Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ไอโซเทรติโนอิน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ไอโซเทรติโนอิน
Isotretinoin structure.svg
Isotretinoin3d.svg
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้า แอคคูเทน, ไอโซเทน และอื่นๆ
AHFS/Drugs.com โมโนกราฟ
MedlinePlus a681043
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: X (ความเสี่ยงสูง)
  • US: X (มีอันตราย)
ช่องทางการรับยา ปาก, แต้มเฉพาะจุด
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • CA: ℞-only
  • UK: POM (Prescription only)
  • US: ℞-only
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีน 99.9%
การเปลี่ยนแปลงยา ตับ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 10–20 ชั่วโมง
การขับออก ปัสสาวะและอุจจาระ
ตัวบ่งชี้
  • (2Z,4E,6E,8E)-3,7-Dimethyl-9-(2,6,6-trimethylcyclohex-1-en-1-yl)nona-2,4,6,8-tetraenoic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard 100.022.996
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตร C20H28O2
มวลต่อโมล 300.44 g/mol
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C(O)\C=C(/C=C/C=C(/C=C/C1=C(/CCCC1(C)C)C)C)C
  • InChI=1S/C20H28O2/c1-15(8-6-9-16(2)14-19(21)22)11-12-18-17(3)10-7-13-20(18,4)5/h6,8-9,11-12,14H,7,10,13H2,1-5H3,(H,21,22)/b9-6+,12-11+,15-8+,16-14- Yes check.svg 7
  • Key:SHGAZHPCJJPHSC-XFYACQKRSA-N Yes check.svg 7
  (verify)
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

ไอโซเทรติโนอิน (Isotretinoin) หรือชื่อทางการค้าคือ แอคคูเทน (Accutane), แอคโนติน (Acnotin), ไอโซเทน (Isotane) และอื่นๆ เป็นยาหลักที่ใช้รักษาสิวขั้นรุนแรง และยังถูกใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอื่นๆ อาทิมะเร็งผิวหนัง, โรคเด็กดักแแด้, โรคหนังตาย และโรคผิวหนังเกล็ดปลา ยานี้เป็นยาประเภทเรตินอยด์ที่เกิดจากพันธะทางเคมีของวิตามินเอซึ่งมีอยู่ปริมาณเล็กน้อยในร่างกายตามธรรมชาติ ไอโซเมอร์ของไอโซเทรติโนอินมีชื่อว่า "เทรติโนอิน" ซึ่งเป็นยารักษาสิวเช่นกัน

ยาไอโซเทรติโนอินถูกใช้งานเพื่อรักษาสิวขั้นรุนแรง ยาจะกดการทำงานของต่อมไขมัน, ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ซึ่งเป็นสาเหตุของสิว, ลดการอักเสบของสิว และยับยั้งการสร้างคอมีโดน ยาไอโซเทรติโนอินมีทั้งแบบยากินและแบบยาแบบแต้มเฉพาะจุด ควรเก็บรักษายาไว้ในที่เย็นและแห้ง

ผลของยานี้จะเห็นชัดเจนหลังเริ่มใช้ยาต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งในระยะแรกของการใช้ยาอาจพบอาการสิวเห่อเพิ่มขึ้นได้ ควรใช้ยาต่อเนื่องจนครบระยะเวลาที่แพทย์สั่งใช้ ผลข้างเคียงทั่วไปอื่นๆได้แก่ ภาวะโลหิตจาง, ปวดในข้อ, อาการปากแห้ง, ผิวหนังแห้งเปราะบาง และเพิ่มความเสี่ยงผิวไหม้จากการออกแดด ผลข้างเคียงที่พบน้อยรายได้แก่ มีสิวขึ้นและปวดกล้ามเนื้อ, ปวดหัว เป็นต้น สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ยานี้เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความพิการของทารกแรกเกิด สตรีให้นมบุตรควรงดใช้ยานี้เช่นกันเนื่องจากอาจทำให้ทารกมีพัฒนาการช้าลง ผู้ใช้ยานี้ห้ามตั้งครรภ์หรือบริจาคเลือดในเวลาหนึ่งเดือนหลังเลิกใช้ยา ยานี้อาจหยุดยั้งการเจริญของกระดูกยาวของเยาวชน ซึ่งส่งผลให้ส่วนสูงไม่เพิ่ม

ไอโซเทรติโนอินถูกจดสิทธิบัตรในปีค.ศ. 1969 และได้รับอนุมัติให้ใช้งานทางการแพทย์ในปีค.ศ. 1982 และกลายเป็นยาขายดีในหลายประเทศ ไอโซเทรติโนอินถือเป็นยาควบคุมพิเศษ จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ก่อนจึงจะจ่ายยาได้


Новое сообщение