Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ต้อกระจก
ต้อกระจก (Cataract) | |
---|---|
ภาพขยายของต้อกระจกในดวงตามนุษย์ ที่เห็นได้จากการตรวจตาด้วยแสงจากโคมร่องแสงโดยการใช้การส่องสว่างแบบกระจาย | |
สาขาวิชา | จักษุวิทยา, ทัศนมาตรศาสตร์ |
อาการ | Faded colors, blurry vision, halos around light, trouble with bright lights, trouble seeing at night |
ภาวะแทรกซ้อน | การพลัดตกหกล้ม, ซึมเศร้า, ตาบอด |
การตั้งต้น | ค่อยเป็นค่อยไป |
สาเหตุ | ความชรา, การบาดเจ็บ, การรับรังสี, ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดตา, พันธุกรรม |
ปัจจัยเสี่ยง | โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, การได้รับแสงแดดต่อเนื่องยาวนาน, การดื่มสุรา |
วิธีวินิจฉัย | Eye examination |
การป้องกัน | Sunglasses, proper diet, not smoking |
การรักษา | Glasses, cataract surgery |
ความชุก | 60 ล้าน (2015) |
ต้อกระจกเป็นโรคของตาอย่างหนึ่ง คือภาวะที่เกิดความขุ่นขึ้นที่เลนส์ตาหรือปลอกหุ้มเลนส์ตาซึ่งปกติจะมีความใส เมื่อขุ่นแล้วจะทำให้แสงผ่านได้แย่กว่าปกติ มีผลกระทบต่อการมองเห็น ต้อกระจกมักจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และอาจเกิดขึ้นในตาเพียงข้างเดียว หรือสองข้าง โดยอาการอาจะประกอบไปด้วยสีภาพที่มองเห็นจางลง ภาพมัวขุ่นหรือมีภาพซ้อน มีปัญหากับแสงจ้า และมองเห็นในที่มืดได้ไม่ดี ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการขับขี่ การอ่าน หรือการจดจำใบหน้า การมองเห็นที่ไม่ดีที่เกิดจากต้อกระจกอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการล้มเพิ่มขึ้น และความซึมเศร้า ต้อกระจกเป็นสาเหตุของอาการตาบอดร้อยละ 50 และร้อยละ 33 เป็นสาเหตุของความบกพร่องทางสายตาของประชากรมนุษย์ทั่วโลก
ต้อกระจกสว่นมากนั้นมีเหตุมาจากอายุที่มากขึ้น แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้จากการบาดเจ็บหรือการสัมผัสรับกัมมันตภาพรังสี ยังสามารถมีมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดตา โดยต้อกระจกนั้นมีปัจจัยเสี่ยงที่ประกอบไปด้วยโรคเบาหวาน การใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์เป็นระยะเวลานาน การสูบบุหรี่ การได้รัยแสงแดดเป็นเวลานาน และการดื่มแอลกอฮอล์ กลไกที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดต้อกระจกคือการสะสมของกลุ่มโปรตีน หรือสารสีสีเหลืองน้ำตาลภายในชั้นเลนส์ตาที่มีผลให้ลดการผ่านของแสงไปยังจอประสาทตา ซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตา การวินิฉัยนั้นทำได้ด้วยการตรวจตา
อาการ
อาการของต้อกระจกนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของต้อกระจก แต่ก็ยังมีอาการร่วมที่เหมือนกัน ผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตา หรือ ต้อกระจกที่นิวเคลียสของแก้วตามีความแข็งเพิ่มขึ้นมักมีอาการการมองเห็นที่ลดลง ต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตามักมีผลต่อการมองเห็นในระยะไหลมากกว่าการมองเห็นระยะใกล้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังมักเกิดแสงบาดตาเป็นอาการหลักของต้อกระจกในประเภทดังกล่าว
ความรุนแรงของการเกิดต้อกระจกจะถูกตัดสินจากการทดสอบการมองเห็นเป็นหลัก หากไม่มีโรคตาอื่น ๆ ประกอบ โดยอาการอื่น ๆ อาจะประกอบด้วยการเปลี่ยนแว่นที่บ่อยครั้ง และเกิดภาพหลอกเป็นวงแหวนสีเนื่องมากจากความชื้นที่ลดลงของเลนส์ตา
ต้อกระจกแต่กำเนิดสามารถทำให้เกิดอาการตามัว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
สาเหตุของการเกิดต้อกระจก
การเกิดต้อกระจกนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาการเสื่อมของเลนส์ตา โดยส่วนมากโรคต้อกระจกนี้จะพบกับผู้ทีมีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากมารดาขณะตั้งครรภ์ หรือการที่กินยาสเตียรอยด์เป็นประจำก็เป็นสาเหตุของการเกิดต้อกระจกได้เช่นกัน
การวินิจฉัย
การจำแนกประเภท
ต้อกระจกอาจเป็นได้บางส่วนหรือเป็นอย่างสมบูรณ์ คงที่หรือเพิ่มความรุนแรง แข็งหรือนิ่ม โดยต้อกระจกชนิดหลักที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของเลนส์ตาที่เกิดจากอายุนั้นจะเป็นต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตา เกิดการขุ่นของแก้วตาของสารหรือเนื้อ ส่วนที่เป็นเนื้อแก้วตาชั้นนอก และการขุ่นของชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดซึ่งติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลัง
ต้อกระจกประเภทต่างๆ | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
การป้องกัน
ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การได้รับรังสี UVB และการสูบบุหรี่ สามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้ แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการป้องกันต้อกระจกที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การสวมแว่นตากันแดดที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต อาจช่วยลดความเร็วในการก่อตัวของต้อกระจกได้ ในขณะที่การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม (อาทิเช่นวิตามิน ซี เอ และอี)นั้นได้ถูกพิจรณาว่าสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ แต่การทดลองทางคลินิกนั้นไม่ได้พบว่าไม่ได้มีผลช่วย แม้ว่าหลักฐานนั้นจะบ่งชี้ไปคนละทาง แต่ยังมีแง่บวกเล็กน้อย สำหรับผลในการป้องกันต้อกระจกด้วยสารอาหารจำวพวกลูทีน และซีอาแซนทิน
ระบาดวิทยา
ต้อกระจกที่มีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนของการตาบอดร้อยละ 51 ของการตาบอดทั่วโลก นับเป็น 20 ล้านคนโดยไปประมาณ ต้อกระจกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุพพลภาพระดับปานกลาง ถึงรุนแรงในประชากรจำนวนราว 53.8 ล้านคน (2004), ซึ่งราวกว่า 52.2 ล้านคนนั้นอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ
ในหลายประเทศ การบริการศัลยกรรมนั้นมีไม่เพียงพอ และทำให้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดเป็นอาการตาบอด ในขณะในประเทศที่มีบริการศัลยกรรมเพียงพอ การให้ความสำคัญต่อต้อกระจกนั้นยังอาจต่ำ ซึ่งเป็ฯผลให้เกิดการรอคอยที่นาน เกิดอุปสรรคในการได้รับผ่าตัดศัลยกรรม เช่นค่าใช้จ่ายที่สูง การขาดข้อมูล และปัญหาด้านการขนส่งคมนาคมเป็นต้น
ในประเทศไทย จากการสำรวจภาวะตาบอดแห่งชาติ พ.ศ. 2537 พบว่าต้อกระจกนั้นเป็นสาเหตุของของการตาบอดถึงร้อยละ 74.6 และจากการสำรวจภาวะตาบอดและโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทย ในระยะพ.ศ. 2549-2550 พบว่าโรคต้อกระจกยังเป็นสาเหตุตาบอดที่พบมากที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากการเสื่อมตัวของเลนส์แก้วตาตามวัย
ส่วนในสหรัฐอเมริกามีรายงานการเปลี่ยนเลนส์ตาเนื่องจากสาเหตุเกี่ยวข้องทางด้านอายุว่าในร้อยละ 42 นั้นอยู่ในระหว่างอายุ 52 ถึง 64 60% between the ages 65 and 74, และกว่าร้อยละ 91 นั้นอยู่ในระหว่างอายุ 75 และ 85 ต้อกระจกส่งผลกระทบประชากรชาวอเมริกันที่มีอายุ 40 และมากกว่าราว 22 ล้านคน และมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรอเมริกันที่มีอายุ 80 ขึ้นไปนั้นเป็นป่วยเป็นโรคต้อกระจก ค่ารักษาพยาบาลโดยตรงสำหรับการรักษาต้อกระจกในสหรัฐนั้นสูงถึง 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ในพื้นที่บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ต้อกระจกนั้นเป็นสาเหตุของการตาบอดกว่าร้อยละ 51 ของการตาบอดทั้งหมดในพื้นที่ดังกล่าว การเข้าถึงการรักษาและการดูแลจักษุเวชในหลายประเทศในพื้นที่นั้นมีอยู่อย่างจำกัด
ต้อกระจกที่มีความเกี่ยวข้องกับวัยเด็กนั้นมีส่วนของการตาบอดในเด็กร้อยละ 5 ถึง 20 ทั่วทั้งโลก
แหล่งข้อมูลอื่น
- ต้อกระจก ที่เว็บไซต์ Curlie
- Pictures of different types of cataracts
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |