Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคกลัวที่ชุมชน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคกลัวที่ชุมชน
(Agoraphobia)
Crowded BTS skytrain Bangkok.jpg
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10 F40.00 หากไม่พบร่วมกับโรคตื่นตระหนก, F40.01 หากพบร่วมกับโรคตื่นตระหนก
ICD-9 300.22 หากไม่พบร่วมกับโรคตื่นตระหนก, 300.21 หากพบร่วมกับโรคตื่นตระหนก

โรคกลัวที่ชุมชน หรือ อาการกลัวที่โล่ง (อังกฤษ: Agoraphobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากความกลัวที่จะเกิดอาการตื่นตระหนก (panic attack) ในสถานที่ที่หนีออกไปลำบากหรือไม่มีคนช่วยเหลือ ผู้ป่วยจากโรคกลัวที่ชุมชนจึงมักหลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะหรือสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจหมกตัวอยู่ในบ้านและไม่กล้าออกจากสถานที่ที่คิดว่าปลอดภัย

นิยาม

คำว่า "agoraphobia" เป็นคำภาษาอังกฤษที่มีที่มาจากคำภาษากรีกคือ agora (αγορά) และ phobos (φόβος) รวมความแปลว่า โรคกลัวที่ชุมชน

โรคกลัวที่ชุมชนคือภาวะที่บุคคลมีอาการวิตกกังวลในสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยหรือรู้สึกว่าตนเองควบคุมได้น้อย สิ่งเร้าสำหรับอาการวิตกกังวลนี้ได้แก่ ฝูงชน ที่โล่งแจ้ง หรือการเดินทาง (แม้ระยะทางสั้นๆ) อาการวิตกกังวลนี้มักจะประกอบด้วยความกลัวการขายหน้าต่อประชุมชน เพราะโรคกลัวที่ชุมชนเป็นอาการนำของอาการตื่นตระหนกที่ทำให้ผู้ป่วยคลุ้มคลั่งต่อหน้าผู้อื่น

ผู้ที่มีโรคกลัวที่ชุมชนจะมีอาการตื่นตระหนกในสถานการณ์ที่ตนเองอึดอัด รู้สึกไม่ปลอดภัย ควบคุมไม่ได้ หรือห่างไกลจากสิ่งที่สามารถช่วยเหลือเขาได้ ในรายที่มีอาการมากจะอยู่แต่กับบ้านไม่ออกไปไหนเป็นปีๆ ผู้มีอาการจำนวนมากชอบที่จะมีผู้มาเยี่ยมอยู่ในบริเวณที่พวกเขาควบคุมได้และชอบที่จะทำงานในที่ๆรู้สึกว่าปลอดภัย ถ้าผู้กลัวที่โล่งออกไปจากเขตปลอดภัยของตน อาจจะเกิดอาการตื่นตระหนกได้

ความชุก

ความชุกของโรคกลัวที่ชุมชนในสหรัฐอเมริกาคือประมาณร้อยละ 5 ต่อปี ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institute of Mental Health) ระบุว่า ณ ขณะหนึ่งๆ มีชาวอเมริกันอายุ 18-24 ปีประมาณ 3.2 ล้านคนมีโรคกลัวที่ชุมชน ประมาณหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นโรคตื่นตระหนก (panic disorder) จะดำเนินโรคต่อเป็นโรคกลัวที่ชุมชน

ความแตกต่างระหว่างเพศ

โรคกลัวที่ชุมชนเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 2 เท่า ความแตกต่างระหว่างเพศอาจจะเกิดจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่เอื้อให้เพศหญิงแก้ปัญหาด้วยการหลีกเลี่ยงมากกว่าเพศชาย ทฤษฎีอื่นๆได้เสนอว่าผู้หญิงมักจะใฝ่หาความช่วยเหลือจึงทำให้ได้รับการวินิจฉัยมากกว่าเพศชายที่มักจะพึ่งสุราเพื่อหลีกหนีความวิตกกังวลและทำให้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้เสพติดสุราแทน และบทบาททางเพศของหญิงตามประเพณีเดิมก็ทำให้ผู้หญิงตอบสนองต่อความวิตกกังวลด้วยการพึ่งพาและความสิ้นหวัง ผลการวิจัยยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างแน่ชัดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศในโรคกลัวที่ชุมชน

สาเหตุและปัจจัยเกื้อหนุน

สาเหตุของโรคกลัวที่ชุมชนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด คาดว่าโรคกลัวที่ชุมชนเกี่ยวข้องกับอาการวิตกกังวลอื่นๆ, สภาพแวดล้อมที่เคร่งเครียดและการใช้สารเสพติด อาการนี้พบมากในเพศหญิง การใช้ยากดประสาทและยานอนหลับ เช่น เบนโซไดอะซีพีน (benzodiazepines) อย่างต่อเนื่องจัดเป็นเหตุให้เกิดโรคกลัวที่ชุมชนเพราะการหยุดใช้ยาและการรักษาอาการติดยาดังกล่าว ทำให้โรคกลัวที่ชุมชนทุเลาลง

งานวิจัยยังได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างโรคกลัวที่ชุมชนและความลำบากในการรับรู้เชิงสถานที่ (spatial orientation) คนปกติสามารถรักษาสมดุลของข้อมูลรวมจากระบบการรักษาสมดุล (vestibular system) ระบบการรับภาพ (visual system) และการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) แต่ในผู้ที่มีโรคกลัวที่ชุมชนจะพึ่งพาระบบการรับภาพและการรับรู้อากัปกิริยามากขึ้นเพราะระบบการรักษาสมดุลทำหน้าที่ลดลง ทำให้เสียการรับรู้ได้ง่ายเมื่อการมองเห็นกระจัดกระจาย เช่น ในที่โล่งแจ้งหรือท่ามกลางฝูงชน และอาจจะมีอาการสับสนเมื่อประสบกับความลาดเอียงหรือพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอเช่นเดียวกัน ในการศึกษาความจริงเสมือน (virtual reality) ผู้กลัวที่ชุมชนโดยเฉลี่ยสามารถจัดการข้อมูลภาพและเสียงที่เปลี่ยนไปได้แย่กว่ากลุ่มควบคุม


Новое сообщение