Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ไลโคปีน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ไลโคปีน
Lycopene powder.jpg
Lycopene.svg
Lycopene-3D-balls-(rotated).png
ชื่ออื่น ψ,ψ-Carotene
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [502-65-8][CAS]
PubChem 446925
EC number 207-949-1
ChEBI 15948
SMILES
 
InChI
 
ChemSpider ID 394156
คุณสมบัติ
สูตรโมเลกุล C40H56
มวลโมเลกุล 536.87 g mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ของแข็งสีแดงเข้ม
ความหนาแน่น 0.889 g/cm3
จุดหลอมเหลว

177 °C, 450 K, 351 °F

จุดเดือด

660.9 °C, 934 K, 1222 °F

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ ไม่ละลาย
ความสามารถละลายได้ ละลายใน CS2, CHCl3, THF, อีเทอร์, C6H14, น้ำมันพืช
ไม่ละลายใน CH3OH, C2H5OH
ความสามารถละลายได้ ใน hexane 1 g/L (14 °C)
ความดันไอ 1.33·10−16 mmHg (25 °C)
ความอันตราย
อันตรายหลัก ติดไฟ
NFPA 704
NFPA 704.svg
1
0
0
 
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี
ชีวสังเคราะห์ของไลโคปีน

ไลโคปีน (อังกฤษ: lycopene) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดแคโรทีน (แคโรทีนอยด์ที่ไม่มีอะตอมออกซิเจน) ลักษณะเป็นของแข็ง ไม่ละลายน้ำ มีสูตรเคมีคือ C40H56 มีมวลโมเลกุล 536.9 g/mol ไลโคปีนเป็นสารไฮโดรคาร์บอนชนิดเทอร์พีนที่มีโครงสร้างเป็นเส้นตรงยาว ประกอบด้วยหมู่ไอโซพรีน 8 หมู่ที่เชื่อมด้วยพันธะคู่ 13 พันธะ โดยพันธะคู่ 11 พันธะเป็นแบบคอนจูเกต ทำให้ไลโคปีนสามารถดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันได้ ยกเว้นสีแดงซึ่งมีความยาวคลื่นมากที่สุดจึงสะท้อนกลับ ทำให้ไลโคปีนปรากฏเป็นสีแดง ชื่อไลโคปีนมาจากชื่อชนิดของมะเขือเทศคือ lycopersicum

พืชและสาหร่ายใช้ไลโคปีนในการสังเคราะห์แสงและกลไกป้องกันการได้รับแสงมากเกิน โดยสังเคราะห์จากการเปลี่ยนกรดเมวาโลนิกเป็นไดเมทิลอัลลิลไพโรฟอสเฟต จากนั้นจะควบแน่นกับ 3 โมเลกุลของไอโซเพนเทนิลไพโรฟอสเฟตกลายเป็นเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต และสลายกลายเป็นไฟโตอีน ก่อนไฟโตอีนจะถูกเอนไซม์ไฟโตอีนดีแซทิวเรสสลายกลายเป็นไลโคปีน เนื่องจากเป็นสารที่ละลายในไขมัน ไลโคปีนจึงต้องจับกับกรดน้ำดีและไขมันเพื่อให้ดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้ ไลโคปีนไม่ใช่สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีการรายงานถึงปริมาณที่เหมาะสมของการรับไลโคปีนในแต่ละวันอยู่ที่ 75 มิลลิกรัม/วัน

ไลโคปีนพบในผักผลไม้สีแดงส้ม ได้แก่ มะเขือเทศ ฟักข้าว แตงโม มะละกอ และพริกหยวก เมื่อใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ไลโคปีนจะมีเลขอีคือ E160d ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ก่อให้เกิดอนูมุลอิสระซึ่งส่งผลเสียต่อเซลล์ และมีงานวิจัยขั้นต้นที่บ่งชี้ว่าไลโคปีนอาจช่วยยับยั้งโรคระบบหัวใจหลอดเลือดและมะเร็งต่อมลูกหมาก

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение