Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ Personality disorders | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F60 |
ICD-9 | 301.9 |
DiseasesDB | 9889 |
MedlinePlus | 000939 |
eMedicine | article/294307 |
MeSH | D010554 |
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (อังกฤษ: personality disorders, ตัวย่อ PD) เป็นหมวดหมู่ของความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบพฤติกรรม รูปแบบทางประชาน และรูปแบบประสบการณ์ทางใจที่ปรับตัวอย่างไม่เหมาะสม (maladaptive) ที่ยั่งยืน โดยปรากฏในสถานการณ์ต่าง ๆ หลายอย่าง และออกนอกลู่นอกทางอย่างสำคัญจากที่ยอมรับได้ในสังคมและวัฒนธรรมของบุคคลนั้น รูปแบบเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นตั้งแต่เบื้องต้นของชีวิต ยืดหยุ่นไม่ได้ และสัมพันธ์กับความทุกข์กับความพิการในระดับสำคัญ. แต่ว่านิยามที่จำเพาะอาจจะต่างกันได้แล้วแต่ที่มา
เกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่จัดพิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association ตัวย่อ APA) และในหัวข้อ "ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม (mental and behavioral disorders)" ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ตัวย่อ ICD) ที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก DSM-5 รุ่นที่พิมพ์ในปี 2556 กำหนดความผิดปกติทางบุคลิกภาพเช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิต (mental disorders) อื่น ๆ แทนที่จะอยู่ใน "axis" ที่ต่างกันตามที่เคยทำมาก่อน ๆ
บุคลิกภาพตามนิยามของจิตวิทยา เป็นเซตของลักษณะทางพฤติกรรมและทางจิตที่คงทน ที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนต่างกัน ดังนั้น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพจึงกำหนดโดยประสบการณ์ (ทางใจ) และพฤติกรรม ที่ต่างจากมาตรฐานและความคาดหวังของสังคม คนผิดปกติเช่นนี้ อาจประสบความยากลำบากทางประชาน (cognition) ความไวอารมณ์ (emotiveness) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal functioning) และการควบคุมความหุนหันพลันแล่น (impulse control) โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จิตเวชร้อยละ 40-60 จะได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเช่นนี้ จึงเป็นกลุ่มโรคที่วินิจฉัยบ่อยครั้งที่สุดในบรรดาโรคจิตเวช
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพกำหนดโดยรูปแบบพฤติกรรมที่คงทน บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความขัดข้องในชีวิตส่วนตัว ชีวิตทางสังคม หรือทางอาชีพ นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติเช่นนี้ยืดหยุ่นไม่ได้ และแพร่กระจายไปในสถานการณ์มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะมาจากเหตุที่ว่า พฤติกรรมเช่นนี้เข้ากับทัศนคติเกี่ยวกับตน (ego-syntonic) ของบุคคลนั้นได้ ดังนั้น บุคคลนั้นจึงพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่เป็นพฤติกรรมที่อาจมีผลเป็นทักษะจัดการปัญหาและความเครียด (coping skill) ที่ปรับตัวได้อย่างไม่เหมาะสม และนำไปสู่ปัญหาส่วนตัวที่สร้างความวิตกกังวล ความทุกข์ และความเศร้าซึมอย่างรุนแรง รูปแบบพฤติกรรมเช่นนี้จะกำหนดได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและต้นวัยผู้ใหญ่ และในบางกรณีที่พิเศษ ในช่วงวัยเด็ก
มีประเด็นปัญหาหลายอย่างในการจัดหมวดหมู่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คือมีนิยามต่าง ๆ หลายแบบ และเพราะว่าทฤษฎีและการวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติจะต้องเกิดภายในความคาดหวังปกติของสังคม นักวิชาการบางท่านจึงคัดค้านความสมเหตุสมผลของทฤษฎีและการวินิจฉัย เพราะว่าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอาศัยมูลฐานบางอย่างที่เป็นอัตวิสัย (subjective) คือพวกเขาอ้างว่า ทฤษฎีและการวินิจฉัยมีมูลฐานอยู่ที่พิจารณาญาณทางสังคม หรือทางสังคม-การเมืองและทางเศรษฐกิจ (ดังนั้น จึงอาจจะไม่ใช่ปัญหาทางการแพทย์)
การจัดหมวดหมู่
ระบบการจัดหมวดหมู่หลัก 2 อย่างคือ ICD และ DSM ได้พยายามรวมการวินิจฉัยเข้าด้วยกันในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ICD-10 ไม่ได้กำหนดความผิดปกติแบบหลงตัวเอง (narcissistic personality disorder) ต่างหาก ในขณะที่ DSM-5 ไม่ได้กำหนดความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพที่คงทนหลังจากเกิดประสบการณ์หายนะ หรือหลังจากหายป่วยจากโรคทางจิตเวช ICD-10 จัดหมวดความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบจิตเภท (schizotypal personality disorder) ที่ DSM-5 จัด โดยเป็นรูปแบบของโรคจิตเภทแทนที่จะเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ดังนั้น จึงมีทั้งประเด็นปัญหาทางการวินิจฉัยที่ยอมรับกันดีแล้ว และประเด็นที่ยังถกเถียงกันไม่จบสิ้น เกี่ยวกับการแยกแยะความผิดปกติทางบุคลิกภาพหมวดหมู่ต่าง ๆ ออกจากกัน ICD จัด transgenderism (คนข้ามเพศ) ว่าเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ในขณะที่ DSM-5 เลิกจัด transgenderism ว่าเป็นโรคทางจิต แต่สร้างหมวดหมู่ใหม่ที่ต่างกัน คือ gender dysphoria (อารมณ์ละเหี่ยเหตุเพศ)
องค์การอนามัยโลก
ICD-10 ได้รวมหมวดหมู่เกี่ยวกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพ และความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพที่ยั่งยืน ในหัวข้อ "ความผิดปกติทางจิตและทางพฤติกรรม" โดยนิยามว่าเป็นรูปแบบ (ทางจิตและพฤติกรรม) ที่ฝังแน่น และแสดงออกโดยการตอบสนองที่ยืดหยุ่นไม่ได้และสร้างความพิการ ที่แตกต่างอย่างสำคัญจากวิธีการรับรู้ การคิด และความรู้สึกของบุคคลทั่วไปในวัฒนธรรมนั้น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่จำเพาะ (specific) ได้แก่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบระแวง (Paranoid personality disorder) แบบ Schizoid แบบไม่แยแสสังคม (Dissocial) แบบอารมณ์ไม่คงที่ (Emotionally unstable) แบบ Histrionic แบบย้ำคิดย้ำทำ (Anankastic) แบบวิตกกังวลหรือหลีกเลี่ยง (anxious หรือ avoidant) และแบบพึ่งพา (Dependent)
นอกจากนั้นแล้วยังมีหมวด "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ระบุรายละเอียดแบบอื่น" (Others) ซึ่งรวมอาการที่กำหนดว่า วิปริต (eccentric), haltlose (มากจากคำ เยอรมันว่า haltlos แปลว่า "ล่องลอย ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการควบคุม"), ไม่สมวัย (immature), หลงตัวเอง (narcissistic), ดื้อเงียบ (passive-aggressive), และแบบประสาท (psychoneurotic) และก็ยังมีอีกหมวดหนึ่งสำหรับความผิดปกติทางบุคลิกภาพไม่ระบุรายละเอียด (unspecified) ซึ่งรวมอาการเช่น character neurosis และ pathological personality
ยังมีหมวด "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบอื่นและแบบผสม" (Mixed and other personality disorders) กำหนดเป็นอาการที่ทำให้ลำบาก แต่ไม่แสดงรูปแบบของอาการโดยเฉพาะเหมือนกับความผิดปกติที่จำเพาะ และที่สุดก็คือหมวด "การเปลี่ยนแปลงที่ติดต้วของบุคลิกภาพที่ไม่เกิดจากโรคของสมองหรือสมองถูกทำลาย" (Enduring personality changes, not attributable to brain damage and disease) ซึ่งมุ่งหมายเอาอาการที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ที่ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เป็นอาการที่ติดตามความเครียดรุนแรงและยาวนาน หรือติดตามโรคทางจิตเวชอื่น
สมาคมจิตเวชอเมริกัน
ส่วน DSM ซึ่งปัจจุบันเป็นรุ่น DSM-5 ได้ให้คำนิยามทั่วไปของหมวดความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่เน้นว่า เป็นรูปแบบที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นไม่ได้เป็นระยะเวลายาวที่ทำให้เกิดความทุกข์และความพิการอย่างสำคัญ ที่ไม่ได้เกิดจากการใช้สารเสพติดหรืออาการทางแพทย์อย่างอื่น DSM-5 กำหนดความผิดปกติ 10 อย่าง จัดเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม (cluster) และยังมีวินิจฉัยอีก 3 อย่างเกี่ยวกับรูปแบบทางบุคลิกภาพที่ไม่ตรงกับความผิดปกติ 10 อย่างนั้น แต่ก็ยังแสดงลักษณะของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
กลุ่ม A (ความผิดปกติที่แปลกหรือวิปริต)
ความผิดปกติในกลุ่มนี้ บ่อยครั้งสัมพันธ์กับโรคจิตเภท (schizophrenia) อย่างหนึ่งโดยเฉพาะก็คือความผิดปกติแบบจิตเภท (Schizotypal) ที่คนไข้บ่อยครั้งรู้สึกอึดอัดอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้อื่น มีความบิดเบือนทางประชานหรือการรับรู้ และมีพฤติกรรมที่วิปริตหรือพิกล (eccentric) แต่ว่า บุคคลที่มีภาวะกลุ่มนี้ยังเข้าใจความเป็นจริงได้ดีกว่าคนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท โดยทั่วไปแล้ว คนไข้อาจจะขี้ระแวง เข้าใจได้ยากเนื่องจากมีการพูดที่แปลกหรือพิกล และปราศจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แม้ว่าการรับรู้ (perception) ของคนไข้อาจจะแปลก แต่ก็สำคัญที่จะแยกแยะการรับรู้เช่นนั้นจากอาการหลงผิด (delusion) และประสาทหลอน (hallucination) เพราะว่าบุคคลที่มีอาการสองอย่างนั้น จะได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดปกติที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง มีหลักฐานสำคัญที่แสดงนัยว่า บุคคลในอัตราน้อยที่มีความผิดปกติกลุ่มนี้ โดยเฉพาะแบบจิตเภท (schizotypal) มีโอกาสที่จะแย่ลงเป็นโรคจิตเภทหรือความผิดปกติทางจิตเวชอื่น ๆ ความผิดปกติกลุ่มนี้ มีโอกาสสูงขึ้นในบุคคลที่ญาติใกล้ชิด (first-degree) เป็นโรคจิตเภทหรือมีความผิดปกติกลุ่มนี้
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบระแวง (Paranoid personality disorder) กำหนดโดยรูปแบบความสงสัยที่ไม่สมเหตุผลและไม่เชื่อใจผู้อื่น โดยระแวงว่ามุ่งร้าย
- Schizoid personality disorder เป็นการปราศจากความสนใจและการวางเฉยจากความสัมพันธ์ทางสังคม ความไร้อารมณ์ (apathy) และการแสดงออกทางอารมณ์ที่จำกัด
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบจิตเภท (schizotypal personality disorder) เป็นรูปแบบของความอึดอัดอย่างรุนแรงในปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และความบิดเบือนทางประชานและการรับรู้
กลุ่ม B (ความผิดปกติแบบน่าทึ่งเหมือนละคร แบบอารมณ์แรง หรือเอาแน่ไม่ได้)
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder) เป็นรูปแบบที่แพร่ไปทั่วเนื่องกับการไม่สนใจหรือการละเมิดสิทธิของผู้อื่น การไม่เห็นใจผู้อื่น การมีภาพพจน์เกี่ยวกันตนเกินจริง การใช้เล่ห์เหลี่ยมเปลี่ยนพฤติกรรมผู้อื่น และการมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder) เป็นรูปแบบความไม่เสถียรที่แพร่ไปทั่วในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์กับคนอื่น ภาพพจน์ของตน เอกลักษณ์ของตน (identity) พฤติกรรม และอารมณ์ (affect) ที่บ่อยครั้งนำไปสู่การทำร้ายตัวเองและความหุนหันพลันแล่น
- Histrionic personality disorder เป็นรูปแบบที่แพร่ไปทั่วของพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ (attention-seeking) และอารมณ์ที่เกินควร
- ความผิดปกติแบบหลงตัวเอง (narcissistic personality disorder) เป็นรูปแบบที่แพร่ไปทั่วของความเขื่อง (grandiosity) ความต้องการความชื่นชม และการไม่เห็นใจผู้อื่น
กลุ่ม C (ความผิดปกติแบบวิตกกังวลหรือกลัว)
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง (Avoidant personality disorder) เป็นความรู้สึกที่แพร่ไปทั่วเกี่ยวกับความต้องการหลีกเลี่ยงสังคม (social inhibition) ความรู้สึกว่าตนบกพร่อง (social inadequacy) และความรู้สึกไวอย่างสุด ๆ เมื่อถูกประเมินในเชิงลบ
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบพึ่งพา (Dependent personality disorder) เป็นความต้องการที่แพร่ไปทั่วที่จะให้คนอื่นดูแลตัวเอง
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive personality disorder) กำหนดโดยความต้องทำตามกฎอย่างเคร่งครัด ทุกอย่างต้องเพอร์เฝ็กต์ (perfectionism) และการควบคุมสถานการณ์ให้ถึงจุดพอใจจนกระทั่งต้องเว้นกิจกรรมเวลาว่างหรือการใช้เวลากับเพื่อน (ซึ่งไม่เหมือนและแตกต่างจากโรคย้ำคิดย้ำทำมาก)
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพอื่น ๆ
- การเปลี่ยนบุคลิกภาพเนื่องจากภาวะทางแพทย์อีกอย่างหนึ่ง (Personality change due to another medical condition) เป็นผลโดยตรงต่อบุคลิกภาพของภาวะทางแพทย์อย่างหนึ่ง
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่จำเพาะอย่างอื่น (Other specified personality disorder) มีอาการที่เป็นลักษณะของความผิดปกติทางบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ของความผิดปกติที่จำเพาะ โดยแพทย์จะกำหนดเหตุผล
- ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ไม่กำหนด (Personality disorder not otherwise specified)
การจัดหมวดหมู่อื่น ๆ
คู่มือวินิจฉัยรุ่นก่อน ๆ มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพบางอย่างที่เอาออกแล้ว รวมทั้งความผิดปกติ 2 ประเภทที่อยู่ในภาคผนวกของ DSM-III-R ในหัวข้อ "หมวดหมู่วินิจฉัยที่เสนอที่ต้องมีงานศึกษาเพิ่มเติม" (Proposed diagnostic categories needing further study) โดยไม่ได้กำหนดเกณฑ์ที่จำเพาะ คือ sadistic personality disorder ซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่หลายของพฤติกรรมที่โหดร้าย ที่ลดค่าผู้อื่น และที่ดุร้าย และ self-defeating personality disorder หรือ masochistic personality disorder ซึ่งกำหนดโดยพฤติกรรมที่บั่นทอนความสุขหรือเป้าหมายของตน นักจิตวิทยาบางพวกรวมทั้ง ศ. ธีโอดอร์ มิลลอน พิจารณาการวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่างที่เอาออกแล้วว่า สมเหตุสมผลเท่ากับความผิดปกติที่อยู่ในคู่มือปัจจุบัน และยังเสนอทั้งความผิดปกติอื่น ๆ และความผิดปกติแบบย่อย ๆ นอกเหนือจากที่มีเป็นทางการในคู่มืออีกด้วย
การวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพของคู่มือวินิจฉัยของสมาคมจิตเวชอเมริกันในแต่ละฉบับ | |||||
---|---|---|---|---|---|
DSM-I | DSM-II | DSM-III | DSM-III-R | DSM-IV(-TR) | DSM-5 |
บุคลิกภาพ | |||||
Pattern disturbance: | |||||
Inadequate | Inadequate | ||||
Schizoid | Schizoid | Schizoid | Schizoid | Schizoid | Schizoid |
Cyclothymic | Cyclothymic | ||||
Paranoid | Paranoid | Paranoid | Paranoid | Paranoid | Paranoid |
Schizotypal | Schizotypal | Schizotypal | Schizotypal* | ||
Personality | |||||
Trait disturbance: | |||||
Emotionally unstable | Hysterical | Histrionic | Histrionic | Histrionic | Histrionic |
Borderline | Borderline | Borderline | Borderline | ||
Compulsive | Obsessive-compulsive | Compulsive | Obsessive-compulsive | Obsessive-compulsive | Obsessive-compulsive |
Passive-aggressive: | |||||
Passive-depressive subtype | Dependent | Dependent | Dependent | Dependent | |
Passive-aggressive subtype | Passive-aggressive | Passive-aggressive | Passive-aggressive | ||
Aggressive subtype | |||||
Explosive | |||||
Asthenic | |||||
Avoidant | Avoidant | Avoidant | Avoidant | ||
Narcissistic | Narcissistic | Narcissistic | Narcissistic | ||
Sociopathic personality | |||||
Disturbance: | |||||
Antisocial reaction | Antisocial | Antisocial | Antisocial | Antisocial | Antisocial |
Dyssocial reaction | |||||
Sexual deviation | |||||
Addiction | |||||
Appendix: | Appendix: | Appendix: | |||
Self-defeating | Negativistic | Dependent | |||
Sadistic | Depressive | Histrionic | |||
Paranoid | |||||
Schizoid | |||||
Negativistic | |||||
Depressive |
* - จัดเป็น schizophrenia-spectrum disorder ด้วยนอกเหนือจากความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
คำพรรณนาของ ศ. มิลลอน
นักจิตวิทยา ศ. ธีโอดอร์ มิลลอน ผู้ได้เขียนวรรณกรรมยอดนิยมหลายงานเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เสนอคำพรรณนาเหล่านี้สำหรับความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่าง ๆ คือ
คำพรรณนาความผิดปกติทางบุคลิกภาพสั้น ๆ ของ ศ. มิลลอน | |
---|---|
ประเภท | ลักษณะ |
แบบระแวง (Paranoid) | ระมัดระวัง ป้องกันตัว ไม่เชื่อใจ และสงสัย ระมัดระวังอย่างยิ่งต่อเจตนาของผู้อื่นที่อาจเป็นการบั่นทอนหรือทำอันตราย พยายามหาหลักฐานสนับสนุนว่าคนอื่นมีแผนลับเสมอ รู้สึกว่าตนถูกต้อง แต่ถูกแกล้ง คนผิดปกติชนิดนี้จะประสบความไม่เชื่อใจและความสงสัยต่อผู้อื่นที่แพร่ไปทั่วเป็นระยะเวลายาว เป็นคนที่ยากที่จะทำงานด้วยและยากที่จะสร้างความสัมพันธ์ด้วย และอาจจะเป็นคนโกรธง่าย |
Schizoid | ไร้อารมณ์ ไม่แยแส ห่างเหิน อยู่โดดเดี่ยว ไม่ทำตัวคุ้นเคย ไร้อารมณ์ขัน ไม่ต้องการหรือจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ ถอนตัวจากความสัมพันธ์กับคนอื่นและชอบอยู่คนเดียว ไม่ค่อยสนใจผู้อื่น มักมองว่าเป็นคนชอบอยู่คนเดียว มีความสำนึกน้อยที่สุดเกี่ยวกับความรู้สึกของตนหรือผู้อื่น มีแรงกระตุ้นและความทะเยอทะยานน้อยมาก ถ้ามีโดยประการทั้งปวง เป็นภาวะที่ไม่สามัญที่บุคคลจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคมและหลีกเลี่ยงการทำอะไรร่วมกับผู้อื่น ชายเป็นมากกว่าหญิง สำหรับคนอื่น บุคคลนี้อาจจะดูทึ่ม ๆ หรือไร้อารมณ์ขัน เพราะว่าไม่ค่อยแสดงอารมณ์ จึงอาจจะดูเหมือนว่าไม่เป็นห่วงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว |
แบบจิตเภท (Schizotypal) | พิกล เหินห่างจากตนเอง แปลก ๆ ใจลอย มีท่าทางและพฤติกรรมที่แปลก ๆ คิดว่าตนสามารถอ่านใจผู้อื่น หมุกหมุ่นอยู่กับฝันกลางวันและความเชื่อแปลก ๆ เส้นขีดระหว่างความเป็นจริงกับความเพ้อฝันไม่ชัดเจน มีความคิดเชิงไสยศาสตร์และความเชื่อที่แปลก ๆ คนผิดปกติชนิดนี้บ่อยครั้งกล่าวถึงว่า แปลกหรือพิกล และปกติมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดน้อย ถ้ามีโดยประการทั้งปวง เป็นคนที่โดยทั่วไปไม่เข้าใจการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น หรือผลกระทบที่พฤติกรรมของตนมีต่อผู้อื่น |
แบบต่อต้านสังคม (Antisocial) | หุนหันพลันแล่น ไม่รับผิดชอบ ผิดปกติ ควบคุมไม่ได้ ทำอะไรไม่คิดก่อน ทำหน้าที่ทางสังคมก็ต่อเมื่อมีประโยชน์ต่อตน ไม่เคารพประเพณี กฎ และมาตรฐานของสังคม มองตัวเองว่าเป็นไทและเป็นอิสระ คนผิดปกติเช่นนี้มีรูปแบบพฤติกรรมที่ไม่สนใจสิทธิของผู้อื่น และบ่อยครั้งจะข้ามเส้นโดยละเมิดสิทธิเหล่านั้น |
แบบก้ำกึ่ง (Borderline) | เอาแน่เอานอนไม่ได้ ใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้อื่น ไม่เสถียร กลัวการถูกทิ้งและความโดดเดี่ยวอย่างบ้าคลั่ง อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างรวดเร็ว รักและเกลียดกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว เห็นตัวเองและบุคคลอื่นสลับไปมาว่าดีทั้งหมดหรือแย่ทั้งหมด อารมณ์ที่ไม่เสถียรและเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว คนผิดปกติชนิดนี้ มีรูปแบบของความไม่เสถียรเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่แพร่ไปทั่ว |
แบบ Histrionic | เหมือนตัวละคร เซ็กซี่/มีเสน่ห์ เป็นคนไม่ลึกซึ้ง ชอบหาสิ่งเร้า ถือตัว มีปฏิกิริยาต่อเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เกินเหตุ ชอบโชว์ตัวเพื่อที่จะได้ความสนใจและความช่วยเหลือจากผู้อื่น มองตัวเองว่า รูปงามและมีเสน่ห์ คอยหาความสนใจจากผู้อื่น ความผิดปกติกำหนดโดยการคอยหาความสนใจ ปฏิกิริยาทางอารมณ์เกินควร และถูกชักชวนได้ง่าย (suggestibility) ความโน้มเอียงที่จะทำเป็นตัวละครอาจจะขัดขวางความสัมพันธ์กับผู้อื่น และนำไปสู่ความซึมเศร้า แต่บุคคลนี้บ่อยครั้งจะดำเนินชีวิตไปได้โดยดี |
แบบหลงตัวเอง (Narcissistic) | สนใจแต่ตัวเอง หยิ่ง ขี้อวด ไม่สนใจ หมกหมุ่นกับความคิดเพ้อฝันเกี่ยวกับความสำเร็จ ความงาม หรือความสัมฤทธิ์ผล มองตัวเองว่าน่ายกย่องและเหนือกว่า ดังนั้น จึงควรจะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ เป็นความผิดปกติทางจิตที่บุคคลรู้สึกถึงความสำคัญของตนเกินจริงและต้องการความยกย่องอย่างยิ่ง คนผิดปกติชนิดนี้ เชื่อว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่นและไม่ค่อยสนใจความรู้สึกของคนอื่น |
แบบหลีกเลี่ยง (Avoidant) | ลังเลใจ สำนึกตนมากเกินไปทำให้ประหม่า เขิน วิตกกังวล เครียดในท่ามกลางสังคมเนื่องจากกลัวถูกปฏิเสธ วิตกกังวลในเรื่องความล้มเหลวตลอดเวลา มองตัวเองว่า งุ่มง่าม ไม่เก่ง หรือไม่น่าสนใจ ประสบกับความรู้สึกว่า ตนบกพร่อง เป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ไวความรู้สึกว่าคนอื่นคิดถึงตนอย่างไร |
แบบพึ่งพา (Dependent) | ช่วยตัวเองไม่ได้ ไร้ความสามารถ อ่อนน้อม ไม่โต ถอยจากความรับผิดชอบของผู้ใหญ่ มองตัวเองว่าอ่อนแอและเปราะบาง คอยมองหาการปลอบให้อุ่นใจจากคนที่แกร่งกว่า ต้องการที่จะให้คนอื่นดูแล กลัวถูกทอดทิ้งหรือถูกแยกจากบุคคลสำคัญในชีวิต |
แบบย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive) | หักห้ามใจ พิถีพิถัน ให้ความเคารพยกย่อง เข้มงวด ธำรงชีวิตแบบมีกฎเกณฑ์ ทำตามประเพณีทางสังคมอย่างเคร่งครัด มองโลกว่ามีกฎเกณฑ์และมีลำดับชั้น มองตัวเองว่า เอาใจใส่ เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ และมีผลงานมาก |
แบบเศร้าซึม (Depressive) | สลด หมดกำลังใจ หมดอาลัย เศร้าสร้อย ปล่อยตามชะตากรรม แสดงตนเองว่าอ่อนแอและถูกทอดทิ้ง รู้สึกว่าไม่มีค่า รู้สึกผิด และไร้กำลังไม่สามารถทำอะไรได้ ตัดสินตนเองว่า ควรแต่จะตำหนิและดูถูก ไร้ความหวัง อยากจะตาย อยู่ไม่เป็นสุข ความผิดปกติเยี่ยงนี้สามารถนำไปสู่การกระทำที่ดุร้ายและประสาทหลอน |
ดื้อเงียบ (Passive-aggressive หรือ Negativistic) | ขุ่นเคืองใจ เป็นปฏิปักษ์ สงสัยไม่เชื่อ ไม่พอใจ ขัดขืนไม่ทำตามความคาดหวังของผู้อื่น ไร้ประสิทธิภาพอย่างจงใจ ระบายความโกรธโดยอ้อมด้วยการลอบบั่นทอนเป้าหมายของผู้อื่น สลับอารมณ์ระหว่างอารมณ์ไม่ดีและรำคาญ กับบึ้งตึงและไม่พูดไม่จา ไม่แสดงออกซึ่งอารมณ์ จะไม่คุยด้วยแม้ว่าจะมีปัญหาที่จะต้องคุยกัน |
ซาดิสม์ (Sadistic) | ดุฉุนเฉียว ถากถาง โหดร้าย หัวรั้น มักจะระเบิดอารมณ์แบบฉับพลัน ได้ความพอใจโดยบังคับ ข่มขู่ หรือดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นอับอาย มีความคิดดื้อรั้นและมีใจปิด ชอบทำอะไรโหด ๆ ต่อผู้อื่น ได้ความพอใจโดยทารุณผู้อื่น อาจจะมีความสัมพันธ์แบบซาดิสม์และมาโซคิสม์ แต่จะไม่เป็นฝ่ายมาโซคิสม์คือให้ผู้อื่นทำร้าย |
แบบทำลายตัวเองหรือแบบมาโซคิสม์ (Self-defeating หรือ Masochistic) | เคารพนบนอบต่อผู้อื่น กลัวความสุข ยอมรับใช้ ยอมรับผิด ถ่อมตัว สนับสนุนให้คนอื่นเอาเปรียบตน จงใจทำลายจุดมุ่งหมายของตนเอง หาคู่ที่โทษตนหรือกระทำไม่ดีต่อตน สงสัยคนที่ทำดีกับตน อาจจะมีความสัมพันธ์แบบซาดิสม์และมาโซคิสม์ |
ปัจจัยการจัดหมวดหมู่อื่น ๆ
นอกจากจะจัดเป็นหมวดหมู่และเป็นกลุ่ม ก็ยังเป็นไปได้ที่จะจัดความผิดปกติทางบุคลิกภาพโดยใช้ปัจจัยอื่น ๆ เช่นความรุนแรง ผลกระทบต่อพฤติกรรมทางสังคม และการแสดงเหตุ (attribution)
ความรุนแรง
การจัดหมวดหมู่เช่นนี้เกี่ยวข้องกับไอเดียว่า ความขัดข้องทางบุคลิกภาพ (personality difficulty) เป็นระดับความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ยังไม่ถึงขีดที่วัดโดยใช้การสัมภาษณ์มาตรฐาน และเกี่ยวกับหลักฐานว่า บุคคลที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหนักที่สุด มีการแพร่กระจายของความผิดปกติแบบกระเพื่อมน้ำ (ripple effect) ที่แสดงลักษณะความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ เป็นแถว ๆ คือสามารถจัดหมวดหมู่เป็น subthreshold (ความขัดข้องทางบุคลิกภาพ), single cluster (ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบกลุ่มเดียว), ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบซับซ้อน/แพร่กระจาย (complex/diffuse personality disorder) ที่มีความผิดปกติจากมากกว่า 1 กลุ่ม และความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบรุนแรง (severe personality disorder) ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด
ระบบการจัดหมวดหมู่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ | |||
---|---|---|---|
ความรุนแรง | ลักษณะ | นิยาม | |
0 | ปกติ | ไม่ผ่านเกณฑ์ว่าเป็นความผิดปกติหรือความขัดข้องทางบุคลิกภาพ | |
1 | ความขัดข้องทางบุคลิกภาพ (Personality Difficulty) | ผ่านเกณฑ์ย่อย (subthreshold) ของความผิดปกติทางบุคลิกภาพอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง | |
2 | ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบกลุ่มเดียว (Simple) | ผ่านเกณฑ์ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหนึ่งหรือหลายแบบที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน | |
3 | ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบซับซ้อน/แพร่กระจาย (Complex/Diffuse) | ผ่านเกณฑ์ความผิดปกติทางบุคลิกภาพหลายแบบข้ามกลุ่ม | |
4 | ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบรุนแรง (Severe) | ผ่านเกณฑ์ความผิดปกติที่เป็นความก่อกวนอย่างรุนแรงต่อทั้งคนไข้และต่อคนอื่น ๆ ในสังคม |
มีประโยชน์หลายอย่างในการจัดหมวดหมู่ตามความรุนแรง คือ
- เป็นการยอมรับความโน้มเอียงที่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพจะเกิดขึ้นหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน (comorbid)
- เป็นระบบที่แสดงอิทธิพลของความผิดปกต่อผลที่ได้ผ่านการรักษา ได้ดีกว่าระบบง่าย ๆ ที่จัดว่ามีความผิดปกติหรือไม่
- เป็นระบบที่ยอมรับการวินิจฉัยใหม่ของความผิดปกติแบบรุนแรง โดยเฉพาะที่เรียกว่า "ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบอันตรายและรุนแรง" (dangerous and severe personality disorder)
ผลต่อชีวิตทางสังคม
การดำเนินชีวิตทางสังคม (social function) ได้รับอิทธิพลจากด้านต่าง ๆ ของการทำงานของจิตนอกเหนือไปจากบุคลิกภาพ แต่ว่า เมื่อเกิดความขัดข้องต่อการดำเนินชีวิตทางสังคมอย่างยืนกราน ในสถานการณ์ที่ปกติไม่ควรจะมี หลักฐานแสดงนัยว่า นี่มีโอกาสจะมีเหตุจากความผิดปกติทางบุคลิกภาพมากกว่าตัวแปรทางคลินิกอื่น ๆ การจัดหมวดหมู่แบบ Personality Assessment Schedule ให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตทางสังคมเมื่อสร้างลำดับชั้นของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คือ ความผิดปกติที่มีผลลบต่อชีวิตที่รุนแรงกว่า จะอยู่ในระดับเหนือกว่าความผิดปกติที่กล่าวถึงในลำดับต่อ ๆ มา
การแสดงเหตุ (Attribution)
คนเป็นจำนวนมากที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพไม่รู้ถึงความผิดปกติของตนเอง และจะแก้ต่างอย่างองอาจถึงการมีพฤติกรรมที่ผิดปกตินั้น ๆ ต่อ ๆ ไป (คือมีการแสดงเหตุของพฤติกรรมนั้นโดยไม่ใช่เป็นความผิดปกติ) กลุ่มนี้เรียกว่า แบบ R หรือ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ไม่ยอมรักษา (treatment-resisting) เทียบกับ แบบ S หรือ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่แสวงหาการรักษา (treatment-seeking) ผู้กระตือรือร้นที่จะแก้ความผิดปกติของตนและบางครั้งแม้กระทั่งยืนกรานเรียกร้องให้รักษา ทีมนักวิจัยที่จัดหมวดหมู่คนไข้โรคบุคลิกภาพ 68 คนโดยใช้สเกลแบบไม่ซับซ้อนแสดงว่า
- คนไข้แบบ R (ไม่ยอมรักษา) และ S (ต้องการรักษา) มีอัตรา 3 ต่อ 1
- คนไข้กลุ่ม C (ความผิดปกติแบบวิตกกังวลหรือกลัว) มีโอกาสสูงกว่าอย่างสำคัญที่จะเป็นแบบ S (ต้องการรักษา)
- คนไข้แบบระแวง (paranoid) และแบบ schizoid ซึ่งอยู่ในกลุ่ม A (ความผิดปกติที่แปลกหรือวิปริต) มีโอกาสสูงกว่าอย่างสำคัญที่จะเป็นแบบ R (ไม่ยอมรักษา)
อาการ
ในที่ทำงาน
ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย ความรุนแรง คนไข้ และงานเอง ความผิดปกติทางบุคลิกภาพอาจจะสัมพันธ์กับความยากลำบากในการบริหารจัดการรับมืองานหรือที่ทำงาน ซึ่งอาจมีผลเป็นปัญหากับผู้อื่นโดยรบกวนความสัมพันธ์กับคนอื่น ผลโดยอ้อมก็มีบทบาทด้วย ยกตัวอย่างเช่น คนไข้อาจจะมีปัญหาในการศึกษา หรือมีปัญหาอื่น ๆ นอกที่ทำงาน เช่น การติดสารเสพติด หรือโรคจิตที่เกิดร่วมอื่น ๆ (co-morbid) แต่ว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพก็สามารถยังให้ทำงานได้ดีกว่าโดยเฉลี่ยอีกด้วย โดยเพิ่มแรงกระตุ้นในการแข่งขัน หรือเป็นเหตุให้คนไข้ฉวยประโยชน์จากเพื่อนร่วมงาน
ในปี 2005 และ 2009 นักจิตวิทยาคู่หนึ่งในสหราชอาณาจักรสัมภาษณ์และให้การทดสอบบุคลิกภาพต่อนักบริหารชั้นสูงชาวอังกฤษ และเปรียบเทียบข้อมูลเฉพาะที่ได้กับคนไข้ที่เป็นอาชญากรในโรงพยาบาลจิตเวชที่มีการรักษาความปลอดภัยสูง แล้วพบว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ 3 อย่างจาก 11 อย่างจริง ๆ แล้ว สามัญกับผู้บริหารมากกว่าอาชญากรโรคจิต คือ
- ความผิดปกติแบบ histrionic รวมทั้งความมีเสน่ห์อย่างผิวเผิน ความไม่จริงใจ ความสนใจแต่ตน (egocentricity) และการใช้เล่ห์เหลี่ยมเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้อื่น (psychological manipulation)
- ความผิดปกติแบบหลงตัวเอง (narcissistic) รวมทั้งความโอ้อวด การปราศจากความเห็นใจผู้อื่นเพราะมุ่งแต่ตัวเอง การฉวยประโยชน์จากผู้อื่น และความเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
- ความผิดปกติแบบแบบย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive) รวมทั้งทุกอย่างต้องเพอร์เฝ็กต์ (perfectionism) การอุทิศตนให้งานเกินควร ความยืดหยุ่นไม่ได้ ความดื้อรั้น และความโน้มเอียงที่จะมีพฤติกรรมแบบเผด็จการ
ตามนักวิชาการเกี่ยวกับความเป็นผู้นำท่านหนึ่ง เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพบ้าง
ความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ
ความผิดปกติต่าง ๆ ในกลุ่ม (cluster) ทั้ง 3 แต่ละกลุ่ม อาจจะมีปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานที่สามัญเกี่ยวข้องกับระบบประชาน, การควบคุมอารมณ์ (affect) และความหุนหันพลันแล่น (impulse), และการธำรงหรือการยับยั้งพฤติกรรม ตามลำดับ และอาจมีความสัมพันธ์เป็นสเปกตรัมอย่างต่อเนื่องกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ คือ
- ความผิดปกติแบบระแวง (paranoid) และจิตเภท (schizotypal) เห็นได้ในช่วงก่อนเกิดโรค (premorbid) ของคนไข้ความผิดปกติแบบหลงผิด (delusional disorder) และโรคจิตเภท
- ความผิดปกติแบบก้ำกึ่ง (borderline) ปรากฏสัมพันธ์กับ
- ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) และโรควิตกกังวล (anxiety disorder)
- ความผิดปกติในการควบคุมความหุนหันพลันแล่น (impulse control disorder) ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorders) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder)
- ความผิดปกติในการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
- ความผิดปกติแบบหลีกเลี่ยง (avoidant) พบพร้อมกับโรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder)
การวินิจฉัย
เกณฑ์วินิจฉัย
ฉบับล่าสุดของ DSM คือ DSM-V ได้ปรับปรุงเกณฑ์วินิจฉัยของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เกณฑ์ทั่วไปกำหนดว่า บุคลิกของบุคคลจะต้องต่างไปจากที่เป็นปกติตามที่คาดหวังได้ในวัฒนธรรมนั้น ๆ อย่างสำคัญ นอกจากนั้นแล้ว ลักษณะทางบุคลิกภาพที่เป็นประเด็นจะต้องปรากฏโดยต้นวัยผู้ใหญ่ การวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพต้องผ่านเกณฑ์ 3 อย่างคือ
- มีความบกพร่อง (impairment) อย่างสำคัญต่อประสิทธิภาพ (functioning) เกี่ยวกับตน (self-identity หรือ self-direction) และต่อประสิทธิภาพระหว่างบุคคล (ความเห็นใจผู้อื่น หรือความใกล้ชิดกับผู้อื่น)
- มีลักษณะทางบุคลิกภาพ (domain หรือ facet) ที่มีพยาธิสภาพ หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น
- ความบกพร่องในประสิทธิภาพของบุคลิกภาพ และการแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล จะต้องค่อนข้างเสถียรข้ามเวลา และจะต้องสม่ำเสมอในสถานการณ์ต่าง ๆ
- ความบกพร่องในประสิทธิภาพของบุคลิกภาพ และการแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล จะต้องไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับระยะพัฒนาการหรือสำหรับสิ่งแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมของบุคคลนั้น ๆ
- ความบกพร่องในประสิทธิภาพของบุคลิกภาพ และการแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล ต้องไม่ใช่เกิดจากผลทางสรีรภาพโดยตรงของสาร (เช่นสารเสพติด ยา) หรือสภาวะทางแพทย์ทั่วไป (เช่น การบาดเจ็บที่หัวอย่างรุนแรง) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ส่วนคำพรรณนาทางคลินิกและแนวทางการวินิจฉัยของ ICD-10 มีเกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่จำเพาะ ประกอบด้วยเกณฑ์ทั่วไปที่คล้าย ๆ กัน คือ
- มีทัศนคติและพฤติกรรมที่ไม่กลมกลืนกันอย่างสำคัญ โดยทั่วไปเกี่ยวกับประสิทธิภาพในหลาย ๆ ด้าน เช่น ในเรื่องอารมณ์ ความตื่นตัว การควบคุมความหุนหันพลันแล่น วิธีการรับรู้และการคิด และสไตล์การมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
- มีรูปแบบพฤติกรรมผิดปกติที่ยั่งยืน เป็นเวลายาวนาน และไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่คราวเป็นโรคจิต
- รูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติแพร่ไปทั่ว และชัดเจนว่าเป็นการปรับตัวที่ผิดพลาดต่อสถานการณ์ทั้งในส่วนบุคคลและในส่วนสังคมมากมายหลายอย่าง
- สิ่งทีกล่าวมาปรากฏในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น และดำเนินต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
- ความผิดปกติทำให้เกิดความทุกข์เป็นส่วนตัวพอสมควร แต่อาจจะเพียงปรากฏชัดในระยะหลัง ๆ
- ความผิดปกติมักจะ แต่ไม่ต้อง สัมพันธ์กับปัญหาทางอาชีพและทางสังคมอย่างสำคัญ
ICD ยังเพิ่มด้วยว่า "สำหรับวัฒนธรรมต่าง ๆ อาจจะต้องพัฒนาเซตกฎเกณฑ์โดยเฉพาะต่อความเป็นไป กฎ และหน้าที่ทางสังคม"
ในการรักษา โดยทั่วไปคนไข้จะได้รับการวินิจฉัยผ่านการสัมภาษณ์กับจิตแพทย์ โดยอาศัย mental status examination (การสอบสถานะจิต) ซึ่งอาจจะรวมสังเกตการณ์ที่ได้จากญาติหรือคนอื่น ๆ วิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพก็คือกระบวนการสัมภาษณ์ที่มีการให้คะแนน คือมีการให้คนไข้ตอบคำถาม และขึ้นอยู่กับคำตอบ ผู้สัมภาษณ์ที่ได้รับการฝึกมาแล้วจะพยายามเข้ารหัสคำตอบนั้น แต่นี่เป็นกระบวนการที่ใช้เวลามาก
บุคลิกภาพปกติ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพปกติกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เป็นประเด็นที่สำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและจิตวิทยาคลินิก ระบบการจัดชั้นบุคลิกภาพ (DSM IV TR และ ICD-10) ใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ที่มองความผิดปกติว่าเป็นโรคต่างหาก ๆ ที่ต่างจากกันและกัน และจากบุคลิกภาพปกติ โดยเปรียบเทียบกัน แนวคิดแบบมิติ (dimensional approach) เป็นแนวคิดอีกอย่างหนึ่งที่แสดงความผิดปกติโดยเป็นส่วนเพิ่มของลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของบุคลิกภาพปกติ แต่เป็นลักษณะที่ปรับตัวได้ไม่ดี
นักจิตวิทยาบุคลิกภาพท่านหนึ่งกับคณะ ได้เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับการถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างสำคัญ เขาได้กล่าวถึงข้อจำกัดของแนวคิดแบบจัดหมวดหมู่แล้วสนับสนุนแนวคิดแบบมิติเพื่ออธิบายความผิดปกติทางบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว เข้าได้เสนอแบบจำลองบุคลิกภาพมี 5 ปัจจัย (Five Factor Model ตัวย่อ FFM) โดยเป็นทางเลือกในการจัดหมวดหมู่ความผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น แนวคิดนี้กำหนดว่าความผิดปกติแบบก้ำกึ่ง สามารเข้าใจได้ว่า เป็นการผสมรวมกันของความอ่อนไหวทางอารมณ์ (คือ มี neuroticism ระดับสูง) ความหุนหันพลันแล่น (คือ มีความพิถีพิถัน [conscientiousness] ต่ำ) และมีความเป็นปฏิปักษ์สูง (คือ มีความยินยอมเห็นใจผู้อื่น [agreeableness] ต่ำ)
มีงานศึกษาข้ามวัฒนธรรมที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติทางบุคลิกภาพกับ FFM และงานวิจัยเช่นนี้แสดงว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพมีสหสัมพันธ์โดยองค์รวมในทิศทางตามที่คาดหวังกับค่าวัดต่าง ๆ ของ FFM ซึ่งได้เบิกทางการรวม FFM เข้าใน DSM-5
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพของ DSM-IV-TR จากมุมมองของ FFM เกี่ยวกับประสิทธิภาพของบุคลิกภาพทั่วไป | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปัจจัย | PPD | SzPD | StPD | ASPD | BPD | HPD | NPD | AvPD | DPD | OCPD | PAPD | DpPD |
Neuroticism (vs. emotional stability) | ||||||||||||
Anxiousness (vs. unconcerned) | n/a | n/a | High | Low | High | n/a | n/a | High | High | High | n/a | n/a |
Angry hostility (vs. dispassionate) | High | n/a | n/a | High | High | n/a | High | n/a | n/a | n/a | High | n/a |
Depressiveness (vs. optimistic) | n/a | n/a | n/a | n/a | High | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | High |
Self-consciousness (vs. shameless) | n/a | n/a | High | Low | n/a | Low | Low | High | High | n/a | n/a | High |
Impulsivity (vs. restrained) | n/a | n/a | n/a | High | High | High | n/a | Low | n/a | Low | n/a | n/a |
Vulnerability (vs. fearless) | n/a | n/a | n/a | Low | High | n/a | n/a | High | High | n/a | n/a | n/a |
Extraversion (vs. introversion) | ||||||||||||
Warmth (vs. coldness) | Low | Low | Low | n/a | n/a | n/a | Low | n/a | High | n/a | Low | Low |
Gregariousness (vs. withdrawal) | Low | Low | Low | n/a | n/a | High | n/a | Low | n/a | n/a | n/a | Low |
Assertiveness (vs. submissiveness) | n/a | n/a | n/a | High | n/a | n/a | High | Low | Low | n/a | Low | n/a |
Activity (vs. passivity) | n/a | Low | n/a | High | n/a | High | n/a | n/a | n/a | n/a | Low | n/a |
Excitement seeking (vs. lifeless) | n/a | Low | n/a | High | n/a | High | High | Low | n/a | Low | n/a | Low |
Positive emotionality (vs. anhedonia) | n/a | Low | Low | n/a | n/a | High | n/a | Low | n/a | n/a | n/a | n/a |
Openness (vs. closedness) | ||||||||||||
Fantasy (vs. concrete) | n/a | n/a | High | n/a | n/a | High | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a |
Aesthetics (vs. disinterest) | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a |
Feelings (vs. alexithymia) | n/a | Low | n/a | n/a | High | High | Low | n/a | n/a | Low | n/a | n/a |
Actions (vs. predictable) | Low | Low | n/a | High | High | High | High | Low | n/a | Low | Low | n/a |
Ideas (vs. closed-minded) | Low | n/a | High | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | Low | Low | Low |
Values (vs. dogmatic) | Low | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | Low | n/a | n/a |
Agreeableness (vs. antagonism) | ||||||||||||
Trust (vs. mistrust) | Low | n/a | n/a | Low | n/a | High | Low | n/a | High | n/a | n/a | Low |
Straightforwardness (vs. deception) | Low | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | n/a | Low | n/a |
Altruism (vs. exploitative) | Low | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | Low | n/a | High | n/a | n/a | n/a |
Compliance (vs. aggression) | Low | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | Low | n/a | High | n/a | Low | n/a |
Modesty (vs. arrogance) | n/a | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | Low | High | High | n/a | n/a | High |
Tender-mindedness (vs. tough-minded) | Low | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | Low | n/a | High | n/a | n/a | n/a |
Conscientiousness (vs. disinhibition) | ||||||||||||
Competence (vs. laxness) | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | High | Low | n/a |
Order (vs. disorderly) | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | High | Low |
Dutifulness (vs. irresponsibility) | n/a | n/a | n/a | Low | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | High | Low | High |
Achievement striving (vs. lackadaisical) | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | n/a | High | n/a | n/a |
Self-discipline (vs. negligence) | n/a | n/a | n/a | Low | n/a | Low | n/a | n/a | n/a | High | Low | n/a |
Deliberation (vs. rashness) | n/a | n/a | n/a | Low | Low | Low | n/a | n/a | n/a | High | n/a | High |
ตัวย่อที่ใช้: PPD - Paranoid Personality Disorder, SzPD - Schizoid Personality Disorder, StPD - Schizotypal Personality Disorder, ASPD - Antisocial Personality Disorder, BPD - Borderline Personality Disorder, HPD - Histrionic Personality Disorder, NPD - Narcissistic Personality Disorder, AvPD - Avoidant Personality Disorder, DPD - Dependent Personality Disorder, OCPD - Obsessive-Compulsive Personality Disorder, PAPD - Passive-Aggressive Personality Disorder, DpPD - Depressive Personality Disorder, n/a - not available.
เหตุ
มีเหตุที่เป็นไปได้ของความผิดปกติทางจิตหลายอย่าง และอาจจะมีความต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับความผิดปกติ บุคคล และสถานการณ์ อาจจะเป็นลักษณะทางพันธุกรรมและประสบการณ์ในชีวิตบางอย่าง ซึ่งอาจจะรวมหรือไม่รวมเหตุการณ์บาดเจ็บหรือถูกทารุณกรรมโดยเฉพาะ ๆ
งานศึกษาในนักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 600 คน ที่มีอายุเฉลี่ยเกือบ 30 ปี ผู้ที่ไม่ได้เป็นคนไข้ ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทารุณกรรมทางกายและทางเพศในวัยเด็ก กับความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่รายงานในปัจจุบัน ประวัติทารุณณกรรมในวัยเด็กสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับระดับที่สูงขึ้นของอาการต่าง ๆ ส่วนความรุนแรงของทารุณกรรมก็มีความสำคัญทางสถิติด้วย แต่ว่า ไม่มีความสำคัญทางคลินิกต่อความแปรปรวน (variance) ของอาการของทุกกลุ่ม (คือกลุ่ม A, B และ C)
การกระทำทารุณต่อเด็ก (child abuse) และการละเลยเด็ก (neglect) มีหลักฐานที่สม่ำเสมอว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ งานวิจัยหนึ่งจับคู่ทารุณกรรมย้อนหลังในอดีต กับกลุ่มคนไข้ที่แสดงจิตพยาธิสภาพเริ่มตั้งแต่วัยเด็กแล้วดำเนินมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ ที่ภายหลังพบว่าได้ถูกทารุณและละเลยในวัยเด็ก เป็นการศึกษาในมารดาและเด็ก 793 คน ที่นักวิจัยถามมารดาว่าเคยตะโกนใส่ลูก เคยกล่าวว่าตนไม่รักลูก หรือว่าเคยขู่ว่าจะส่งลูกไปอยู่ที่อื่นหรือไม่ เด็กที่ประสบทารุณกรรมทางวาจาเช่นนี้มีโอกาส 3 เท่าของเด็กอื่นที่จะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง แบบหลงตัวเอง แบบย้ำคิดย้ำทำ และแบบระแวงในวัยผู้ใหญ่ ส่วนกลุ่มที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ แสดงรูปแบบจิตพยาธิในระดับที่สูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอที่สุด และทารุณกรรมทางกาย (physical abuse) ที่พิสูจน์อย่างเป็นทางการแล้ว แสดงค่าสหสัมพันธ์ที่สูงมากกับพัฒนาการเป็นพฤติกรรมต่อต้านสังคมและทำตามอารมณ์ชั่ววูบ แต่ว่า กรณีคนไข้ที่ถูกทารุณกรรมโดยละเลยในวัยเด็ก โรคอาจจะสงบทุเลาเป็นบางส่วน (partial remission) ในวัยผู้ใหญ่ได้
ความระบาดของโรค
ความชุกของโรค (prevalence) ของความผิดปกติเช่นนี้ในกลุ่มประชากรทั่วไปไม่ปรากฏ จนกระทั่งมีงานสำรวจเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ในปี 2008 อัตรามัธยฐาน (median rate) ของ PD ที่วินิจฉัยได้ประเมินอยู่ที่ 10.6% อาศัยงานศึกษาขนาดใหญ่ 6 งานใน 3 ประเทศ เพราะมีอัตราที่ 1 ใน 10 และเพราะว่าสัมพันธ์กับการใช้บริการทางสุขภาพในระดับสูง จึงเรียกว่าเป็นประเด็นสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องการความใส่ใจทั้งจากนักวิจัยและแพทย์ผู้รักษา
ความชุกของ PD แต่ละอย่างมีพิสัยตั้งแต่ 2%-3% สำหรับแบบที่สามัญกว่า เช่น แบบจิตเภท (schizotypal) แบบต่อต้านสังคม แบบก้ำกึ่ง และแบบ histrionic ไปจนถึงที่ 0.5-1% สำหรับแบบที่มีน้อยที่สุด เช่น แบบหลงตัวเอง และแบบหลีกเลี่ยง
ส่วนงานสำรวจตรวจคัดโรคปี 2009 ใน 13 ประเทศโดยองค์การอนามัยโลก โดยใช้เกณฑ์ของ DSM-IV ประเมินความชุกของ PD ที่ 6% อัตราบางครั้งแปรไปตามปัจจัยทางประชากรและทางสังคม-เศรษฐกิจอื่น ๆ งานวิจัยยังพบด้วยว่า ประสิทธิภาพการดำเนินชีวิตที่บกพร่องบางส่วน เกิดจากความผิดปกติทางจิตที่เกิดร่วมอื่น ๆ
ในงานสำรวจ National Comorbidity Survey Replication ระหว่างปี 2001-2003 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เกณฑ์วินิจฉัยของ DSM-IV และรวมการสัมภาษณ์กับผู้ตอบคำถามกลุ่มย่อยด้วย แสดงความชุกของโรคที่ 9% รวมทั้งหมด แต่ความพิการในการดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคที่วินิจฉัย ดูเหมือนจะมีเหตุมาจากความผิดปกติทางจิตที่เกิดร่วมกัน (Axis I ของ DSM) โดยมาก
ส่วนงานวิทยาการระบาดระดับชาติปี 2010 ในสหราชอาณาจักรที่ใช้เกณฑ์ของ DSM-IV และจัดกลุ่มโดยระดับความรุนแรงด้วย รายงานว่า คนโดยมากมีความขัดข้องทางบุคลิกภาพ (personality difficulty) ไม่ประการใดก็ประการหนึ่ง ที่ยังไม่ถึงเกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นโรค ในขณะที่ความชุกของกรณีที่ซับซ้อนที่สุดที่รุนแรงที่สุด (รวมทั้งที่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติหลายแบบในกลุ่มต่าง ๆ กัน) มีค่าประเมินอยู่ที่ 1.3% แม้ว่าอาการที่อยู่ในระดับต่ำก็ยังสัมพันธ์กับปัญหาการดำเนินชีวิต แต่บุคคลที่จำเป็นจะได้รับบริการมากที่สุดอยู่ในกลุ่มที่เล็กกว่ามาก
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความแตกต่างระหว่างเพศเกี่ยวกับความถี่ของ PD ซึ่งแสดงอยู่ในตารางต่อไป
ความแตกต่างระหว่างเพศของความถี่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ | |
---|---|
ประเภท | เพศที่เป็นโดยมาก |
แบบระแวง (Paranoid) | ชาย |
แบบ Schizoid | ชาย |
แบบจิตเภท (Schizotypal) | ชาย |
แบบต่อต้านสังคม (Antisocial) | ชาย |
แบบก้ำกึ่ง (Borderline) | หญิง |
แบบ Histrionic | หญิง |
แบบหลงตัวเอง (Narcissistic) | ชาย |
แบบหลีกเลี่ยง (Avoidant) | เท่ากัน |
แบบพึ่งพา (Dependent) | หญิง |
แบบย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive) | ชาย |
โรคร่วม
มีการเกิดร่วมกันของ PD ตามเกณฑ์วินิจฉัยพอสมควร คือ คนไข้ทีผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของ DSM-IV-TR สำหรับ PD อย่างหนึ่ง มักจะผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของ PD อีกอย่างหนึ่งด้วย แม้ว่า หมวดหมู่การวินิจฉัยจะให้คำพรรณนาที่สว่างชัดเจนเกี่ยวกับความผิดปกติแต่ละประเภท ๆ แต่โครงสร้างบุคลิกภาพของคนไข้จริง ๆ อาจจะอธิบายได้ดีกว่า โดยใช้กลุ่มลักษณะบุคลิกภาพที่ปรับตัวได้ไม่ดี (maladaptive)
การเกิดร่วมของความผิดปกติทางบุคลิกภาพตามเกณฑ์ DSM-III-R รวมจากศูนย์วิจัย 6 แห่ง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | PPD | SzPD | StPD | ASPD | BPD | HPD | NPD | AvPD | DPD | OCPD | PAPD |
Paranoid (PPD) | 8 | 19 | 15 | 41 | 28 | 26 | 44 | 23 | 21 | 30 | |
Schizoid (SzPD) | 38 | 39 | 8 | 22 | 8 | 22 | 55 | 11 | 20 | 9 | |
Schizotypal (StPD) | 43 | 32 | 19 | 4 | 17 | 26 | 68 | 34 | 19 | 18 | |
Antisocial (ASPD) | 30 | 8 | 15 | 59 | 39 | 40 | 25 | 19 | 9 | 29 | |
Borderline (BPD) | 31 | 6 | 16 | 23 | 30 | 19 | 39 | 36 | 12 | 21 | |
Histrionic (HPD) | 29 | 2 | 7 | 17 | 41 | 40 | 21 | 28 | 13 | 25 | |
Narcissistic (NPD) | 41 | 12 | 18 | 25 | 38 | 60 | 32 | 24 | 21 | 38 | |
Avoidant (AvPD) | 33 | 15 | 22 | 11 | 39 | 16 | 15 | 43 | 16 | 19 | |
Dependent (DPD) | 26 | 3 | 16 | 16 | 48 | 24 | 14 | 57 | 15 | 22 | |
Obsessive-Compulsive (OCPD) | 31 | 10 | 11 | 4 | 25 | 21 | 19 | 37 | 27 | 23 | |
Passive-Aggressive (PAPD) | 39 | 6 | 12 | 25 | 44 | 36 | 39 | 41 | 34 | 23 |
- ทุกศูนย์ใช้เกณฑ์ของ DSM-III-R เป็นข้อมูลรวบรวมเพื่อการพัฒนาเกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพสำหรับ DSM-IV-TR
- ตัวย่อที่ใช้: PPD - Paranoid Personality Disorder, SzPD - Schizoid Personality Disorder, StPD - Schizotypal Personality Disorder, ASPD - Antisocial Personality Disorder, BPD - Borderline Personality Disorder, HPD - Histrionic Personality Disorder, NPD - Narcissistic Personality Disorder, AvPD - Avoidant Personality Disorder, DPD - Dependent Personality Disorder, OCPD - Obsessive-Compulsive Personality Disorder, PAPD - Passive-Aggressive Personality Disorder.
การบริหาร
แนวคิดจำเพาะ
มีรูปแบบ (modalities) การรักษาบำบัด PD ต่าง ๆ คือ
- จิตบำบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy) เป็นวิธีบำบัดหลัก มีทั้งแบบระยะยาวและระยะสั้น
- จิตบำบัดครอบครัว (Family therapy) รวมทั้งการบำบัดสำหรับคู่ครอง
- จิตบำบัดกลุ่ม (Group therapy) สำหรับการทำงานผิดปกติของบุคลิกภาพ ซึ่งใช้มากที่สุดเป็นอันดับสอง
- การศึกษาทางจิตวิทยา (Psychoeducation) อาจใช้เป็นส่วนเสริม
- กลุ่มที่ช่วยกันเอง (Self-help group) อาจใช้เป็นตัวช่วยในการรักษา
- การให้ยา (Psychiatric medication) เพื่อบำบัดอาการและการทำหน้าที่ผิดปกติของบุคลิกภาพ หรือเพื่อสภาวะที่เกิดร่วมกัน
- Milieu therapy เป็นการบำบัดแบบเป็นกลุ่มอยู่อาศัย ซึ่งมีประวัติใช้เพื่อบำบัด PD รวม therapeutic communities ด้วย
มีทฤษฎีที่จำเพาะเจาะจงมากมายหรือมีสำนักบำบัดหลายสำนักในแต่ละวิธีการรักษาเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น บางสำนักอาจจะเน้นจิดบำบัดแบบ psychodynamic หรือการบำบัดทางประชานและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) และในการรักษาจริง ๆ ผู้บำบัดอาจจะใช้แนวคิดแบบผสมผสาน (eclectic) นำเอาวิธีการต่าง ๆ มาจากหลาย ๆ สำนัก เพื่อให้เข้ากับคนไข้นั้น ๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเน้นปัจจัยสามัญที่ดูเหมือนจะช่วยไม่ว่าจะใช้เทคนิคไหนรวมทั้งลักษณะของผู้บำบัด (เช่น เชื่อใจได้ เก่ง เป็นห่วงเอาใจใส่) สิ่งที่ให้คนไข้ทำได้ (เช่นสามารถแสดงและบอกถึงความยากลำบากและความรู้สึก) และการเข้ากันได้ระหว่างผู้บำบัด-คนไข้ (เช่น ตั้งเป้าเพื่อจะให้เกียรติกันและกัน ให้ความไว้เนื่อเชื่อใจ และการมีขอบเขต) ตารางต่อไปนี้เป็นผลที่ได้จากการบำบัดทางชีวภาพ (Biological) และทางจิต-สังคม (Psychosocial)
การตอบสนองของคนไข้ความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่อการบำบัดทางชีวภาพและทางจิต-สังคม | |||
---|---|---|---|
Cluster | หลักฐานการทำงานผิดปกติของสมอง | การตอบสนองต่อการบำบัดทางชีวภาพ | การตอบสนองต่อการบำบัดทางจิต-สังคม |
A | มีหลักฐานว่าความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบจิตเภท (schizotypal) สัมพันธ์กับโรคจิตเภท นอกจากประเภทนี้แล้วไม่มี | คนไข้ความผิดปกติแบบจิตเภทอาจจะดีขึ้นถ้าใช้ยาระงับอาการทางจิต ส่วนประเภทอื่นไม่บ่งใช้ | ไม่ดี จิตบำบัดแบบ supportive อาจจะช่วย |
B | หลักฐานแสดงนัยสำหรับแบบต่อต้านสังคม และแบบก้ำกึ่ง นอกจากนั้นไม่มี | ยาแก้ซึมเศร้า (antidepressant) ยาระงับอาการทางจิต ยารักษาอารมณ์ (mood stabilizer) อาจช่วยคนไข้แบบก้ำกึ่ง ส่วนประเภทอื่นไม่บ่งใช้ | แย่สำหรับแบบต่อต้านสังคม ได้ผลต่าง ๆ กันสำหรับแบบก้ำกึ่ง แบบหลงตัวเอง และแบบ histrionic |
C | ยังไม่ปรากฏ | ไม่มีการตอบสนองโดยตรง ยาอาจจะช่วยอาการที่เกิดร่วมด้วย (comorbid) คือความวิตกกังวลและความเศร้าซึม | เป็นการบำบัดที่สามัญที่สุดในโรคกลุ่มนี้ การตอบสนองมีความต่าง ๆ กัน |
เรื่องท้าทาย
การบริหารและการบำบัดความผิดปกติทางบุคลิกภาพเป็นเรื่องที่ท้าทายและก่อการโต้เถียง เพราะว่าโรคโดยนิยามแล้ว หมายถึงความยากลำบากที่คงทนและมีผลต่อการดำเนินชีวิตหลายอย่าง ซึ่งบ่อยครั้งรวมความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
คนไข้อาจจะมีปัญหาในการเสาะหาและการได้ความช่วยเหลือจากองค์กรต่าง ๆ ตั้งแต่ต้น และในการริเริ่มและธำรงความสัมพันธ์เพื่อการบำบัดรักษากับแพทย์พยาบาลที่เกี่ยวข้อง (therapeutic relationship) หรือว่าหน่วยบริการสุขภาพจิตประจำชุมชนอาจจะมองบุคคลที่ผิดปกติเช่นนี้ว่า มีปัญหาที่ซับซ้อนหรือยากเกินไป และอาจจะกีดกันคนไข้เช่นนี้หรือที่มีพฤติกรรมสืบกัน โดยเป็นการกีดกันตรงหรือโดยอ้อม ปัญหาที่คนไข้โรคนี้สามารถสร้างในองค์กรต่าง ๆ ทำให้เป็นสภาวะที่ท้าทายที่สุดอย่างหนึ่งที่จะเข้าไปจัดการ
นอกจากปัญหาเหล่านี้แล้ว บุคคลอาจจะไม่เห็นว่าบุคลิกภาพของตนผิดปกติหรือว่าก่อปัญหา ซึ่งเป็นมุมมองที่อาจจะมีเหตุจากความไม่รู้หรือไม่มีวิจารณญาณเกี่ยวกับสภาวะของตนเอง หรือจากการมองปัญหาแบบ ego-syntonic ที่เข้ากับบุคลิกภาพของตนเอง ซึ่งกันไม่ให้ตนเห็นลักษณะบุคลิกภาพของตนในรูปแบบที่ไม่เข้ากับจุดมุ่งหมายและภาพพจน์ของตน หรือจากความจริงพื้นฐานว่า ไม่มีเส้นขีดที่ชัดเจนหรือเป็นกลางระหว่างบุคลิกภาพที่ "ปกติ" และ "ผิดปกติ" นอกจากนั้นแล้ว อย่างน้อย ๆ ในสังคมชนตะวันตก ผู้ที่ได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางจิต จะมีรอยด่างทางสังคมและจะถูกเลือกปฏิบัติ
คำว่า "personality disorder" รวมเอาปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่ละประเภทมีระดับความรุนแรงและระดับความพิการที่ต่าง ๆ กัน และดังนั้น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพอาจจะต้องใช้แนวคิดและความเข้าใจที่แตกต่างจากความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น ความผิดปกติบางประเภทหรือคนไข้บางคน อาจจะมีลักษณะถอนตัวจากสังคมและหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์กับคนอื่นแบบต่อเนื่อง แต่บางพวกอาจจะมีระยะยกเว้นเป็นแบบกลับไปกลับมา อาการบางอย่างที่สุด ๆ ยังแย่ยิ่งกว่านั้น ส่วนสุดข้างหนึ่งอาจจะเป็นการทำร้ายและการละเลยตนเอง ในขณะที่ส่วนสุดอีกด้านหนึ่งอาจจะมีพฤติกรรมรุนแรงหรือสร้างอาชญากรรม อาจจะมีปัจจัยปัญหาอย่างอื่นเกิดขึ้นเกี่ยวข้องด้วย เช่น การติดสารเสพติด หรือการติดพฤติกรรมบางอย่าง (behavioral addiction) เช่นการเล่นการพนันหรือการชมสื่อลามกอนาจาร คนคนเดียวอาจจะผ่านเกณฑ์ความผิดปกติทางบุคลิกภาพหลายประเภทและความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ จะเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือจะเป็นแบบต่อเนื่องก็ดี ทำให้หน่วยงานหลายหน่วยต้องประสานงานกันเพื่อบำบัดรักษา
ผู้บำบัดในเรื่องนี้อาจจะหมดกำลังใจเพราะอาการไม่ดีขึ้นในตอนต้น หรือมีความก้าวหน้าแล้วก็เกิดการถอยหลัง อาจจะมองคนไข้ว่าไม่ร่วมมือ ไม่ยอมรับ เรียกร้องมากเกินไป ก้าวร้าว หรือมีเล่ห์เหลี่ยมหลอกล่อ ปัญหาเช่นนี้ได้มีการตรวจสอบประเด็นต่าง ๆ ทั้งในผู้รักษาและคนไข้ รวมทั้งทักษะทางสังคม (social skill), การบริหารจัดการปัญหาและความเครียด (coping), กลไกป้องกันตัวใต้จิตสำนึก (defence mechanism) หรือกลยุทธ์ป้องกันตัวที่ทำอย่างจงใจ, การตัดสินตามศีลธรรม (moral judgment) และแรงจูงใจที่เป็นเหตุของพฤติกรรมบางอย่าง หรือเป็นเหตุของความขัดแย้งระหว่างบุคคลบางอย่าง
ความอ่อนแอของคนไข้และบางครั้งของผู้รักษา อาจจะมองไม่เห็นเพราะความแกร่งในด้านอื่น ๆ หรือความฟื้นตัวได้ มักจะมีการกล่าวว่า ผู้รักษาจำเป็นที่จะต้องรักษาขอบเขตทางอาชีพ (เช่นไม่ใกล้ชิดมากเกินไป) ในขณะที่ต้องสามารถให้แสดงอารมณ์ และรักษาความสัมพันธ์เพื่อบำบัดรักษา (therapeutic relationship) ถึงอย่างนั้น อาจจะมีความยากลำบากในการยอมรับโลกและมุมมองที่ต่างกันระหว่างหมอกับคนไข้ หมออาจจะคิดอย่างผิดพลาดว่า ความสัมพันธ์และการปฏิสัมพันธ์ที่ทำให้ตนรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ จะมีผลเช่นเดียวกันต่อคนไข้ ตัวอย่างสุด ๆ อย่างหนึ่งก็คือ บุคคลที่เคยประสบกับความมุ่งร้าย ความหลอกลวง ความไม่ยอมรับ ความก้าวร้าว หรือความทารุณในชีวิต ในบางกรณีอาจจะสับสน กลัว หรือสงสัยการแสดงความเป็นกันเอง ความใกล้ชิด หรือปฏิสัมพันธ์เชิงบวกอื่น ๆ อย่างไรก็ดี การสร้างความอุ่นใจ การเปิดใจ และการสื่อสารที่ชัดเจนปกติเป็นเรื่องที่ทั้งช่วยและจำเป็น และอาจจะต้องมีการพบกันเป็นเวลาหลายเดือน เป็นแบบหยุด ๆ เริ่ม ๆ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นความเชื่อใจ แล้วสามารถแก้ปัญหาของคนไข้ในระดับสำคัญได้
ประวัติ
คำว่า "personality disorder" เป็นคำที่ใช้โดยมีความหมายปัจจุบันอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นคำที่ใช้ทางคลินิก และเพราะลักษณะความเป็นสถาบันของจิตเวชแผนปัจจุบัน (ซึ่งทำให้ใช้คำเหมือน ๆ กัน) แต่ความหมายที่ยอมรับกันในปัจจุบันจะต้องเข้าใจในบริบทของระบบหมวดหมู่ที่มีประวัติการเปลี่ยนแปลง เช่นของ คู่มือ DSM-IV และของคู่มือรุ่นก่อน ๆ มีนักวิชาการบางท่านเสนอว่า มีแนวคิดโบราณที่คล้าย ๆ กันสืบไปได้จนถึงสมัยกรีซโบราณ ยกตัวอย่างเช่น นักปราชญ์กรีกโบราณ Theophrastus กล่าวถึงลักษณะนิสัย 29 อย่างที่เขาเห็นว่าผิดไปจากปกติ และก็มีมุมมองที่คล้ายกันในวัฒนธรรมเอเชีย อาหรับ และเคลติกอีกด้วย ส่วนแนวคิดทรงอิทธิพลที่ยั่งยืนมานานในโลกตะวันตกเป็นของแพทย์ชาวกรีกกาเลนในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพ ซึ่งเขาเชื่อมกับธาตุน้ำที่เป็นเหตุของโรค 4 อย่าง (four humours) ที่เสนอโดยฮิปพอคราทีส
มุมมองเช่นนี้อยู่ทนมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อผลการทดลองเริ่มคัดค้านเรื่องธาตุน้ำและทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่มีมาก่อน ๆ (เช่น four temperaments) และแนวคิดทางจิตวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย (character) และอัตตา (self) เริ่มเป็นเรื่องที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า personality หมายถึงความสำนึกที่บุคคลมีต่อพฤติกรรมของตน โดยเป็นสภาวะผิดปกติที่เชื่อมกับภาวะสับเปลี่ยน (altered state) เช่น dissociation การใช้คำในความหมายนี้เป็นเหมือนกับการใช้คำในวลีว่า multiple personality disorder ในคู่มือ DSM รุ่นแรก
แพทย์ตะวันตกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เริ่มจะวินิจฉัยความวิกลจริต (insanity) รูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอารมณ์หรือพฤติกรรมวิปริต ที่ดูเหมือนจะไม่มีความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา ความหลงผิด (delusion) หรือประสาทหลอน (hallucination) นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตเวชปัจจุบัน (Philippe Pinel) กล่าวถึงความผิดปกติเช่นนี้ว่า manie sans délire หมายถึง อาการฟุ้งพล่านที่ไม่ประกอบด้วยความหลงผิด แล้วอธิบายกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีความโกรธความเดือดดาลที่เกินเหตุหรือที่ไม่สามารถอธิบายได้ ต่อมานายแพทย์ชาวอังกฤษ (James Cowles Prichard) ได้เสนอแนวคิดคล้าย ๆ กันที่เรียกว่า moral insanity ซึ่งได้ใช้วินิจฉัยคนไข้เป็นทศวรรษ ๆ ต่อมา คำว่า moral ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ ไม่ใช่หมายถึงศีลธรรม แต่เป็นระบบวินิจฉัยที่มีมูลฐานบางส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อทางสังคมและทางศีลธรรม โดยมีการมองในเชิงสิ้นหวังในการใช้วิธีการทางแพทย์เพื่อรักษา และดังนั้น กฎบังคับทางสังคมจะเป็นตัวควบคุมที่ดีกว่า
การจัดหมวดหมู่เช่นนี้ต่างจากและครอบคลุมกว่านิยามของคำว่า personality disorder ที่ใช้ต่อ ๆ มา โดยมีนักวิชาการบางท่านที่พัฒนาการวินิจฉัยเยี่ยงนี้ให้จำเพาะกว่าโดยเกี่ยวกับความเสื่อมทรามทางศีลธรรม (moral degeneracy) ที่คล้ายกับแนวคิดเกี่ยวกับคำว่า psychopath (คนโรคจิตแบบอันธพาล) ที่ใช้ต่อมา นี้เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่นายแพทย์ชาวเยอรมัน (Richard von Krafft-Ebing) สร้างความนิยมให้กับคำว่าซาดิสม์และมาโซคิสม์ และคำว่า homosexuality (รักร่วมเพศ) โดยจัดเป็นปัญหาทางจิตเวช
ต่อมาจิตแพทย์ชายเยอรมัน (Julius Ludwig August Koch) พยายามปรับปรุงแนวคิดเกี่ยวกับ moral insanity ให้เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น และในปี 1891 เสนอการใช้คำว่า psychopathic inferiority โดยตั้งทฤษฎีว่าเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งหมายถึงรูปแบบที่สืบเนื่องและยืดหยุ่นไม่ได้ของการประพฤติผิดหรือผิดปกติที่ปราศจากความปัญญาอ่อนหรือความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นคำที่ใช้แบบตั้งใจให้ไม่มีการตัดสินทางศีลธรรม แม้ว่าจะมีรากลึกในความเชื่อทางศาสนาคริสต์ งานของเขาได้กลายมาเป็นวรรณกรรมพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ยังใช้กันอยู่ทุกวันนี้
คริสต์ศตวรรษที่ 20
ในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 น.พ.จิตเวชชาวเยอรมันคนหนึ่ง (Emil Kraepelin) รวมบทหัวข้อว่า "psychopathic inferiority" ในวรรณกรรมทรงอิทธิพลของเขาสำหรับนักศึกษาและแพทย์ ซึ่งเขาแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ excitable (ตื่นง่าย) unstable (ไม่เสถียร) eccentric (พิกล) liar (นักโกหก) swindler (นักต้มฉ้อโกง) แล quarrelsome (ช่างทะเลาะ) หมวดหมู่เช่นนี้นิยามตามอาชญากรที่ผิดปกติที่สุดที่เขาเห็น โดยแยกเป็นอาชญากรตามอารมณ์ชั่ววูบ อาชญากรมืออาชีพ และคนจรจัดที่เป็นโรค เขายังกล่าวถึงความผิดปกติแบบ paranoid (ซึ่งสมัยนั้นหมายถึงว่า มีอาการหลงผิด คือ delusional) ซึ่งเหมือนกับแนวคิดของโรคจิตเภท ความผิดปกติแบบหลงผิด (delusional disorder) และความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบระแวงต่อมา และบทวินิจฉัยสำหรับแนวคิดหลังสุดนั้นก็เริ่มรวมเข้าใน DSM ตั้งแต่ปี 1952 แล้วต่อมาเริ่มตั้งแต่ปี 1980 DSM จึงรวมแบบ schizoid และแบบจิตเภทเพิ่มขึ้นด้วย การตีความทฤษฎีปี 1921 ของนายแพทย์ชาวเยอรมัน (Ernst Kretschmer) จึงทำให้แยกประเภทเหล่านี้จากอีกประเภทหนึ่งที่รวมเข้าใน DSM ในภายหลังคือ แบบหลีกเลี่ยง (avoidant)
ในปี 1933 จิตแพทย์ชาวรัสเซียคนหนึ่ง (Pyotr Gannushkin) พิมพ์หนังสือ (Manifestations of psychopathies: statics, dynamics, systematic aspects) เป็นงานแรก ๆ สุดที่พยายามสร้างแบบลักษณ์ของจิตพยาธิ (typology of psychopathies) โดยพิจารณาการปรับตัวผิด (maladaptation) การมีอยู่ทั่วไป และความเสถียรภาพว่าเป็นอาการหลัก 3 อย่างของโรคทางพฤติกรรม เขาแบ่งคนโรคจิตออกเป็น 9 กลุ่ม (cluster) คือ
- cycloids รวมทั้งพวกเศร้าซึมเหตุสภาพร่างกาย พวกตื่นง่ายเหตุสภาพร่างกาย พวก cyclothymics และพวกอารมณ์ไม่มั่นคง
- asthenics รวมพวก psychasthenics
- schizoids รวมพวกนักเพ้อฝัน
- paranoiacs รวมพวกคลั่งไคล้ (fanatics)
- epileptoids
- hysterical personalities (บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย) รวมพวกนักโกหกแบบเป็นโรค (pathological liar)
- unstable psychopaths (โรคจิตแบบไม่เสถียร)
- antisocial psychopaths (โรคจิตต่อต้านสังคม)
- constitutionally stupid (ปัญญาอ่อนเหตุสภาพร่างกาย)
ต่อมา จิตแพทย์รักษาเด็กวัยรุ่นชาวรัสเซียอีกคนหนึ่ง (Andrey Yevgenyevich Lichko) ได้รวมแบบลักษณ์นั้นบางส่วนเขาในทฤษฎีของตนเอง จิตแพทย์ผู้นี้สนใจในเรื่องโรคจิต บวกกับรูปแบบอาการที่อ่อนกว่าที่เขาเรียกว่า accentuations of character
ในปี 1939 จิตแพทย์ชาวสกอตแลนด์ผู้หนึ่งตั้งทฤษฎี psychopathic states ที่ต่อมานิยมใช้เป็นคำหมายถึงพฤติกรรมต่อต้านสังคม แต่เป็นหนังสือปี 1941 (The Mask of Sanity) ของจิตแพทย์ชาวอเมริกันที่จัดหมวดหมู่ความคล้ายคลึงกันที่เขาพบในนักโทษ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดปัจจุบันทางคลินิกเกี่ยวกับคำว่า psychopathy (โรคจิต, โรคอันธพาล) โดยคำที่นิยมใช้ทั่วไปว่า "psychopath" หมายถึงคนที่แสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมอย่างรุนแรงและปราศจากศีลธรรมหรือความเห็นใจผู้อื่น (เหมือนกับตัวร้ายในภาพยนตร์ ไซโค)
ในช่วงเกือบกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์กำลังได้ความนิยมโดยเป็นผลงานช่วงเปลี่ยนศตวรรษของซิกมุนด์ ฟรอยด์และจิตแพทย์อื่น ๆ ซึ่งรวมแนวคิดเกี่ยวกับ "character disorders" (ความผิดปกติของอุปนิสัย) ซึ่งมองว่าเป็นปัญหายืนยงที่ไม่ได้เชื่อมกับอาการใดอาการหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เชื่อมกับความขัดแย้งภายในที่แพร่หลาย หรือกับการขัดข้องของพัฒนาการปกติในวัยเด็ก โดยเป็นปัญหาเกี่ยวกับความอ่อนแอทางอุปนิสัย หรือเป็นพฤติกรรมผิดปกติที่ทำโดยตั้งใจ แต่ต่างจากโรคประสาท (neurosis) และโรคจิต (psychosis) ส่วนคำว่า borderline (ก้ำกึ่ง) มาจากความเชื่อว่าบุคคลบางคนมีพฤติกรรมแบบคร่อมรั้วระหว่างโรคสองอย่างนั้น และดังนั้น การจัดหมวดหมู่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพอื่น ๆ ก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเช่นนี้เช่นกัน รวมทั้งแบบพึ่งพา แบบย้ำคิดย้ำทำ และแบบ histrionic โดยแบบหลังสุดเริ่มจัดโดยเป็นโรคคอนเวอร์ชันซึ่งมักเกิดในหญิง ต่อจากนั้นจึงเป็น hysterical personality และต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น histrionic personality disorder ในรุ่นหลัง ๆ ของ DSM ส่วนลักษณะนิสัยแบบดื้อเงียบ (passive aggressive) หมอทหารอเมริกันคนหนึ่ง (William Menninger) เป็นผู้นิยามทางคลินิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในบริบทของปฏิกิริยาของทหารในการเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งต่อมากำหนดเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพใน DSM ส่วนศาสตราจารย์จิตเวชที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลคนหนึ่ง (Otto Kernberg) มีอิทธิพลต่อแนวคิดของความผิดปกติแบบก้ำกึ่ง และแบบหลงตัวเอง ซึ่งรวมเข้าใน DSM ในปี 1980
ในช่วงเวลาเดียวกัน สาขาจิตวิทยาบุคลิกภาพก็เริ่มพัฒนาขึ้นในหมู่นักวิชาการและในแพทย์ผู้รักษา ศ.กอร์ดอน ออลพอร์ตได้ตั้งทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพ (personality traits) เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 และ ศ.ดร.เฮ็นรี่ เมอร์รีย์ ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่า personology ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้สนับสนุนแนวคิดเรื่อง PD หลักคือ ศ. ธีโอดอร์ มิลลอน มีการพัฒนาข้อทดสอบเพื่อประเมินบุคลิกภาพ รวมทั้งข้อทดสอบเชิงภาพฉาย (projective test) เช่น แบบทดสอบรอร์ชัค (Rorschach test) และข้อทดสอบเป็นแบบคำถามเช่น Minnesota Multiphasic Personality Inventory ราวกลางศตวรรษ ดร. ไอเซ็งก์ (Hans Eysenck) ได้เริ่มวิเคราะห์ลักษณะบุคลิกภาพ (trait) และบุคลิกภาพประเภทต่าง ๆ (type) และจิตแพทย์ชายเยอรมันคนหนึ่ง (Kurt Schneider) ได้สร้างความนิยมในการใช้คำว่า personality ในทางคลินิก แทนคำว่า "character" "temperament" หรือ "constitution" ที่เคยใช้กันมาก่อน
จิตแพทย์อเมริกันเริ่มยอมรับแนวคิดเกี่ยวกับความปั่นป่วนทางบุคลิกภาพ (personality disturbance) ใน DSM รุ่นแรกในช่วงคริต์ทศวรรษ 1950 ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้แนวคิดจากจิตวิเคราะห์โดยมากอยู่ ต่อมาภาษาที่เป็นกลาง ๆ มากขึ้นจึงเริ่มใช้ใน DSM-II ในปี 1968 แม้ว่าคำที่ใช้และคำอธิบายโดยมาก จะไม่เหมือนคำที่ใช้ในปัจจุบัน DSM-III ที่ตีพิมพ์ในปี 1980 มีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งก็คือ การรวมความผิดปกติทางบุคลิกภาพทั้งหมดลงใน axis ที่สองต่างหากร่วมกับปัญญาอ่อน (mental retardation) โดยมุ่งหมายเพื่อแสดงรูปแบบที่ยั่งยืนกว่า ต่างจากความผิดปกติทางจิต (mental disorder) ใน axis ที่หนึ่ง ส่วนความผิดปกติแบบ inadequate และแบบ asthenic ถูกลบออก และแบบอื่น ๆ แตกออกเป็นแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนจากเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ไปเป็นความผิดปกติธรรมดาทั่วไป Sociopathic personality disorder ซึ่งใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของ psychopathy (โรคจิต) เปลี่ยนชื่อเป็น Antisocial Personality Disorder ประเภทต่าง ๆ โดยมากได้คำนิยามที่จำเพาะเจาะจงเพิ่มขึ้น โดยมีเกณฑ์ที่จิตแพทย์สามารถมีมติร่วมกันได้เพื่อที่จะทำงานวิจัยหรือวินิจฉัยคนไข้ DSM-III รุ่นปรับปรุง เพิ่มความผิดปกติแบบ self-defeating และแบบ sadistic โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีงานศึกษาเพิ่มขึ้นในแบบใหม่เหล่านี้ ซึ่งทั้งสองไม่ได้รวมใน DSM-IV แม้ว่าแบบ depressive ที่เสนอจะได้รวมเข้า นอกจากนั้นแล้ว มีการเปลี่ยนชื่อแบบ passive-aggressive (ดื้อเงียบ) ไปเป็นแบบ negativistic อย่างชั่วคราว แล้วจึงลบออกโดยสิ้นเชิงต่อมา
ในระดับสากล มีความแตกต่างทางทัศนคติเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ยกตัวอย่างเช่นจิตแพทย์ชาวเยอรมันคนหนึ่ง (Kurt Schneider) อ้างว่า ความผิดปกติเป็นเพียงแค่ "ความต่าง ๆ กันที่ถึงขีดความผิดปกติของจิตใจ" และดังนั้น จึงอาจไม่ใช่ประเด็นทางจิตเวช ซึ่งเป็นมุมมองที่ยังมีอิทธิพลในประเทศเยอรมนีจนถึงทุกวันนี้ ส่วนจิตแพทย์ชาวอังกฤษไม่ได้ต้องการที่จะรักษาความผิดปกติเยี่ยงนี้ หรือที่จะพิจารณาว่าเป็นความผิดปกติเช่นเดียวกันกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ ซึ่งมีการอธิบายว่า ส่วนหนึ่งมีเหตุมาจากการขาดทรัพยากรที่จะจัดการรักษาโรคของหน่วยสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service) และทัศนติเชิงลบของแพทย์ต่อพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความผิดปกติ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งระบบรักษาพยาบาลที่มีทั่วไป และประวัติการรักษาโรคโดยจิตวิเคราะห์ เป็นมูลเหตุที่แพทย์พยาบาลเอกชนจะวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพให้กว้าง ๆ เพื่อที่จะมีโอกาสให้การรักษาพยาบาลกับคนไข้แบบต่อไปเรื่อย ๆ
ในเด็ก
คนไข้ในระยะเบื้องต้นและรูปแบบเบื้องต้นของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ จำเป็นต้องมีการรักษาให้เร็วที่สุดและทำแบบมีหลายมิติ คือ ความผิดปกติในการพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality development disorder) พิจารณาว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในวัยเด็ก หรือเป็นระยะเบื้องต้น ของความผิดปกติทางบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ งานวิจัยแสดงว่าทั้งเด็กและวัยรุ่นมีอาการที่สำคัญทางคลินิกที่คล้ายกับของ PD ในวัยผู้ใหญ่ และอาการเหล่านี้มีสหสัมพันธ์กับอาการในวัยผู้ใหญ่ และเป็นเหตุให้เกิดผลที่ตามมา
แบบจำลองมี 5 ปัจจัย
โดยปี 2002 มีงานศีกษาที่ตีพิมพ์กว่า 50 งานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองมี 5 ปัจจัย (Five Factor Model ตัวย่อ FFM) กับความผิดปกติทางบุคลิกภาพ และตั้งแต่นั้นมา ก็มีงานวิจัยต่อ ๆ มาที่ขยายประเด็นนี้ แล้วให้หลักฐานเชิงประสบการณ์เพื่อจะเข้าใจความผิดปกติทางบุคลิกภาพโดยใช้ FFM
ในงานปริทัศน์ปี 2007 ที่ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพ นักจิตวิทยาผู้หนึ่งอ้างว่า "แบบจำลองบุคลิกภาพมีปัจจัย 5 อย่างได้การยอมรับอย่างกว้างขวางว่า แสดงโครงสร้างระดับสูงของลักษณะบุคลิกภาพทั้งที่ปกติและผิดปกติ" ส่วนงานปี 2008 พบว่าแบบจำลองนี้ สามารถพยากรณ์ความผิดปกติทางบุคลิกภาพทั้ง 10 อย่างได้อย่างสำคัญ และพยากรณ์ได้ดีกว่า Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI) ในเรื่องความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (borderline), แบบหลีกเลี่ยง (avoidant), และแบบพึ่งพา (dependent)
ผลงานวิจัยที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง FFM กับความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่จัดหมวดหมู่ใน DSM มีทั่วไปอย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยปี 2003 ชื่อว่า "แบบจำลองมีปัจจัย 5 และวรรณกรรมเชิงประสบการณ์เกี่ยวกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพ: งานวิเคราะห์อภิมาน (The five-factor model and personality disorder empirical literature: A meta-analytic review)" ผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยอื่น 15 งานเพื่อกำหนดว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร โดยสัมพันธ์กับลักษณะบุคลิกภาพที่เป็นมูล เกี่ยวกับความต่าง ผลงานแสดงว่า ความผิดปกติแต่ละอย่างมีโพลไฟล์ทาง FFM โดยเฉพาะ ที่สามารถใช้อธิบายและใช้พยากรณ์ความผิดปกติได้ เพราะว่ามีรูปแบบเป็นกฎเกณฑ์ที่เฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับความเหมือนกัน ความสัมพันธ์ที่เด่นที่สุดและสม่ำเสมอของความผิดปกติทางบุคลิกภาพหลายอย่างกับลักษณะบุคลิกภาพ ก็คือ ความสัมพันธ์เชิงบวกกับ neuroticism และความสัมพันธ์เชิงลบกับความยินยอมเห็นใจ (agreeableness)
ความเปิดรับประสบการณ์
ในเรื่องลักษณะบุคลิกภาพคือความเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) มีประเด็น 3 อย่างเกี่ยวกับลักษณะที่เข้าประเด็นกับ PD คือ ความบิดเบือนทางประชาน (cognitive distortions) ความปราศจากวิจารณญาณ (insight) และความหุนหันพลันแล่น (impulsivity) การมีความเปิดในระดับสูงสามารถสร้างปัญหาการดำเนินชีวิตทางสังคมหรือทางอาชีพ โดยเพ้อฝันมากเกินไป คิดแปลก ๆ มีเอกลักษณ์ที่พล่านไปทั่ว (diffuse identity) มีเป้าหมายที่ไม่เสถียร และการไม่ทำตามสิ่งที่สังคมคาดหวัง
การมีความเปิดระดับสูงเป็นลักษณะของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบจิตเภท (คือความคิดที่แปลกและไม่สมบูรณ์) แบบหลงตัวเอง (คือ การประเมินตัวเองมากเกินไป) และแบบระแวง (คือไวต่อความเป็นปฏิปักษ์ของบุคคลอื่น) ส่วนการขาดวิจารณญาณ (ซึ่งแสดงความเปิดรับประสบการณ์ในระดับต่ำ) เป็นลักษณะของความผิดปกติทางบุคลิกภาพทั้งหมด ซึ่งก็จะสามารถอธิบายความคงทนของรูปแบบพฤติกรรมที่ปรับตัวได้ไม่ดีของคนผิดปกติ
ปัญหาที่สัมพันธ์กับความเปิดในระดับต่ำก็คือความลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง การยอมรับมุมมองและสไตล์ชีวิตที่แตกต่างกันไม่ได้ ระดับอารมณ์ที่ลดลง (emotional flattening) ความไม่สามารถระบุและกล่าวอธิบายอารมณ์ของตน (alexithymia) และเรื่องสนใจที่จำกัด ความยืดหยุ่นไม่ได้ (rigidity) ซึ่งเป็นส่วนของการมีความเปิดรับประสบการณ์ต่ำ เป็นลักษณะที่ชัดเจนที่สุดที่พบใน PD โดยเฉพาะในความผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ ส่วนลักษณะตรงกันข้ามก็คือความหุนหันพลันแล่น (impulsivity) ซึ่งเป็นลักษณะของความผิดปกติแบบจิตเภทและแบบก้ำกึ่ง
อ่านเพิ่ม
- Marshall, W. & Serin, R. (1997) Personality Disorders. In Sm.M. Turner & R. Hersen (Eds.) Adult Psychopathology and Diagnosis. New York: Wiley. 508–41
- Murphy, N. & McVey, D. (2010) Treating Severe Personality Disorder: Creating Robust Services for Clients with Complex Mental Health Needs. London: Routledge
- Millon, Theodore (and Roger D. Davis, contributor) – Disorders of Personality: DSM IV and Beyond – 2nd ed. – New York, John Wiley and Sons, 1995 ISBN 0-471-01186-X
- Yudofsky, Stuart C. (2005). Fatal Flaws: Navigating Destructive Relationships With People With Disorders of Personality and Character (1st ed.). Washington, DC. ISBN 978-1-58562-214-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ |
- Personality Disorders Foundation
- National Mental Health Association personality disorder fact sheet เก็บถาวร 2010-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Personality Disorders information leaflet from The Royal College of Psychiatrists