Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส
(Multiple sclerosis)
ชื่ออื่น Disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata
MS Demyelinisation CD68 10xv2.jpg
ภาพขยาย 1:100 ย้อมสี CD68 แสดงให้เห็นแมโครฟาจจำนวนมากในบริเวณซึ่งมีการทำลายปลอกไมอีลินที่เกิดใน MS
สาขาวิชา ประสาทวิทยา
อาการ เห็นภาพซ้อน, ตาบอดข้างเดียว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, การรับสัมผัสผิดปกติ, การทรงตัวผิดปกติ
การตั้งต้น อายุ 20–50 ปี
ระยะดำเนินโรค เรื้อรัง
สาเหตุ ไม่ทราบสาเหตุ
วิธีวินิจฉัย Based on symptoms and medical tests
การรักษา Medications, physical therapy
พยากรณ์โรค 5–10 year shorter life expectancy
ความชุก 1 ล้านคนในสหรัฐ (2022) และประมาณ 2.8 ล้านคนทั่วโลก (2020)

โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส (อังกฤษ: multiple sclerosis, MS, disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata) เป็นโรคซึ่งทำให้มีการทำลายปลอกไมอีลินซึ่งหุ้มใยประสาทของสมองและไขสันหลังเอาไว้ ทำให้ใยประสาทไม่มีปลอกไมอีลินหุ้ม เกิดเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น และมีอาการและอาการแสดงอื่นๆ ตามมา ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมักพบในเพศหญิง มีความชุกอยู่ระหว่าง 2 - 150 ต่อ 100,000 ประชากร โดยพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1868 โดยฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์

MS ส่งผลต่อการทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างกันของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลัง ปกติเซลล์ประสาทจะติดต่อกันโดยส่งสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่าศักยะงานไปตามแกนประสาทซึ่งปกติจะถูกห่อหุ้มด้วยปลอกไมอีลิน ในผู้ป่วย MS นั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายไมอีลินไป เมื่อไม่มีไมอีลิน แกนประสาทจะไม่สามารถนำสัญญาณได้ดีเท่าเดิม ชื่อโรคมัลติเพิล สเกลอโรซิสนั้นหมายถึงแผลเป็นที่เกิดขึ้นในเนื้อขาวของสมองและไขสันหลัง ซึ่งปกติจะประกอบด้วยไมอีลินเป็นส่วนใหญ่ แม้ปัจจุบันกลไกของโรคนี้จะเป็นที่ทราบกันดี แต่สาเหตุที่แน่ชัดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบ มีทฤษฎีว่าสาเหตุอาจมาจากพันธุกรรมหรือการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมหลายตัวที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

ผู้ป่วยอาจมีอาการทางระบบประสาทได้แทบทุกรูปแบบ ส่วนใหญ่มักดำเนินไปจนทำให้เกิดความพิการทั้งทางร่างกายและการนึกคิด โรคนี้มีการดำเนินโรคหลายรูปแบบ คือแบบเป็นโรคกลับซึ่งมีอาการใหม่ๆ เพิ่มในช่วงที่มีอาการกำเริบแต่ละครั้ง หรือแบบลุกลามซึ่งค่อยๆ มีอาการเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างการกำเริบแต่ละครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อโรคเป็นมากขึ้นมักเริ่มมีความบกพร่องของระบบประสาทที่เป็นถาวร

ปัจจุบัน MS ยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย วิธีรักษาในปัจจุบันมุ่งไปที่การช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำงานได้ตามปกติหลังการกำเริบ การป้องกันการกำเริบ และการป้องกันความพิการ ยาที่ใช้รักษา MS มักมีผลข้างเคียงมากจนผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถรับยาต่อเนื่องได้ จึงมีผู้ป่วยหลายคนพยายามใช้การรักษาทางเลือกซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ พยากรณ์โรคนั้นทำนายได้ยาก ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของโรค ลักษณะโรคของผู้ป่วยแต่ละคน อาการแรกเริ่ม และระดับความพิการเมื่อโรคดำเนินไปมาก อายุขัยจะสั้นกว่าคนทั่วไปประมาณ 5-10 ปี

พยากรณ์โรค

Disability-adjusted life year for multiple sclerosis per 100,000 inhabitants in 2004
  no data
  less than 13
  13–16
  16–19
  19–22
  22–25
  25–28
  28–31
  31–34
  34–37
  37–40
  40–43
  more than 43

พยากรณ์โรคของผู้ป่วย MS แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของโรคที่เป็น เพศ อายุ อาการแรกเริ่ม และระดับความพิการ อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นในช่วงเวลาเป็นสิบปี โดยมีค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งเสียชีวิตอยู่ที่ 30 ปี

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีการดำเนินโรคที่ดีได้แก่ เพศหญิง ชนิดย่อยแบบกลับเป็นซ้ำสลับหาย การมีอาการแรกเริ่มเป็นเส้นประสาทตาอักเสบหรืออาการทางระบบรับสัมผัส การมีอาการกำเริบน้อยครั้งในช่วงปีแรก และโดยเฉพาะการเริ่มเป็นโรคตั้งแต่อายุน้อย

อายุขัยของผู้ป่วย MS สั้นกว่าคนปกติประมาณ 5-10 ปี ผู้ป่วย 40% มีอายุได้ถึงวัย 70 ปี อย่างไรก็ดีสองในสามของผู้ป่วยเท่านั้นที่เสียชีวิตจากสาเหตุซึ่งเกี่ยวข้องกับ MS โดยตรง ในกลุ่มผู้ป่วย MS ที่ค่อนข้างมีสุขภาพดีนั้นการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญสาเหตุหนึ่ง ในขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการมากนั้นมักมีความทุพพลภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเป็นมากจนถึงขั้นเดินไม่ได้ก่อนจะเสียชีวิต แต่ผู้ป่วย 90% ก็สามารถเดินได้เป็นเวลา 10 ปี หลังเริ่มมีอาการ และ 75% สามารถเดินได้เป็นเวลา 15 ปีหลังเริ่มมีอาการ

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение