Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
แคลเซียมออกซาเลต
แคลเซียมออกซาเลต | |
---|---|
ชื่อตาม IUPAC | Calcium oxalate |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [5794-28-5][CAS] |
PubChem | 16212978 |
ChEBI | 60579 |
SMILES |
|
InChI |
|
ChemSpider ID | 30549 |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | CaC2H2O5 (มอโนไฮเดรต) CaC2O4 (แอนไฮดรัส) |
ลักษณะทางกายภาพ | ของแข็งสีขาว |
ความหนาแน่น | 2.20 g/cm3, มอโนไฮเดรต |
จุดหลอมเหลว |
200 °C, 473 K, 392 °F |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | 0.67 mg/L (20 °C) |
ความอันตราย | |
อันตรายหลัก | เป็นอันตราย, ระคายเคือง |
NFPA 704 | |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
แอนไอออนที่เกี่ยวข้อง | |
แคทไอออนที่เกี่ยวข้อง | |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง | กรดออกซาลิก |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
แคลเซียมออกซาเลต (อังกฤษ: calcium oxalate) เป็นเกลือแคลเซียมของออกซาเลต ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น มีมวลโมเลกุล 146.16 g/mol แคลเซียมออกซาเลตมีสูตรเคมีคือ CaC2O4·(H2O)x โดย x เป็นได้ตั้งแต่ 1-3 หรือพบได้ 3 แบบ แบบมอโนไฮเดรตพบในแร่วีเวลไลต์ แบบไดไฮเดรตพบในแร่เวดเดลไลต์ และแบบไตรไฮเดรตพบในแร่เคาไซต์
แคลเซียมออกซาเลตที่พบในพืชเรียกว่าราไฟด์ (raphide) เป็นผลึกรูปเข็ม รูปดาวหรือปริซึม ผลึกเหล่านี้พบในเซลล์แปลกปลอม (idioblast) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สะลมแร่ธาตุและรงควัตถุต่าง ๆ หากสัมผัสแคลเซียมออกซาเลตก่อให้เกิดการระคายเคือง และหากทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการบวมและกลืนลำบาก ตัวอย่างของไม้ประดับที่มีแคลเซียมออกซาเลต ได้แก่ สาวน้อยประแป้ง บอน กระดาด เงินไหลมา เต่าร้าง และโคมญี่ปุ่น
เนื่องจากแคลเซียมออกซาเลตไม่ละลายน้ำ จึงทำให้การทานอาหารที่มีแคลเซียมออกซาเลตเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคนิ่วไตได้ ผักที่มีแคลเซียมออกซาเลตสูง ได้แก่ ปวยเล้ง กระเจี๊ยบ ผักปลัง กระเฉด และชะมวง
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แคลเซียมออกซาเลต
- "Calcium oxalate monohydrate - MSDS". Fisher Scientific.