Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ไฮโดรเจนซัลไฟด์
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ | |
---|---|
ชื่อตาม IUPAC | Hydrogen sulfide, sulfane |
ชื่ออื่น | Sulfuretted hydrogen; sulfane; Hydrogen Sulfide; sulfur hydride; sulfurated hydrogen; hydrosulfuric acid; ก๊าซท่อระบายน้ำ; stink damp; ก๊าซไข่เน่า; สารกำมะถัน |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [7783-06-4][CAS] |
PubChem | 402 |
EC number | 231-977-3 |
UN number | 1053 |
RTECS number | MX1225000 |
ChemSpider ID | 391 |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | H2S |
มวลต่อหนึ่งโมล | 34.082 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | Colorless gas. |
ความหนาแน่น | 1.363 g/L, gas. |
จุดหลอมเหลว |
-82.30 °C (190.85 K) |
จุดเดือด |
-60.28 °C (212.87 K) |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | 0.4 g/100 mL (20 °C) 0.25 g/100 mL (40 °C) |
ความสามารถละลายได้ | soluble in CS2, methanol, acetone; very soluble in alkanolamine |
pKa | 6.89 19±2 (see text) |
ดัชนีหักเหแสง (nD) | 1.000644 (0 °C) |
โครงสร้าง | |
รูปร่างโมเลกุล | Bent |
Dipole moment | 0.97 D |
อุณหเคมี | |
Std enthalpy of formation ΔfH |
-0.6044 kJ/g |
ความอันตราย | |
การจำแนกของ EU | Highly Flammable (F+) Very Toxic (T+) Dangerous for the environment (N) |
EU Index | 016-001-00-4 |
NFPA 704 | |
R-phrases | R12, R26, R50 |
S-phrases | (S1/2), S9, S16, S36, S38, S45, S61 |
จุดวาบไฟ | flammable gas |
อุณหภูมิที่ติดไฟด้วยตัวเอง | 260 °C |
Explosive limits | 4.3–46% |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (อังกฤษ: hydrogen sulfide หรือ hydrogen sulphide) หรือ แก๊สไข่เน่า เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีเป็น H2S ไม่มีสี, เป็นพิษ และเป็นแก๊สไวไฟ มีกลิ่นเน่าเหม็นคล้ายไข่เน่า บ่อยครั้งเป็นผลจากแบคทีเรียย่อยสลายซัลไฟต์ในสารอนินทรีย์ในสภาวะขาดออกซิเจน เช่นใน หนองน้ำและท่อระบายน้ำ (การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน) นอกจากนั้นยังพบในแก๊สจากภูเขาไฟ ก๊าซธรรมชาติ และบ่อน้ำบางบ่อ กลิ่นของ H2S ไม่ใช่คุณสมบัติโดยทั่วไปของกำมะถัน ซึ่งในความจริงแล้วไม่มีกลิ่น
คาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ นักเคมีชาวสวีเดนเป็นผู้ค้นพบไฮโดรเจนซัลไฟด์ในปี 1777
คุณสมบัติ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์หนาแน่นกว่าอากาศเล็กน้อย ส่วนผสมระหว่าง H2S กับอากาศ สามารถระเบิดได้ เมื่อไฮโดรเจนซัลไฟด์เผาไหม้ในออกซิเจนจะให้เปลวไฟสีน้ำเงินและเกิดซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ดังสมการ
2H2S + 3O2 → 2SO2 + 2H2O
โดยทั่วไปแล้วไฮโดรเจนซัลไฟด์มีฤทธิ์เป็นตัวรีดิวซ์ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาวะเบส ซึ่งจะอยู่ในรูป SH-
ในอุณหภูมิสูง หรือเมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยาไฮโดรเจนซัลไฟด์สามารถทำปฏิกิริยากับซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดเป็นกำมะถันและน้ำดังสมการ
2H2S + SO2 → 3S + 2H2O
ปฏิกิริยาดังกล่าว ใช้ในกระบวนการเคลาส์ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในภาคอุตสากรรม
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ละลายน้ำได้เล็กน้อย และสามารถแสดงฤทธิ์เป็นกรดได้ (pKa = 6.9 ในสารละลาย 0.01-0.1M ที่ 18 °C) สารละลายของไฮโดรเจนซัลไฟด์ไม่มีสี แต่เมื่อถูกอากาศ จะถูกออกซิไดส์อย่างช้า ๆ เกิดความขุ่นจากกำมะถันซึ่งไม่ละลายน้ำ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ทำปฏิกิริยากับโลหะหลายชนิดเกิดเป็นเกลือซัลไฟด์ ซึ่งมักเป็นสีดำและไม่ละลายน้ำ ดังนั้นจึงมักใช้กระดาษชุบเลด(II)แอซิเตตในการทดสอบไฮโดรเจนซัลไฟด์ การนำโลหะซัลไฟด์ไปใส่กรดมักเกิดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์
การผลิต
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ โดยทั่วไปแล้วผลิตโดยการแยกจากแก๊สธรรมชาติที่มี H2S ปน นอกจากนี้ยังอาจผลิตโดยปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนกับกำมะถันเหลวที่อุณหภูมิที่ 450 °C ซึ่งอาจใช้ไฮโดรคาร์บอนเป็นแหล่งคาร์บอนได้
แบคทีเรียที่รีดิวซ์ซัลเฟตหรือซัลเฟอร์ สามารถสร้างพลังงานในสภาวะออกซิเจนต่ำโดยใช้ซัลเฟตหรือซัลเฟอร์เพื่อออกซิไดส์สารประกอบอินทรีย์ของไฮโดรเจน และเกิด H2S เป็นผลพลอยได้
วิธีการสังเคราะห์ปกติในห้องปฏิบัติการ ใช้ไอเอิร์น(II)ซัลไฟด์กับกรดแก่ ดังสมการ
FeS + 2 HCl → FeCl2 + H2S
ในการวิเคราะห์สารอนินทรีย์เชิงคุณภาพ สามารถใช้ไทโออะเซตาไมด์ในการผลิต H2S:
CH3C(S)NH2 + H2O → CH3C(O)NH2 + H2S
ซัลไฟด์ของธาตุโลหะและอโลหะหลายชนิด เช่น อะลูมิเนียมซัลไฟด์ ฟอสฟอรัสเพนตะซัลไฟด์ และซิลิคอนไดซัลไฟด์ เมื่อโดนน้ำแล้วจะให้ไฮโดรเจนซัลไฟด์:
Al2S3 + 6 H2O → 3 H2S + 2 Al(OH)3
P4S10 + 16 H2O → 10 H2S + 4 H3PO4
SiS2 + 2 H2O → 2 H2S + SiO2
นอกจากนี้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ยังผลิตได้จากการให้ความร้อนกับกำมะถันกับสารอินทรีย์ หรือการรีดิวซ์สารอินทรีย์ที่มีกำมะถันด้วยไฮโดรเจน
การใช้งาน
การผลิตกำมะถัน สารประกอบอินทรีย์ที่มีกำมะถัน และซัลไฟด์ของโลหะแอลคาไล
ประโยชน์สำคัญของไฮโดรเจนซัลไฟด์ คือการเป็นสารตั้งต้นในการผลิตธาตุกำมะถัน สารออร์กาโนซัลเฟอร์หลายชนิดก็ผลิตจากไฮโดรเจนซัลไฟด์ เช่น มีเทนไทออล อีเทนไทออล และกรดไทโอไกลโคลิก
เมื่อทำปฏิกิริยากับเบสของโลหะแอลคาไล ไฮโดรเจนซัลไฟด์จะเกิดเป็นเกลือไฮโดรซัลไฟด์และซัลไฟด์ตามลำดับ เช่น:
- H2S + NaOH → NaSH + H2O
- NaSH + NaOH → Na2S + H2O
ซึ่ง NaSH และ Na2S มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมกระดาษ โดยไปทำลายพันธะในเยื่อเคมีในกระบวนการคราฟท์
ในทางกลับกัน เกลือเหล่านี้สามารถเกิดปฏิกิริยากลับไปเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์ในกรดได้ จึงใช้เป็นแหล่งให้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์บางตัว