Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ไดคลอโรมีเทน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ไดคลอโรมีเทน
Methylene Chloride.PNG
Dichloromethane-3D-vdW.png
ชื่อตาม IUPAC Dichloromethane
ชื่ออื่น Methylene chloride, methylene dichloride, Solmethine, Narkotil, Solaesthin, Di-clo, Freon 30, R-30, DCM, UN 1593, MDC
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [75-09-2][CAS]
PubChem 6344
EC number 200-838-9
KEGG C02271
ChEBI 15767
RTECS number PA8050000
SMILES
 
InChI
 
คุณสมบัติ
สูตรเคมี CH2Cl2
มวลต่อหนึ่งโมล 84.93 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ Colorless liquid
ความหนาแน่น 1.3266 g/cm³, liquid
จุดหลอมเหลว

-96.7 °C (175.7 K)

จุดเดือด

40 °C (312.8 K)

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 13 g/l at 20 °C
ความดันไอ 47 kPa at 20 °C
ความอันตราย
อันตรายหลัก Harmful (Xn), Carc. Cat. 2B
NFPA 704
NFPA 704.svg
1
2
0
 
R-phrases R40
S-phrases S23, S24/25, S36/37
จุดวาบไฟ None
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

ไดคลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ (อังกฤษ: Dichloromethane หรือ Methylene chloride) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง มีสูตรเป็น CH2Cl2 เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารประกอบคลอโรคาร์บอนที่มีอันตรายน้อยที่สุดชนิดหนึ่ง

การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิตย์

ปฏิกิริยาและผลิตภัณฑ์

ในทางอุตสาหกรรม ไดคลอโรมีเทนถูกผลิตขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างเมทิลคลอไรด์ หรือมีเทน กับแก๊สคลอรีน ที่อุณหภูมิ 400-500 °C ที่อุณหภูมิในช่วงนี้ ทั้งมีเทนและเมทิลคลอไรด์จะผ่านปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคลอรีนขึ้น

CH4 + Cl2CH3Cl + HCl

CH3Cl + Cl2CH2Cl2 + HCl

CH2Cl2 + Cl2CHCl3 + HCl

CHCl3 + Cl2CCl4 + HCl

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเหล่านี้ ได้แก่ เมทิลคลอไรด์ ไดคลอโรมีเทน คลอโรฟอร์ม และคาร์บอนเตตระคลอไรด์ สารประกอบเหล่านี้จะถูกแยกโดยการกลั่น

การนำไปใช้ประโยชน์

เนื่องจากไดคลอโรมีเทนระเหยได้ง่าย และสามารถละลายสารประกอบอินทรีย์ได้หลายชนิด จึงเป็นตัวทำละลายที่มีประโยชน์มากในหลาย ๆ กระบวนการทางเคมี โดยทั่วไปมักใช้สำหรับล้างสีออกจากภาพวาด ในทางอุตสาหกรรมอาหาร จะใช้ในการสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ และใช้ผลิตสารปรุงแต่งกลิ่นหรือรส หรือล้างคราบนำ้มัน

สภาพความเป็นพิษ

แม้ว่าไดคลอโรมีเทนจะเป็นสารคลอโรไฮโดรคาร์บอนที่มีความเป็นพิษน้อยที่สุด แต่เนื่องจากมีสมบัติระเหยได้ง่าย จึงเกิดอันตรายจากการสูดดมได้ เมื่อร่างกายเผาผลาญไดคลอโรมีเทน จะได้แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สพิษ และเมื่อไดคลอโรมีเทนสัมผัสกับผิวหนัง จะทำละลายไขมันบางส่วนบนผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือแห้งแตก

ไดคลอโรมีเทนยังถือได้ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง เนื่องจากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่ามีส่วนทำให้เกิดมะเร็งที่ปอด ตับ และตับอ่อนในสัตว์ และยังมีส่วนทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม และเป็นพิษต่อทารกหรือตัวอ่อนในครรภ์

ในหลาย ๆ ประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่มีไดคลอโรมีเทนเป็นส่วนประกอบต้องมีข้อความเตือนถึงอันตรายต่อสุขภาพ


Новое сообщение