Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
สารฆ่าเชื้ออสุจิ
สารฆ่าเชื้ออสุจิ | |
---|---|
ความรู้พื้นฐาน | |
ประเภทการคุมกำเนิด | สารฆ่าเชื้ออสุจิ |
เริ่มใช้ครั้งแรก | ยุคโบราณ |
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้) | |
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง | 18% |
เมื่อใช้แบบทั่วไป | 28% |
การใช้ | |
การย้อนกลับ | ทันที |
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ | ประสิทธิผลสูงกว่าเมื่อใช้ร่วมกับการคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวาง |
ข้อดีข้อเสีย | |
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ | ไม่ป้องกัน |
ผลกระทบต่อน้ำหนักตัว | ไม่มี |
ข้อดี | ช่วยหล่อลื่น |
สารฆ่าเชื้ออสุจิ (อังกฤษ: spermicide) เป็นสารคุมกำเนิดที่ทำลายตัวอสุจิ ใช้โดยการใส่เข้าไปในช่องคลอดก่อนการร่วมเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวสามารถใช้คุมกำเนิดได้ อย่างไรก็ตามคู่รักที่ใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าคู่ที่ใช้การคุมกำเนิดแบบอื่น โดยปกติ สารฆ่าเชื้ออสุจิมักถูกใช้คู่กับวิธีอื่น เช่น วิธีใช้สิ่งกีดขวางอย่าง ถุงยางอนามัย ฝาครอบปากมดลูก หมวกครอบปากมดลูก และฟองน้ำคุมกำเนิด การใช้ร่วมกันให้ผลดีกว่าการใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใดแบบหนึ่งอย่างเดียว
สารฆ่าเชื้ออสุจิไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่ทิ้งคราบ และยังช่วยหล่อลื่น
ประเภทและประสิทธิผล
ตัวที่ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่มักถูกใช้ในสารฆ่าเชื้ออสุจิ คือ nonoxynol-9 สารฆ่าเชื้ออสุจิที่มีส่วนผสมของ nonoxynol-9 มีหลายรูปแบบ เช่น เจล แผ่นฟิล์ม และโฟม หากใช้เดี่ยว ๆ สารฆ่าเชื้ออสุจิมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 18% ต่อปีเมื่อใช้อย่างถูกต้อง และ 28% ต่อปีเมื่อใช้แบบทั่วไป
ยี่ห้อสารฆ่าเชื้ออสุจิ
รายชื่อตัวอย่างยี่ห้อของสารฆ่าเชื้ออสุจิจาก Mayo Clinic
- Advantage-S
- Conceptrol
- Crinone
- Delfen Foam
- Emko
- Encare
- Endometrin
- First-Progesterone VGS
- Gynol II
- Prochieve
- Today Sponge
- VCF-Vaginal Contraceptive Film
- Vagi-Gard Douche Non-Staining
สารฆ่าเชื้อสุจิแต่ละแบบมีวิธีใช้แตกต่างกันและควรอ่านคำวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์อย่างถี่ถ้วน หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารฆ่าเชื้ออสุจิควรติดต่อแพทย์
Nonoxynol-9 เป็นสารหลักในสารฆ่าเชื้ออสุจิที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ สารออกฤทธิ์รองสามารถประกอบด้วย octoxynol-9, benzalkonium chloride และ menfegol การขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิสามารถหยุดยั้งการเดินทางไปยังเซลล์ไข่ หากใส่ในความลึกที่ถูกต้อง สารฆ่าเชื้ออสุจิควรปิดกลั้นบริเวณปากมดลูกเพื่อไม่ให้ตัวอสุจิสามารถผ่านไปยังมดลูกหรือท่อนำไข่ งานวิจัยโดย K.T. Bartman และคณะชี้ว่าเมื่อทาสารฆ่าเชื้ออสุจิที่มีส่วนผสมของ Nonoxynol-9 ในช่องคลอด "เจลได้คลอบคลุมเยื่อบุผิวในความหนาต่างกันเมื่อผ่านไป 10 นาที" เป้าหมายเดียวของสารฆ่าเชื้ออสุจิคือการป้องกันการตั้งครรภ์
การใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย
เชื่อกันว่าสารฆ่าเชื้ออสุจิเพิ่มประสิทธิผลของถุงยางอนามัย
อย่างไรก็ตาม ถุงยางอนามัยที่ผลิตโดยมีสารฆ่าเชื้ออสุจิมีอายุสั้นกว่า และอาจทำให้ระบบปัสสาวะของผู้หญิงอักเสบองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าควรเลิกสนับสนุนถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ อย่างไรก็ตามพวกเขาแนะนำว่าการใช้ถุงยางอนามัยที่มีส่วนประกอบของ nonoxynol-9 ยังดีกว่าการไม่ใช้ถุงยางอนามัยเลย
การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวให้ประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 70 ถึง 80 เมื่อสารฆ่าเชื้ออสุจิถูกใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยและวิธีทีใช้สิ่งกีดขวางอื่น ๆ ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ 97
ผลข้างเคียง
การระคายเคืองผิวแบบชั่วคราวบริเวณ โยนี ช่องคลอด หรือองคชาต เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ
ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ใช้บ่อย (มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน) หากมีความเสี่ยงติดโรคเฮชไอวี เนื่องจากสารฆ่าเชื้ออสุจิที่มีส่วนประกอบของ nonoxynol-9 เพิ่มความเสียหายบนเยื่อบุผิวบริเวณโยนีและช่องคลอด เพิ่มโอกาสการติดเชื้อเฮชไอวี
ใน พ.ศ. 2540 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์คุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของ nonoxynol-9 ที่ขายตามร้านขายยาให้ระบุบนฉลากว่าไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
ประวัติ
บันทึกรายอักษรแรกของสารฆ่าเชื้ออสุจิถูกพบบนพาไพรัสคาฮุน (Kahun Papyrus) เอกสารของชาวอียิปต์ย้อนกลับไปตั้งแต่ 1850 ปีก่อนคริสตกาล มีการบรรยายถึงห่วงพยุงในช่องคลอดทำจากอุจจาระจรเข้และแป้งโดว์หมัก เชื่อกันว่า pH ที่ต่ำของอุจจาระอาจช่วยฆ่าเชื้ออสุจิ
สูตรอื่นถูกพบในพาไพรัสอีเบอร์ส์จากประมาณ 1500 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีการแนะนำให้ผสมขนแกะ อาเคเซีย ผลอินทผลัม และน้ำผึ้งเข้าด้วยกันและนำไปใส่ในช่องคลอด คาดว่าประสิทธิผลอาจมาจากความเหนียวหนืดที่ช่วยกีดขวางและกรดแล็กติก (มีผลในการฆ่าเชื้ออสุจิ) จากอาเคเซีย
ดูเพิ่ม
การเปรียบเทียบ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ทางพฤติกรรม |
|
||||
โดยใช้สิ่งกีดขวางกับ / หรือ สารฆ่าเชื้ออสุจิ |
|||||
โดยใช้ฮอร์โมน |
|
||||
ยาต้านเอสโตรเจน |
|
||||
หลังการร่วมเพศ |
|
||||
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด |
|
||||
การทำแท้ง | |||||
การทำหมัน |
|
||||
อยู่ในขั้นทดลอง |
|