Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โฟโตเพอริโอดิซึม
โฟโตเพอริโอดิซึม (อังกฤษ: Photoperiodism)หรือการตอบสนองต่อช่วงแสง เป็นปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิตในการตอบสนองต่อความยาวของกลางวันหรือกลางคืน เกิดขึ้นทั้งในพืชและสัตว์
ในพืช
พืชมีดอกส่วนใหญ่จะมีโปรตีนรับแสง (photoreceptor protein) เช่นไฟโตโครม เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลเกี่ยวกับความยาวของกลางคืน หรือช่วงที่มีแสงเพื่อสร้างสัญญาณสำหรับการออกดอก พืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสงอย่างแน่นอนจะต้องการกลางคืนที่ยาวหรือสั้นก่อนออกดอก ในขณะที่พืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสงไม่ชัดเจนจะออกดอกในช่วงที่มีแสงเหมาะสม โดยการออกดอกจะขึ้นกับระยะเวลาของกลางคืน พืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสงจะแบ่งเป็นพืชวันยาวกับพืชวันสั้น ขึ้นกับกลไกที่ถูกควบคุมด้วยจำนวนชั่วโมงตอนกลางคืนไม่ใช่ความยาวของช่วงกลางวัน โดยแสงทำให้ไฟโตโครมอยู่ในรูปที่ทำงานได้ กลายเป็นนาฬิกาชีวภาพสำหรับวัดเวลากลางวันหรือกลางคืน นอกจากการออกดอก การตอบสนองต่อช่วงแสงยังขึ้นกับการเจริญของยอดหรือรากในแต่ละฤดู หรือการร่วงของใบ
ความยาวของช่วงกลางวันที่มีผลต่อการออกดอกของพืชเรียกว่าช่วงวันวิกฤติ (Critical day length) ส่วนใหญ่พืชที่ตอบสนองต่อช่วงวันมักเป็นพืชในเขตอบอุ่นแบ่งพืชตามการตอบสนองต่อช่วงวันออกเป็นสามกลุ่มคือ
- พืชวันสั้น คือพืชที่ออกดอกเมื่อช่วงกลางวันสั้นกว่าช่วงวันวิกฤติ เช่น เบญจมาศ ยาสูบ สตรอเบอรี่
- พืชวันยาว คือพืชที่ออกดอกเมื่อช่วงกลางวันยาวกว่าช่วงวันวิกฤติ เช่น ข้าวสาลี ผักโขม
- พืชที่ไม่ตอบสนองต่อช่วงวัน การออกดอกของพืชไม่ขึ้นกับช่วงวัน เช่น มะเขือเทศ แตงกวา ฝ้าย
ในสัตว์
สัตว์หลายชนิดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามฤดูกาล นอกจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแล้ว ช่วงแสงยังกระตุ้นการเปลี่ยนสีขน การอพยพ การจำศีล พฤติกรรมทางเพศ
ดูเพิ่ม
- D.E. Fosket, Plant Growth & Development, A Molecular Approach. Academic Press, San Diego, 1994, p. 495.
- B. Thomas and D. Vince-Prue, Photoperiodism in plants (2nd ed). Academic Press, 1997.