Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
อัคซีโยน เท4
อัคซีโยน เท4 | |
---|---|
คำสั่งของฮิตเลอร์เกี่ยวกับ อัคซีโยน เท4
| |
หรือเป็นที่รู้จัก | มาตรการ T4 |
สถานที่ | ยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง |
วันที่ | กันยายน ค.ศ. 1939 – สิงหาคม ค.ศ. 1941 |
รูปแบบ | การบังคับการุณยฆาต |
ผู้ทำ | ชุทซ์ชทัฟเฟิล-เอสเอส |
ผู้ร่วม | โรงพยาบาลจิตเวช |
เหยือ | 70,273 |
อัคซีโยน เท4 (เยอรมัน: Aktion T4) เป็นชื่อในช่วงหลังสงครามที่ตั้งให้แก่การสังหารหมู่ผ่านการการุณยฆาตโดยบังคับของนาซีเยอรมนี ชื่อ เทเฟียร์ (T4) เป็นตัวย่อของ Tiergartenstraße 4 อันเป็นชื่อถนนที่ตั้งของหน่วยงานสังกัดทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ หน่วยงานนี้จัดตั้งขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1940 ในเขตเทียร์กาเทินของกรุงเบอร์ลิน เป็นหน่วยงานที่สรรหาและจ่ายค่าจ้างแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ เท4 แพทย์เยอรมันบางส่วนที่ได้รับอำนาจในการวินิจฉัยผู้ป่วยว่าพวกเขา "ป่วยเรื้อรังหมดทางรักษา หลังได้รับการตรวจที่จำเป็นอย่างถึงที่สุดแล้ว" และได้รับอำนาจให้จัดการกับพวกเขาด้วย "ความตายอันการุณ" (Gnadentod) โครงการนี้มุ่งเป้าไปที่เด็กและผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและทางจิตเรื้อรัง
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1939 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ลงนามในกฤษฎีการุณยฆาต ย้อนหลังให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งอนุญาตให้ไรชส์ไลเทอร์ ฟิลิป บูเลอร์ ผู้นำไรช์ฝ่ายพรรคนาซี กับ ดร.คาร์ล บรันท์ (Karl Brandt) แพทย์ส่วนตัวของฮิตเลอร์ในการดำเนินโครงการการุณยฆาตโดยบังคับ
[[:หมวดหมู่:|]]
- ไรชส์ไลเทอร์ บูเลอร์ และ ดร.นพ.บรันท์
- ขอมอบหมายให้รับผิดชอบแผนขยายขอบเขตอำนาจของแพทย์ที่จะได้เข้าระเบียนชื่อไว้ ในกรณีว่าคนป่วยใด ๆ ก็ตาม หลังเข้ารับการวินิจฉัยที่จำเป็นอย่างถึงที่สุดแล้ว หลักปุถุชนเห็นว่าเป็นคนที่หมดทางรักษา สามารถรับการการุณยฆาตได้
ระหว่างกันยายน ค.ศ. 1939 จนถึงสิงหาคม ค.ศ. 1941 มีผู้คนกว่า 70,273 ชีวิตถูกฆ่าจากกฎหมายฉบับนี้ การสังหารเกิดขึ้นที่ศูนย์การสังหารหมู่ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลจิตเวชในเยอรมนีและออสเตรีย ตลอดจนในเขตยึดครองโปแลนด์ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเป็นผู้ที่อยู่ในสถานบำบัดทางจิตเวช
มีการอ้างเหตุผลมากมายมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ทั้งเหตุผลด้านสุพันธุศาสตร์ เพื่อลดความทรมานจากโรคภัย เพื่อสุขอนามัยของสังคม เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการของประเทศ
หมายเหตุ
บรรณานุกรม
- Proctor, Robert N. (1988). Racial Hygiene: Medicine under the Nazis. Cambridge, MA: Harvard College. ISBN 978-0-674-74578-0.
- Sandner, Peter (กรกฎาคม 1999). "Die "Euthanasie"-Akten im Bundesarchiv. Zur Geschichte eines lange verschollenen Bestandes" [The 'Euthanasia' Files in the Federal Archives. On the History of a Long Lost Existence] (PDF). Vierteljahrschefte für Zeitgeschichte – Institut für Zeitgeschichte. 47 (3): 385–400. ISSN 0042-5702.
- Hojan, Artur; Munro, Cameron (2015). Overview of Nazi 'Euthanasia' Programme. The Central Office at Tiergartenstraße 4 in Berlin. The Tiergartenstraße 4 Association. ISBN 978-1-4438-5422-1. OCLC 875635606. Further information: Kaminsky, Uwe (2014), "Mercy Killing and Economism" [in:] Bialas, Wolfgang; Fritze, Lothar (ed.), Nazi Ideology and Ethics. pp. 263–265. Cambridge Scholars Publishing "Once emptied, the Polish institutions were almost exclusively turned over to the SS"[p. 265]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2017.
- Bialas, Wolfgang; Fritze, Lothar (2015). Nazi Ideology and Ethics. Newcastle: Cambridge Scholars. ISBN 978-1-4438-5881-6.
- Sereny, Gitta (1983). Into that Darkness: An Examination of Conscience. New York, NY: Vintage Books. ISBN 978-0-394-71035-8.
- Miller, Michael (2006). Leaders of the SS and German Police. Vol. I. San Jose, CA: R. James Bender. ISBN 978-93-297-0037-2.
- Lifton, R. J. (1986). The Nazi Doctors: Medical Killing and the Psychology of Genocide. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-04904-2.