วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี เป็นวัคซีนชนิดหนึ่งมีฤทธิ์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ได้ง่ายและบ่อย จึงมีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ออกมาปีละ 2 ครั้ง ผลของวัคซีนนี้แตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่โดยรวมแล้วถือว่าป้องกันการติดไข้หวัดใหญ่ได้ผลดี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐประมาณการว่าการให้วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถลดจำนวนผู้ป่วย จำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ได้จริง คนงานที่ได้รับวัคซีนเมื่อติดโรคไข้หวัดใหญ่แล้วสามารถกลับมาทำงานได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีนประมาณครึ่งวันโดยเฉลี่ย ข้อมูลเกี่ยวกับผลของวัคซีนในคนที่อายุมากกว่า 65 ปียังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากยังขาดงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงมายืนยันผล การให้วัคซีนกับเด็กอาจมีผลช่วยป้องกันโรคไปยังคนรอบข้างด้วย
การสร้างภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ด้วยวัคซีนเริ่มมีขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และการให้วัคซีนเป็นวงกว้างในสหรัฐเริ่มมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1945 วัคซีนนี้มีชื่ออยู่ในรายการยาพื้นฐานขององค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ (CDC) แนะนำให้ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน โดยเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยง ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) ก็แนะนำให้กลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ให้บริการในระบบบริการสุขภาพ
วัคซีนนี้ถือว่าเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย เด็กทีได้รับวัคซีนนี้จะมีไข้ประมาณ 5-10% และอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือรู้สึกไม่สบายตัวได้ชั่วคราว ในบางปีจะพบว่าวัคซีนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เรในผู้สูงอายุในสัดส่วน 1 คน ต่อ 1 ล้านคนที่รับวัคซีน แม้วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำนวนมากจะยังใช้ไข่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตวัคซีน แต่ก็ไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ไม่ให้ผู้ที่มีภูมิแพ้ไข่ได้รับวัคซีนนี้ แต่มีข้อห้ามทางการแพทย์ไม่ให้ผู้ที่เคยแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรงมาก่อนเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปีต่อ ๆ ไป วัคซีนแบ่งออกเป็นชนิดเชื้อเป็นและชนิดเชื้อตาย โดยชนิดเชื้อเป็นจะมีเชื้อไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ ไม่แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี, ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี, และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง วิธีการให้วัคซีนจะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของวัคซีน โดยมีทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การพ่นจมูก และการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal) โดยวัคซีนชนิดฉีดเข้าชั้นผิวหนังไม่มีการผลิตออกมาใช้สำหรับรอบฤดูกาลการระบาดปี 2018-2019 และ 2019-2020
การใช้ทางการแพทย์
ประสิทธิผล
US vaccine effectiveness by start year:
2004
|
10%
|
2005
|
21%
|
2006
|
52%
|
2007
|
37%
|
2008
|
41%
|
2009
|
56%
|
2010
|
60%
|
2011
|
47%
|
2012
|
49%
|
2013
|
52%
|
2014
|
19%
|
2015
|
48%
|
2016
|
40%
|
2017
|
38%
|
2018
|
29%
|
2019
|
45% est
|
โดยปกติแล้วการประเมินผลวัคซีนจะใช้ทั้งค่าประสิทธิศักย์ (efficacy) ซึ่งหมายถึงอัตราที่วัคซีนลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ในสภาพควบคุม เช่นที่เกิดขึ้นในการทดลองทางคลินิก และประสิทธิผล (effectiveness) ซึ่งหมายถึงอัตราที่วัคซีนลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเมื่อนำไปใช้จริง ในกรณีของวัคซีนไข้หวัดใหญ่คาดได้ว่าประสิทธิผลของวัคซีนเมื่อนำไปใช้จริงจะมีค่าต่ำกว่าประสิทธิศักย์ที่ได้จากการทดลองเป็นพิเศษเนื่องจากข้อมูลการป่วยไข้หวัดใหญ่ที่นำมาคำนวณเป็นประสิทธิผลจะคิดจากจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะนับรวมผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้ป่วยจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าไปด้วย
การแนะนำ
องค์การทางสาธารณสุขต่างๆ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ และผู้ดูแลหรืออาศัยอยู่ใกล้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี ทุกปี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่
อ่านเพิ่ม
-
World Health Organization (October 2017). The immunological basis for immunization series: module 23: influenza vaccines. World Health Organization (WHO). hdl:10665/259211. ISBN 978-9241513050.
-
Ramsay M (บ.ก.). "Chapter 19: Influenza". Immunisation against infectious disease. Public Health England.
-
Hamborsky J, Kroger A, Wolfe S, บ.ก. (2015). "Chapter 12: Influenza". Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (13th ed.). Washington D.C.: U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). ISBN 978-0990449119.
-
Budd A, Blanton L, Grohskopf L, Campbell A, Dugan V, Wentworth DE, และคณะ (March 29, 2019). "Chapter 6: Influenza". ใน Roush SW, Baldy LM, Hall MA (บ.ก.). Manual for the surveillance of vaccine-preventable diseases. Atlanta GA: U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
-
National Advisory Committee on Immunization (May 2020). "Canadian Immunization Guide Chapter on Influenza and Statement on Seasonal Influenza Vaccine for 2020–2021" (PDF). Public Health Agency of Canada. Cat.: HP37-25F-PDF; Pub.: 200003.
-
National Advisory Committee on Immunization (NACI) (May 2018). NACI literature review on the comparative effectiveness and immunogenicity of subunit and split virus inactivated influenza vaccines in adults 65 years of age and older (PDF). Government of Canada. ISBN 9780660264387. Cat.: HP40-213/2018E-PDF; Pub.: 180039.
-
Rajaram S, Wojcik R, Moore C, Ortiz de Lejarazu R, de Lusignan S, Montomoli E, และคณะ (August 2020). "The impact of candidate influenza virus and egg-based manufacture on vaccine effectiveness: Literature review and expert consensus". Vaccine. 38 (38): 6047–6056. doi:10.1016/j.vaccine.2020.06.021. PMID 32600916.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
ทั่วไป |
|
ไวรัสอินฟลูเอนซา |
|
ชนิดย่อยของ ไวรัสอินฟลูเอนซา เอ |
|
H1N1 |
|
H5N1 |
|
การรักษา |
|
การระบาดและการระบาดทั่ว ของไข้หวัดใหญ่ |
|
ไม่ใช่ในมนุษย์ |
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
|
ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
|
|
ที่เกี่ยวข้อง |
|
|
|
การพัฒนา |
|
กลุ่ม |
|
การจัดการ |
|
วัคซีน |
|
เรื่องโต้แย้ง |
|
บทความที่สัมพันธ์กัน |
|
|