Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ดอมเพริโดน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ดอมเพริโดน
Domperidone 2D structure.svg
Domperidone ball-and-stick model.png
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้า Motilium และอื่น ๆ
AHFS/Drugs.com Micromedex Detailed Consumer Information
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: ไม่ได้กำหนด
ช่องทางการรับยา ทางปาก ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทางเส้นเลือดดำ (หยุดใช้แล้ว) เหน็บทางทวารหนัก
ประเภทยา D2 receptor antagonist; Prolactin releaser
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล ปาก: 13-17%
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ: 90%
การจับกับโปรตีน ~92%
การเปลี่ยนแปลงยา ตับ (CYP3A4/CYP3A5
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา ทั้งหมดไร้ฤทธิ์
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 7.5 ชม.
การขับออก อุจจาระ: 66%
ปัสสาวะ: 32%
นมมารดา: น้อย
ตัวบ่งชี้
  • 5-Chloro-1-(1-[3-(2-oxo-2,3-dihydro-1H-benzo[d]imidazol-1-yl)propyl]piperidin-4-yl)-1H-benzo[d]imidazol-2(3H)-one
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard 100.055.408
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตร C22H24ClN5O2
มวลต่อโมล 425.911 กรัม/โมล
แบบจำลอง 3D (JSmol)
จุดหลอมเหลว 242.5 องศาเซลเซียส (468.5 องศาฟาเรนไฮต์)
  • Clc1cc2c(cc1)N(C(=O)N2)C5CCN(CCCN4c3ccccc3NC4=O)CC5
  • InChI=1S/C22H24ClN5O2/c23-15-6-7-20-18(14-15)25-22(30)28(20)16-8-12-26(13-9-16)10-3-11-27-19-5-2-1-4-17(19)24-21(27)29/h1-2,4-7,14,16H,3,8-13H2,(H,24,29)(H,25,30) Yes check.svg 7
  • Key:FGXWKSZFVQUSTL-UHFFFAOYSA-N Yes check.svg 7
  (verify)
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

ดอมเพริโดน (อังกฤษ: Domperidone) ซึ่งขายในยี่ห้อรวมทั้ง Motilium และอื่น ๆ เป็นยาต้านหน่วยรับโดพามีนแบบดี2 (dopamine D2 receptor antagonist) และมีฤทธิ์อย่างเจาะจงนอกระบบประสาทกลาง (peripherally selective) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเบลเยียม Janssen Pharmaceutica และใช้เป็นยาแก้อาเจียน ยาโปรคิเนติก และยาขับน้ำนม ยาสามารถให้ทางปากหรือทวารหนัก ในรูปแบบยาเม็ด ยาเม็ดละลายในปาก (โดยใช้เทคโนโลยี Zydis) ยาน้ำโดยเป็นสารแขวนลอย และยาเหน็บ ยาใช้สำหรับบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน เพื่อเร่งขับอาหารผ่านกระเพาะลำไส้ (โดยเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหาร) และเพื่อขับน้ำนมมารดาโดยมีผลให้หลั่งฮอร์โมน prolactin

การแพทย์

รายงานปี 2007 ระบุว่า ยามีขายในประเทศ 58 ประเทศ แต่ข้อบ่งใช้ยาจะต่างกัน เช่นในอิตาลี มันใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน และในแคนาดา ยาให้ใช้รักษาโรคการบีบตัวของทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal motility disorder) และเพื่อกันอาการทางเดินอาหารที่เกิดเนื่องจากยารักษาโรคพาร์คินสัน (dopamine agonist antiparkinsonian agent) ในสหราชอาณาจักร ยาให้ใช้เพียงเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน และจำกัดให้ใช้เพียง 1 อาทิตย์

ในสหรัฐ ยาโดยทั่วไปไม่อนุมัติให้ใช้ในมนุษย์ ในปี 2004 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้แจ้งเตือนว่า การแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ที่มีดอมเพริโดนเป็นการกระทำผิดกฎหมาย

อาการคลื่นไส้และอาเจียน

มีหลักฐานบ้างว่า ยามีฤทธิ์แก้อาเจียน (antiemetic) แนวทางการรักษาของสมาคมปวดศีรษะแคนาดา (Canadian Headache Society) แนะนำให้ใช้รักษาความคลื่นไส้ที่สัมพันธ์กับไมเกรนแบบฉับพลัน

อัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร

อัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร (gastroparesis) เป็นภาวะที่อาหารออกจากกระเพาะช้าแม้เมื่อไม่มีการอุดตัน ปกติจะไม่รู้สาเหตุ หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หรือเป็นผลของการบาดเจ็บที่ท้อง เป็นภาวะที่ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องแน่นหลังทานอาหาร อิ่มเร็ว ปวดท้อง และท้องพอง (bloating) ยาจึงอาจมีประโยชน์สำหรับคนไข้โรคเบาหวานและอัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร

อย่างไรก็ดี ก็ยังไม่แน่นอนว่า กระเพาะอาหารที่ว่างเร็วขึ้นเนื่องจากยาเช่นนี้ จะบรรเทาอาการ

โรคพาร์คินสัน

โรคพาร์คินสันเป็นโรคเรื้อรังทางประสาท ที่ระดับโดพามีนซึ่งลดลงในสมองจะก่อสภาพแข็งเกร็ง (คือขยับตัวอย่างแข็ง ๆ) อาการสั่น และอาการอื่น ๆ ทางเดินอาหารที่ทำงานได้ไม่ดี คลื่นไส้ และอาเจียน เป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนไข้ เพราะยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคนี้โดยมากเป็นยาทาน และยาเหล่านี้เช่น levodopa ก็ยังอาจทำให้คลื่นไส้โดยเป็นผลข้างเคียง อนึ่ง ยาแก้คลื่นไส้ เช่น metoclopramide ยังสามารถข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือด (blood-brain barrier) จึงอาจทำให้อาการ extrapyramidal ของโรคแย่ลง

ดอมเพริโดนสามารถใช้บรรเทาอาการทางเดินอาหารสำหรับโรคพาร์คินสัน เพราะมันระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนแบบดี2 แต่ก็ไม่ข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือด ดังนั้น จึงไม่มีผลต่ออาการ extrapyramidal ของโรค อนึ่ง ยาอาจเพิ่มความพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ของ levodopa ซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาโรคพาร์คินสันอย่างหนึ่ง

แม้ลักษณะต่าง ๆ เช่นนี้อาจจะทำให้ยามีประโยชน์สำหรับโรคพาร์คินสัน แต่ก็จะต้องระมัดระวังเพราะมีผลข้างเคียงเป็นพิษต่อหัวใจ โดยเฉพาะถ้าให้ทางเส้นเลือดดำ หรือให้ผู้สูงอายุ หรือให้มากกว่า 30 มก. ต่อวัน อาการเป็นพิษต่อหัวใจของยาก็คือความยาวขึ้นของคลื่นหัวใจช่วง QT interval

อาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ (functional dyspepsia)

ยาสามารถใช้รักษาอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ (functional dyspepsia) ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก

การหลั่งน้ำนม

ฮอร์โมน prolactin จะกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนม แต่โดพามีนที่หลั่งโดยไฮโปทาลามัสจะระงับการหลั่ง prolactin จากต่อมใต้สมอง เพราะดอมเพริโดนมีฤทธิ์ต้านโดพามีน มันจึงทำให้หลั่ง prolactin มากขึ้น และดังนั้น จึงเป็นยาขับน้ำนม ในบางประเทศ รวมทั้งออสเตรเลีย ยาจะใช้นอกข้อบ่งใช้อาศัยหลักฐานโดยเรื่องเล่าที่ไม่แน่นอน เพื่อบำบัดมารดาที่มีปัญหาเลี้ยงลูกด้วยนม ในสหรัฐ ยานี้ไม่อนุมัติให้ใช้ในการนี้หรือการอื่น ๆ

อย่างไรก็ดี งานศึกษาที่ชื่อว่า EMPOWER ได้ประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเพื่อช่วยมารดาที่คลอดบุตรก่อนกำหนดให้สามารถให้นมแก่บุตรได้ งานได้จัดมารดาผู้คลอดก่อนกำหนด 90 คนเข้ากลุ่มโดยสุ่ม กลุ่ม A ได้รับยา 10 มก. ทางปาก 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 28 วัน กลุ่ม B ได้ยาหลอกเท่ากัน ๆ แต่แค่ 14 วัน ตามด้วยยาจริงอีก 14 วัน ปริมาณนมที่ผลิตโดยเฉลี่ยคล้าย ๆ กันทั้งสองกลุ่มในเบื้องต้น แต่หลังจาก 14 วัน มารดา 78% ที่ได้ยา (กลุ่ม A) ผลิตนมมากขึ้น 50% และมารดา 58% คนที่ได้ยาหลอก (กลุ่ม B) ผลิตนมมากขึ้น 50% เช่นกัน ซึ่งแสดงว่ายานี้มีผลเพิ่มการผลิตนม

เพื่อให้หลั่งนม ยาจะให้ในขนาด 10-20 มก. 3-4 ครั้งต่อวันทางปาก ผลจะเห็นได้ภายใน 24 ชม. หรือภายใน 3-4 วัน ผลระดับสูงสุดจะเกิดภายใน 2-3 สัปดาห์ และโดยทั่วไปจะให้ยาเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์

งานปริทัศน์เป็นระบบแบบคอเคลนปี 2012 แสดงว่า ไม่มีหลักฐานสนับสนุนให้ใช้ยาขับน้ำนมแบบป้องกันไว้ก่อน ไม่ว่าจะในช่วงการตั้งครรภ์ใด ๆ รวมทั้งยานี้

กรดไหลย้อนในเด็ก

ยานี้พบว่ามีประสิทธิผลเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนในเด็ก แต่ผู้ชำนาญการบางพวกก็พิจารณาว่ามันเสี่ยงมากเกินไปเพื่อใช้รักษาแบบนี้

ข้อห้ามใช้

  • ร่วมกับสารที่ยับยั้งระบบเอนไซม์ CYP3A4 เช่น
  • ร่วมกับยาที่เพิ่มความยาวคลื่นหัวใจช่วง QT-interval เช่น amiodarone
  • เมื่อมีเนื้องอกต่อมใต้สมองที่หลั่ง prolactin (โปรแลกติโนมา) หรือภาวะมี prolactin ในเลือดเกิน (hyperprolactinemia)
  • เมื่อมีโรคลำไส้ที่เป็นโรคทางกายภาพ เช่น ลำไส้อุดตัน การตกเลือดในทางเดินอาหาร หรือลำไส้ทะลุ
  • เมื่อตับพิการในระดับปานกลาง
  • เมื่อไตพิการอย่างหนัก
  • เมื่อมีโรคหัวใจ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยารวมทั้งปากแห้ง ตะคริวที่ท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ เป็นผื่น คัน ลมพิษ และภาวะมี prolactin ในเลือดเกิน (ซึ่งอาการอาจรวมนมใหญ่ขึ้น น้ำนมไหล ปวดเต้านม นมโตในชาย ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกิน และการมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ)

เพราะระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนแบบดี2ในระบบประสาทกลาง ยาต้านหน่วยรับดี2 เช่น metoclopramide สามารถมีผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมทั้งง่วงนอน, นั่งไม่ติดที่ (akathisia), อยู่ไม่เป็นสุข, นอนไม่หลับ, อิดโรย, ล้า, อาการ extrapyramidal, dystonia อาการโรคพาร์คินสัน อาการยึกยือเหตุยาที่เกิดภายหลัง (tardive dyskinesia) และอารมณ์ซึมเศร้าแต่ดอมเพริโดนไม่เป็นเช่นนี้ เพราะไม่เหมือนกับสารต้านหน่วยรับดี2อื่น ๆ มันสามารถข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือดได้น้อยมาก และเพราะเหตุนี้ จึงไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเหล่านี้

ระดับ prolactin เกิน

เนื่องจากระงับการทำงานปกติของหน่วยรับดี2 ยาจึงเป็นเหตุให้เกิดสภาพ prolactin เกินในเลือด ซึ่งก็จะระงับการหลั่งฮอร์โมน gonadotropin-releasing hormone (GnRH) จากไฮโปทาลามัส ซึ่งก็จะงับการหลั่งฮอร์โมน follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) และมีผลเป็นต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกิน (hypogonadism) คือมีฮอร์โมนทางเพศน้อยเกิน เช่น เทสโทสเตอโรนและ estradiol ดังนั้น คนไข้ชายอาจจะมีอารมณ์ทางเพศต่ำ การแข็งตัวของอวัยวะเพศที่ผิดปกติ (erectile dysfunction) และการสร้างสเปิร์มที่หย่อนสมรถถภาพ

อนึ่ง เพราะการมี prolactin ในเลือดเกิน คนไข้หญิง 10-15% รายงานว่าเกิดนมโต (mammoplasia) ปวดเต้านม (mastodynia) น้ำนมไหล (galactorrhea) และการไม่มีประจำเดือน (amenorrhea) เพราะรักษาด้วยยา ภาวะนมโตในชายก็มีด้วยเมื่อรักษาด้วยยา และน้ำนมไหลก็สามารถเกิดในชายได้เช่นกัน

ปฏิกิริยาที่มีน้อย

ทางหัวใจ

การใช้ยาสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงตายเหตุหัวใจแบบฉับพลัน (sudden cardiac death) ถึง 70% เพราะมันอาจยืดคลื่นหัวใจช่วง QT interval แล้วก่อภาวะหัวใจเสียจังหวะ (ventricular arrhythmia) เหตุเชื่อว่าเพราะมันหยุดช่องไอออนโพแทสเซียมที่เปิดปิดด้วยศักย์ไฟฟ้าแบบ hERG ความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ และดูเหมือนจะมากที่สุดเมื่อให้ในขนาดสูงและสูงมากผ่านเส้นเลือดดำ ในผู้สูงอายุ และเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับดอมเพริโดนโดยเพิ่มความเข้มข้นของมัน (คือเป็นยาที่ยับยั้งระบบเอนไซม์ CYP3A4) แต่ก็มีรายงานต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันด้วยเหมือนกัน ในเด็กเพิ่งเกิดใหม่และทารก การยืดช่วงคลื่นหัวใจคือ QT prolongation ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน

องค์กรควบคุมยาของสหราชอาณาจักร (MHRA) ได้จำกัดการใช้ยาในปี 2014 เนื่องจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นเนื่องกับหัวใจ

ดอมเพริโดน (Motilium) สัมพันธ์กับความเสี่ยงผลข้างเคียงเกี่ยวกับหัวใจอย่างหนักซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การใช้มันต่อแต่นี้ไปให้จำกัดเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน ทั้งขนาดและระยะการใช้ก็ให้ลดลง มันไม่ควรใช้รักษาอาการท้องพอง (bloating) และอาการแสบร้อนกลางอก ดอมเพริโดนต่อแต่นี้ไปห้ามใช้ในบุคคลที่มีโรคหัวใจและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ คนไข้ที่มีภาวะเหล่านี้ และคนไข้ที่กำลังรักษาในระยะยาวด้วยดอมเพริโดนควรประเมินใหม่เมื่อไปหาหมอตามนัด อาศัยคำแนะนำใหม่นี้

แต่งานทบทวนวรรณกรรมปี 2015 ของออสเตรเลียก็ได้สรุปดังต่อไปนี้

อาศัยผลงานศึกษา TQT (ซึ่งเป็นวิธีการประเมินมาตรฐานทองขององค์กรในปัญหาการยืดคลื่นหัวใจ) สองงาน ดอมเพริโดนไม่ปรากฏว่าสัมพันธ์กับคลื่นหัวใจช่วง QT-interval ที่ยาวขึ้นอย่างสำคัญเมื่อใช้ทานในขนาด 20 มก. 4 ครั้งต่อวันในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี นอกจากนั้น รายงานกรณีคนไข้ที่สนับสนุนความสัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของหัวใจก็มีจำกัด และงานศึกษาแบบ case-control ที่บ่อยครั้งอ้างก็มีข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่สำคัญ แม้จะมีความเสี่ยงที่ยังไม่ชัดเจนเมื่อความเข้มข้นทั่วร่างกายสูงกว่านี้ โดยเฉพาะในคนไข้ผู้มีความเสี่ยงพื้นฐานต่อการยืดช่วงคลื่นหัวใจ QT-interval ที่สูงขึ้น งานทบทวนของเราก็ไม่สนับสนุนมุมมองว่า ดอมเพริโดนมีความเสี่ยงที่ทนรับไม่ได้

พิษที่อาจมีต่อระบบประสาทกลางในทารก

ในสหราชอาณาจักร มีคดีเกี่ยวกับมารดาที่มีลูกสามคนผู้ล้วนแต่มีภาวะไอออนโซเดียมเกินในเลือด (hypernatraemia) และเด็กสองคนได้เสียชีวิต เธอจึงถูกจับข้อหาวางยาพิษแก่เด็กโดยใช้เกลือ เด็กคนหนึ่ง ผู้คลอดหลังจากอยู่ในครรภ์เพียง 28 อาทิตย์ผู้มีภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจ ต้องผ่าตัดผูกหูดรูดกระเพาะอาหารเนื่องจากโรคกรดไหลย้อน และไม่โตตามวัย ได้รับยาดอมเพริโดนตามแพทย์สั่ง ทนายของมารดาได้เสนอว่า เด็กอาจเกิดอาการ neuroleptic malignant syndrome โดยเป็นผลข้างเคียงของยา เนื่องจากมันสามารถข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือดที่ยังไม่เจริญอย่างสมบูรณ์ของเด็กได้

ปฏิสัมพันธ์

ดอมเพริโดนจะสลายผ่านระบบเอนไซม์ CYP3A4 เกือบทั้งหมด และเพราะเหตุนี้ ยายับยั้งหรือเสริมเอนไซม์นี้อาจเปลี่ยนเมแทบอลิซึมและความเข้มข้นของยาในเลือด นอกจากนั้น ยายังได้ระบุว่าเป็นตัวยับยั้งระบบเอน์ไซม์ CYP3A4 แบบผันกลับไม่ได้อย่างพอประมาณ (ที่ Ki = 12 μM) และได้ประเมินว่า มันอาจเพิ่มความเข้มข้นของตัวถูกเปลี่ยนของเอนไซม์ CYP3A4 ในเลือดโดยประมาณ 50%

ยาคีโตโคนาโซลและ itraconazole ที่ล้วนใช้รักษาการติดเชื้อรา เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 ที่มีฤทธิ์ และจะเพิ่มความเข้นข้นในเลือดของดอมเพริโดน ในอาสาสมัครผู้มีสุขภาพดี คีโตโคนาโซลเพิ่มความเข้มข้นของดอมเพริโดนวัดโดย Cmax และ AUC ถึง 3-10 เท่า ซึ่งตามมาด้วยการยืดคลื่นหัวใจช่วง QT interval ประมาณ 10-20 มิลลิวินาที เมื่อให้ดอมเพริโดน 10 มก. 4 ครั้งต่อวัน และให้คีโตโคนาโซล 200 มก. ต่อวัน เทียบเมื่อให้ดอมเพริโดนเท่ากันแต่อย่างเดียวจะไม่มีผลดังที่ว่า ดังนั้น การใช้ดอมเพริโดนร่วมกับคีโตโคนาโซล หรือกับสารยับยั้ง CYP3A4 อื่น ๆ อาจเป็นอันตราย

อิริโทรมัยซินและยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolide บางอย่าง เป็นสารยับยั้ง CYP3A4 และยับยั้งการสลายดอมเพริโดน (ในสภาพแวดล้อมที่ทำเทียมขึ้น) และดังนั้น ก็อาจเพิ่มความเข้มข้นของดอมเพริโดนและผลข้างเคียงที่อาจเกิดของมัน นี่น่าเป็นห่วง เพราะยาทั้งสองอาจใช้รักษาอัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร (gastroparesis)

มีหลักฐานว่า ยาไม่ควรทานกับน้ำเกรปฟรูต ซึ่งก็เป็นตัวยับยั้ง CYP3A4 ด้วย

เภสัชวิทยา

Pharmacodynamics

ดอมเพริโดนเป็นยาต้าน (antagonist) หน่วยรับโดพามีนแบบดี2 (dopamine D2 receptor) และแบบดี3 (dopamine d3 receptor) มีฤทธิ์อย่างเจาะจงนอกระบบประสาทกลาง (peripherally selective) และไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่สำคัญทางคลินิกกับหน่วยรับแบบดี1 ซึ่งไม่เหมือน metoclopramide ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้โดยระงับการทำงานของหน่วยรับดี2ในเขต chemoreceptor trigger zone (ในระบบประสาทส่วนที่อำนวยอาการคลื่นไส้) ซึ่งอยู่ที่ฐานของโพรงสมองที่สี่ ยาเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหารส่วนบนในระดับกลาง ๆ และเพิ่ม แรงดันที่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) โดยระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนในกระเพาะส่วนปลาย (gastric antrum) และในลำไส้เล็กส่วนต้น ยาระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนในต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior) ซึ่งมีผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน prolactin ซึ่งก็มีผลเพิ่มการหลั่งน้ำนม ยาอาจมีประโยชน์ในคนไข้บางพวกแต่อาจเป็นอันตรายในอีกพวกเนื่องกับกรรมพันธุ์ของบุคคล เช่น ภาวะพหุสัณฐานของยีนขนส่งยาคือ ABCB1 (ซึ่งเข้ารหัสโปรตีน P-glycoprotein), ของยีนช่องโพแทสเซียมที่เปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated potassium channel) คือ KCNH2 (hERG/Kv11.1), และของยีน α1D—adrenoceptor คือ ADRA1D

ผลต่อระดับ prolactin

ยาทานขนาด 20 มก. พบว่าเพิ่มระดับฮอร์โมน prolactin ในเลือด (วัด 90 นาทีหลังทาน) ในหญิงที่หลั่งน้ำนมโดยเพิ่มจาก 8.1 นาโนกรัม/มล. เป็น 110.9 นาโนกรัม/มล. (เพิ่มขึ้น 13.7 เท่า) ซึ่งคล้ายกับเมื่อทานยา metoclopramide ขนาด 20 มก. (เพิ่มจาก 7.4 นาโนกรัม/มล. เป็น 124.1 นาโนกรัม/มล. คือ 16.7 เท่า) หลังจากการทานตลอด 2 อาทิตย์ โดยทาน 30 มก. ต่อวัน การเพิ่มระดับ prolactin ของดอมเพริโดนจะลดลง (เป็น 53.2 นาโนกรัม/มล. คือ 6.6 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน) แต่ของ metoclopramide กลับเพิ่มยิ่งขึ้น (เป็น 179.6 นาโนกรัม/มล. คือ 24.3 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน) ซึ่งแสดงว่า การให้ยาทั้งสองไม่ว่าจะโดยชั่วคราวหรือโดยต่อเนื่องมีประสิทธิผลเพิ่มระดับ prolactin แต่การให้ยาระยะยาวมีผลต่างกันในระหว่างยาทั้งสอง

กลไกความแตกต่างยังไม่ชัดเจน การเพิ่มระดับ prolactin ของยาทั้งสองเกิดในหญิงมากกว่าชายตามคาด โดยน่าจะเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงกว่าในหญิง เพราะเอสโตรเจนกระตุ้นให้หลั่ง prolactin

เพื่อการเปรียบเทียบ ระดับ prolactin ของหญิงปกติจะน้อยกว่า 20 นาโนกรัม/มล. โดยถึงขีดสูงสุดที่ 100-300 นาโนกรัม/มล. ในหญิงมีครรภ์เมื่อกำลังคลอด คือระดับจะอยู่ที่ 90 นาโนกรัม/มล. 10 วันหลังคลอด และ 44 นาโนกรัม/มล. 180 วันหลังคลอด

ผลต่อระดับฮอร์โมน TSH

ยายังเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ในระดับที่น้อยกว่าการเพิ่ม prolactin แม้ในคนไข้ภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism) การให้ยาสำหรับหญิงที่มีภาวะขาดไทรอยด์ทางเส้นเลือดขนาด 4 mg จะเพิ่มระดับ TSH โดยได้ค่าสูงสุดที่ 1.9 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน และเพิ่มระดับ prolactin โดยได้ค่าสูงสุดที่ 23 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน หลังจากให้ยา 30 นาที ระดับ TSH และ prolactin จะลดลงเหลือ 1.6 เท่าและ 17 เท่าเหนือค่าพื้นฐานตามลำดับ หลังให้ยา 120 นาที

Pharmacokinetics

สำหรับยาทาน ดอมเพริโดนจะสลายในตับเกือบทั้งหมดผ่านระบบเอนไซม์ CYP3A4/CYP3A5 (แม้มีรายงานว่าระบบ CYP1A2, CYP2D6, และ CYP2C8 ก็มีบทบาทเล็กน้อย) และในลำไส้ เนื่องจากเมแทบอลิซึมรอบแรก (first-pass effect) อย่างหนักเช่นนี้ สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ของยาจึงค่อนข้างต่ำ (13-17%) ในนัยตรงข้าม สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพของยาที่ให้ทางเส้นเลือดจึงสูง (90%) ครึ่งชีวิต (terminal half-life) ของยาอยู่ที่ 7.5 ชม. ในคนปกติ แต่อาจยาวถึง 20 ชม. สำหรับผู้ที่ไตทำงานผิดปกติอย่างหนัก เมแทบอไลต์ทั้งหมดของยาไม่มีฤทธิ์โดยอยู่ในสภาพเป็นลิแกนด์ของหน่วยรับดี2 ยาเป็นตัวถูกเปลี่ยนของโปรตีนขนส่ง ABCB1 (P-glycoprotein transporter) และงานศึกษาในสัตว์แสดงนัยว่า นี่เป็นเหตุให้ยาเข้าไปในระบบประสาทกลางได้น้อย

เคมี

ยาเป็นสารอนุพันธ์ของ benzimidazole และสัมพันธ์ทางโครงสร้างกับยารักษาโรคจิตกลุ่ม butyrophenone เช่น haloperidol

ประวัติ

  • 1974 - ยาสังเคราะห์ขึ้นที่บริษัท Janssen Pharmaceutica โดยอาศัยงานศึกษายารักษาโรคจิต คือ บริษัทได้พบว่า ยารักษาโรคจิตบางอย่างมีผลสำคัญต่อหน่วยรับโดพามีนใน chemoreceptor trigger zone ในระบบประสาทกลาง และดังนั้น จึงไร้ผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal ที่มักจะมีในยาประเภทนี้ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบดอมเพริโดนโดยเป็นยาแก้อาเจียนที่มีผลข้างเคียงน้อยต่อระบบประสาทกลาง
  • 1978 - วันที่ 3 มกราคม 1978 ยาได้รับสิทธิบัตรในสหรัฐ (หมายเลข US4066772 A) โดยยื่นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1976
  • 1979 - ยาวางตลาดในยี่ห้อ "Motilium" ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์และเยอรมนี (ตะวันตก)
  • 1999 - เริ่มวางขายยาในรูปแบบละลายในปาก (โดยใช้เทคโนโลยี Zydis)
  • บริษัทได้ยื่นเรื่องเพื่ออนุมัติยาให้องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) หลายครั้งหลายหน รวมทั้งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990
  • 2014 - ในเดือนเมษายน 2014 กลุ่ม CMDh ได้ประกาศแก่สื่อข่าวเพื่อเสนอให้จำกัดใช้ยาที่มีดอมเพริโดน และอนุมัติข้อเสนอจากคณะกรรมการ PRAC ของ EMA ที่ได้ตีพิมพ์ก่อน ให้ใช้ยาเพื่อเพียงรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียน และลดขนาดสูงสุดต่อวันเหลือแค่ 10 มิลลิกรัม

สังคมและวัฒนธรรม

ชื่อ

ดอมเพริโดน (domperidone) เป็นชื่อสามัญของยา เป็นชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ (INN), ชื่อยาที่รับอนุญาตของอเมริกา (USAN), ชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษ (BAN), และชื่อยาที่รับอนุญาตของญี่ปุ่น (JAN)

การวางขาย

ในปี 2007 มีรายงานว่ายามีขายในประเทศ 58 ประเทศ และมีขายแบบไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ (functional dyspepsia) ในประเทศต่าง ๆ เช่น ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี แอฟริกาใต้ เม็กซิโก ชิลี และจีน

ยาไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้โดยทั่วไปในสหรัฐอเมริกา แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคนไข้ที่มีอาการกระเพาะลำไส้ที่รักษาด้วยยาอื่นไม่หายในโปรแกรม Investigational New Drug ขององค์กรอาหารและยาสหรัฐ

งานวิจัย

มีการศึกษาดอมเพริโดนในฐานะยาคุมกำเนิดทางฮอร์โมนสำหรับหญิง

เชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение