Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เซฟาโลสปอริน
Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ยากลุ่ม Cephalosporins จัดเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่ม B-lactams ที่สกัดจากเชื้อรา Cephalosporium acremonium ซึ่งสารประกอบที่สกัดได้จากเชื้อรานี้มี 3 ชนิด คือ Cephalosporin P, Cephalosporin N และ Cephalosporin C ซึ่งยาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นอนุพันธุ์กึ่งสังเคราะห์ที่ได้จาก Cephalosporin C เพราะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ
คุณสมบัติทางเคมี
ยากลุ่ม Cephalosporins มีสูตรโครงสร้างคล้ายยากลุ่ม Penicillins โดยโครงสร้างประกอบด้วย 7-aminocephalosporanic acid nucleus ซึ่งประกอบด้วยวงแหวน B-lactam เชื่อมติดกับวงแหวน dihydrothiazine ส่วน Penicillins นั้นโครงสร้างประกอบด้วยวงแหวน B-lactam เชื่อมติดกับวงแหวน thiazolidine
กลไกการออกฤทธิ์
- ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย โดยจับกับ penicillin-binding protein (PBP) แล้วยับยั้ง transpeptidase ใน PBP ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการ cross-link สาย peptidoglycan เพื่อสร้างผนังเซลล์
- กระตุ้นเอนไซม์ autolysin ทำให้แบคทีเรียย่อยสลายตัวเองมากขึ้น
- ยามีฤทธิ์ bactericidal แต่อาจมีฤทธิ์ bacteriostatic ขึ้นกับชนิดของแบคทีเรียและขนาดของยาที่ใช้
ขอบเขตการออกฤทธิ์
- Cephalosporin รุ่นที่ 1 (first generation)
- ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก เช่น Staphylococci Streptococci รวมทั้งแบคทีเรียแกรมลบบางชนิด เช่น E. coli, Klebsiella pneumoniae และ Proteus mirabilis ยาไม่ครอบคลุมเชื้อ Enterococci (Enterococcus faecalis) และ methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA)
- Cephalosporin รุ่นที่ 2 (second generation)
- มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบได้มากขึ้น เช่น Moraxella catarrhalis, Hemophilus influenza และ Neisseria แต่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวกได้ลดลงเมื่อเทียบกับ Cephalosporin รุ่นที่ 1 นอกจากนี้ยังใช้ได้ผลต่อเชื้อ Anaerobes เช่น Bacteroides fragillis ยากลุ่มนี้ใช้ไม่ได้ผลกับ Pseudomonas aeruginosa
- Cephalosporin รุ่นที่ 3 (third generation)
- มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้น้อยกว่า Cephalosporin รุ่นที่ 1 และ 2 แต่ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมลบหลายชนิดรวมทั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Enterobacteriaceae
- Cephalosporin รุ่นที่ 4 (fourth generation)
- มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมลบได้กว้างขึ้นและได้ผลดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Cephalosporin รุ่นที่ 3 และใช้ได้ผลดีต่อเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยา Cephalosporin รุ่นที่ 3
- Cephalosporin รุ่นที่ 5 (fifth generation)
- เป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาโดยวัตถุประสงค์คาดหวังให้มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียกว้างทั้งแกรมบวกและแกรมลบ โดยมีผลกับ แกรมบวก ได้แก่ methicillin-sensitive Staphylococcus aureus (MSSA) , methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) , methicillin-resistant coagulase-negative staphylococci (MRCoNS), Streptococcus spp. และ penicillin-resistant streptococcus pneumoniaet (PRSP) และแกรมลบ ได้แก่ Enterobacter cloacae, Escherichia coli, Proteus vulgaris, Pseudomonas aeruginosa, Serratia spp. และ Haemophilus influenzae
การแบ่งกลุ่ม
- Cephalosporin รุ่นที่ 1
- Cephalexin
- Cephradine
- Cefadroxil
- Cefazolin
- Cephalosporin รุ่นที่ 2
- Cefaclor
- Cefuroxime axetil
- Cefprozil
- Loracarbef
- Cefotetan
- Cefoxitin
- Cefuroxime
- Cephalosporin รุ่นที่ 3
- Cefixime
- Cefpodoxime
- Cefdinir
- Ceftibuten
- Cefoperazone
- Cefotaxime
- Ceftazidime
- Ceftizoxime
- Ceftriaxone
- Cephalosporin รุ่นที่ 4
- Cefepime
- Cefpirome
- Cephalosporin รุ่นที่ 5
- Ceftobiprole
- Ceftaroline
กลไกการดื้อยา
- เชื้อแบคทีเรียสร้าง B-lactamases มากขึ้น
- เปลี่ยนแปลงที่ PBP
- ลดการผ่านของยาเข้าสู่เซลล์
เภสัชจลนศาสตร์
- การดูดซึม
- ยากลุ่ม Cephalosporins ส่วนใหญ่ให้โดยการฉีด (IV, IM) เนื่องจากไม่ทนกรดในกระเพาะอาหาร มีบางตัวที่สามารถทนกรดในกระเพาะอาหารได้ เช่น Cephalexin Cefadroxil Ceprozilและ Cefaclor จึงให้โดยการรับประทาน ซึ่งอาหารมีผลต่อการดูดซึมและระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้ ยกเว้น Cefadroxil
- การกระจาย
- ยากลุ่ม Cephalosporins กระจายตัวได้ดีในเนื้อเยื่อต่าง ๆ และของเหลวในร่างกาย โดยความเข้มข้นของยาจะมีมากที่ตับและไต นอกจากนี้ยังสามารถผ่านทางรกและน้ำนมได้ด้วย
- การเปลี่ยนแปลง
- ยากลุ่ม Cephalosporins ส่วนใหญ่ไม่ถูกเปลี่ยนสภาพ ยกเว้น Cefotaxime Cephalothin และ Cephapirin ที่ถูกเปลียนแปลงได้บ้างที่ตับและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ได้ desacetyl metabolite ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้น้อยลง
- การขับถ่าย
ยากลุ่ม Cephalosporins ถูกขับถ่ายได้ 2 ทาง ดังนี้
- ทางไต เป็นส่วนใหญ่โดยกระบวนการ glomerular filtration และ/หรือ tubular secretion
- ทางน้ำดี โดยผ่านตับ พบเป็นส่วนน้อย เช่น Ceftriaxone Cefoperazone
อาการไม่พึงประสงค์
- การแพ้ยา เช่น ผื่นคัน ลมพิษและanaphylaxis (พบน้อย) มักพบอาการแพ้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม Penicillins
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
- ผลต่อตับ เช่น ทำให้ระดับ SGOT และ SGPT เปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้เมื่อหยุดยา
- ผลต่อไต เช่น ทำให้ระดับ BUN และ serum creatinin เพิ่มขึ้น
- ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน
- ปฏิกิริยาเฉพาะที่บริเวณที่ฉีด เช่น ถ้าฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะทำให้ปวดมากบริเวณที่ฉีด หรือถ้าฉีดเข้าเส้นเลือดดำในขนาดที่สูงเป็นเวลานานอาจทำให้หลอดเลือดดำอักเสบได้
- ติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น เชื้อรา Candida และ Pseudomonas
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม Cephalosporins และ Penicillins
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- เภสัชวิทยา, คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537, หน้า 369-371
- เภสัชวิทยา, คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพิมพ์เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล, 2545, หน้า 459-469
- เภสัชวิทยา 2, ภก. พยงค์ เทพอักษรและคณะ, บริษัท ประชุมช่าง จำกัด, 2544, หน้า 63-70
- เภสัชวิทยา 2, คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บริษัท นิวไทยมิตรการพิมพ์ (1996) จำกัด, 2541, หน้า 48-67
- เภสัชวิทยา, คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด, 2552, หน้า 547-550