Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เจ้าหญิงท็อกฮเย
เจ้าหญิงท็อกฮเย | |
---|---|
องจู | |
พระสวามี | ทาเกยูกิ โซ (พ.ศ. 2474−2496) |
พระบุตร | มาซาเอะ โซ |
ราชวงศ์ | โชซ็อน |
พระบิดา | จักรพรรดิโคจง |
พระมารดา | พระสนมบกนย็อง |
ประสูติ | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 พระราชวังชังด็อก เคโจ เกาหลีของญี่ปุ่น |
สิ้นพระชนม์ | 21 เมษายน พ.ศ. 2532 (76 ปี) พระราชวังชังด็อก โซล ประเทศเกาหลีใต้ |
เจ้าหญิงท็อกฮเย (เกาหลี: 덕혜옹주; ฮันจา: 德惠翁主; อาร์อาร์: Deokhye Ongju) หรือ อี ท็อก-ฮเย (이덕혜, 李德惠; 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 – 21 เมษายน พ.ศ. 2532) เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิโคจง กับพระสนมบกนย็อง ทรงถูกนำไปประทับที่ประเทศญี่ปุ่น ทรงรับการศึกษาและเสกสมรสที่นั่น ภายหลังจึงนิวัตกลับประเทศเกาหลีใต้ในปัจฉิมวัย
ขณะประทับอยู่ในประเทศญี่ปุ่น พระองค์ได้รับการขานพระนามหลายอย่าง เช่น ทกเกะ ริ หรือ โทกูเอะ ริ (ญี่ปุ่น: 李徳恵), ทกเกองจุ (トッキェオンジュ), โทกูเอะ โซ (宗徳恵), ยัง ทกเกะ (梁徳恵) และ โทกูเอะฮิเมะ (徳恵姫)
พระประวัติ
พระชนม์ชีพตอนต้น
เจ้าหญิงท็อกฮเยประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 ณ พระราชวังชังด็อก เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในจักรพรรดิโคจง ที่ประสูติแต่พระสนมยัง หลังประสูติกาลพระราชธิดา จึงได้รับพระราชทานราชทินนามว่าพระสนมบกนย็อง เจ้าหญิงท็อกฮเยเป็นพระธิดาองค์โปรดของพระชนกนาถผู้มีพระชนมายุ 60 พรรษา ทรงก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลชุนมย็องดัง (준명당) สำหรับพระราชธิดาทรงพระอักษร ณ ตำหนักฮัมนย็องภายในพระราชวังท็อกซู โดยมีเหล่าธิดาจากครอบครัวชนชั้นสูงร่วมชั้นเรียนด้วย
พ.ศ. 2460 จักรพรรดิโคจงทรงโน้มน้าวให้เทราอูชิ มาซาตาเกะ ผู้ปกครองครองเกาหลีของญี่ปุ่นในขณะนั้น รับรองเจ้าหญิงท็อกฮเยว่ามีพระสถานะเป็นเจ้าและเป็นสมาชิกพระราชวงศ์เกาหลี
พ.ศ. 2462 จักรพรรดิโคจงมีพระราชประสงค์ให้เจ้าหญิงท็อกฮเยหมั้นหมายกับคิม จัง-ฮัน หลานชายของคิม ฮวัง-จิน เจ้าพนักงานกรมวัง เพื่อปกป้องพระราชธิดาจากการคุกคามญี่ปุ่น แต่ทว่าญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงพระราชพิธีหมั้นนี้ หลังจากนั้นเป็นต้นมาคิม ฮวัง-จินมิได้รับอนุญาตให้เข้าไปในพระราชวังท็อกซูอีก ส่วนจักรพรรดิโคจงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 มกราคมในปีนั้น สองปีต่อมาเจ้าหญิงท็อกฮเยทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนประถมศึกษาฮีโนแด (Hinodae elementary school) ในเคโจ
ประทับในญี่ปุ่นและการเสกสมรส
พ.ศ. 2468 ทางการญี่ปุ่นนำเจ้าหญิงท็อกฮเยไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยอ้างว่าให้เจ้าหญิงเสด็จไปศึกษาต่อเช่นเดียวกับมกุฎราชกุมารอึยมินพระเชษฐา โดยศึกษาต่อที่โรงเรียนกากูชูอิง (Gakushuin) พระองค์ประทับอยู่ที่นั่นอย่างเงียบ ๆ เปล่าเปลี่ยว และไม่สบายพระทัย เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระชนนีถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2472 ทางการญี่ปุ่นจึงอนุญาตให้เจ้าหญิงผู้นิราศกลับไปมาตุภูมิชั่วคราวสำหรับการปลงศพพระชนนีในปี พ.ศ. 2473 แต่ทางญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้พระองค์เข้าร่วมพิธีศพด้วยฉลองพระองค์สุภาพ และในปีเดียวกันนั้นพระองค์เริ่มมีปัญหาทางจิตอันแสดงออกด้วยพระอาการละเมอเดิน (sleepwalking) พระองค์จึงเสด็จไปประทับพระราชวังลีในโตเกียวร่วมกับมกุฎราชกุมารอึยมินพระเชษฐา ซึ่งในช่วงนี้เจ้าหญิงทรงเลือนพระสัญญาเรื่องการเสวยพระกระยาหาร แพทย์ประจำพระองค์ลงความเห็นว่าพระองค์ประชวรด้วยภาวะพระสมองเสื่อมก่อนวัย (precocious dementia) หนึ่งปีต่อมาหลังจากนั้นพระอาการของพระองค์ก็ดีขึ้น ซึ่งน่าจะมาจากการอภิบาลอย่างดี
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2474 เจ้าหญิงท็อกฮเยเสกสมรสกับเคานต์ทาเกยูกิ โซ (宗武志) ขุนนางชาวญี่ปุ่น อันเป็นการคลุมถุงชนในพระราชประสงค์ของจักรพรรดินีเทเมในจักรพรรดิไทโชแห่งญี่ปุ่น ซึ่งเดิมมีกำหนดการที่จะจัดพิธีเสกสมรสในปี พ.ศ. 2473 แต่มกุฎราชกุมารอึยมินทรงคัดค้านเพราะพระขนิษฐายังประชวรอยู่ ครั้นเจ้าหญิงท็อกฮเยทรงหายจากการประชวรในปีต่อมา ทางญี่ปุ่นจึงจัดพิธีเสกสมรสขึ้น โดยพระองค์ได้ให้ประสูติกาลพระธิดาคนเดียวคือเคาน์เตสมาซาเอะ โซ (宗正惠; 14 สิงหาคม 2475 – 2499) หรือชง จ็อง-ฮเย (종정혜, 宗正恵) ในภาษาเกาหลี
หนึ่งปีถัดมาหลังประสูติการพระธิดา เจ้าหญิงท็อกฮเยทรงประชวรด้วยพระอาการทางจิตอีกครั้ง คราวนี้พระองค์มีพระบังคนหนักเล็ดราด หรือกลั้นพระบังคนไม่ได้ (incontinence) ด้วย และใช้เวลายาวนานหลายปีในการรักษาอาการประชวรดังกล่าว
หลังการพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง เกาหลีกลับมามีเอกราชอีกครั้ง และทาเกยูกิ โซพระภัสดาสูญเสียบรรดาศักดิ์เพราะญี่ปุ่นยกเลิกระบบขุนนางไป ทั้งสองห่างเหินกันและนำไปสู่การหย่าร้างในปี พ.ศ. 2496 ทาเกยูกิได้สมรสใหม่กับโยชิเอะ คัตสึมูระ หญิงสามัญชาวญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2498 เจ้าหญิงท็อกฮเยทรงเศร้าพระทัยและไร้สุขกับชีวิตรักที่อัปปาง แต่มีเหตุการณ์ที่สร้างความปริวิโยคที่สุดนั่นคือมาซาเอะ พระธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระองค์หายสาบสูญในปี พ.ศ. 2499 มีรายงานว่ามาซาเอะได้กระทำอัตวินิบาตกรรมเนื่องจากเสียใจที่บิดามารดาหย่าร้างกัน หลังจากนั้นเป็นต้นมาเจ้าหญิงท็อกฮเยจึงทนทุกข์ทรมานกับพระพลานามัยที่ไม่สู้สมบูรณ์เนื่องจากเสียพระทัยจากเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นไล่เลื่ยกัน
นิวัตเกาหลี
เจ้าหญิงท็อกฮเยได้เสด็จนิวัตเกาหลีตามคำกราบทูลเชิญของรัฐบาลเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2505 หลังประทับอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนาน 37 ปี เบื้องต้นรัฐบาลเกาหลีปฏิเสธที่จะให้ผู้สืบสายเลือดจากพระราชวงศ์พระองค์สุดท้ายกลับมาตุภูมิ เพราะประธานาธิบดีอี ซึง-มันเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมือง อย่างไรก็ตามคิม อึล-ฮันได้พบกับเจ้าหญิงท็อกฮเยและชี้ชวนให้ทางการเกาหลีใต้กราบทูลเชิญเจ้าหญิงเสด็จกลับ
เจ้าหญิงทรงกันแสงเมื่อพระองค์นิวัตมาตุภูมิ และประทับ ณ ตำหนักนักซ็อนในพระราชวังชังด็อก ร่วมกับมกุฎราชกุมารอึยมิน, เจ้าหญิงพังจา, เจ้าชายกู, จูเลีย มุลล็อก และพย็อน บกดง นางสนองพระโอษฐ์
เจ้าหญิงท็อกฮเยสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 ณ ตำหนักซูกัง พระราชวังชังด็อก สิริพระชันษา 76 ปี ปลงพระศพ ณ ฮงรยูรึงในนัมยังจูใกล้กรุงโซล
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
ภาพยนตร์และโทรทัศน์
- ภาพยนตร์เรื่อง ท็อกฮเย ความหวังสุดท้ายของโชซอน (The Last Princess) รับบทโดยซน เย-จิน (พ.ศ. 2559)
หนังสือ
- อัตชีวประวัติเจ้าหญิงท็อกฮเย (A biography for Princess Deokhye) โดยยาซูโกะ ฮมมะ (本馬恭子)
- เจ้าหญิงท็อกฮเย (Princess Deokhye) โดยคว็อน บี-ย็อง (Kwon Bi-young)
เพลง
- โฮ ชิม-นัม (Ho Shim-nam) นักร้องชาวเกาหลีใต้ แต่งเพลงจากพระประวัติของเจ้าหญิงท็อกฮเย เมื่อปี พ.ศ. 2506
- "กุหลาบแห่งน้ำตา" (눈물꽃, The Rose of Tears) โดยโฮ จิน-ซ็อล แต่งเพลงจากพระประวัติของเจ้าหญิงท็อกฮเย เมื่อปี พ.ศ. 2553
ละครเวที
- มีการแสดงละครเรื่อง "เจ้าหญิงท็อกฮเย" (Princess Deokhye) ณ ศูนย์ศิลปะโซล เมื่อปี พ.ศ. 2538
- มีการแสดงละครเพลงเรื่อง "ท็อกฮเย เจ้าหญิงองค์สุดท้าย" (덕혜옹주) จากพระประวัติของเจ้าหญิงท็อกฮเย เมื่อปี พ.ศ. 2556
พงศาวลี
พงศาวลีของเจ้าหญิงท็อกฮเย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าหญิงท็อกฮเย