Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง
โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง (Chronic traumatic encephalopathy) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Traumatic encephalopathy syndrome, dementia pugilistica, punch drunk syndrome |
สมองปกติ (ซ้าย) เปรียบเทียบกับสมองผู้ป่วยโรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง (ขวา) | |
สาขาวิชา | ประสาทวิทยา, จิตเวชศาสตร์, เวชศาสตร์การกีฬา |
อาการ | Behavioral problems, mood problems, problems with thinking |
ภาวะแทรกซ้อน | Brain damage, dementia,aggression, depression, suicide |
การตั้งต้น | Years after initial injuries |
สาเหตุ | Repeated head injuries |
ปัจจัยเสี่ยง | Contact sports, military, domestic abuse, repeated banging of the head |
วิธีวินิจฉัย | Autopsy |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Alzheimer's disease, Parkinson's disease |
การรักษา | Supportive care |
ความชุก | Uncertain |
โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง เป็นโรคระบบประสาทเสื่อมชนิดหนึ่ง สัมพันธ์กับการได้รับการกระทบกระแทกที่ศีรษะซ้ำๆ อาการของโรคสมองที่พบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ ได้แก่ ปัญหาด้านพฤติกรรม ปัญหาด้านอารมณ์ และปัญหาด้านสติปัญญา เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นภาวะสมองเสื่อม ยังไม่มีข้อสรุปว่าภาวะนี้สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายหรือไม่
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาที่เล่นกีฬาที่เป็นการต่อสู้ที่มีการกระทบกระแทกรุนแรง เช่น มวยสากล, มวยเตะ (คิกบ็อกซิ่ง), ศิลปะการต่อสู้แบบผสม, มวยไทย เป็นต้น จึงมีชื่อเดิมว่าโรคสมองเสื่อมในนักมวย (dementia pugillistica) นอกจากนี้ยังพบได้ในกีฬาที่มีการปะทะ เช่น อเมริกันฟุตบอล, ออสเตรเลี่ยน รูลส์ ฟุตบอล, มวยปล้ำ, ฮอกกี้น้ำแข็ง, รักบี้, ฟุตบอลสมาคม และกีฬากึ่งปะทะ เช่น เบสบอล อีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ เป็นทหาร, มีประวัติความรุนแรงในครอบครัว, และการกระแทกซ้ำๆ ที่ศีรษะ จำนวนครั้งของการกระทบกระแทกที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด การวินิจฉัยยืนยันยังคงอาศัยการชันสูตรศพ โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคความผิดปกติของโปรตีนเทา
ยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคนี้ ในกลุ่มผู้ที่มีประวัติบาดเจ็บที่ศีรษะบ่อยครั้งจะพบเป็นโรคนี้ประมาณ 30% ส่วนความชุกในประชากรทั่วไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เริ่มมีการศึกษาถึงการบาดเจ็บต่อสมองในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะบ่อยครั้งตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1920 ซึ่งโรคนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ dementia pugillistica หรือ กลุ่มอาการเมาหมัด มีการเสนอให้กีฬาบางชนิดปรับปรุงกติกาการแข่งขันเพื่อป้องกันภาวะนี้
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค |
---|