Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคนอนไม่หลับมรณะ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคนอนไม่หลับมรณะ
Fatal insomnia
Cranial imaging of a FFI patient.jpg
การถ่ายภาพกะโหลกของผู้ป่วย FFI จาก MRI มีสัญญาณผิดปกติในบริเวณใต้เปลือกสมองส่วนกลีบหน้าผากและข้างขมับทั้งสองข้าง MRA แสดงให้เห็นหลอดเลือดแดงเลี้ยงเสมองแขนงส่วนปลายที่มีขนาดเล็กลง
สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์, เวชศาสตร์การหลับ, ประสาทพยาธิวิทยา
อาการ นอนไม่หลับมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมและเสียชีวิต
ภาวะแทรกซ้อน เข้าสู่สภาพเคลิ้มหลับอย่างถาวรในช่วงท้ายโรค
การตั้งต้น วัยกลางคน
ประเภท Fatal familial insomnia, sporadic fatal insomnia
สาเหตุ การกลายพันธุ์ของยีน, ผู้ป่วยแบบเกิดห่าง ๆ พบน้อยมาก
ปัจจัยเสี่ยง ประวัติครอบครัว
วิธีวินิจฉัย สงสัยจากอาการ ใช้การทดสอบการหลับ เพ็ตสแกนและการทดสอบพันธุกรรม (ถ้าสงสัยแบบในวงศ์ตระกูล)
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคอัลไซเมอร์, ภาวะสมองเสื่อมส่วนหน้าผากและขมับ, โรคสมองรูปฟองน้ำที่ติดต่อได้อย่างอื่น
การป้องกัน ไม่มี
การรักษา การดูแลประคับประคอง
ยา ไม่มี
พยากรณ์โรค อายุคาดหมายคงชีพ 7 เดือนถึง 6 ปี
ความชุก มีน้อยกว่า 40 ตระกูลทั่วโลกที่มียีนสัมพันธ์กับโรคนี้, มีการวินิจฉัยผู้ป่วยแบบเกิดห่าง ๆ 24 ราย (ในปี 2016)

โรคนอนไม่หลับมรณะ (อังกฤษ: fatal insomnia) เป็นโรคที่หายากยิ่งซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการหลับอันเป็นอาการเด่นของโรค ปัญหานอนไม่หลับตรงแบบค่อย ๆ เริ่มเป็นและเป็นหนักขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนอาการอื่น เช่น ปัญหาการพูด ปัญหาการประสานงานกล้ามเนื้อ และภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรคนี้มักเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือนถึงปี

จัดเป็นโรคพรีออนของสมอง ปกติเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เข้ารหัสโปรตีน PrPC โรคนี้มีอยู่สองแบบ คือ โรคนอนไม่หลับมรณะในวงศ์ตระกูล (fatal familial insomnia, FFI) ซึ่งมีการถ่ายทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่น และโรคนอนไม่หลับมรณะแบบเกิดห่าง ๆ (sporadic fatal insomnia, sFI) ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ที่ไม่ได้มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การวินิจฉัยมาจากอาการ และสนับสนุนด้วยการศึกษาการหลับ เพ็ตสแกน และการตรวจพันธุกรรมถ้าคนในครอบครัวผู้ป่วยมีประวัติโรคนี้ โรคนี้ยืนยันการวินิจฉัยได้แต่วิธีการชันสูตรพลิกศพสมองหลังเสียชีวิตแล้วเท่านั้น เช่นเดียวกับโรคพรีออนแบบอื่น

โรคนอนไม่หลับมรณะนี้ไม่มีทางรักษาที่ทราบ และผู้ป่วยจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ประสาทหลอน อาการเพ้อ และสภาพสับสนคล้ายภาวะสมองเสื่อม จนเสียชีวิตในที่สุด อายุอยู่รอดเฉลี่ยหลังเริ่มมีอาการคือ 18 เดือน มีบันทึกผู้ป่วยคนแรกในประเทศอิตาลีใน ค.ศ. 1765

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค

Новое сообщение