Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เบียร์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เบียร์ในแก้ว

เบียร์ เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เก่าแก่ที่สุดและบริโภคกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก และเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมอันดับสามทั้งหมด รองจากน้ำดื่มและชา ถูกผลิตขึ้นโดยการกลั่นเบียร์ (brewing) และกระบวนการหมักของแป้ง ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากธัญพืช - ส่วนมากมาจากมอลต์ข้าวบาร์เลย์ แม้กระทั่งข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และข้าวโอ๊ตก็ใช้ได้เช่น ในช่วงขั้นตอนการกลั่นเบียร์ กระบวนการหมักของแป้งนั้น น้ำตาลในวอร์ต(wort)จะก่อให้เกิดเอทานอลและคาร์บอนเนชั่นในเบียร์ที่ได้ออกมา เบียร์สมัยใหม่ส่วนใหญ่จะกลั่นด้วยฮอปส์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความขมและรสชาติอื่น ๆ และทำหน้าที่เป็นสารกันบูดและสารคงตัวตามธรรมชาติ สารแต่งกลิ่นรสอื่น ๆ เช่น กรู๊ต สมุนไพรหรือผลไม้ซึ่งอาจจะรวมทั้งหรือการใช้แทนฮอปส์ ในการกลั่นเบียร์เชิงพาณิชย์ ผลของการเกิดคาร์บอนเนชั่นตามธรรมชาติมักจะถูกขจัดออกในช่วงกระบวนการผลิตและแทนที่ด้วยการอัดลมด้วยคาร์บอนเนชั่นแบบบังคับ

งานเขียนที่รู้จักกันที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติซึ่งได้กล่าวถึงการผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์: ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี รวมทั้งกฎหมายที่กำหนดควบคุมการผลิตเบียร์และโรงเบียร์ และ"เรื่องปรัมปราของเทพีนินกาซิ" คำอธิฐานต่อเทพธิดาแห่งเบียร์ของเมโสโปเตเมีย ทำหน้าที่เป็นทั้งบทสวดและเป็นวิธีการจำสูตรทำเบียร์ในวัฒนธรรมที่มีคนรู้หนังสือเพียงแค่ไม่กี่คน

เบียร์จะถูกจัดจำหน่ายในรูปแบบขวดและกระป๋อง และยังมีการจัดจำหน่ายเบียร์แบบสด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผับและบาร์ อุตสาหกรรมการกลั่นผลิตเบียร์เป็นธุรกิจระดับโลก ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทข้ามชาติที่มีชื่อเสียงหลายแห่งและผู้ผลิตรายย่อยกลายพันรายตั้งแต่โรงเบียร์ไปจนถึงโรงเบียร์ระดับภูมิภาค ความแรงของเบียร์สมัยใหม่มักจะอยู่ที่ประมาณ 4% ถึง 6% ของแอลกอฮอล์โดยปริมาตร(ABV) แม้ว่าอาจจะแตกต่างกันระหว่างร้อยละ 0.5 ถึง 20 โดยโรงเบียร์บางแห่งได้สร้างตัวอย่างที่มีประมาณร้อยละ 40 ขึ้นไปของแอลกอฮอล์โดยปริมาตร

เบียร์เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของหลายประเทศและมีความเกี่ยวข้องกับประเพณีทางสังคม เช่น เทศกาลเบียร์ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมผับอันรุ่มรวย มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเที่ยวตระเวนดื่มเบียร์ตามผับบาร์ต่าง ๆ (pub crawling) การทำแบบทดสอบผับบาร์ (pub quizzes) การเล่นเกมในผับบาร์ (pub game)

เมื่อเบียร์ถูกกลั่นออกมา สุราที่ได้ออกมานั้นจะเป็นรูปแบบของวิสกี้

ประวัติ

รูปสลักไม้อียิปต์ที่แสดงถึงการผลิตเบียร์ในยุคอียิปต์โบราณจากพิพิธภัณฑ์อียิปต์โรซิครูเซียน แซนโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย

เบียร์เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีการเตรียมการก่อนดื่มที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สามารถนับย้อนกลับไปได้ถึงต้นยุคหินใหม่หรือราว 9500 ปีก่อนคริสตกาลเมื่อเมล็ดธัญพืชถูกนำมาเพาะปลูกครั้งแรก และได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมียและอียิปต์โบราณ นักโบราณคดีคาดว่าเบียร์มีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของอารยธรรม เห็นได้จากเมื่อราว 5000 ปีต่อมา คนงานในเมืองอูรุกได้รับเบียร์เป็นค่าจ้าง และระหว่างการก่อสร้างมหาปิรามิดในกิซา คนงานแต่ละคนได้รับปันส่วนประจำวันเป็นเบียร์สี่ถึงห้าลิตร ซึ่งช่วยทั้งโภชนาการและทำให้สดชื่นเป็นส่วนสำคัญต่อการก่อสร้างปิรามิด

หลักฐานแรกสุดทางเคมีของเบียร์ข้าวบาร์เลย์อยู่ในช่วง 3500–3100 ปีก่อนคริสตกาลจากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี โกดิน เทปี (Godin Tepe) ในภูเขาแซกรอส (Zagros) ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน บางส่วนของงานเขียนชาวซูมาเรียนมีการอ้างอิงถึงเบียร์ ตัวอย่างเช่น คำอธิษฐานถึงเทพีนินกาซิ (Ninkasi) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เพลงสวดนินกาซิ" ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำอธิษฐานและวิธีจดจำสูตรเบียร์ในวัฒนธรรมของผู้มีการศึกษา และคำแนะนำโบราณ (กรอกท้องของคุณทั้งวันและคืนทำให้มีความสุข) ถึงกิลกาเมช ที่บันทึกไว้ในมหากาพย์กิลกาเมชโดยชิดูรี (Sidur) ซึ่งอาจอ้างถึงการดื่มเบียร์ แผ่นจาลึกอัลบลา (Ebla tablets) ที่ค้นพบในปี ค.ศ. ในอาณาจักรอัลบลา ประเทศซีเรีย แสดงว่าเบียร์ถูกผลิตขึ้นในเมื่องเมื่อ 2500 ปีก่อนคริสตกาล เครื่องดื่มหมักที่ใช้ข้าวและผลไม้ในการผลิตในประเทศจีนเกิดขึ้นประมาณ 7000 ปีก่อนคริสตกาล

ประวัติการผลิตเบียร์ในประเทศไทย

ประเทศไทยนั้น เริ่มมีการผลิตเบียร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยจะใช้ปลายข้าวในการผลิตแทนข้าวมอลต์. ส่วนตัวโรงงานนั้นได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2476 ในย่านบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และทำการผลิตเบียร์ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราหมี ตราสิงห์แดง ตราสิงห์ขาว ตราแหม่ม ตราพระปรางค์ทอง ตราว่าวปักเป้า ตรากุญแจ ตรารถไฟ และ ที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้คือ ตราสิงห์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีโรงเบียร์แห่งที่สองเกิดขึ้น คือ บริษัทบางกอกเบียร์ ผลิตเบียร์ตราหนุมาน ตราแผนที่ และตรากระทิง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มจึงได้เลิกกิจการไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้เปลี่ยนเจ้าของกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผลิตเบียร์อมฤต และซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อเบียร์จากต่างประเทศชื่อ คลอสเตอร์ มาผลิตเมื่อ พ.ศ. 2521

ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีโรงงานเบียร์แห่งที่สองแล้ว ภาครัฐก็ไม่ได้มีการสนับสนุนให้มีการตั้งโรงงานเพิ่ม เนื่องจากเห็นว่าเบียร์เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และตั้งกำแพงภาษีเพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ผลิตในประเทศ จนกระทั่ง พ.ศ. 2535 ภาครัฐมีนโยบายเปิดเสรีทางการค้า โดยการเปลี่ยนเงื่อนไขของผู้ผลิตเบียร์ จากที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานในประเทศ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเบียร์ในประเทศไทย ได้แก่

ส่วนผสมหลัก

องค์ประกอบหลักในการหมักเบียร์คือ น้ำ ข้าวมอลต์(คือเมล็ดข้าวอบแห้งหรือคั่ว ของเมล็ดธัญพืชที่แตกหน่อแล้ว โดยปกติใช้เมล็ดข้าวบาร์เลย์) ฮอปส์ และ ยีสต์ และยังมีส่วนผสมอื่นๆ เช่นผลเชอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และเมล็ดธัญพืชอื่น เช่น เมล็ดข้าวสาลี (Wheat) เรียกว่า แอดจังท์ (Adjunct) หรือ ส่วนผสมข้างเคียง

  • น้ำ : เนื่องจากน้ำนั้นเป็นองค์ประกอบหลักของเบียร์ คุณสมบัติของน้ำที่ใช้จึงมีผลต่อรสชาติของเบียร์
  • มอลต์ : เมล็ดข้าวมอลต์ จากข้าวบาเลย์นั้นเป็นชนิดที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องมาจากมีปริมาณ เอนไซม์อะไมเลส (amylase enzyme) สูง ซึ่งทำให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากข้าวมอลต์จากข้าวบาเลย์แล้ว เมล็ดธัญพืชอื่นๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ ทั้งแบบที่ทำเป็นข้าวมอลต์ และ เมล็ดปกติ ก็ยังใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย
  • ฮอปส์ : ส่วนผสมซึ่งให้รสขมในเบียร์ เพื่อสมดุลรสหวานจากมอลต์ นอกจากนั้นยังมีผลเป็นยาปฏิชีวนะ ต่อต้านจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยีสต์ ส่งผลต่อการหมัก
  • ยีสต์ : ใช้ในกระบวนการหมักเพื่อย่อยสลายน้ำตาล ที่สกัดจากเมล็ดธัญพืช ให้เป็นแอลกอฮอล์ และ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยปกติแล้วระดับแอลกอฮอล์ในเบียร์จะอยู่ที่ 4-6เปอร์เซ็นต์ แต่อาจจะต่ำถึง 2 เปอร์เซ็นต์ หรือ สูงถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ยีสต์ที่ใช้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ยีสต์หมักลอยผิว ยีสต์หมักนอนก้น ยีสต์ธรรมชาติ

ประเภทของเบียร์

การแบ่งประเภทของเบียร์นั้นจะแบ่งได้หลายวิธี แต่วิธีหลักๆที่ใช้คือแบ่งตามประเภทของยีสต์ที่ใช้ในการหมัก โดยจะแบ่งเป็น 3 ปรเภทหลักๆ คือ

  • ยีสต์หมักลอยผิว (top-fermenting yeast) คือ เชื้อยีสต์ที่จะลอยตัวอยู่ที่ผิวหน้าของเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นการหมัก
  • ยีสต์หมักนอนก้น (bottom-fermenting yeast) คือ เชื้อยีสต์ที่จะจมอยู่ที่ก้นภาชนะเมื่อเสร็จสิ้นการหมัก
  • ยีสต์ธรรมชาติ เป็นการใช้เชื้อยีสต์ตามธรรมชาติ ไม่ได้ใช้เชื้อที่เพาะเลี้ยงขึ้นมา

นอกจากนี้การแบ่งประเภทยังแบ่งตาม สี, แหล่งผลิต, วัตถุดิบที่ใช้, กระบวนการผลิต, ปริมาณแอลกอฮอล์ และอื่น ๆ

ประเภทยีสต์หมักลอยผิว

ประเภทยีสต์หมักนอนก้น

ประเภทยีสต์ธรรมชาติ

การแบ่งประเภทเบียร์แบบอื่น ๆ

  • เบียร์สด (draught beer) หมายถึง เบียร์ที่ทำการเสิร์ฟจากถังเบียร์ โดยไม่ได้บรรจุลงขวดหรือกระป๋อง
  • ไลต์เบียร์ (light beer) หมายถึง เบียร์ที่มีแคลอรีและแอลกอฮอล์ต่ำ มีสีอ่อน และรสชาติที่จืดชืดกว่า โดยจะมีรสขมน้อยและไม่หลงเหลือรสชาติติดปากหลังการดื่ม
  • ไอซ์เบียร์ (ice beer) หมายถึง เบียร์ที่หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้ว เบียร์จะถูกทำให้เย็นจนน้ำเริ่มแข็งตัวเป็นเกล็ด

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение