Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
หิด
โรคหิด (scabies) | |
---|---|
ชื่ออื่น | seven-year itch |
ภาพขยายผิวหนังของผู้ป่วยโรคหิด แสดงให้เห็นรอยบนผิวหนังที่ตัวหิดขุดเป็นอุโมงค์ | |
สาขาวิชา | Infectious disease, dermatology |
อาการ | itchiness, pimple-like rash |
การตั้งต้น | 2–6 weeks (first infection), ~1 day (subsequent infections) |
สาเหตุ | Sarcoptes scabiei mite spread by close contact |
ปัจจัยเสี่ยง | Crowded living conditions (child care facilities, group homes, prisons), lack of access to water |
วิธีวินิจฉัย | Based on symptoms |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Seborrheic dermatitis, dermatitis herpetiformis, pediculosis, atopic dermatitis |
ยา | Permethrin, crotamiton, lindane, ivermectin |
ความชุก | 204 million / 2.8% (2015) |
หิด (อังกฤษ: scabies mite) เป็น ไร (mite) ชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิต (parasite) ต้องอาศัยบนร่างกายคน โดยดำรงชีวิตอยู่บนผิวหนังของคน และกินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร ทำให้เกิดโรคหิด (โรค scabies)
ลักษณะทั่วไปของหิด
ตัวหิด หรือ Scabies mite ซึ่งมีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarcoptes scabiei var hominis วงจรชีวิตของตัวหิดคือ เมื่อได้รับหิดตัวเมียที่มีไข่อยู่ในตัวมาจากคนอื่นหลังจากนั้น หิดก็จะคลานหาที่เหมาะสมและขุดเจาะผิวหนังจนเป็นโพรง (Burrow) แล้ววางไข่
โดยไข่ในโพรงจะมีวันละ 2-3 ฟองต่อวัน ซึ่งหิดตัวเมียนี้จะขุดผิวหนังของต่อไปเรื่อยๆ วันละ 2-3 มิลลิเมตร จนกลายเป็นโพรงหยึกหยักคล้ายงูเลื้อย (Serpentine burrow) โดยหิดจะขุดเฉพาะผิวหนังชั้นบนสุดที่เรียกว่า Stratum corneum เท่านั้น จะไม่ขุดผิวหนังชั้นที่ลึกไปกว่านี้ หิดตัวเมียจะวางไข่ไปได้เรื่อยๆตลอดอายุของซึ่งนานประมาณ 1-2 เดือน ไข่ของหิดมีขนาด 0.1-0.15 มม. จะใช้เวลาในการฟักตัว 3-4 วัน เมื่อตัวอ่อนฟักออกมา ก็จะคลานออกจากโพรงมาอยู่บนผิวหนัง และหาที่เหมาะสมใหม่ ขุดเป็นรูเล็กๆ สั้นๆ บนผิวหนังชั้นบนสุด เรียกว่า Molting pouch ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งแตกต่างจากโพรง (Burrow) ที่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ตัวอ่อนของหิดแรกเกิดจะมี 3 ขา เมื่อมีอายุได้ 3-4 วัน ตัวอ่อนจะลอกคราบแล้วจะมี 4 ขา ต่อจากนั้นจะลอกคราบอีก 2 ครั้ง จนกระทั่งกลายเป็นหิดตัวเต็มวัย ซึ่งจะมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย หิดตัวผู้มีขนาด 0.25-0.35 มม. ส่วนหิดตัวเมียมีขนาด 0.30-0.45 มม. หิดตัวผู้จะคลานออกจากรู และคลานเข้าไปหารูที่ตัวเมียอยู่ เมื่อทำการผสมพันธุ์กันเสร็จแล้วตัวผู้ก็จะตาย ตัวเมียจะออกจากรูเดิม เดินหาบริเวณอื่นของผิวหนังที่เหมาะสม แล้วเจาะโพรงเตรียมพร้อมวางไข่ได้ตลอดชีวิตที่เหลือของมัน ซึ่งหากหิดตัวเมียนี้ติดต่อไปยังผู้อื่น ก็เป็นการเริ่มต้นวงจรชีวิตของมันใหม่ต่อไป หากหิดอยู่นอกร่างกายคน จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส มันจะมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
สาเหตุ
เกิดการติดเชื้อผ่านทางผิวหนังโดยไม่ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกันของผู้คนจำนวนมากโดยที่มีคนเป็นพาหะนำเชื้อ โรคนี้ติดต่อกันง่าย พบได้ในทุกเพศทุกวัย มักพบว่าอาจจะเป็นกันทั้งครอบครัว หรือระบาดในชุมชนที่มีสุขอนามัยไม่ดี โรคหิดไม่มีการแพร่ทางหายใจหรือทางอาหาร
อาการ
- ลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง มีลักษณะเป็นรอยนูนคดเคี้ยวคล้ายเส้นด้ายสั้นๆที่ผิวหนัง ความยาว 5 – 15 มม. ต่อมาตุ่มแดงกลายเป็นตุ่มน
- ตุ่มแดงกระจายไปทั่วตัว พบมากตามง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับ ข้อศอก รักแร้ ใต้ราวนม รอบหัวนม สะดือ บั้นเอว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลูกอัณฑะ และอวัยวะเพศ ส่วนบริเวณผิวหน้าและศีรษะพบได้น้อย
- อาการคันเกิดหลังจากการติดเชื้อแล้วประมาณ 24 ชั่วโมง
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคเอดส์, SLE, มะเร็ง เม็ดเลือดจะมีการขยายพันธุ์ของตัวไรเพิ่มขึ้น มากมาย จนผื่นกลายเป็นสะเก็ดขุยพอกหนา ภายในสะเก็ดมีตัวหิดอยู่จำนวนมากทำให้แพร่เชื้อได้ง่าย
- ผื่นมีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ
- พบผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกันหลายคน
การรักษา
เมื่อเริ่มเป็นหิดในระยะแรกควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งในการรักษาจะใช้ทั้งยาทาและยารับประทาน เพื่อแก้อาการอักเสบ
ยาทา
1.ยา gamma benzene hexachloride 0.3% - 1% gel หรือ cream ใช้ทาหลังอาบน้ำ โดยทาทั่วตัวตั้งแต่ระดับคอลงมาถึงปลายเท้าทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทาครั้งเดียว อาจมีอาการคันอยู่สักระยะหนึ่งไม่จำเป็นต้องทายาซ้ำ ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาแพทย์
2.ยาทาชนิดน้ำ เบนซิลเบนโซเอต (benzyl benzoate) 12.5% สำหรับเด็ก และ 25% สำหรับผู้ใหญ่ และขี้ผึ้งผสมกำมะถันเหลือง (6-10% precipitated sulfur)
- ยาทาหลังอาบน้ำ ทาเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ คลุมทุกพื้นที่ของผิวหนังของร่างกายตั้งแต่ระดับคอลงมาถึง
ปลายเท้า ทาทุกซอกทุกมุม ตามซอกนิ้วมือนิ้วเท้าและใต้เล็บ เพื่อให้เนื้อยาเข้าถึงทุกจุด ทายาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทำติดต่อกัน 3 วัน
- ในเด็กเล็กแพทย์จะกำหนดระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสม
- ใช้ยาสเตอรอยด์อ่อนๆ เช่น hydrocortisone cream 1% ทาวันละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการคัน
ยารับประทาน
- ถ้ามีอาการติดเชื้อของผิวหนัง จะให้ยาปฏิชีวนะ
- หากมีอาการคันมาก ให้รับประทานยาแก้แพ้ช่วยลดอาการคัน
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การป้องกันและคำแนะนำในการปฏิบัติตน
1. การรักษาโรคหิด ต้องรักษาทุกคนในครอบครัวพร้อมกันไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่
2. ผู้สัมผัสโรคต้องใช้ยาเช่นเดียวกับผู้ป่วย ถึงแม้จะยังไม่มีอาการ หรือยังไม่มีตุ่มคันก็ตาม
3. ทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนอน เครื่องใช้ทั้งหมด โดยการต้มหรือนำออกตากแดด
4. ดูแลรักษาความสะอาดสถานที่พักอาศัย
5. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานให้ดี เช่น อาบน้ำถูสบู่วันละ 1-2 ครั้ง
6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง หรืออยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่มีความเสี่ยง เช่น สถานที่กักขัง สถานสงเคราะห์
7. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ
8. รองเท้าควรล้างให้สะอาด และนำไปผึ่งแดด
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
โรคเกี่ยวกับผิวหนังและรยางค์จำแนกตามกายสัณฐาน
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนื้องอก |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผื่น |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความผิดปกติอื่นๆ |
|
แม่แบบ:Pediculosis, acariasis and other infestations แม่แบบ:STD and STI