Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
แอลเอสดี
โครงสร้างสองมิติ และสามมิติของ LSD
| |
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /daɪ eθəl ˈæmaɪd/, /æmɪd/, หรือ /eɪmaɪd/ |
ชื่ออื่น | LSD, LSD-25, Acid, Delysid, others |
AHFS/Drugs.com | Reference |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
Dependence liability |
Low |
Addiction liability |
Low-rare |
ช่องทางการรับยา | ทางปาก, ใต้ลิ้น, หลอดเลือดดำ |
ประเภทยา | Hallucinogen (serotonergic psychedelic) |
รหัส ATC |
|
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 71% |
การจับกับโปรตีน | ไม่ทราบ |
การเปลี่ยนแปลงยา | ไต (CYP450) |
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา | 2-Oxo-3-hydroxy-LSD |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | 30–40 นาที |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 3.6 ชั่วโมง |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 8–12 ชั่วโมง |
การขับออก | ไต |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
UNII | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.000.031 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C20H25N3O |
มวลต่อโมล | 323.44 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดหลอมเหลว | 80 ถึง 85 องศาเซลเซียส (176 ถึง 185 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
(verify) | |
แอลเอสดี (อังกฤษ: Lysergic acid diethylamide - LSD) อาจเรียกว่า แอซิด เป็นสารเสพติดที่สกัดได้จากเชื้อราที่อยู่บนข้าวไรย์ เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรงที่สุด ผู้เสพนิยมเรียกว่า กระดาษเมา กระดาษมหัศจรรย์ หรือ แสตมป์มรณะ
ประวัติ
ในตอนแรกอาร์เธอร์ สตอลล์ นักวิจัยของบริษัทแซนดอสได้ทำการแยกสารชนิดหนึ่งออกมาจากเชื้อราบนเมล็ดข้าวไรย์ และได้เรียกสารชนิดนี้ว่า "กรดไลเซอร์จิก" (Lysergic acid) และเพื่อนร่วมงานชื่ออัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ได้ทำการสังเคราะห์ลักษณะโมเลกุลของกรดไลเซอร์จิกขึ้นมาโดยไม่ต้องใช้เชื้อราในปี ค.ศ. 1938 และได้เรียกว่า "แอลเอสดี" (LSD) ซึ่งรู้จักกันไปทั่วในวงการยาเสพติด
หลังจากค้นพบแล้ว ยังไม่ทราบว่าแอลเอสดีนั้นมีประโยชน์หรือโทษอย่างไร และเสพแอลเอสดีมาเรื่อย ๆ จนวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1943 ฮอฟมานน์ก็เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและตาลาย แสงแดดเจิดจ้าขึ้นกว่าปกติ มีประกายสีต่าง ๆ หลังจากนั้นเขาก็เริ่มรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอย่างประหลาด อีกสามวันต่อมา เขาได้ทดลองกินแอลเอสดี 0.25 ไมโครแกรมใน 45 นาทีให้หลัง ยาก็เริ่มออกฤทธิ์ ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน
ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับสารแอลเอสดี เพื่อที่ใช้ทำเป็นยาในการรักษาอาการโรคจิตในอนาคต
ในช่วงปี ค.ศ. 1960 สตาลิสลาฟ กรอฟ ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับยาหลอนประสาทและจิตเวชได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับจิตบำบัด โดยการใช้สารแอลเอสดี โดยเป็นการใช้สารแอลเอสดีเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึกและได้ออกหนังสือเกี่ยวกับการทำวิจัยของเขาออกมาชื่อ LSD Psychotherapy แต่ต่อมาได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามใช้ยาหลอนประสาท ทำให้กรอฟต้องล้มเลิกโครงการวิจัยนี้ไป
ในปี ค.ศ. 1960 ทิโมที แลรี นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้ทดลองเสพสารแอลเอสดีและเสนอผลการเสพสารแอลเอสดีไว้ดังนี้
- ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขทันที
- มีความคิดสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีและศิลปะ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน
- เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้
ในระยะแรกได้มีการใช้สารนี้ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เสพในสมัยนั้นอายุมากกว่าในปัจจุบัน โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 21 ปี ต่อมาได้มีการเสพกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากหาซื้อง่ายเพราะมีขายกันทั่วไป และยังหลบเบี่ยงเจ้าหน้าที่ได้ง่าย กลุ่มผู้เสพที่สำคัญคือ นักดนตรี พวกฮิปปี้และบุปผาชน (flower children) ได้มีงานรื่นเริงฉลองการเสพแอลเอสดีอย่างเอิกเกริกและยิ่งใหญ่ เช่น งานฉลองฤดูร้อนแห่งความรัก (summer love) ที่เมืองซานฟรานซิสโก
ในเวลาต่อมาสารแอลเอสดีได้แพร่ระบาดเข้าไปในกลุ่มวัยรุ่น และในทุกกลุ่มชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นกลางและร่ำรวย เด็กวัยรุ่นในกลุ่มเสพประท้วงรัฐบาลในการทำสงครามกับเวียดนาม ขอเพิ่มสิทธิมนุษยชนและอิสระในการพูดและแสดงความคิดเห็น ในระยะหลัง ๆ ผู้เสพแอลเอสดีได้ใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น กัญชา แอมเฟตามีนหรือเฮโรอีน ทำให้การเสพสารนี้กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่สำคัญ ร่วมกับปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม จึงได้มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้มีการตั้งองค์กรเรียกสถาบันการศึกษาเรื่องยาเสพติดแห่งชาติ
ลักษณะทั่วไป
แอลเอสดีเป็นสารกึ่งสังเคราะห์ที่ไม่พบในธรรมชาติ สกัดได้จากกรดไลเซอจิกที่มีในเชื้อราที่อยู่บนเมล็ดข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มักจะเสพด้วยการรับประทาน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ดกลมแบน แคปซูล แผ่นเจล ของเหลวบรรจุแก้ว มีความรุนแรงในการออกฤทธิ์ต่อสมองสูง คือใช้ในปริมาณแค่ 25 ไมโครกรัม (25/1 ล้านส่วนของกรัม) ส่วนใหญ่ที่พบจะนำเอาแอลเอสดีไปหยอดบนแผ่นกระดาษสี่เหลี่ยมที่มีคุณสมบัติในการดูดซับ เรียกว่า Blotter paper ที่มีลวดลายและสีสันต่าง ๆ แล้วแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก ๆ คล้ายแสตมป์ นิยมเรียกกันในหมู่ผู้เสพว่า กระดาษเมา หรือ แสตมป์เมา ยาเสพติดชนิดนี้ได้รับความนิยมในหมู่ผู้เสพเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าสะดวกต่อการพกพา หรือหลบซ่อนเจ้าหน้าที่
อาการและการออกฤทธิ์
แอลเอสดีในธรรมชาตินั้นมีในพืชมากกว่า 40 ชนิด เช่น หนังคางคก เมื่อแยกสารนี้ออกมาแล้วพบสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับสารแอลเอสดี แต่ฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มและสบายใจนั้นมีน้อยกว่าเช่น ในเห็ดเม็กซิกันซึ่งเรียกกันว่า Psilocybe mexicana ชาวพื้นเมืองต่างถือกันว่าเป็นเห็ดเทพเจ้าที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้กินกันเมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนา โดยเชื่อกันว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เทพเจ้าเข้าสิง เพราะเกิดความมึนเมาและมีอารมณ์ประหลาดเกิดขึ้น เนื่องจากในเห็ดนี้มีสารไซโลไซบิน (psilocybin) ที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกันกับแอลเอสดีแต่น้อยกว่า
อาการ
แอลเอสดีเป็นยาเสพติดประเภทหลอนประสาทที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจรุนแรงที่สุด มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น
- มีอารมณ์ร่าเริง สนุกสนาน
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้
- อาจเกิดความกลัวอย่างรุนแรง เช่นกลัววิกลจริต กลัวตาย
- เห็นภาพคมชัดผิดปกติ เช่น มีสีสันมากกว่าธรรมดา หรือเป็นประกายสวยงาม
- ได้ยินเสียงแต่เห็นเป็นภาพแทน เช่น ได้ยินเสียงดนตรีแต่เห็นเป็นโน้ตดนตรีแทน
- ภาพหลอนที่เห็นมักมีรูปทรงเรขาคณิต
- หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ และความดันโลหิตสูง
- หวนนึกถึงอดีตที่เลวร้าย
- รู้สึกสับสน กระวนกระวาย สูญเสียการควบคุม
ยาเสพติดชนิดนี้ มีการเสพติดทางจิตใจเท่านั้น ไม่มีการเสพติดทางร่างกาย และไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย และอาการของผู้เสพจะไม่แสดงออกตามร่างกายภายนอก อนึ่งอาการดังกล่าวอาจปรากฏให้เห็นซ้ำอีกได้แม้ไม่ได้เสพสารแล้ว โดยจะปรากฏเป็นพัก ๆ และอาจทำให้เกิดขึ้นได้เอง เช่น โดยการนึกคิดหรือถูกกระตุ้นโดยเข้าไปอยู่ในที่มืดและอาจมีอาการอยู่นานเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "ปรากฏการณ์ซ้ำ" (flashback)
อันตราย
- อาจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
- อาจได้รับบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น เนื่องจากผู้เสพสูญเสียการควบคุมจิตใจ
อาการพิษ
- อาจจะเป็นโรคจิต โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจอยู่ก่อน
- อาการ flashback ที่มีเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ใจอย่างหนัก
โทษ
- ผู้เสพอาจเห็นภาพลวงตา
- หูแว่ว
- อาจมีอาการทางจิตประสาทอย่างรุนแรง
- เกิดอาการกลัวภาพหลอน (Bad Trip)
- ผู้เสพจะมีความดันโลหิตสูงผิดปกติ
- อุณหภูมิในร่างกายสูงเหมือนคนเป็นไข้
- หายใจไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า
- เกิดอาการจิตตก ทำร้ายตนเอง
- คิดถึงอดีตที่เลวร้าย
โทษทางกฎหมาย
กฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติด สิ่งที่ถือว่าเป็นยาเสพติดนั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากไม่มีกฎหมายระบุไว้ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ยาเสพติด แม้ว่าสิ่งที่เสพมีฤทธิ์ที่ทำให้ติดได้ก็ตาม ยกเว้น บุหรี่ สุรา โดย แอลเอสดี เป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 มีโทษดังนี้
- จำคุกตลอดชีวิต (มาตรา 65 วรรค 1)
- เพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (มาตรา 65 วรรค 2)
- มีสารบริสุทธิ์ 0.75 มิลลิกรัมขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย (มาตรา 15)
- การมีในครอบครองเพื่อจำหน่าย
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต ปรับ 50,000-500,000 บาท (มาตรา 66 วรรค 1)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต (มาตรา 66 วรรค 2)
- ครอบครอง
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (มาตรา 67)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (มาตรา 15)
- ผู้เสพ
- จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี ปรับ 5,000-10,000 บาท (มาตรา 91)
- ให้ผู้อื่นเสพ
- ถ้าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต (มาตรา 93 วรรค 5)
- ส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
- จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000-50,000 บาท (มาตรา 93)
- ใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย
- จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (มาตรา 93)
- กระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท
- ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยเฉพาะการมุ่งเอาผิดต่อผู้ค้ายาเสพติด ระดับนายทุน และตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด และริบทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการค้ายาเสพติด เพื่อขจัดแหล่งเงินทุนในการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด
ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดและศาลสั่งริบ ให้ตกเป็นของ "กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด" เพื่อนำทรัพย์สินที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป