Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เภสัชอุตสาหกรรม
เภสัชอุตสาหกรรม (อังกฤษ: Pharmaceutical industry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเภสัชกรรมเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาครั้งละปริมาณมาก ๆ ซึ่งจะแตกต่างจากการปรุงยาในร้านขายยาสมัยก่อนที่ปรุงยาเฉพาะคนไข้แต่ละคน ในอุตสาหกรรมยาจะผลิตยาออกมาหลายรูปแบบขนาดยา (Dosage Forms) โดยแบ่งตามสถานะของยา แบ่งเป็น
- ยารูปแบบของเหลว (Liquid dosage form)
- ยารูปแบบของแข็ง (Solid dosage form)
- ยารูปแบบกึ่งแข็ง(Semi-solid dosage form)
กระบวนการในการผลิตยา
กระบวนการผลิตยาจะแตกต่างกันไปตามชนิดรูปแบบของยาดังนี้
ยาน้ำ
ยาน้ำสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
- ประเภทเนื้อเดียว ได้แก่ สารละลาย (Solutions) ยาพวกนี้จะมีส่วนประกอบดังนี้ คือ
- ตัวยาสำคัญ (Active Ingredients) เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ฯลฯ
- ส่วนประกอบทำหน้าที่เป็นตัวทำละลาย (Solvents) หรือทำให้เจือจาง (Diluents) หรือน้ำกระสายยา (Vehicles)
- ส่วนประกอบทำหน้าที่เป็นสารแต่งสี แต่งกลิ่นและแต่งรส
- สารกันเสีย ( preservatives )
- ประเภทเนื้อผสม ได้แก่
- อิมัลชั่น (Emulsions) เป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมที่ส่วนหนึ่งเป็นของเหลวประเภทน้ำมันหรือไขมัน (Oil Phase) อีกส่วนหนึ่งเป็นน้ำหรือสารที่ละลายในน้ำได้ดี (Aqueous Phase) และมีตัวช่วยให้ส่วนผสมทั้งสองเข้าเป็นเนื้อเดียวกันคืออิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifiers) ตัวอย่างตำรับยานี้ได้แก่ไวตามิน เอ&ดี ไซรัป
- ยาแขวนตะกอน (Suspension) เป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมส่วนหนึ่งเป็นของแข็ง (Solid) แขวนลอยอยู่ในน้ำกระสายยา (Aqueous Phase) และมีสารช่วยพยุงตัวยา (Suspending agent) ให้แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยเมื่อทำการเขย่า จะทำให้ตัวยากระจายตัวในน้ำกระสายยาได้ ตัวอย่างยาตำรับนี้ได้แก่ ยาทาแก้คัน คาลาไมด์
กระบวนการผลิตยาน้ำ
- กระบวนการผลิตยาน้ำมีขั้นตอนดังนี้
- การเตรียมวัตถุดิบ (Raw Materials Preparation)
- การผสมยา (Mixing)
- การตรวจวิเคราะห์ยา (Drug Analysis)
- การบรรจุ (Packing)
เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาน้ำ
- เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาน้ำ
- เครื่องชั่งยา (Scales)
- เครื่องกรองน้ำ (Deionization Water Equipments)
- ถังผสมยา (Mixing Tanks)
- ถังต้มน้ำ (Steamed Tanks)
- เครื่องปั่นยา (Stirrers)
- เครื่องบรรจุยาน้ำ (Liquid Filling Machines)
- เครื่องติดฉลากยา (Labeling Machines)
ยาฉีด
ยาฉีดเป็นรูปแบบยา (Dosage Forms) ของการให้ยาที่ยาจะเข้าสู่กระแสเลือด (Blood Circulations) ของผู้ป่วยโดยตรง ดังนั้นรูปแบบของยาชนิดนี้จึงต้องปราศจากเชื้อโรค (Micro-organisms) หรือสารก่อไข้ (Pyrogens) ยาฉีดส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ vials หรือ ampuls
กระบวนการผลิตยาฉีด
- กระบวนการผลิตยาฉีดมีขั้นตอนดังนี้
- การเตรียมวัตถุดิบ (Raw Materials Preparation)
- การกลั่นน้ำ (Water Distillation)
- การผสมยา (Formulation Mixings)
- การตรวจวิเคราะห์ยา (Drug Analysis)
- การบรรจุแอมพูล (Ampul Filling)
- การตรวจวิเคราะห์ยา (Drug Analysis)
- การบรรจุ (Packagings)
เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาฉีด
- เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาฉีด
- เครื่องชั่งยา (Scales)
- เครื่องกรองน้ำ (Deionization Water Equipments)
- เครื่องกลั่นน้ำ (Water Distillation Boiler)
- ถังผสมยา (Mixing Tanks)
- ถังต้มน้ำ (Steamed Tanks)
- เครื่องปั่นยา (Stirrers)
- เครื่องบรรจุแอมพูล (Ampul Filling Machines)
- เครื่องติดฉลากแอมพูล (Labelling Machines)
- ห้องปราศจากเชื้อ (Sterilization Room)
- ชุดปฏิบัติงานปราศจากเชื้อ (Sterilization Uniforms)
ยาเม็ด
เป็นรูปแบบยาชนิดแข็ง (Solid Dosage Forms) ที่นิยมกันมากเนื่องจากพกพาสะดวกน้ำหนักเบาในยาเม็ดจะมีส่วนประกอบดังนี้คือ
- ตัวยาสำคัญ (Active Ingredients) เช่น แอสไพริน (Aspirin)
- สารเพิ่มปริมาณ (Excipients) เช่น แป้ง (starches) น้ำตาลแล็คโตส (Lactose)
- สารหล่อลื่น (Lubricants) เช่น ทัลคัม(talcum)
- สารแต่งกลิ่น (Flavors)
มีกระบวนการผลิตและเครื่องมือที่ใช้ดังนี้
กระบวนการผลิตยาเม็ด
- กระบวนการผลิตยาเม็ดมีขั้นตอนดังนี้
- การเตรียมวัตถุดิบ (Medicine Preparations)
- การผสมยา (Formulation Mixings)
- การทำแกรนูล (Granulations)
- การอบแห้ง (Dryings)
- การตอกเม็ดยา (Tabletings)
-
การเคลือบยาเม็ด (Coatings)
- เคลือบด้วยน้ำตาล (Sugar Coatings)
- เคลือบด้วยฟิล์ม (Film Coatings)
- การตรวจวิเคราะห์ยา (Drug Analysis)
- การบรรจุ (Packagings)
เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาเม็ด
- เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาเม็ด
- เครื่องชั่งยา (Scales)
- เครื่องผสมยาทำแกรนูล (Wet Mixers & Granulators)
- ตู้อบยา (Ovens)
- เครื่องอบแห้งโดยใช้ลมร้อน (Fluidized bed dryer)
- เครื่องตอกยาเม็ด (Tabletting Machines)
- เครื่องเคลือบยาเม็ด (Coating Machines)
- เครื่องบรรจุยาเม็ด (Counting & Filling Machines)
- เครื่องติดฉลากยา (Labelling Machines)
ยาแคปซูล
เป็นรูปแบบยาชนิดแข็ง (Solid Dosage Forms) อีกชนิดหนึ่งตัวแคปซูลมีลักษณะเหมือนเป็นภาชนะ ที่บรรจุยาอยู่ภายในและเป็นภาชนะที่รับประทานได้เพราะทำมาจากโปรตีนที่เรียกว่าเจลาติน(Gelatin) ยาแคปซูลแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
- แคปซูลแข็ง (Hard Gelatin Capsules) จะผลิตแคปซูลออกมาก่อนมี 2 ส่วนคือตัวแคปซูลและฝาปิด
เมื่อบรรจุยาแล้วก็จะนำตัวและฝามาเชื่อมต่อกัน แคปซูลประเภทนี้นิยมใช้บรรจุยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เช่น ยาแอมพิซิลิน (Ampicillin)
- แคปซูลนิ่ม (Soft Gelatin Capsules) แคปซูลประเภทนี้จะผลิตเปลือกแคปซูลและบรรจุยาไปพร้อม
กันเลย แคปซูลที่ได้มีลักษณะเป็นเฮอร์มาติกซีล (Hermatic Sealed) ซึ่งน้ำและอากาศผ่านไม่ได้ ตัวอย่างแคปซูลประเภทนี้ได้แก่ น้ำมันตับปลา (Fish Liver Oil) ไวตามิน เอ&ดี และยารักษาโรคหัวใจเป็นต้น
แคปซูลจะมีส่วนประกอบดังนี้คือ
- ส่วนที่เป็นตัวยา
- ตัวยาสำคัญ (Active Ingredients) เช่น แอสไพริน (Aspirin)
-
สารเพิ่มปริมาณ (Excipients) เช่น
- ในแคปซูลแข็งใช้แป้ง (starches) น้ำตาลแลคโตส (Lactose)
- ในแคปซูลอ่อนใช้น้ำมันพืช (Vegetable Oil)
- สารช่วยไหล (Glidants) ในแคปซูลแข็ง เช่น ทัลคัม (talcum)
- ส่วนที่เป็นแคปซูล
- เจลาติน (Gelatin)
- กลีเซอริน (Glycerin)
- โพรไพลีน ไกลคอล (Propylene Glycol)
- สารทึบแสงไททาเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
- สารแต่งสี (Coloring Agents)
- สารแต่งกลิ่น (Flavors)
มีกระบวนการผลิตและเครื่องมือที่ใช้ดังนี้
กระบวนการบรรจุยาแคปซูลแข็ง
- กระบวนการบรรจุยาแคปซูลแข็งมีขั้นตอนดังนี้
- การเตรียมวัตถุดิบ (Medicine Preparations)
- การผสมยา (Formulation Mixings)
- การทำแกรนูล (Granulations)
- การอบแห้ง (Dryings) (ตู้อบ) (Fluidized bed dryer)
- การบรรจุแคปซูล (Capsule Filling)
- การขัดทำความสะอาด (Capsule Polishing)
- การตรวจวิเคราะห์ยา (Drug Analysis)
- การบรรจุ (Packagings)
เครื่องมือที่ใช้บรรจุยาแคปซูลแข็ง
- เครื่องมือที่ใช้บรรจุยาแคปซูลแข็ง
- เครื่องชั่งยา (Scales)
- เครื่องผสมแห้ง (Dry Mixers)
- ตู้อบยา (Ovens)
- เครื่องอบแห้งโดยไม่ใช้ความร้อน (Fluidized bed dryer)
- เครื่องบรรจุแคปซูล (Capsule Filling Machines)
- เครื่องขัดแคปซูล (Capsule Polishing Machines)
- เครื่องบรรจุยาเม็ด (Counting & Filling Machines)
- เครื่องติดฉลากยา (Labelling Machines)
กระบวนการผลิตยาแคปซูลนิ่ม
- กระบวนการผลิตและบรรจุยาแคปซูลนิ่มมีขั้นตอนดังนี้
- การเตรียมวัตถุดิบ(Medicine Preparations)
- การอบแห้ง (Dryings)
- การผสมยา (Formulation Mixings)
- การเตรียมเจลาติน (Gelatin Preparations)
- การตรวจวิเคราะห์ยาก่อนบรรจุ (Drug Analysis)
- การบรรจุแคปซูล (Encapsulation)
- การอบแห้งแคปซูล (Capsule Drying)
- การขัดทำความสะอาด (Capsule Polishing)
- การตรวจวิเคราะห์ยา (Drug Analysis)
- การบรรจุ (Packagings)
เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาแคปซูลนิ่ม
- เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาแคปซูลนิ่ม
- เครื่องชั่งยา (Scales)
- เครื่องผสมแห้ง (Dry Mixers)
- ตู้อบยา (Ovens)
- ถังผสมยา (Medicine Mixing Tanks)
- เครื่องเตรียมเจลาติน (Gelatin Mixing Tanks)
- เครื่องบรรจุแคปซูล (Enpasulating Machines)
- เครื่องล้างแคปซูล (Capsule Washing Machines)
- ห้องอบแคปซูล (Drying Rooms)
- เครื่องขัดแคปซูล (Capsule Polishing Machines)
- เครื่องบรรจุยาเม็ด (Counting & Filling Machines)
- เครื่องติดฉลากยา (Labelling Machines)
ยาผง
ยาครีม
ยาขี้ผึ้ง
ยาเจล
ยาสอด
วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม | ||
---|---|---|
เภสัชบริบาลศาสตร์ | ||
เภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจ | ||
เภสัชวิทยาและพิษวิทยา | ||
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง | ||