Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โดเนพีซิล
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | อะริเซ็ปต์เป็นต้น |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a697032 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ทางปาก (ยาเม็ด) |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 100% |
การจับกับโปรตีน | 96% |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 70 ชม. |
การขับออก | 0.11-0.13 (L/h/kg) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG |
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.125.198 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C24H29NO3 |
มวลต่อโมล | 379.50 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
ไครัลลิตี | ของผสมแรซีมิก |
| |
(verify) | |
ยา โดเนพีซิล (อังกฤษ: Donepezil) มีชื่อการค้าเป็นต้นว่า อะริเซ็ปต์ (อังกฤษ: Aricept) เป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ โดยดูจะมีประโยชน์เล็กน้อยทางจิตใจและการดำเนินชีวิต แต่ไม่มีหลักฐานว่าเปลี่ยนการดำเนินของโรค ควรเลิกใช้ถ้าไม่ปรากฏประโยชน์ เป็นยากินทางปาก
ผลข้างเคียงสามัญรวมความคลื่นไส้ นอนไม่หลับ ความก้าวร้าว ท้องร่วง เหนื่อย และตะคริว ผลข้างเคียงรุนแรงอาจรวมหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาถ่ายปัสสาวะ และการชัก ยามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีทิลโคลิเนสเทเรสแบบผันกลับได้ (reversible acetylcholinesterase inhibitor)
ยาได้รับอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหรัฐปี 1996 ปัจจุบันมีขายเป็นยาสามัญ ในสหราชอาณาจักร กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.52 ปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 21 บาท) สำหรับยากินเดือนหนึ่ง ส่วนราคาขายส่งของยาประมาณเดียวกันในสหรัฐอยู่ที่ 1.38 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 44 บาท) ในปี 2019 เป็นยาที่แพทย์จ่ายมากที่สุดเป็นอันดับ 98 ในสหรัฐ
การแพทย์
โรคอัลไซเมอร์
ไม่มีหลักฐานว่าโดเนพีซิลหรือยาที่คล้ายกันอื่น ๆ สามารถเปลี่ยนการดำเนินของโรคอัลไซเมอร์ งานศึกษามีกลุ่มควบคุมระยะ 6-12 เดือน แสดงประโยชน์พอควรทางประชานและพฤติกรรม สถาบันไนซ์ (NICE) แห่งสหราชอาณาจักรแนะนำให้เป็นยาทางเลือกเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นอ่อน ๆ จนถึงปานกลาง แต่ควรติดตามคนไข้บ่อย ๆ แล้วเมื่อไม่ได้ประโยชน์อย่างสำคัญ ก็ควรเลิกยา ในปี 2006 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้ยารักษาภาวะสมองเสื่อมตั้งแต่อ่อน ปานกลาง ไปจนถึงรุนแรงสำหรับคนไข้โรคอัลไซเมอร์
ผลไม่พึงประสงค์
ในการทดลองทางคลินิก อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ทำให้คนไข้เลิกกินยารวมความคลื่นไส้ ท้องร่วง และอาเจียน ผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมการนอนไม่หลับ ตะคริว และไม่อยากอาหาร ผลข้างเคียงโดยมากพบในคนไข้ที่กินยาขนาด 23 มก. เทียบกับ 10 มก. ผลข้างเคียงจะดีขึ้นเมื่ออดทนใช้ยาต่อ
ข้อควรระวัง
ยาควรใช้อย่างระวังในคนไข้ที่มีโรคหัวใจ ปัญหาการนำไฟฟ้าของหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง และกลุ่มอาการซิคไซนัส คนไข้แผลเปื่อยเพปติก (PUD) หรือผู้กำลังกินยายาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDS) ควรระวังเพราะมีโอกาสเลือดออกในกระเพาะลำไส้สูงขึ้น หัวใจเต้นช้าและการเป็นลมก็พบด้วยในคนไข้ที่มีปัญหาหัวใจ อาการเหล่านี้มีโอกาสสูงกว่าเมื่อเริ่มรักษาหรือพึ่งเพิ่มขนาดยา แม้การชักจะมีน้อย แต่คนเสี่ยงชักก็ควรระวัง
ถ้ากินยาทุกวันแล้วพัก 7 วันหรือน้อยกว่านั้น เมื่อกลับกินยาใหม่ แนะนำให้กินขนาดเดิม แต่ถ้าพักเกิน 7 วัน แนะนำให้เริ่มที่ 5 มก./วัน
กลไกการทำงาน
ยาจะเชื่อมกับเอนไซม์โคลิเนสเทเรส (cholinesterase) โดยระงับฤทธิ์ของเอนไซม์อย่างผันกลับได้ เป็นการห้ามการแยกสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) ของสารสื่อประสาทอะซีทิลโคลีน (acetylcholine) แล้วเพิ่มความเข้มข้นของอะซีทิลโคลีนที่ไซแนปส์ประสาทแบบโคลิเนอร์จิก (cholinergic คือมีอะซีทิลโคลีนเป็นสารสื่อประสาท)
กลไกการทำงานอย่างละเอียดของยาในคนไข้โรคอัลไซเมอร์ยังไม่ชัดเจน แน่นอนว่า โรคอัลไซเมอร์เกี่ยวกับความเสียหายอย่างสำคัญของระบบประสาทแบบโคลิเนอร์จิก ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า อาการของโรคสัมพันธ์กับความบกพร่องของระบบโคลิเนอร์จิกเช่นนี้ โดยเฉพาะในเปลือกสมองและส่วนสมองอื่น ๆ มีข้อสังเกตว่า hippocampal formation มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการใส่ใจ ความจำ และการเรียนรู้ ประสาทโคลิเนอร์จิกในระบบประสาทกลางที่เสียหายรุนแรงพบว่า มีสหสัมพันธ์กับความรุนแรงของความพิการทางประชาน
นอกจากฤทธิ์ยับยั้งอะซีทิลโคลิเนสเทเรสแล้ว ยายังเป็นตัวทำการที่มีกำลังต่อหน่วยรับ σ1 (sigma-1 receptor โดยมี Ki = 14.6 nM) และพบว่า มีผลระงับการเสียความจำของสัตว์โดยอาศัยกลไกนี้
สเตอริโอเคมิสตรี
ยาเป็นของผสมแรซีมิก (racemic mixture หรือ racemate)
Enantiomers | |
---|---|
(R)-Donepezil |
(S)-Donepezil |
ประวัติ
ในปี 1983 บริษัทญี่ปุ่น (Eisai) ได้เริ่มงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนายา ในปี 1996 บริษัทได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐให้ขายยาในชื่อการค้าอะริเซ็ปต์ (Aricept) ซึ่งบริษัทร่วมวางตลาดกับบริษัทไฟเซอร์
ในปี 2011 นี่เป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ซึ่งขายดีที่สุดในโลก ยาสามัญแรกเริ่มขายในเดือนพฤศจิกายน 2010 เมื่อองค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติสูตรยาของบริษัทแรนแบ็กซี่แล็บ (Ranbaxy Labs) ในเดือนเมษายน 2011 องค์กรอนุมัติให้วางตลาดยาสามัญสูตรที่สองจากบริษัทว็อกฮาร์ดต (Wockhardt)
งานวิจัย
ยาได้ทดสอบกับความผิดปกติทางประชาน (cognitive disorder) อื่น ๆ รวมทั้งภาวะสมองเสื่อมเหตุลิวอี้บอดี้ (รวมที่เกิดจากโรคพาร์คินสัน) และภาวะสมองเสื่อมเหตุหลอดเลือด (vascular dementia) แต่ก็ไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโรคเหล่านี้ ยาพบว่า ช่วยปรับปรุงการหยุดหายใจเมื่อหลับ (sleep apnea) สำหรับคนไข้โรคอัลไซเมอร์ และยังช่วยปรับปรุงการเดินด้วย
ยายังได้ศึกษาในคนไข้ที่พิการทางประชานแบบอ่อน ๆ โรคจิตเภท โรคสมาธิสั้น คนไข้หลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่พิการทางประชาน คนไข้พิการทางประชานที่สัมพันธ์กับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, CADASIL และกลุ่มอาการดาวน์ งานทดลอง 3 ปีของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) กับผู้ที่พิการทางประชานแบบอ่อน ๆ พบว่า ยาดีกว่ายาหลอกเพื่อชะลอการแย่ลงของภาวะสมองเสื่อมในระยะ 18 เดือนแรกของงาน แต่ก็พบว่าไม่คงยืนเช่นนั้นเมื่อถึง 36 เดือน ในงานวิเคราะห์ทุติยภูมิ กลุ่มย่อยที่มีจีโนไทป์ apolipoprotein E4 พบว่า ได้ประโยชน์จากยาอย่างคงยืนตลอดงานศึกษา อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งให้ใช้ยาป้องกันภาวะสมองเสื่อม
โรคสมาธิสั้น
การเพิ่มยานี้กับยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีอยู่แล้วพบว่า ได้ผลไม่สม่ำเสมอ ในคนไข้กลุ่มอาการทูเร็ต (Tourette syndrome) และมีโรคสมาธิสั้น ยาอาจลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก (tic) แม้จะไม่มีผลต่ออาการของโรคสมาธิสั้น
ความผิดปกติทางพัฒนาการแบบกระจายไปทั่ว
ยานี้พร้อมกับยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลิเนสเทเรสอื่น ๆ เสนอว่า มีโอกาสช่วยแก้พฤติกรรมที่มีปัญหา ความหงุดหงิด ดำเนินกิจกรรมมากเกิน (hyperactivity) และปัญหาการสื่อสารทางสังคมซึ่งปกติพบในคนไข้ที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการแบบกระจายไปทั่ว (ทั้ง PDD และ PDD-NOS) หรือออทิซึมสเปกตรัม
เชิงอรรถ
แหล่งข้อมูลอื่น
- Brenner, George D.; George M. Brenner (2000). Pharmacology. Philadelphia: W. B. Saunders. ISBN 978-0-7216-7757-6.
- Louise Welbanks (2000). Compendium of Pharmaceuticals and Specialities, 2000 (25th ed.). Canadian Pharmaceutical Assn. ISBN 978-0-919115-76-7.
- Aricept entry at Drugs.com
- 3D Molecular structure of Donepezil
- Acetylcholinesterase: A gorge-ous enzyme Article describing structure of target enzyme acetylcholinesterase at PDBe