Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคระบาดแอนโทนิน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เทวทูตแห่งความตายเคาะประตูในช่วงการระบาดในโรม: ภาพแกะสลักโดย Levasseur หลังจาก Jules-Elie Delaunay
จักรวรรดิโรมันใน ค.ศ. 180

โรคระบาดแอนโทนิน (อังกฤษ: Antonine Plague; ค.ศ. 165 ถึง 180) มีอีกชื่อว่า โรคระบาดเกเลน (Plague of Galen; ตั้งชื่อตามเกเลน แพทย์ที่อธิบายโรคนี้) เป็นโรคระบาดทั่วแรกที่ส่งผลกระทบต่อจักรวรรดิโรมัน ซึ่งน่าจะติดต่อและแพร่กระจายโดยทหารที่กลับมาจากการทัพในตะวันออกใกล้ นักวิชาการโดยทั่วไปยืนยันว่าโรคระบาดนี้เป็นโรคฝีดาษ ถึงแม้มีบางส่วนแนะนำว่าเป็นโรคหัด มีการอ้างว่าโรคนี้คร่าชีวิตจักรพรรดิลูกิอุส เวรุส จักรพรรดิโรมันที่สวรรคตใน ค.ศ. 169 ซึ่งเป็นผู้ร่วมอุปราชของจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส จักรพรรดิสองพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์จากการรับเลี้ยงของจักรพรรดิองค์ที่แล้ว จักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส และนั่นทำให้นามสกุลอันโตนีนุสมีส่วนร่วมกับโรคระบาดนี้

ข้อมูลสมัยโบราณยอมรับว่าโรคระบาดนี้น่าจะปรากฏตอนที่พวกโรมันโจมตีเมืองซิลิวชาในเมโสโปเตเมียช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 165–166อัมมิอานุส มาร์เกลลินุสรายงานว่าโรคนี้แพร่ระบาดไปถึงกอลและกองทหารริมแม่น้ำไรน์ ยูโทรเพียสกล่าวว่าในสัดส่วนประชากรจักรวรรดิจำนวนมากเสียชีวิตจากโรคระบาดนี้กัสซีอุส ดีโอ นักประวัติศาสตร์โรมันบันทึกว่าโรคนี้แพร่ระบาดอีกครั้งใน 9 ปีต่อมาใน ค.ศ. 189 ทำให้มีผู้เสียชีวิตในโรมสูงถึง 2,000 คนในวันเดียว และในจำนวนนั้นได้รับผลกระทบไปหนึ่งส่วนสี่ มีการประมาณผู้เสียชีวิตที่ 5–10 ล้าน เกือบร้อยละ 10 ของประชากรจักรวรรดิ โรคระบาดนี้มีความรุนแรงเฉพาะในเมืองและกองทัพโรมัน

บรรณานุกรม

  • Bruun, Christer, "The Antonine Plague and the 'Third-Century Crisis'," in Olivier Hekster, Gerda de Kleijn, Danielle Slootjes (ed.), Crises and the Roman Empire: Proceedings of the Seventh Workshop of the International Network Impact of Empire, Nijmegen, June 20–24, 2006. Leiden/Boston: Brill, 2007 (Impact of Empire, 7), 201–218.
  • Gilliam, J. F. "The Plague under Marcus Aurelius". American Journal of Philology 82.3 (July 1961), pp. 225–251.
  • Hill, John E. (2009). Through the Jade Gate to Rome: A Study of the Silk Routes during the Later Han Dynasty, First to Second Centuries CE. BookSurge. ISBN 978-1-4392-2134-1.
  • Littman, R.J. and Littman, M.L. "Galen and the Antonine Plague". American Journal of Philology, Vol. 94, No. 3 (Autumn, 1973), pp. 243–255.
  • Marcus Aurelius. Meditations IX.2. Translation and Introduction by Maxwell Staniforth, Penguin, New York, 1981.
  • McNeill, William H. Plagues and Peoples. Bantam Doubleday Dell Publishing Group, Inc., New York, 1976. ISBN 0-385-12122-9.
  • Pulleyblank, Edwin G. "The Roman Empire as Known to Han China", Journal of the American Oriental Society, Vol. 119, (1999), pp. 71–79
  • de Crespigny, Rafe. (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Koninklijke Brill, pp. 514–515, ISBN 978-90-04-15605-0.
  • Zinsser, Hans. Rats, Lice and History: A Chronicle of Disease, Plagues, and Pestilence (1935). Reprinted by Black Dog & Leventhal Publishers, Inc. in 1996. ISBN 1-884822-47-9.

Новое сообщение