Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เอฟซี รีเซพเตอร์
ตัวรับเอฟซี หรือ เอฟซี รีเซพเตอร์ (อังกฤษ: Fc Receptor) คือเป็นโปรตีนบนผิวของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำหน้าที่เป็นรีเซพเตอร์ (ตัวรับหรือจับ) ของแอนติบอดีส่วนขา (Fc component, Constant region) เมื่อจับได้จะส่งสัญญาณเข้าไปสู่เซลล์ ต่างๆกันตามชนิดของแอนติบอดี ชนิดของรีเซพเตอร์ และ ชนิดของเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ทำงานต่างๆ เช่น ฟาโกไซโทซิส (การทำลายแบคทีเรียโดยการนำเข้าเซลล์), degranulation (การปล่อยสารในเวซิเคิลในเซลล์ออกไป) และอื่นๆ โดยตัวรับเอฟซีแต่ละชนิดก็จะเจาะจงกับแอนติบอดีแต่ละไอโซไทป์ (isotype) และด้วยหน้าที่นี้จึงถือว่าตัวรับเอฟซีเป็นตัวเล่นที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันส่วนของเหลว (humoral immune system)
ระบบการเรียกชื่อของตัวรับเอฟซี
เนื่องจากตัวรับเอฟซีมีหลายชนิดมาก และ จับกับแอนติบอดีต่างๆกันไป จึงแบ่งชนิดของมันตามแอนติบอดีที่มันจับ โดยให้ชื่อเป็นอักษรกรีกของแอนติบอดีนั้นๆ อย่างเช่น Fc Receptor ใด จับกับ IgA ก็จะมีชื่อว่า Fc-alpha Receptor (FcαR) , จับกับ IgE ก็จะมีชื่อว่า Fc-epsilon Receptor (FcεR) , จับกับ IgG ก็จะมีชื่อว่า Fc-gamma receptors (FcγR) เป็นต้น กรณีที่มีซับคลาส ก็จะใช้ตัวเลขโรมัน ต่อท้ายระบุลงไป เช่น FcγRI, FcγRII
โครงสร้างของตัวรับเอฟซี
ส่วนมากจะเป็นโปรตีนหลายๆ ซับยูนิตมารวมกัน ส่วนมากจะเป็นโปรตีนในกลุ่ม Immunoglobulin superfamily ซึ่งประกอบด้วย สายแอลฟา ที่มีส่วนอยู่นอกเซลล์ไว้จับกับแอนติบอดี สายบีตา และ สายแกมมา สองสายที่ใช้ในการส่งสัญญาณเข้าในเซลล์ ซึ่งตัวรับเอฟซีแต่ละตัวไม่จำเป็นต้องมีทุกสายครบ ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวรับเอฟซีนั้นๆ จากโครงสร้างของตัวรับเอฟซีสามารถถูกแบ่งได้คร่าวๆเป็นสามกลุ่มดังนี้
- Receptors with immunglobulin-like domain ได้แก่ FcγRs, FcεRI, FcαRI, polymeric immunoglobulin receptor (pIgR) , IgA/IgM-R (Fcα/μR)
- Receptors with immunglobulin-like domain ได้แก่ FcRn (neonatal FcR)
- Receptors with immunglobulin-like domain ได้แก่ FcεRI (CD23)
ตารางสรุป
ชนิด Receptor | แอนติบอดีที่จับ | ความสามารถในการจับ (Affinity) | พบบนเซลล์ | ปฏิกิริยาตอบสนองของเซลล์ |
FcγRI (CD64) | IgG1 and IgG3 | สูง (Kd ~ 10-9 M) |
Macrophages Neutrophils Eosinophils Dendritic cells |
Phagocytosis Cell activation กระตุ้นการเกิด respiratory burst กระตุ้นการกำจัดเชื้อโรค |
FcγRIIA (CD32) | IgG | ต่ำ (Kd > 10-7 M) | Macrophages Neutrophils Eosinophils เกล็ดเลือด Langerhans cells |
Phagocytosis Degranulation (eosinophils) |
FcγRIIB1 (CD32) | IgG | ต่ำ (Kd > 10-7 M) |
บีเซลล์ Mast cells |
ไม่เกิด phagocytosis ยับยั้งการทำงานของเซลล์ |
FcγRIIB2 (CD32) | IgG | ต่ำ (Kd > 10-7 M) | Macrophages Neutrophils Eosinophils |
Phagocytosis ยับยั้งการทำงานของเซลล์ |
FcγRIIIA (CD16a) | IgG | ต่ำ (Kd > 10-6 M) | NK cells | กระตุ้นให้ทำลายเซลล์ที่ไม่ต้องการโดย วิธี antibody-dependent cell-mediated cytotoxicity (ADCC) |
FcγRIIIB (CD16b) | IgG | ต่ำ (Kd > 10-6 M) | Eosinophils Macrophages Neutrophils Mast cells Follicular dendritic cells |
กระตุ้นการฆ่าเชื้อโรค |
FcεRI | IgE | สูงที่สุด (Kd ~ 10-10 M) |
Mast cells Eosinophils Basophils Langerhans cells |
Degranulation |
FcεRII (CD23) | IgE | ต่ำ (Kd > 10-7 M) | บีเซลล์ Eosinophils Langerhans cells |
เกี่ยวกับการเกาะติดของเซลล์ (adhesion molecule) เป็น growth factor ของ บีเซลล์ |
FcαRI (CD89) | IgA | ต่ำ (Kd > 10-6 M) | Monocytes Macrophages Neutrophils Eosinophils |
Phagocytosis กระตุ้นการฆ่าเชื้อโรค และอื่นๆตามชนิดเซลล์ |
Fcα/μR | IgA and IgM | สูงสำหรับ IgM, ปานกลางสำหรับ IgA | บีเซลล์ Mesangial cells Macrophages |
Endocytosis กระตุ้นการฆ่าเชื้อโรค ป้องกันการสร้างแอนติบอดีที่ต่อต้านตัวเอง (autoimmunity) |
FcRn | IgG | Monocytes Macrophages Dendritic cells Epithelial cells Endothelial cells Hepatocytes |
ส่งผ่านแอนติบอดี IgG จากแม่สู่ลูกในครรภ์ ผ่านทางรก ส่งผ่านแอนติบอดี IgG จากแม่ สู่ ทารกผ่านทางน้ำนม ป้องกัน IgG จากการถูกย่อยสลาย |
|
pIgR | dimerIgA และ polymerIgM | เซลล์เยื่อบุ (epithelial cell) | ส่งผ่านแอนติบอดี dimerIgA จากเซลล์ร่างกายสู่น้ำเมือกในท่อลำเลียง (transcytosis) |
การส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์
ส่วนใหญ่ใช้ผ่าน โปรตีน สาย บีตา และ แกมมา ที่มี โปรตีนโมทิฟที่มีกรดอะมิโนไทโรซีน เป็นกลไกการส่งสัญญาณ ชื่อ Immunoreceptor tyrosine-based activation motif (ITAM) ที่มีผลในทางกระตุ้น หรือ Immunoreceptor tyrosine-based inhibitory motif (ITIM) ที่มีผลในทางยับยั้งการทำงานของเซลล์ สำหรับตัวรับเอฟซีบางชนิดจะไม่มีโปรตีนโมทิฟที่ว่ามา แต่จะมี โปรตีนโมทิฟอื่นแทนในการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ เช่น ใน Fcα/μR และ pIgR จะมี dileucine motif และ Glycophosphatidylinositol (GPI) anchor
การทำงานของเซลล์หลังได้รับสัญญาณ
เมื่อเซลล์ที่มีตัวรับเอฟซีบนเซลล์ ได้รับการส่งสัญญาณเข้าภายในเซลล์แล้ว เซลล์จะมีการตอบสนองหลักๆ 3 แบบ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเซลล์ ดังนี้
- ผลต่อการนำแอนติเจนเข้าสู่เซลล์ซึ่งอาจเป็น endocytosis หรือฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) ก็ได้
- ผลต่อการสังเคราะห์สารในเซลล์ เช่น ไซโตคีน (Cytokine) และอื่นๆ
- ผลทำให้เซลล์ปล่อยสารบางอย่างออกมา (Degranulation) เช่นใน เอ็นเค เซลล์ (NK cell) ที่จะปล่อยสารออกมาฆ่าเซลล์ที่ถูกแอนติบอดีจับได้ หรือ ในมาสต์เซลล์ ที่ปล่อยสารภูมิแพ้ เช่น ฮิสตามีน ออกมา
ดูเพิ่ม
- Immunobiology. 5th ed. Janeway, Charles A.; Travers, Paul; Walport, Mark; Shlomchik, Mark. New York and London: Garland Publishing; c2001.