Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

แผนกฉุกเฉิน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

แผนกฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency department) หรือเรียก แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (อังกฤษ: accident & emergency department), ห้องฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency room), หอผู้ป่วยฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency ward) หรือแผนกอุบัติเหตุ (อังกฤษ: casualty department) เป็นสถานบริการทางการแพทย์ที่มีความชำนาญพิเศษด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมายถึง การบริบาลแบบฉับพลันซึ่งผู้ป่วยที่มาโดยมิได้นัดล่วงหน้า ผู้ป่วยอาจเดินทางมาเองหรือโดยรถพยาบาล ปกติแผนกฉุกเฉินตั้งอยู่ในโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการปฐมภูมิ

เนื่องจากผู้ป่วยมาโดยมิได้วางแผน แผนกฉุกเฉินจึงต้องจัดการรักษาเบื้องต้นแก่การเจ็บป่วยและการบาดเจ็บหลากหลายสาขา ซึ่งบางอย่างอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตและต้องการความใส่ใจทันที ในบางประเทศ แผนกฉุกเฉินเป็นจุดเข้าสำคัญแก่ผู้ที่หมดทางเข้าถึงเวชบริบาลทางอื่น

แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลส่วนใหญ่เปิดทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน แม้ระดับเจ้าหน้าที่อาจแตกต่างกันเพื่อพยายามสะท้อนปริมาณผู้ป่วย

การใช้แบบไม่ฉุกเฉิน

ในสหรัฐและอีกหลายประเทศ โรงพยาบาลเริ่มสร้างพื้นที่รองรับผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อยในห้องฉุกเฉิน พื้นที่เหล่านี้โดยทั่วไปเรียก หน่วย "ร่องด่วน" (Fast Track) หรือ "บริบาลเล็กน้อย" (Minor Care) ซึ่งไว้สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต การใช้หน่วยดังกล่าวในห้องฉุกเฉินได้แสดงว่าพัฒนาการไหลของผู้ป่วยผ่านแผนกและลดเวลารออย่างสำคัญ คลินิกบริบาลเร่งด่วน (Urgent care clinic) เป็นอีกทางหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยสามารถไปเพื่อรับการบริบาลทันทีสำหรับภาวะที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต เพื่อลดภาระแก่ทรัพยากรห้องฉุกเฉินที่จำกัด American Medical Response จัดทำรายการตรวจสอบให้ EMT ระบุตัวผู้ป่วยได้รับสารพิษให้สามารถส่งตัวไปยังศูนย์บำบัดแทนอย่างปลอดภัย

ความแออัด

ความแออัดของแผนกฉุกเฉินเกิดขึ้นเมื่อการทำงานของแผนกถูกจำกัดเพราะไม่สามารถรักษาผู้ป่วยทุกคนอย่างเพียงพอได้ เป็นปัญหาที่เกิดในแผนกฉุกเฉินทั่วโลก ความแออัดทำให้การดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอซึ่งทำให้ผลลัพธ์ต่อผู้ป่วยเลวลง

ผู้มาบ่อย

ผู้มาบ่อย (frequent presenter) หมายถึง ผู้ที่มาโรงพยาบาลหลายครั้ง ปกติเป็นผู้ที่มีความต้องการทางการแพทย์ซับซ้อนหรือมีปัญหาทางจิตใจที่รบกวนการจัดการทางการแพทย์ บุคคลเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดความแออัดและตรงแบบต้องการทรัพยากรโรงพยาบาลมากขึ้นแม้มิได้มาบ่อย เพื่อป้องกันการใช้แผนกฉุกเฉินที่ไม่เหมาะสมและการกลับมาพบแพทย์ โรงพยาบาลบางแห่งเสนอการประสานงานบริบาลและบริการช่วยเหลือ เช่น การบริบาลปฐมภูมิที่บ้านและในสถานสงเคราะห์สำหรับผู้มาบ่อยและการจัดหาที่อยู่ชั่วคราวแก่ผู้ป่วยไร้บ้านที่กำลังพักฟื้นหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

ความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ตามการสำรวจในศูนย์บริบาลตติยภูมิในเมืองในแวนคูเวอร์แห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 57% ถูกทำร้ายร่างกายในปี 2539 ในจำนวนนี้ 73% กลัวผู้ป่วยอันเนื่องจากความรุนแรง 49% ซ่อนการระบุตัวตนจากผู้ป่วย 74% มีความพึงพอใจในอาชีพลดลง กว่าหนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจพักงานหลายวันอันเนื่องจากความรุนแรง ในผู้ตอบแบบสำรวจที่เลิกทำงานในแผนกฉุกเฉิน 67% รายงานว่าพวกตนออกจากงานบางส่วนเนื่องจากความรุนแรง ผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกว่ารักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมงและการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องยุทธศาสตร์การป้องกันความรุนแรงเป็นทางแก้ไขที่อาจเป็นประโยชน์มากที่สุด การออกกำลังกาย การหลับและการอยู่กับครอบครัวและเพื่อนเป็นยุทธศาสตร์การรับมือที่ใช้บ่อยที่สุด


Новое сообщение