Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
กลุ่มอาการเรย์โนด์
กลุ่มอาการเรย์โนด์ | |
---|---|
ชื่ออื่น | Raynaud's, Raynaud's disease, Raynaud's phenomenon, Raynaud's syndrome |
มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์โน | |
การออกเสียง |
|
สาขาวิชา | วิทยารูมาตอยด์ |
อาการ | ตรงที่เกิดอาการกลายเป็นสีขาว, จากนั้นน้ำเงิน, จากนั้นแดง, อาการแสบไหม้ |
ภาวะแทรกซ้อน | ปวดผิวหนัง, เนื้อตายเน่า |
การตั้งต้น | 15–30 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง |
ระยะดำเนินโรค | เป็นได้ครั้งละหลายชั่วโมง |
ปัจจัยเสี่ยง | ความหนาวเย็น, ความเครียดทางจิตใจ |
วิธีวินิจฉัย | ตามอาการ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | คอซัลเกีย, เอริโธรเมลัลเกีย |
การรักษา | หลีกเลี่ยงความเย็น, ยายับยั้งแคลเซียมชานเนิล, อิโลปรอสต์ |
ความชุก | 4% ของประชากร |
กลุ่มอาการเรย์โนด์ (หรือ "เรย์โน" ตามการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส; อังกฤษ: Raynaud syndrome) หรือปรากฏการณ์เรย์โนด์ (อังกฤษ: Raynaud's phenomenon) เป็นอาการทางการแพทย์ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศส ออกุสต์ กาเบรียล มอริซ เรย์โน ผู้อธิบายอาการนี้ครั้งแรกในวิทยานิพนธ์ของเขาในปี 1862 อาการเรย์โนเกิดจากการหดเกร็งของหลอดเลือดฝอย ส่งผลให้เกิดชุด (episodes) ของการไหลเวียนเลือดที่ลดลงในหลอดเลือดฝอยตอนปลาย โดยทั่วไปมักปรากฏอาการนี้นิ้วมือ และบ้างที่นิ้วเท้า และพบได้น้อยในจมูก, หู และริมฝีปาก ช่วงเหล่านี้ส่งผลให้ผิวหนังเกิดกลายเป็นสีขาว จากนั้นจึงเป็นสีน้ำเงิน บ่อยครั้งอาจมีอาการชา หรือเจ็บปวด และทันใดที่การไหลเวียนเลือดกลับคืนมา บริเวณผิวหนังตรงนั้นจะกลายเป็นสีแดงและมีอาการแสบไหม้ โดยทั่วไปเกิดขึ้นครั้งละหลายนาที แต่บางกรณีอาจเกิดเป็นชั่วโมง
ตัวกระตุ้นโดยทั่วไปคือความหนาวเย็นและภาวะเครียดทางอารมณ์ อาการเรย์โนยังแบ่งออกเป็นเรย์โนปฐมภูมิ (Primary Raynaud's) หรือไอดิโอพาติก ซึ่งเกิดจากอาการหรือสาเหตุที่ไม่ทราบ ส่วนเรย์โนทุติยภูมิ (Secondary Raynaud's) เกิดจากอาการอื่น มีวัยเกิดโรคที่แก่กว่า และมีอาการเจ็บปวดที่รุนแรงกว่ามาก รวมถึงอาจปรากฏแบบอสมมาตรและเกี่ยวกับบาดแผลบนผิวหนัง เรย์โนทุติยภูมิอาจเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อคอนเนคทีฟ เช่น สเคลอโรเดอร์มา และ ลูปัส, อาการบาดเจ็บที่มือ, การสั่นไหวเป็นเวลาต่อเนื่อวยาวนาน, การสูบบุหรี่, ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ และยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด โดยทั่วไปการวินิจฉัยจะดำเนินไปตามอาการ
การรักษาขั้นต้นคือการป้องกันไม่ให้ตรงที่เกิดอาการถูกความหนาวเย็น ส่วนการควบคุมอื่น ๆ อาจมีการสั่งห้ามใช้นิโคตินหรือตัวกระตุ้นอื่น ๆ บางกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นอาจให้ยากลุ่มยับยั้งแคลเซียมชานเนิล และ อิโลปรอสต์ ในกรณีที่ร้ายแรงมากบางกรณีอาจพบการเจ็บปวดของผิวหนัง หรือ การตายเน่าของเนื้อเยื่อ ซึ่งพบได้ยากมาก
มีผู้ป่วยด้วยอาการนี้ราว 4% ของประชากร เวลาเกิดโรคอยู่ตั้งแต่ 15 ถึง 30 ปี และพบมากกว่าในผู้หญิง ส่วนเรย์โนแบบทุติยภูมิมีกพบในผู้สูงอายุมากกว่า ทั้งสองแบบของเรย์โนพบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: กลุ่มอาการเรย์โนด์ |
- What Is Raynaud's Disease at National Heart, Lung, and Blood Institute
- Questions and Answers about Raynaud’s Phenomenon at National Institutes of Health
- Bakst R, Merola JF, Franks AG, Sanchez M (October 2008). "Raynaud's phenomenon: pathogenesis and management". Journal of the American Academy of Dermatology. 59 (4): 633–53. doi:10.1016/j.jaad.2008.06.004. PMID 18656283.
หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงย่อย และหลอดเลือดฝอย |
|
||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หลอดเลือดดำ |
|
||||||||||||||||
Arteries or veins | |||||||||||||||||
ความดันเลือด |
|
||||||||||||||||
|