรัฐโคโลราโด เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐจะตามคุ้มครองวัคซีนที่ส่งจากท่าอากาศยานนานาชาติเดนเวอร์ไปยังศูนย์ส่งต่อวัคซีนต่าง ๆ ในรัฐ 8 แห่ง โดยแผนการขนส่งจะเก็บเป็นความลับและเจ้าหน้าที่จะอำพรางปิดบังภารกิจ

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็ยังอาจเกิดผลกระทบด้วย นักวิเคราะห์ทางความมั่นคงปลอดภัยของบริษัทไอบีเอ็มได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ว่า บริษัทเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียมได้กลายเป็นเป้าสำหรับนักเลงคอมพิวเตอร์เพราะบทบาทสำคัญของบริษัทในการผลิตน้ำแข็งแห้ง

โครงสร้างพื้นฐานของชาติ

องค์การอนามัยโลกได้สร้างระบบบริหารวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Vaccine Management) ซึ่งรวมการจัดลำดับความสำคัญเพื่อเตรียมบุคลากรทั้งประจำประเทศและส่วนภูมิภาค เตรียมสถานบริการเพื่อแจกจำหน่ายวัคซีนรวมทั้ง

  • ฝึกบุคลากรให้สามารถจัดการวัคซีนที่มีเวลาและอุณหภูมิจำกัด
  • ระบบการเฝ้าสอดส่องที่ทนทานเพื่อให้สามารถเก็บและขนส่งวัคซีนได้ดีที่สุด
  • การมีอุปกรณ์และสถานที่ที่ควบคุมอุณหภูมิได้
  • การติดตามวัคซีนได้
  • ความปลอดภัย

กระบวนการตรวจเมื่อเข้าเมืองเพื่อให้จัดการวัคซีนและผ่านกงศุลได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศแต่ละประเทศอาจรวม

  • อำนวยความสะดวกแก่สายการบิน
  • ยกเว้นเจ้าหน้าที่เครื่องบินจากการกักด่าน
  • สร้างระบบปฏิบัติการที่ยืดหยุ่นได้เพื่อให้ใช้ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดลำดับให้เครื่องบินขนส่งลงก่อนเพื่อรักษาอุณหภูมิวัคซีน

ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2020 เลขาธิการกระทรวงบริการทางสาธารณสุขและมนุษย์สหรัฐได้ประกาศยกเว้นความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้สู้กับโควิด-19 คือ วัคซีนอะไรก็ได้ ที่ใช้รักษา วินิจฉัย ป้องกัน หรือลดอาการโควิด-19 หรือลดการแพร่เชื้อของ SARS-CoV-2 หรือของไวรัสที่กลายพันธุ์จากนั้น และระบุว่า ประกาศนี้กันการฟ้องคดีเกี่ยวกับความรับผิดชอบว่า ผู้ผลิตวัคซีนประมาทเลินเล่อ หรือแพทย์พยาบาลประมาทเลินเล่อเพราะให้ยาผิดขนาด/ผิดประเภท หากไม่ได้จงใจประพฤติไม่ชอบในหน้าที่ ประกาศนี้มีผลในสหรัฐจนกระทั่งถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2024

ข้อมูลผิด 

สื่อสังคมได้ช่วยสนับสนุนทฤษฎีสมคบคิดที่อ้างว่า วัคซีนโควิด-19 มีอยู่แล้วเมื่อจริง ๆ ยังไม่มี และจริง สิทธิบัตรที่บทความต่าง ๆ ได้อ้างผิด ๆ ก็เป็นสิทธิบัตรสำหรับลำดับดีเอ็นเอและวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น ไวรัสโคโรนาโรคซาร์ส ไม่ใช่สำหรับโควิด

ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2020 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้แถลงการณ์ว่า ได้ยื่นคำสั่งให้หยุดและไม่กระทำอีกต่อบริษัทในเมืองซีแอตเทิลคือ North Coast Biologics ผู้ได้ขายยาซึ่งอ้างว่าเป็น "วัคซีนโปรตีน spike ของ nCoV19"

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

แม่แบบ:รายการอ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:วิกิคำคมอังกฤษ

แม่แบบ:วัคซีน


Новое сообщение