Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
สมมติฐานของค็อค
สมมติฐานของค็อค (อังกฤษ: Koch's postulates; /ˈkɔːx/) เป็นเกณฑ์สี่ข้อที่ออกแบบมาเพื่อตั้งความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผลระหว่างจุลชีพหนึ่งๆ กับโรคใดโรคหนึ่ง สมมติฐาน (postulates) นี้ตั้งขึ้นโดยโรแบร์ต ค็อค และ ฟรีดดริช ลอฟเลอร์ ในปี 1884 โดยมีรากฐานมาจากแนวความคิดเดิมที่บรรยายไว้โดยเยค็อบ เฮนเล, และถูกทบทวนและเผยแพร่โดยค็อคในปี 1890. ค็อคได้นำสมมติฐานนี้ไปใช้ในการอธิบายสมุฏฐานวิทยาของอหิวาตกโรคและวัณโรค แต่แนวคิดนี้ก็ได้ถูกนำไปใช้ปรับโดยทั่วไปกับโรคอื่น ๆ (generalised) ภายใต้ข้อถกเถียงมากมาย สมมติฐานนี้ตั้งขึ้นก่อนหน้าที่จะมีแนวคิดแบบสมัยใหม่ต่อการเกิดโรคของไมโครบซึ่งไม่สามารถใช้แนวคิดของค็อคในการอธิบายได้ เช่น ไวรัส ซึ่งเป็นปรสิตที่มีวงจรชีวิตที่ต้องอาศัยเซลล์เท่านั้นจึงจะมีชีวิตได้ และในกรณีของพาหะไม่แสดงอาการ แนวคิดของค็อคได้ถูกแทนที่หลัก ๆ ด้วยเกณฑ์ชุดอื่น ๆ เช่น เกณฑ์แบรดฟอร์ดฮิลล์เพื่อการศึกษาโรคติดต่อในสาธารณสุขยุคใหม่
สมมติฐาน
สมมติฐานของค็อคประกอบด้วย:
- จุลินทรีย์นั้นต้องพบทั่วไปในทักสิ่งมีชีวิตที่เจ็บป่วยด้วยโรคนั้น แต่ไม่ควรจะพบได้ (should not be found) ในสิ่งมีชีวิตที่ไม่ป่วย
- จุลินทรีย์นั้นต้องถูกนำมาแยกจากสิ่งมีชีวิตที่ป่วยและถูกนำมาเพาะเลี้ยงในการเพาะเลี้ยงเซลล์บริสุทธิ์
- จุลินทรีย์ที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงแล้วจะถูกนำไปเข้าสู่สิ่งมีชีวิตที่ไม่ป่วย
- จุลินทรีย์ต่างนั้นจะต้องถูกนำมาแยกอีกครั้งจากสิ่งมีชีวิตที่ถูกฉีดด้วยจุลินทรีย์ (reisolated from the inoculated) จุลินทรีย์ที่ถูกแยกออกมานี้จะต้องเหมือนกันกับในตัวอย่างใหม่ที่ป่วยและตัวอย่างเดิมที่ป่วย
อย่างไรก็ตาม ต่อมาค็อคได้ละทิ้งข้อบังคับสากลในสมมติฐานข้อแรกหลังเขาพบพาหะไม่แสดงอาการของอหิวาตกโรค และต่อมาในไข้ไทฟอยด์