Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์
ส่วนผสมประกอบด้วย | |
---|---|
Lopinavir | ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส |
Ritonavir | ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส (ตัวเร่งเภสัชจลนศาสตร์) |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | Kaletra, Aluvia |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a602015 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ทางปาก |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
KEGG | |
NIAID ChemDB | |
7 7 (what is this?) (verify) | |
โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (Lopinavir/ritonavir, LPV/r) มีชื่อทางการค้าว่า Kaletra (และชื่ออื่น ๆ) เป็นยาสูตรผสมที่มีสัดส่วนยาคงที่สำหรับการรักษาและป้องกันเอชไอวี/เอดส์ สูตรยารวมโลปินาเวียร์ เข้ากับริโทนาเวียร์ขนาดต่ำ โดยทั่วไปจะแนะนำให้ใช้ร่วมกับยาต้านรีโทรไวรัสอื่น ๆ อาจใช้ยาสำหรับการป้องกัน หลังจากได้รับบาดเจ็บจากเข็มหรือการสัมผัสอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยใช้การรับประทานทางปากซึ่งเป็นยาเม็ด, แคปซูล หรือสารละลาย
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องเสีย, อาเจียน, อ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ ผลข้างเคียงที่รุนแรงอาจรวมถึง ตับอ่อนอักเสบ, ปัญหาที่ตับ และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีการใช้ทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์ และค่อนข้างปลอดภัย ยาทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ย่อยโปรตีนเอชไอวี ริโทนาเวียร์ทำงานโดย ชะลอการสลายของโลปินาเวียร์
โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ได้รับอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐในปี พ.ศ. 2543 และอยู่ในรายชื่อยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุดที่จำเป็นในระบบสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในประเทศกำลังพัฒนา (ราคาขายส่ง) คือ 18.96 ถึง 113.52 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ในสหรัฐเนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายเป็นยาชื่อสามัญ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 200 เหรียญสหรัฐต่อเดือน สำหรับกรณีทั่วไปในปี พ.ศ. 2559
การใช้ทางการแพทย์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ เป็นส่วนหนึ่งของสูตรผสมที่นิยมใช้สำหรับการบำบัดเอชไอวีในขั้นแรก ที่ได้รับการแนะนำโดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ
ผลข้างเคียง
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยที่สุดของยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ที่ตรวจพบคืออาการท้องเสียและคลื่นไส้ ในการทดลองทางคลินิกที่สำคัญพบว่ามีอาการท้องร่วงปานกลางถึงรุนแรงในผู้ป่วยมากถึง 27% และมีอาการคลื่นไส้ปานกลาง ถึงรุนแรงมากถึง 16% ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดท้อง, อาการอ่อนเพลีย, ปวดหัว, อาเจียน และโดยเฉพาะในเด็กพบผื่นขึ้น
ค่าเอนไซม์ตับที่สูงขึ้นและภาวะสารไขมันสูงในเลือด ทั้งภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (hypertriglyceridemia) และภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด (hypercholesterolemia) ก็มักจะพบในระหว่างกระบวนการรักษาด้วยยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์
โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ได้รับการคาดว่ามีระดับของปฏิกริยาที่แปรปรวนเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ที่เป็นตัวถูกเปลี่ยนของเอนไซม์ CYP3A และ/หรือไกลโคโปรตีน P-gp เช่นกัน
ผู้ที่มีรูปร่างหัวใจผิดปกติ, มีความผิดปกติของระบบการนำไฟฟ้าหัวใจมาก่อน, มีโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ควรใช้ยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ด้วยความระมัดระวัง
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้ประกาศเตือนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร้ายแรง ซึ่งได้รับรายงานในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ทางปากในรูปสารละลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะมีส่วนประกอบที่มีตัวทำละลายโพรพิลีนไกลคอล พวกเขาแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาในทารกคลอดก่อนกำหนด
ประวัติ
แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส (จากการแยกบริษัท ปัจจุบันคือ Abbvie) เป็นหนึ่งในผู้ใช้รายแรก ๆ ของเทคโนโลยี Advanced Photon Source (APS) จากแหล่งกำเนิดแสงการแผ่รังสีซินโครตรอนแห่งชาติที่ Argonne National Laboratory ของสหรัฐ โครงการวิจัยขั้นต้นคือการมุ่งเน้นไปที่การศึกษาโปรตีนจากไวรัสเอชไอวี (HIV) โดยการใช้เส้นลำแสง APS สำหรับการสร้างภาพโครงสร้างผลึกด้วยรังสีเอกซ์ ทำให้นักวิจัยได้ทราบลักษณะของโครงสร้างโปรตีนของไวรัส ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถกำหนดแนวทางในการพัฒนาสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสของไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นเอนไซม์เป้าหมายที่สำคัญที่ทำหน้าที่ผลิตโพลีโปรตีนเอชไอวีของไวรัสภายหลังการติดเชื้อ อันเป็นกลไกในการสืบต่อวัฏจักรชีวิตของไวรัส ผลจากวิธีการออกแบบยาจากฐานการวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้เทคโนโลยี APS ดังกล่าว แอ๊บบอตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสและหยุดการจำลองแบบตัวเองของไวรัสได้
โลปินาเวียร์ ได้รับการพัฒนาโดยแอ๊บบอต ในความพยายามของบริษัทที่จะปรับปรุงสารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอสก่อนหน้านี้คือ ริโทนาเวียร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารที่มีผลในการจับกับโปรตีนในน้ำเลือด (ลดการแทรกแซงจากซีรั่มบนสารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส) และคุณสมบัติการต้านทานเอชไอวี (ลดการที่ไวรัสจะพัฒนาความต้านทานต่อยา) ในการให้ยาโลปินาเวียร์ชนิดเดียว พบว่ามีการดูดซึมไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับในสารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอสของไวรัสเอชไอวีหลาย ๆ ชนิด ปริมาณของยาในกระแสโลหิตจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการใช้ยาริโทนาเวียร์ในปริมาณต่ำ ซึ่งมีอำนาจในการยับยั้งเอนไซม์ไซโตโครม P450 3A4 ของลำไส้และตับ อันเป็นกลไกลดระดับยาผ่านแคแทบอลิซึม ดังนั้นแอ๊บบอตจึงใช้กลยุทธ์ของการให้ยาโลปินาเวียร์ร่วมกับการใช้ยาริโทนาเวียร์ปริมาณต่ำ ในการรักษายับยั้งเชื้อเอชไอวี
โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 และจากองค์การยาสหภาพยุโรป (EMA) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2544
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ในระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลอิสราเอลประกาศว่าจะบังคับให้ AbbVie ออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรสำหรับ โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ในการตอบสนองทางบริษัท AbbVie ประกาศว่าจะยุติการบังคับใช้สิทธิบัตรในยาโดยสิ้นเชิง
สังคมและวัฒนธรรม
ราคา
ผลที่ตามมาจากราคาที่สูงและการแพร่กระจายของการติดเชื้อเอชไอวี รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการบังคับใช้สิทธิเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 เพื่อผลิตและ/หรือนำเข้ายาชื่อสามัญ (generic drug) ของโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส ได้ถอนการจดทะเบียนยาโลปินาเวียร์ และยาตัวใหม่อื่น ๆ อีกเจ็ดตัวในประเทศไทยโดยอ้างว่ารัฐบาลไทยขาดความเคารพในสิทธิบัตร ทัศนคติของแอ๊บบอตถูกประณามจากองค์การนอกภาครัฐหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงการประท้วงโดยการโจมตีทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ริเริ่มโดยแอคอัพ-ปารีส (Act Up-Paris) และมีการเรียกร้องต่อสาธารณะโดยองค์กรพัฒนาเอกชนของฝรั่งเศส AIDES ให้คว่ำบาตรยาของแอ๊บบอตทั้งหมด
รูปแบบของยา
รูปแบบยาเม็ดชนิดทนความร้อนที่สามารถให้รับประทานทางปาก ได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในเด็ก
การวิจัย
ในขณะที่ข้อมูลดูมีประโยชน์สำหรับโรคซาร์ส ที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-1 แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ประโยชน์สำหรับโรคโควิด-19 นั้นยังไม่ชัดเจนการทดลองแบบสุ่มและไม่อำพรางในปี 2563 พบว่าโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ไม่เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ในการทดลองนี้โดยทั่วไปเริ่มให้ยาประมาณ 13 วันหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการ
แหล่งข้อมูลอื่น
- "Lopinavir mixture with ritonavir". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.
- "Fact sheet on lopinavir and ritonavir (Lpv/R) oral pellets". องค์การอนามัยโลก (WHO). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2015.