Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เหา
เหา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีน–ปัจจุบัน | |
---|---|
Light micrograph ของ Fahrenholzia pinnata | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับใหญ่: | Psocodea |
อันดับ: |
Phthiraptera Haeckel, 1896 |
อันดับย่อย | |
เหา เป็นแมลงในอันดับ Anoplura ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก บางชนิดตาไม่เจริญ อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นปลายขามีเล็บและหนามใช้ช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดเจาะดูด ดูดกินเลือดคนและสัตว์ อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม
เหาเป็นแมลงขาสั้น ไม่มีปีก หัวเล็ก โดยหัวจะมีความยาวประมาณ 1-3 ม.ม. ตัวแบน ปล้องอกไม่แยก หนวด 1 คู่ แต่ละเส้นมี 5 ปล้อง ยื่นออกจากหัว ตาประกอบมี 1 คู่ ปากดัดแปรไปทำหน้าที่เจาะผิวหนังและดูดเลือด หดอยู่ใต้หัว แต่ยื่นออกเห็นชัดเจนเมื่อกินอาหาร ขา 3 คู่ ขาสั้น ปลายขามีกรงเล็บ (claw) 1 อัน และมีรูปร่างลักษณะคล้ายหัวแม่มือ ตำแหน่งโครงสร้างทั้ง 2 ส่วนนี้เหาสามารถใช้หนีบเส้นผมของตัวให้อาศัยได้ ด้วยขาที่สั้นและมีกรงเล็บดังกล่าว เหาจึงสามารถใช้ขาเกี่ยวเส้นผมได้ดี แต่ในที่ราบไม่สามารถกระโดดหรือเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการและโรคที่เกิดจากเหา
เหาส่วนใหญ่จะพบในเด็ก อายุระหว่าง 8-12 ปี ซึ่งเหาจะใช้ปากเจาะหนังศีรษะ เพื่อดูดเลือด ก่อให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ ซึ่งจะอาจทำให้เด็กเกาจนเป็นแผลถลอก และติดเชื้อได้ นอกจากนี้แล้วอาการคันอาจทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียนได้ บางรายที่ขาดการรักษาเหาจะวางไข่และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆส่งผลให้เกิดอาการคันมากจนถึงขั้นนอนไม่หลับ ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอได้ แผลที่เกิดจากการเกาหากติดเชื้อนานออกไปจะทำให้ผิวหนังหนาขึ้นและตกสะเก็ด เรียกว่าโรควากาบอนด์ (vagabond’s diseases) ซึ่งวิธีการแก้คือจะใช้หวีเสนียดหวีผมบริเวณที่คันเพื่อให้เหาหลุดออก หรืออาจจะใช้น้ำมะกรูดหมักผมแล้วสระผมออกก็ได้
- มารู้จักเหาและโลน...ปรสิตยุคโบราณที่ยังมีผลถึงปัจจุบัน, เขียนโดย อนันต์ สกุลกิม, สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562
- Phylum Arthropoda, สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562
- โรคเหา เก็บถาวร 2020-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ, สืบค้นเมื่อ 07/072562.