Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ | |
---|---|
ชื่อตาม IUPAC | Magnesium hydroxide |
ชื่ออื่น | Milk of magnesia |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [1309-42-8][CAS] |
PubChem | 14791 |
EC number | 215-170-3 |
ChEBI | 6637 |
RTECS number | OM3570000 |
SMILES |
|
InChI |
|
Gmelin Reference | 485572 |
ChemSpider ID | 14107 |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | Mg(OH)2 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 58.3197 ก./โมล |
ลักษณะทางกายภาพ | ของแข็งสีขาว |
กลิ่น | ไร้กลิ่น |
ความหนาแน่น | 2.3446 ก./ซม3 |
จุดหลอมเหลว |
350 °C, 623 K, 662 °F |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ |
|
Solubility product, Ksp | 5.61×10−12 |
−22.1·10−6ซม.3/mol | |
ดัชนีหักเหแสง (nD) | 1.559 |
โครงสร้าง | |
โครงสร้างผลึก | รูปหกเหลี่ยม, hP3 |
Space group | P3m1 No. 164 |
อุณหเคมี | |
Std enthalpy of formation ΔfH |
−924.7 kJ·mol−1 |
Standard molar entropy S |
64 J·mol−1·K−1 |
ความจุความร้อนจำเพาะ | 77.03 J/mol·K |
ความอันตราย | |
NFPA 704 | |
จุดวาบไฟ | ไม่ไวไฟ |
LD50 | 8500 ม.ก./กก. (หนู, ทางปาก) |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
แอนไอออนที่เกี่ยวข้อง | |
แคทไอออนที่เกี่ยวข้อง | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (อังกฤษ: magnesium hydroxide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ซึ่งมีสูตรเคมี Mg(OH)2 และมีอยู่ตามธรรมชาติโดยเป็นแร่บรูไซต์ (brucite) เป็นของแข็งสีขาวละลายน้ำได้น้อย (Ksp=5.61×10−12) เป็นองค์ประกอบสามัญของยาลดกรด เช่น มิลก์ออฟแมกนีเซีย (milk of magnesia) พร้อมทั้งยาระบาย
การปรุง
การผสมเกลือแมกนีเซียมหลายอย่างกับน้ำด่างจะทำให้ Mg(OH)2 ตกตะกอนเป็นของแข็ง คือ
- Mg2+ + 2 OH− → Mg (OH)2
การผลิตในระดับอุตสหากรรมจะผสมน้ำทะเลกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (น้ำปูนใส คือ Ca(OH)2) น้ำทะเล 600 ลูกบาศก์เมตรจะได้ Mg(OH)2 ประมาณหนึ่งตัน เพราะ Ca(OH)2 ละลายในน้ำได้ดีกว่า Mg(OH)2 จึงตกตะกอน คือ
- Mg2+ + Ca(OH)2 → Mg(OH)2 + Ca2+
การใช้
สารตั้งต้นของ MgO
Mg(OH)2 โดยมากที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม และส่วนน้อยอีกจำนวนหนึ่งที่ได้จากเหมืองแร่ จะแปรเป็นแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) หรือแมกนีเซีย ซึ่งมีค่าเพราะนำไฟฟ้าไม่ได้แต่นำความร้อนได้ดีเยี่ยม
อนามัย
เมแทบอลิซึม
เมื่อคนไข้ทานยาแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ สารแขวนลอยในยาจะเข้าไปในกระเพาะ ขึ้นอยู่กับว่าทานมากแค่ไหน ผลที่เป็นไปได้จะมีสองอย่าง
เมื่อทานเป็นยาลดกรด ขนาดที่ใช้จะราว ๆ 0.5-1.5 กรัมในผู้ใหญ่ และมีฤทธิ์ทำให้กรดในกระเพาะกลายเป็นกลางโดยตรง คือ ไอออนไฮดรอกไซด์จาก Mg(OH)2 จะรวมกับไอออน H+ จากกรดไฮโดรคลอริกซึ่งสร้างโดยเซลล์ parietal ในกระเพาะแล้วกลายเป็นน้ำ
เมื่อทานเป็นยาระบาย ขนาดที่ใช้จะราว ๆ 2-5 กรัม และออกฤทธิ์หลายอย่าง อย่างแรก เพราะ Mg2+ ดูดซึมออกจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี ดังนั้น มันจึงดึงน้ำจากเนื้อเยื่อรอบ ๆ ผ่านกระบวนการออสโมซิส ซึ่งไม่เพียงแค่เพิ่มน้ำที่ทำให้อุจจาระนิ่ม แต่ยังเพิ่มปริมาตรของอุจจาระในลำไส้ (intraluminal volume) ซึ่งกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว (motility) โดยธรรมชาติ อนึ่ง Mg2+ เป็นเหตุให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเพปไทด์ cholecystokinin (CCK) ซึ่งทำให้ช่องทางเดินอาหารสะสมน้ำ อิเล็กโทรไลต์ และเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ แม้บางที่อาจอ้างไอออนไฮดรอกไซด์ว่ามีฤทธิ์ด้วย แต่มันก็ไม่มีบทบาทสำคัญต่อฤทธิ์ระบายของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ เพราะสารละลายที่เป็นด่าง (คือสารละลายไอออนไฮดรอกไซด์) ไม่มีฤทธิ์ระบาย ส่วนสาระละลาย Mg2+ ที่เป็นกรด เช่นแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) จะมีฤทธิ์ระบายอย่างมีกำลังโดยเทียบกันได้โมลต่อโมล
ลำไส้ดูดซึมแมกนีเซียมจากแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์เพียงแค่เล็กน้อย ยกเว้นเมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียม อย่างไรก็ดี ไตเป็นอวัยวะหลักที่ขับแมกนีเซียมออก ดังนั้น โดยทฤษฎี ผู้ที่มีไตวายที่ใช้ยาเป็นประจำทุกวันนาน ๆ อาจเกิดสภาวะแมกนีเซียมเกินในเลือด (hypermagnesemia) ยาที่ไม่ได้ดูดซึมจะขับออกทางอุจจาระ ส่วนที่ดูดซึมจะขับออกทางปัสสาวะอย่างรวดเร็ว
ประวัติ
ในปี 1818 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน John Callen ได้รับสิทธิบัตรเพื่อแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ในปี 1829 แพทย์ชาวอังกฤษ (Sir James Murray) ได้ใช้ "สารละลายเข้มข้นประกอบด้วยแมกนีเซีย" เพื่อรักษาอาการปวดท้องของข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ (Marquis of Anglesey) ซึ่งประสบความสำเร็จ (ดังที่ได้โฆษณาในออสเตรเลียและรับรองโดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ในปี 1838) จนกระทั่งหมอได้รับตำแหน่งเป็นแพทย์ประจำข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ 3 ท่าน แล้วต่อมาได้รับสถาปนาให้เป็นอัศวิน ผลิตภัณฑ์ของเขาต่อมาได้สิทธิบัตร 2 ปีหลังจากเขาเสียชีวิตในปี 1873
ส่วนคำว่า มิลก์ออฟแมกนีเซีย (นมแมกนีเซีย) เภสัชกรชาวอังกฤษ คือ Charles Henry Phillips ได้ใช้เป็นครั้งแรกในปี 1872 เป็นสารแขวนลอยแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำที่มีความเข้มข้นเชิงมวล (mass concentration) ราว 8%w/v ซึ่งขายในยี่ห้อ Phillips' Milk of Magnesia เป็นยา
แม้บริษัท GlaxoSmithKline ครั้งหนึ่งอาจจะเป็นเจ้าของชื่อการค้า "Milk of Magnesia" และ "Phillips' Milk of Magnesia" แต่ทะเบียนของสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐ (USPTO) ก็แสดงว่า ชื่อทั้งสอง อยู่ในกรรมสิทธิ์ของบริษัท Bayer ตั้งแต่ปี 1995 ในสหราชอาณาจักร ชื่อสามัญของ "Milk of Magnesia" และ "Phillips' Milk of Magnesia" ก็คือ "Cream of Magnesia" (ครีมแมกนีเซีย)
ยาและผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาด
แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์วางตลาดขายเป็นยาเคี้ยวได้ ยาแคปซูล ยาน้ำโดยเป็นสารแขวนลอย โดยบางครั้งจะมีรสต่าง ๆ เป็นยาลดกรดเพื่อทำกรดกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง บรรเทาอาหารไม่ย่อย และอาการแสบร้อนกลางอก เป็นยาระบายเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก เมื่อใช้เป็นยาลดกรด ฤทธิ์ทางออสโมซิสของแมกนีเซียจะดึงน้ำออกจากร่างกาย การทานยาเป็นจำนวนมากอาจทำให้ท้องร่วง ทำให้ร่างกายหมดโพแทสเซียม และบางครั้งทำให้เป็นตะคริว
ผลิตภัณฑ์แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์บางอย่างที่ขายเพื่อลดกรด (เช่นยี่ห้อ Maalox) จะใช้สูตรซึ่งลดฤทธิ์ระบายที่ไม่ต้องการโดยผสมกับอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ซึ่งยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในทางเดินอาหาร ดังนั้น จึงถ่วงดุลการบีบตัวที่เกิดจากฤทธิ์ออสโมซิสของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ยังเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของสารต้านการหลั่งเหงื่ออีกด้วย และมีผลดีต่อปากอักเสบเมื่อใช้ทา
อื่น ๆ
การบำบัดน้ำเสีย
แป้งแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ใช้บำบัดน้ำเสียที่เป็นกรดให้เป็นกลางในทางอุตสาหกรรม และใช้เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการสร้างปะการังเทียมด้วยเทคนิก Biorock
สารหน่วงไฟ
แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปแบบแร่บรูไซต์ตามธรรมชาติใช้เป็นสารหน่วงไฟ โดยสังเคราะห์ขึ้นโดยมาก เหมือนกับอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่เป็นของแข็งจะมีคุณสมบัติห้ามควันและหน่วงไฟ คุณสมบัติเช่นนี้มาจากการสลายตัวแบบดูดซับความร้อนที่อุณหภูมิ 332 องศาเซลเซียส คือ
- Mg(OH)2 → MgO + H2O
ความร้อนที่ดูดซึมเนื่องด้วยปฏิกิริยา จะหน่วงการติดไฟของสารอื่น ๆ อนึ่ง น้ำที่ปล่อยออกยังทำแก๊สที่ติดไฟได้ให้เจือจาง การใช้สามัญรวมการใส่แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์เข้าในปลอกสายเคเบิล (เช่น ในรถยนต์คุณภาพสูง เรือดำน้ำ เครื่องบินแอร์บัส เอ380 และเครื่องเพลย์สเตชัน 4 เป็นต้น) ในฉนวนพลาสติก ในวัสดุมุงหลังคา (เช่น ที่สนามกีฬาโอลิมปิกลอนดอน) และในตัวเคลือบหน่วงไฟต่าง ๆ สารผสมเป็นแร่อื่น ๆ ที่ใช้ในการหน่วงไฟคล้าย ๆ ก็คือ huntite บวกกับ hydromagnesite ที่มีตามธรรมชาติ
วิทยาแร่
บรูไซต์ ซึ่งเป็นรูปแบบแร่ของ Mg(OH)2 ที่พบอย่างสามัญตามธรรมชาติ ก็เกิดด้วยในแร่ดิน (clay mineral) แบบ 1:2:1 เป็นต้น และในคลอไรต์ โดยจะอยู่ในชั้นในระหว่าง ๆ ที่ปกติเป็นแคตไอออนแบบเวเลนซีหนึ่ง (monovalent) หรือสอง (divalent) เช่น Na+, K+, Mg2+ และ Ca2+ ดังนั้น ชั้นในระหว่าง ๆ ของคลอไรต์จึงประสานกันด้วยบรูไซต์ซึ่งไม่สามารถขยายหรือหดตัวลงได้
เมื่อแคตไอออน Mg2+ บางส่วนแทนที่ด้วย Al3+ บรูไซต์ก็จะมีประจุบวก ซึ่งเป็นมูลฐานทางโครงสร้างของ layered double hydroxide (LDH) แร่ LDH เช่น ไฮโดรทัลไซต์ เป็นตัวดูดแอนไอออนที่มีฤทธิ์แรง แต่ก็มีค่อนข้างน้อยตามธรรมชาติ
บรูไซต์อาจตกผลึกในซีเมนต์และคอนกรีตเมื่ออยู่กับน้ำทะเล Mg2+ เป็นแคตไอออนซึ่งสามัญที่สุดเป็นอันดับสองในน้ำทะเล คือต่อจาก Na+ และก่อนหน้า Ca2+ แต่เพราะเป็นแร่ที่ขยายตัวได้ จึงเป็นเหตุของความเค้นแบบดึงเนื่องจากการขยายปริมาตรเฉพาะที่ภายในคอนกรีต ซึ่งทำให้คอนกรีตร้าวและแตก ทำให้คอนกรีตเสื่อมเร็วขึ้นในน้ำทะเล
โดยทำนองเดียวกัน โดโลสโตน (dolostone) จึงไม่สามารถใช้เป็นวัสดุทำคอนกรีตได้ เพราะปฏิกิริยาของแมกนีเซียมคาร์บอเนตกับไฮดรอกไซด์ที่เป็นอิสระและพบในน้ำเมื่อทำซีเมนต์ ก็จะก่อบรูไซต์ที่ขยายตัวได้เช่นกัน คือ
- MgCO3 + 2 NaOH → Mg(OH)2 + Na2CO3
นี่เป็นปฏิกิริยาหนึ่งอย่างในสองอย่างแบบ alkali-aggregate reaction (AAR) และเรียกว่า alkali-carbonate reaction
แมกนีเซียม (เพิ่มการเคลื่อนไหว) |
|
---|---|
อะลูมิเนียม (ลดการเคลื่อนไหว) |
|
แคลเซียม | |
โซเดียม | |
ยาผสม และสารประกอบ เชิงซ้อนของแมกนีเซียม, อะลูมิเนียมและแคลเซียม |