Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
อาหารอัลคาไลน์

อาหารอัลคาไลน์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
Leafy green, allium, and cruciferous vegetables are key parts of alkaline diet.

อัลคาไลน์ ไดเอต (หรือ อาหารที่มีสภาวะเป็นด่าง) เป็นการอธิบายถึงกลุ่มของอาหารที่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า อาหารแต่ละประเภทสามารถส่งผลกระทบต่อ ความเป็นกรด และ ค่า pH ของของเหลวในร่างกาย ซึ่งรวมถึง ปัสสาวะ และ เลือด และสามาถนำไปใช้เพื่อรักษาและป้องกันโรค แต่เนื่องจากยังขาดการศึกษาที่สนับสนุนผลดีของอาหารประเภทนี้ ดังนั้นจึงเป็นที่ไม่แนะนำโดยนักโภชนาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและ สภาวะสมดุลกรดด่าง หรือ การควบคุมภาวะความเป็นกรด – ด่างของร่างกาย มากว่าทศวรรษ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้ในทางการแพทย์จะมุ่งเน้นกับการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยหลักแล้วอาหารประเภทนี้สนับสนุนให้หลีกเลี่ยงการบริโภค เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ชีส และ ธัญพืช เพื่อที่จะทำให้ปัสสาวะมีความเป็นด่างมากขึ้น (มีค่า pH ที่สูงขึ้น) และเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมของปัสสาวะเพื่อที่จะป้องกันการเกิด โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTIs) และ โรคนิ่วไต (Nephrolithiasis) อย่างไรก็ตาม ความยากในการคาดหมายผลของการบริโภคอาหารประเภทนี้ จึงทำให้ การรักษาด้วยยา เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากกว่าในการปรับค่าความเป็นกรดด่างของปัสสาวะมากกว่าที่จะเป็นการปรับเปลี่ยนอาหาร การบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นกรดถูกพิจารณาโดยผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์จำนวนมาก ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของ โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) แม้ว่าในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่สนับสนุนสมมุติฐานนี้ แผนการบริโภค “อาหารที่มีสภาวะเป็นด่าง (alkaline diet)” ยังได้ถูกใช้โดย การแพทย์ทางเลือก โดยแนะนำว่าอาหารประเภทดังกล่าวจะสามารถรักษาหรือป้องกัน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ภาวะระดับพลังงานต่ำ (low energy levels) รวมทั้งโรคอื่น ๆ ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์มาสนับสนุน และทำให้เกิดข้อสันนิษฐานที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลของการบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นด่าง ซึ่งขัดแย้งกับความเข้าใจใน สรีรวิทยา ของมนุษย์

มุมมองทางการแพทย์

องค์ประกอบของโภชนาการ

ตามทฤษฎีพื้นฐานของการแยกประเภทอาหารนี้ กรดจะถูกสร้างขึ้นโดยการบริโภคอาหารประเภทเนื้อแดง เนื้อไก่ ชีส เนื้อปลา ไข่ และธัญพืช ส่วนด่างจะถูกสร้างโดยการบริโภคอาหารประเภทผักและผลไม้ ยกเว้น แครนเบอร์รี่ พรุน และ ลูกพลัม อาหารประเภทผลไม้ตระกูลส้มที่โดยทั่วไปจะถูกพิจารณาว่าเป็นอาหารที่เป็นกรดถูกพิจารณาว่าเป็นอาหารที่ทำให้เกิดด่างในโภชนาการนี้เนื่องจากการแยกประเภทว่าอาหารชนิดใดที่สร้างกรดหรือด่างเกิดจากการพิจารณาส่วนที่เหลือ (residue) ภายหลังจากการการออกซิไดซ์ (เผาไหม้ - Combustion) มากกว่าที่จะเป็นการวัดความเป็นกรดของอาหาร

สมมติฐานในปัจจุบัน

อาหารที่มีส่วนประกอบที่มีสภาวะเป็นกรด (สร้างกรด) จะทำให้ร่างกายพยายามที่จะ ลดความเป็นกรด (buffer) กรดอื่น ๆ ที่อยู่ในร่างกายด้วย การกร่อนกระดูก ซึ่งทำให้กระดูกเปราะและทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ในทางตรงข้าม อาหารที่มีส่วนประกอบที่มีสภาวะเป็นด่าง (สร้างด่าง) จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน ทฤษฎีนี้ได้รับการสนับสนุนในบทความของ สมาคมโภชนาการอเมริกัน (American Dietetic Association) โดยตีพิมพ์ในวารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (U.S. National Academy of Science; NAS) เช่นเดียวกับในวารสารวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ซึ่งได้ชี้บ่งว่า อาหารที่มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง เช่น ผักและผลไม้ อาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วยการเพิ่มการสร้างสภาวะด่าง อย่างไรก็ตาม การยอมรับสมมุติฐานความเป็นกรด-ด่างว่าเป็นตัวแปรสำคัญของความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนโดยวารสารเหล่านี้ ไม่ได้มีการตรวจสอบโดยการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (Systematic reviews) ที่มีคุณภาพสูงผลการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ซึ่งถูกตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ได้วิเคราะห์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และพบว่าไม่มีหลักฐานที่สำคัญที่สนับสนุนสมมุติฐานของการบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นกรด เกี่ยวกับการป้องกันโรคกระดูกพรุน ผลการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) เกี่ยวกับผลของปริมาณฟอสเฟต (Phosphate) ที่บริโภคขัดแย้งกับสมมุติฐานของการบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นกรดที่เกี่ยวข้องกับแคลเซี่ยมในปัสสาวะและการสลายของกระดูก ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการบริโภคอาหารประเภทนี้ (Alkaline diet) เพื่อป้องกันการสูญเสียแคลเซี่ยมจากกระดูกนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ ผลการศึกษาอื่น ๆ ที่วิจัยด้วยวิธี Meta-analysis ที่ได้ศึกษาผลของปริมาณการบริโภคอาหารที่เป็นกรดก็ไม่พบหลักฐานที่ชี้บ่งว่าการบริโภคอาหารที่เป็นกรดเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนอย่างเช่นที่คาดเดาตามสมมุติฐานของการบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นกรด การพิสูจน์ชิ้นหนึ่งพิจารณาผลของการบริโภค ผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งตามสมมุติฐานแล้วเป็นอาหารที่เพิ่มความเป็นกรดในร่างกายจากองค์ประกอบที่เป็นฟอสเฟตและโปรตีน แต่การพิสูจน์นี้ไม่พบหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์จากนมที่บริโภคเข้าไปทำให้เกิดภาวะกรดเกิน (Acidosis) หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

นอกจากนี้ยังมีการคาดเดาว่าการจำกัดการบริโภคอาหารนี้อาจส่งผลเกี่ยวกับ ภาวะกล้ามเนื้อลีบ การสร้างโกรทฮอร์โมน (growth hormone metabolism) หรือ อาการปวดหลัง แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่ยืนยันสมมุติฐานดังกล่าว ก็ตาม และเนื่องจากการมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมาก การบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นด่างเพื่อผลทางสุขภาพจึงอาจได้รับความสนใจ แม้ว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้อยู่น้อยมากก็ตาม

การแพทย์ทางเลือก

การแพทย์ทางเลือกซึ่งสนับสนุนโภชนาการอาหารที่มีสภาวะเป็นด่าง (alkaline diet) ได้ใช้หลักการควบคุมอาหารนี้ในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึง โรคมะเร็ง ข้อกล่าวอ้างนี้ได้ถูกเสนอแนะใน เว็บไซต์ นิตยสาร จดหมาย และ หนังสือ ซึ่งมีต่อบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่หลักการควบคุมอาหารประเภทนี้ได้ถูกเสนอแนะว่าสามารถเพิ่มพลังงาน ลดน้ำหนัก รักษาโรคมะเร็งและ โรคหัวใจ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่สามารถสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว การควบคุมการบริโภคอาหารประเภทนี้ นอกเหนือจากการลดการบริโภคเนื้อสัตว์และโปรตีน ยังรวมถึงการหลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูป น้ำตาลทรายขาว แป้งขาว และคาเฟอีน[9] และการออกกำลังกายเฉพาะอย่าง และ แผน การทานอาหารเสริมด้วย

หลักฐานเชิงประจักษ์

ผู้ที่สนับสนุนการบริโภคโภชนาการอาหารที่มีสภาวะเป็นด่างเสนอว่าเนื่องจากค่า pH ปกติของร่างกายจะเป็นด่างอ่อน ๆ เป้าหมายของบริโภคอาหารประเภทนี้จึงสะท้อนผลดังกล่าวด้วยการบริโภคอาหารที่ผลิตด่าง ผู้สนับสนุนเหล่านี้กล่าวอ้างว่าการบริโภคอาหารมีองค์ประกอบที่ผลิตกรดสูงซึ่งทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรดจะทำให้เกิดโรค กลไกที่กล่าวอ้างว่าอาหารสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของเลือดอย่างมีนัยสำคัญ ขัดแย้งกับ “ทุกสิ่งที่ทราบเกี่ยวกับสารเคมีของร่างกายมนุษย์” และถูกเรียกว่า “นิทานปรัมปรา” ในคำแถลงโดย สถาบันวิจัยมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Institute of Cancer Research) การบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นด่างไม่ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของระดับค่าความเป็นกรด-ด่างของเลือดหรือแม้แต่ผลทางคลินิก (ซึ่งแตกต่างไปจากระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH levels) ในปัสสาวะอันมีผลเนื่องจากการบริโภคอาหารประเภทดังกล่าว) ทั้งนี้เนื่องจากกลไกทางธรรมชาติของร่างกายไม่ได้ต้องการอาหารที่พิเศษ การบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นด่างจึงมีผลเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของเลือดเพียงเล็กน้อยและชั่วคราว. ข้อกล่าวอ้างโดยผู้ที่สนับสนุนโภชนาการประเภทนี้ยังกล่าวว่าเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในสภาวะแวดล้อมที่เป็นกรดซึ่งการบริโภคอาหารที่มีความเป็นด่างอย่างเหมาะสมจะสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของร่างกายเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ข้อกล่าวอ้างนี้มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าในขณะที่เนื้อเยื่อมะเร็งแพร่ขยายในสภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด เนื้อเยื่อมะเร็งเองก็สร้างสภาวะความเป็นกรด กล่าวคือการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเซลล์มะเร็งสามารถสร้างสภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด สภาวะแวดล้อมที่เป็นกรดไม่ได้ก็ให้เกิดมะเร็งข้อกล่าวอ้างดังกล่าวยังไม่ยอมรับว่าไม่มีความเป็นไปได้ที่จะลดสภาวะที่มีความเป็นกรดให้น้อยลงในร่างกาย แผนการควบคุมและจำกัดการบริโภคอาหารอย่างสุดโต่ง เช่นการควบคุมอาหารประเภทนี้ (alkaline diet) ยังมีความเสี่ยงต่อคนไข้โรคมะเร็ง มากกว่าข้อดี ข้อดีอื่น ๆ จากการบริโภคอาหารที่มีความเป็นด่างที่ถูกกล่าวอ้างขึ้นก็ไม่ได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ เช่นกัน แม้ว่าว่าการจำกัดการบริโภคอาหารประเภทนี้จะถูกกล่าวอ้างสามารถเพิ่ม “พลังงาน” หรือ รักษาโรคหลอดเลือด แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่จะสนับสนุนข้อกล่าวอ้างนี้[12]เช่นกัน แบบหนึ่งของการควบคุมอาหารนี้ถูกนำเสนอโดย โรเบิร์ต โอ ยัง ว่าเป็นวิธีการลดน้ำหนักในหนังสือมหัศจรรย์ pH (The pH Miracle) สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา (Academy of Nutrition and Dietetics หรือ AND) ให้ความเห็นว่าการกำหนดสัดส่วนของอาหารของโรเบิร์ต โอ ยังที่เน้นหนักไปทางการบริโภคผักใบเขียวและการออกกำลังกายย่อมส่งเสริมความมีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม “ทฤษฎีที่คลุมเครือ” ซึ่งเป็นฐานของการกำหนดอาหารของเขาและแผนการอดอาหารที่ซับซ้อนและ การทานอาหารเสริม ทำให้เห็นว่าการควบคุมอาหารแบบนี้ไม่ใช่วิธีการลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวอ้างอีกว่ากรดทำให้เกิด โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ (rheumatoid arthritis) และโรคข้อกระดูกอักเสบ (osteoarthritis) ดังนั้นการทานอาหารที่มีสภาวะเป็นด่างสามารถใช้เพื่อรักษาอาการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่จะสนับสนุนการกล่าวอ้างดังกล่าว การตรวจความเป็นกรดของปัสสาวะและน้ำลายถูกเสนอให้นำมาใช้เป็นวิธีหนึ่งในการวัดระดับความเป็นกรดของร่างกายและระดับความเสี่ยงในการเกิดโรค อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการวัดระดับค่า pH ของปัสสาวะโดย”ชุดตรวจ” ที่บ้าน และความเป็นกรดของร่างกาย

ผลที่ไม่พึงประสงค์

เนื่องจากการบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นด่างจำกัดการบริโภคอาหารบางชนิด จึงส่งผลให้ขาดความสมดุลของโภชนาการทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารเช่น กรดไขมันที่จำเป็น และ สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) เว็บไซต์และหนังสือจำนวนมากที่สนับสนุนโภชนาการประเภทนี้ขายชุดอาหารและอาหารเสริม ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้แต่อย่างใด ผู้ปฏิบัติตามแผนการควบคุมอาหารต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการจำกัดอาหารประเภทนี้เนื่องจากมีอาหารหลายประเภทที่ถูกจำกัด

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение