Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โดพามีน
โดพามีน | |
---|---|
ชื่อตาม IUPAC | 4- (2-aminoethyl) benzene-1, 2-diol |
ชื่ออื่น | 2- (3, 4-dihydroxyphenyl) ethylamine; 3, 4-dihydroxyphenethylamine; 3-hydroxytyramine; DA; Intropin; Revivan; Oxytyramine; N-methyl-alfa |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS |
[51-61-6][CAS], 62-31-7 (hydrochloride) |
PubChem | 681 |
SMILES |
|
ChemSpider ID | 661 |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | C8H11NO2 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 153.178 |
จุดหลอมเหลว |
128 °C, 401 K, 262 °F |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | 60.0 g/100 ml |
ความอันตราย | |
R-phrases | R36/37/38 |
S-phrases | S26 S36 |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
โดพามีน (อังกฤษ: Dopamine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน
ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary)
โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้
โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี
เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก่
- วิถีไนโกรสไตรตาล (nigrostriatal)
- วิถีมีโซลิมบิค (mesolimbic)
- วิถีมีโซคอร์ติคอล (mesocortical)
- วิถีทูเบอโรอินฟันดิบิวลาร์ (tuberoinfundibular)
โดพามีนออกฤทธิ์ผ่านตัวรับโดพามีนที่เป็นโปรตีนซึ่งอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ ตัวรับโดพามีนทุกชนิดจัดอยู่ในกลุ่มตัวรับที่จับอยู่กับโปรตีนจี (G-protein-coupled receptor)
โดพามีนที่ถูกปลดปล่อยออกมาที่ไซแนปติกเคล็ฟท์ (synaptic cleft) แล้วอาจถูกทำลายได้ 3 วิธี คือ
- ดูดกลับเข้าเซลล์โดยโดพามีนทรานสปอตเตอร์ (dopamine transporter; DAT)
- ถูกเอนไซม์ทำลาย
- เกิดการแพร่