Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน
Другие языки:

โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน
(Caffeine-induced sleep disorder)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-9 292.85

โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน หรือ โรคนอนเหตุกาเฟอีน (อังกฤษ: Caffeine-induced sleep disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นผลของการรบริโภคกาเฟอีน (เช่นจากกาแฟ) ที่เป็นสารกระตุ้นมากเกินไป "ถ้าบริโภคกาเฟอีนก่อนนอนหรือตลอดวัน อาจหลับได้ช้า ลำดับการนอนปกติอาจเปลี่ยนไป และคุณภาพการนอนอาจลดลง" กาเฟอีนจะลดระยะการนอน slow-wave sleep (ระยะ 3 และ 4) ในวงจรการนอนหลับในเบื้องต้น และลดระยะ rapid eye movement sleep (REM sleep) ในวงจรภายหลัง กาเฟอีนจะเพิ่มจำนวนคราวที่ตื่น และระดับที่บริโภคสูงตอนเย็นจะเพิ่มความล่าช้าในการหลับ ในผู้สูงอายุ การใช้ยาที่มีกาเฟอีนสัมพันธ์กับความลำบากในการนอนหลับ

เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับโรคนี้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV) รวมทั้งการนอนไม่หลับอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องเกิดจากผลทางกายของกาเฟอีนเท่านั้นโดยยืนยันด้วยการตรวจ ถ้าปัญหาการนอนอธิบายได้เพราะเหตุโรคนอนเนื่องจากการหายใจ, ภาวะง่วงเกิน, โรคนอนเหตุจังหวะรอบวัน (circadian rhythm sleep disorder), หรือความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ ก็จะไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โรคนี้ทำให้เกิดความพิการในการใช้ชีวิตอย่างสังเกตได้ในคนไข้

การบริโภคกาเฟอีนมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะพิษ ซึ่งกำหนดด้วยอาการอยู่ไม่สุข กายใจไม่สงบ ตื่นเต้น คำพูดหรือความคิดวนเวียน และการนอนไม่หลับ แม้แต่กาเฟอีนขนาดเท่ากับกาแฟแก้วเดียว ก็สามารถทำให้นอนหลับช้าและลดคุณภาพการนอนโดยเฉพาะระยะหลับลึกที่ไม่ใช่ REM sleep กาเฟอีนขนาดเดียวกันในตอนเช้าก็ยังสามารถมีผลเช่นนี้ในคืนนั้น ดังนั้น หลักอนามัยในการนอนอย่างหนึ่งที่ทำได้ก็คือหยุดบริโภคกาเฟอีน

ชีววิทยาเกี่ยวกับกาเฟอีน

กาเฟอีนเข้าสู่เลือดผ่านกระเพาะและลำไส้เล็ก และสามารถมีผลกระตุ้นเพียงแค่ 15 นาทีหลังจากบริโภค เมื่ออยู่ในร่างแล้ว จะสามารถคงอยู่ได้หลาย ชม. ร่างกายจะกำจัดครึ่งหนึ่งที่บริโภคในประมาณ 6 ชม. เมื่อกาเฟอีนไปถึงสมอง มันจะเพิ่มการหลั่งนอร์เอพิเนฟริน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองโดยสู้หรือหนี และเพิ่มทั้งการทำงานของนิวรอนและอาการที่คล้ายกับเมื่อเกิดคราวตื่นตระหนก (panic attack)

แม้ว่า กาเฟอีนจะมีหลักฐานว่าลดคุณภาพการนอน แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่ามีผลอย่างเดียวกันต่อทุกคน และบางคนก็รายงานว่าไม่มีปัญหาการนอนแม้ว่าจะบริโภคกาเฟอีนเป็นปกติ การทานกาเฟอีนเป็นปกติอาจจะธรรมดาสำหรับบางคน ดังนั้น จึงเข้าใจได้ว่ายังสามารถนอนพอได้อย่างไร หลักฐานนี้แสดงว่า กาเฟอีนขัดขวางกลไกการปรับ (modulatory) ระบบควบคุมการนอนหลับแทนการขัดขวางวงจรประสาทควบคุมการนอนที่เป็นพื้นฐาน โดยที่สุดแล้ว นิสัยการหลับนอนที่สม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญในคุณภาพทั่วไปและเวลาการนอน

งานศึกษา

งานศึกษาปี 2556 ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาของเปลือกสมองกับการนอนหลับ และดูว่าสิ่งเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากการบริโภคกาเฟอีนเช่นไร โดยวัดทั้งการนอนหลับและการพัฒนาของสมองทางสรีรวิทยาไฟฟ้า และข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและโครงสร้างอื่น ๆ ของลูกหนู แล้วพบผลที่คล้ายกับมนุษย์คือกาเฟอีนมีผลกระตุ้นชั่วคราวและเปลี่ยนการดำเนินของคลื่น slow wave ในช่วงนอนหลับ นอกจากจะมีผลต่อการนอนแล้ว ยังมีผลต่อการเจริญเติบโต โดยที่สุดแล้ว งานศึกษาแสดงว่าการบริโภคกาเฟอีนในช่วงพัฒนาการวิกฤต (critical developmental period) มีผลระยะยาวต่อการนอนและพัฒนาการของสมอง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Broderick, P; Benjamin, AB (2004-12). "Caffeine and psychiatric symptoms: a review". J Okla State Med Assoc. 97 (12): 538–42. PMID 15732884. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

Новое сообщение