Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด | |
---|---|
ห่วงอนามัยคุมกำเนิดชนิดเคลือบทองแดง (ยี่ห้อ Paragard รุ่น T 380A)
| |
ความรู้พื้นฐาน | |
ประเภทการคุมกำเนิด | ในมดลูก |
เริ่มใช้ครั้งแรก | คริสต์ทศวรรษ 1970 |
อัตราการล้มเหลว (ปีแรก) | |
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง | <1%% |
เมื่อใช้แบบทั่วไป | <1%% |
การใช้ | |
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ | ... |
ข้อดีข้อเสีย | |
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ | ไม่ |
ประจำเดือน | ... |
น้ำหนัก | ... |
ข้อดี | ... |
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือ ไอยูดี (อังกฤษ: Intrauterine device, IUD, intrauterine contraceptive device, IUCD, ICD, coil) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดขนาดเล็ก มักมีรูปร่างคล้ายตัว T ใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้ห่วงอนามัยเป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้ ผู้ใช้ห่วงอนามัยและยาคุมกำเนิดแบบฝังมีความพึงพอใจสูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น หลักฐานทางงานวิจัยสนับสนุนทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัยของห่วงอนามัย เมื่อใช้กับวัยรุ่นและคนที่ไม่เคยมีลูก เมื่อถอดห่วงอนามัยออกความเจริญพันธุ์ของผู้ใช้จะกลับมาอย่างรวดเร็วแม้จะใช้มาเป็นเวลานาน โอกาสล้มเหลวของห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงอยู่ที่ประมาณ 0.8% ส่วนแบบหลั่งฮอร์โมนอยู่ที่ประมาณ 0.2% ในการใช้ปีแรก
ห่วงอนามัยหุ้มทองแดงอาจเพิ่มปริมาณของประจำเดือนและอาจทำให้ปวดท้องมากขึ้น ส่วนห่วงอนามัยแบบหลั่งฮอร์โมนอาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือไม่มาเลย อาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ผลกระทบที่อาจตามมาได้แก่ expulsion (2–5%) และมดลูกฉีกขาดที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 0.7%) ห่วงอนามัยไม่ส่งผลกรทบต่อการให้นมบุตร และสามารถติดตั้งทันทีหลังคลอดลูก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทันทีหลังการทำแท้ง
การใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิดเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 แบบจำลองก่อนหน้านี้ถูกเรียกว่า Dalkon shield ซึ่งถูกพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease) อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยรุ่นปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนี้หากผู้ใช้ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตอนช่วงเวลาติดตั้ง
ประเภท
ประเภทและชื่อของห่วงอนามัยคุมกำเนิดแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในสหรัฐอเมริกามีอยู่สองประเภท ได้แก่:
- ห่วงอนามัยทองแดงชนิดไม่เคลือบฮอร์โมน (Nonhormonal copper IUD) ภายใต้ชื่อ ParaGard และอื่น ๆ
- ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมนโพรเจสโตเจน (IUD with progestogen) ภายใต้ชื่อ Mirena และอื่น ๆ
ชนิดเคลือบทองแดง
ห่วงอนามัยเคลือบทองแดงทำงานโดยขัดขวางการเคลื่อนไหวและสร้างความเสียหายต่อตัวอสุจิเพื่อหยุดไม่ให้ไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ ทองแดงทำหน้าที่เป็นสารฆ่าเชื้ออสุจิในมดลูก เพิ่มระดับไอออนทองแดง โพรสตาแกลนดิน และเม็ดเลือกขาวในของเหลวทั้งภายในท่อนำไข่และในมดลูก ระดับของไอออนทองแดงที่เพิ่มในมูกช่องคลอดหยุดยั้งการเคลื่อนตัวและฆ่าตัวอสุจิ ทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถเดินทางผ่านมูกช่องคลอด ทองแดงยังสามารถเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก ทว่างานวิจัยแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถหยุดการฝังตัวของเซลล์ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วได้ ทว่าไม่สามารถขัดขวางเซลล์ไข่ที่ถูกฝังไปแล้ว
ห่วงอนามัยเคลือบทองแดงมีอัตราการล้มเหลวในปีแรกตั้งแต่ 0.1 ถึง 2.2%
ข้อเสียได้แก่ โอกาสที่ประจำเดือนจะมามากขึ้นและอาจปวดท้องมากขึ้น
ชนิดเคลือบฮอร์โมน
ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน (ภายใต้แบรนด์ Mirena, Skyla, Kyleena และ Liletta) ทำงานโดยการปล่อยฮอร์โมน ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) และ โพรเจนติน (progestin) กลไกหลักคือการทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถมีชีวิตอยู่ข้างในของมดลูก ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนยังสามารถใช้เพื่อรักษาอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ (menorrhagia) ด้วยความสามารถในการลดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกจึงทำให้ประจำเดือนน้อยลงหรือไม่มีเลยได้
โพรเจสตินที่หลั่งออกมาจากห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนมีผลเฉพาะที่
ชนิดไม่เคลือบสารหรือฮอร์โมน
ห่วงอนามัยชนิดไม่เคลือบสารหรือฮอร์โมนเป็นห่วงอนามัยที่ไม่มีส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมี เช่น แหวนเหล็กกล้าไร้สนิม หรือ พลาสติก มีประสิทธิผลต่ำกว่าห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงหรือฮอร์โมน และมีผลข้างเคียงคล้ายแบบเคลือบทองแดง กลไกหลักคือการทำให้สภาพแวดล้อมภายในมดลูกไม่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิและการฝังตัวของเซลล์ไข่ อาจมีอัตราการป้องกันการตั้งครรภ์สูงกว่าหลังการปฏิสนธิ ต่างจากห่วงอนามัยแบบเคลือบทองแดงหรือฮอร์โมนที่มักให้ผลก่อนการปฏิสนธิ
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ห่วงอนามัยคุมกำเนิด |
การเปรียบเทียบ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ทางพฤติกรรม |
|
||||
โดยใช้สิ่งกีดขวางกับ / หรือ สารฆ่าเชื้ออสุจิ |
|||||
โดยใช้ฮอร์โมน |
|
||||
ยาต้านเอสโตรเจน |
|
||||
หลังการร่วมเพศ |
|
||||
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด |
|
||||
การทำแท้ง | |||||
การทำหมัน |
|
||||
อยู่ในขั้นทดลอง |
|