Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ช็อก

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ระวังสับสนกับ อาการชัก
ช็อก
(Shock )
NASG rocket girl photo.jpg
A non-pneumatic anti-shock garment (NASG)
สาขาวิชา Critical care medicine
อาการ Initial: Weakness, fast heart rate, fast breathing, sweating, anxiety, increased thirst
Later: Confusion, unconsciousness, cardiac arrest
ประเภท Low volume, cardiogenic, obstructive, distributive
สาเหตุ Low volume: Bleeding, vomiting, pancreatitis
Cardiogenic: heart attack, cardiac contusion
Obstructive: Cardiac tamponade, tension pneumothorax
Distributive: Sepsis, spinal cord injury, certain overdoses
วิธีวินิจฉัย Based on symptoms, physical exam, laboratory tests
การรักษา Based on the underlying cause
ยา Intravenous fluid, vasopressors
พยากรณ์โรค เสี่ยงต่อการเสียชีวิต 20 ถึง 50%
ความชุก 1.2 ล้านต่อปี (สหรัฐ)

ภาวะช็อก (อังกฤษ: shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาว่าการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ อาศัยเลือด การลดลงของการไหลของเลือดจึงทำให้การนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ลดลงไปด้วย จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งของช็อก

ภาวะช็อกถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญที่สุดสาเหตุหนึ่งในผู้ป่วยหนัก ผลของภาวะช็อกมีหลายอย่าง ทั้งหมดสัมพันธ์กับภาวะซึ่งระบบไหลเวียนโลหิตทำหน้าที่ได้ไม่เพียงพอ เช่น อาจทำให้มีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นได้

อาการแสดงที่สำคัญของภาวะช็อกคือหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ซึ่งเป็นกลไกตอบสนองทดแทนความบกพร่องของระบบไหลเวียน ความดันเลือดต่ำ และอาการแสดงของความไม่เพียงพอของการกำซาบที่อวัยวะส่วนปลาย (ภาวะซึ่งอวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการจนสูญเสียการทำงาน) เช่น ปัสสาวะออกน้อย (ไตทำงานลดลง) สับสนหรือซึมลง (สมองทำงานลดลง) เป็นต้น ทั้งนี้มีหลายภาวะที่ความดันเลือดของผู้ป่วยอาจปกติ แต่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ยังได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถือว่าอยู่ในภาวะช็อก ดังนั้นผู้ป่วยช็อกไม่จำเป็นต้องมีความดันเลือดต่ำเสมอไป

อันตรายอย่างหนึ่งของภาวะช็อกคือกลไกป้อนกลับทางบวกซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องสามารถทำให้ภาวะช็อกที่เป็นอยู่แล้วนั้นแย่ลงไปอีกได้ เมื่อร่างกายเกิดภาวะช็อกขึ้นแล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมหรือทันเวลา มักจะแย่ลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นการรักษาที่ทันท่วงทีจึงมีความสำคัญมาก

ภาวะช็อกทางการแพทย์นั้นหมายถึงภาวะซึ่งเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอดังกล่าว ซึ่งแตกต่างและไม่ควรสับสนกับภาวะช็อกทางอารมณ์ โดยภาวะทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กันโดยตรงแต่อย่างใด

อาการและอาการแสดง

อาการของผู้ป่วยช็อกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยสังเกตได้ยากเช่นอาการสับสนหรืออ่อนแรงเป็นต้น แต่โดยทั่วไปแล้วอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยภาวะช็อกทุกประเภทคือการมีความดันเลือดต่ำ ปัสสาวะอกน้อย และสับสน ซึ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องพบในผู้ป่วยช็อกทุกคน แม้อาการชีพจรเร็วจะพบได้บ่อย แต่ผู้ป่วยที่ใช้ยาเบตาบล็อกเกอร์ ผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬามีร่างกายแข็งแรงมาก และผู้ป่วยช็อกจากการเสียเลือดในช่องท้อง 30% อาจมีอัตราเต้นของหัวใจปกติหรือค่อนข้างต่ำได้ ช็อกบางประเภทอาจมีอาการจำเพาะของประเภทนั้นๆ ได้

ช็อกจากการขาดสารน้ำ

การจำแนกระดับความรุนแรงของการเสียเลือด
ประเภทที่ เลือดที่เสีย การตอบสนองของร่างกาย การรักษา
I <15 %(0.75 l) เล็กน้อย, อาจมีหัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดปกติ เล็กน้อย
II 15-30 %(0.75-1.5 l) ชีพจรเร็ว ความดันเลือดต่ำ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
III 30-40 %(1.5-2 l) ชีพจรเร็วมาก ความดันเลือดต่ำ ความรู้สึกตัวลดลง ให้สารน้ำและเลือด
IV >40 %(>2 l) ชีพจรและความดันเลือดระดับวิกฤต ให้การรักษาอย่างรุนแรง

ภาวะช็อกที่เกิดจากการลดลงของปริมาตรเลือดยังผล ทำให้มีอาการได้ดังนี้

  • ชีพจรเบา เร็ว เนื่องจากมีปริมาตรเลือดลดลงและหัวใจเต้นเร็ว
  • ผิวหนังแห้ง เย็น เนื่องจากมีการหดตัวของหลอดเลือดฝอยผิวหนัง
  • หายใจตื้นและเร็วเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติกถูกกระตุ้นและมีภาวะเลือดเป็นกรด
  • อุณหภูมิกายต่ำเนื่องจากการกำซาบลดลงและมีการเสียความร้อนไปทางเหงื่อ
  • กระหายน้ำ ปากแห้ง เนื่องจากสารน้ำในร่างกายลดลง
  • ผิวเย็นและเป็นลาย (cutis marmorata) โดยเฉพาะแขนขา เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงผิวหนังได้ไม่เพียงพอ

ความรุนแรงของภาวะช็อกที่เกิดจากการขาดสารน้ำหรือเลือดสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ตามอาการแสดงทางกาย ซึ่งสามารถนำไปประเมินปริมาณของสารน้ำที่สูญเสียไปได้

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение