Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เลนส์สัมผัส

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เลนส์สัมผัส บนปลายนิ้ว

เลนส์สัมผัส หรือ คอนแทกต์เลนส์ (contact lenses) เป็นเลนส์บางที่วางบนผิวตา เลนส์สัมผัสเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับตาเทียมที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 150 ล้านคนทั่วโลก และสามารถใช้เพื่อแก้ไขมุมมอง เสริมความงาม หรือรักษาตา ใน ค.ศ. 2010 ตลาดเลนส์สัมผัสทั่วโลกมีมูลค่าประมาณการที่ 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดเลนส์อ่อนในสหรัฐมีมูลค่าประมาณ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลเมื่อ 2010 ผู้ใช้เลนส์สัมผัสมีอายุเฉลี่ยทั่วโลกที่ 31 ปี และสองในสามเป็นผู้หญิง

ผู้คนเลือกที่จะใช้เลนส์สัมผัสด้วยเหตุผลหลายประการ ปัจจัยหลักสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสวมแว่นตาหรือเปลี่ยนรูปร่างหรือสีของตาคือสุนทรียศาสตร์และความงาม ในขณะที่บางส่วนสวมเลนส์สัมผัสด้วยเหตุผลในการทำงานหรือแสง นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคบางชนิด เช่นโรคกระจกตาโป่งและaniseikonia มักเหมาะกับเลนส์สัมผัสมากกว่าแว่นตา

ประวัติ

อาด็อล์ฟ กาสทอน อ็อยเกน ฟิค ผู้ประดิษฐ์เลนส์สัมผัสคนแรก

เลโอนาร์โด ดา วินชี มักได้รับการยกย่องในเรื่องการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเลนส์สัมผัส ในปี ค.ศ. 1508 ในหนังสือเรื่อง Codex of the eye, Manual D เขาอธิบายถึงวิธีการปรับเปลี่ยนกำลังสายตาของกระจกตาของมนุษย์โดยการมองใต้น้ำ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้กล่าวว่าวิธีการดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการแก้ปัญหาสายตา เลโอนาร์โด ดา วินชีสนใจศึกษาเกี่ยวกับกลไกการเพ่งของสายตา

ต่อมาเรอเน เดการ์ต นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้ร่วมสร้างและปรับปรุงกฎการเปลี่ยนทิศทางของคลื่นหรือ "กฎของสแน็ล–เดการ์ต" ได้นำเสนอแนวคิดในปี ค.ศ. 1636 โดยนำแท่งแก้วที่เติมด้วยของเหลวไปวางบนกระจกตาโดยตรง โดยปลายแท่งแก้วมีรูปร่างเหมาะสำหรับการแก้ปัญหาสายตา อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติเพราะไม่สามารถกะพริบตาได้

ในปี ค.ศ. 1801 ในระหว่างการทดลองกลไกเกี่ยวกับการเพ่งของสายตา นักวิทยาศาสตร์ โทมัส ยัง ได้สร้างถ้วยใส่ของเหลว มีชื่อว่า "eyecup" ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบของเลนส์สัมผัส โดยที่ฐานของถ้วยมีเลนส์ตาของกล้องจุลทรรศน์ อย่างไรก็ตามอุปกรณ์นี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาสายตา

ในปี ค.ศ. 1845 เซอร์ จอห์น เฮอร์เชลได้เสนอสองแนวคิดในหนังสือ Encyclopedia Metropolitana แนวคิดแรกคือแคปซูลแก้วที่เติมเจลาตินไว้ข้างใน และวิธีที่สองคือการหล่อผิวกระจกตาที่สามารถแปะผิวโดยวัสดุตัวกลางที่มีความใส ทั้งนี้ เฮอร์เชลไม่ได้ทำการทดสอบวิธีการดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1929 ดอกเตอร์ดาลลอส ชาวฮังการีได้ค้นพบวิธีหล่อวัสดุให้เข้ากับตา นำไปสู่การผลิตเลนส์ที่เข้ากับรูปร่างดวงตาเป็นครั้งแรก แต่ก็ยังไม่ใช่เลนส์สัมผัส

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1887 เอฟ. อี. มูลเลอร์ ช่างเป่าแก้วชาวเยอรมัน ได้ผลิตวัสดุวางครอบผิวกระจกตาที่ใสและมองทะลุผ่านได้ ปีต่อมา อาด็อล์ฟ กาสทอน อ็อยเกน ฟิค จักษุแพทย์ชาวเยอรมันได้สร้างและทดสอบการใช้เลนส์สัมผัสเป็นครั้งแรก ระหว่างการทำงานในซูริก เขาได้อธิบายเกี่ยวกับการขึ้นรูปวัสดุและการวางขอบเลนส์บนเยื่อบุตาขาว ซึ่งมีความอ่อนไหวน้อยกว่า การทดลองเบื้องต้นกับกระต่ายและโดยตัวเขาเอง และท้ายที่สุดอาสาสมัครทดลองกลุ่มเล็ก ๆ เลนส์ดังกล่าวทำด้วยแก้วสีน้ำตาล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18–21 มิลลิเมตร ฟิคได้หยอดสารละลายเด็กซ์โทรสไว้ระหว่างกระจกตากับตัวเลนส์แก้วไว้ด้วย เขาได้ตีพิมพ์ผลงานไว้ในบทความ "Contactbrille" ซึ่งเผยแพร่ในนิตยสารวิทยาศาสตร์ ชื่อ Archiv für Augenheilkunde ในเดือน มีนาคม ปี ค.ศ. 1888

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение