Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน
โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน (Duchenn muscular dystrophy) | |
---|---|
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงให้เห็นกล้ามเนื้อน่องของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์ แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของเซลล์กล้ามเนื้อที่ถูกแทนที่ด้วยเซลล์ไขมันและเนื้อเยื่อพังผืด | |
สาขาวิชา | Medical genetics, pediatrics |
อาการ | Muscle weakness, trouble standing up, scoliosis |
การตั้งต้น | Around age 4 |
สาเหตุ | Genetic (X-linked recessive) |
วิธีวินิจฉัย | Genetic testing |
การรักษา | Physical therapy, braces, surgery, assisted ventilation |
พยากรณ์โรค | Average life expectancy 26 |
ความชุก | In males, 1 in 3,500-6,000; in females, 1 in 50,000,000 |
โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน หรือ โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน หรือ โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์ (อังกฤษ: Duchenne muscular dystrophy, DMD) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้มีกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน ถ่ายทอดทางโครโมโซม X แบบลักษณะด้อย (X-linked recessive) มีลักษณะเฉพาะคือมีการเจริญผิดเพี้ยนของกล้ามเนื้อทำให้มีกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก และเสียชีวิตได้ มีจำนวนผู้ป่วย 1 คน ต่อประชากรชาย 3,500 คน ถือเป็นโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยเป็นเพศชายเท่านั้น โดยผู้หญิงมักพบเป็นพาหะของโรค โรคนี้เกิดจากการมีการกลายพันธุ์ในยีนดิสโทรฟิน (dystrophin gene) ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเอ็กซ์ (Xp21) ยีนดิสโทรฟินนี้จะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนดิสโทรฟิน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างที่สำคัญของกล้ามเนื้อ โดยเป็นส่วนหนึ่งของดิสโตรไกลแคน คอมเพลกซ์ (dystroglycan complex, DGC) ซึ่งอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการที่อายุ 3-4 ปี บางครั้งอาจพบได้ในตั้งแต่ยังเป็นทารก อาการเริ่มแรกจะพบมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและขาส่วนต้น (proximal muscle weakness) และมีการลีบของกล้ามเนื้อให้เห็น ต่อมาจะเริ่มมีอาการอ่อนแรงที่แขน คอ และกล้ามเนื้อบริเวณอื่น อาจพบอาการแสดงในระยะเริ่มแรกเป็นการเจริญเกินเทียม (pseudohypertrophy) ซึ่งจะเห็นเหมือนมีน่องโตและกล้ามเนื้อไหล่ใหญ่กว่าปกติ อ่อนเพลียง่าย ยืนลำบากต้องใช้มือยัน เดินล้มบ่อย เดินเขย่ง ขึ้นบันไดลำบาก เป็นต้น เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อเกิดเป็นเนื้อเยื่อพังผืด (fibrosis) ขึ้นทดแทน เมื่ออายุถึง 10 ปี ผู้ป่วยอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน จนถึงอายุ 12 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องใช้เก้าอี้รถเข็น อาการในระยะต่อมาคืออาจมีการเจริญเติบโตผิดปกติของกระดูกทำให้มีกระดูกผิดรูป รวมถึงโค้งกระดูกสันหลังด้วย การสูญเสียกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องนี้ในที่สุดจะทำให้มีอาการอ่อนแรงทั้งตัวคล้ายเป็นอัมพาต สติปัญญามักไม่ต่างจากคนปกติ อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้มักอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 ปี
โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย อาการต่างๆ ของผู้ป่วยอาจดีขึ้นได้บ้างด้วยการทำกายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ และการผ่าตัด ในผู้ที่มีกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บางอาการอาจดีขึ้นด้วยยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ช่วยชะลอการเสื่อมของกล้ามเนื้อ ยากันชักช่วยควบคุมอาการชักและอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ และยากดภูมิคุ้มกันช่วยชะลอการถูกทำลายของเซลล์กล้ามเนื้อที่ตาย เป็นต้น
อาการ
แม่แบบ:More medical citations needed
โรค DMD ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบก้าวกระโดด อันเนื่องจากการทลายความเป็นระเบียบของเส้นใยกล้ามเนื้อ, การตายและการแทนที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือไขมัน ส่วนอาการอ่อนเพลียนั้นพบได้ทั้วไปในผู้ป่วย
อาการต่าง ๆ มักแสดงออกก่อนอายุครบห้าปี และอาจสามารถพบได้นับตั้งแต่ขณะที่เด็กชายเริ่มก้าวเท้าก้าวแรกของเขา พบความผิดปกติโดยทั่วไปในความสามารถในการเคลื่อนไหวซึ่งนำไปสู่การเดินที่ผิดเพี้ยนจากคนปกติ They tend to walk on their toes, บางส่วนเกิดจากการสั้นลงของ Achilles tendon การหกล้มสามารถพบได้บ่อยครั้ง การเดินของผู้ป่วยจะยากลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ความสามารถในการเดินจะสูญสลายไปทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วภายในอายุ 13 ปี ผู้ชายส่วนใหญ่ที่ป่วยด้วย DMD จะมีอาการ "เป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงมา" ภายในอายุ 21 ปีโรคกล้ามเนื้อหัวใจโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อหัวใจโตนั้นพบได้ทั่วไป พบได้ในผู้ป่วยอายุ 18 เกือบครึ่งหนึ่ง อาการหัวใจวายจากเลือดคั่ง หรือ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะนั้นอาจพบได้บ้างแม่แบบ:Medical citation needed ในระยะท้าย ๆ ของโรค ความผิดปกติในการหายใจและการกลืนอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปอดบวม
อาการเอกลักษณ์พื้นฐานของโรค DMD คือการพบปัญหาในการยืนขึ้นจากท่านั่งหรือนอน และแสดงออกให้เห็นเป็น อาการกอเวอส์ (Gowers’ sign) ที่ให้ผลเป็นบวก เมื่อผู้ป่วยเด็กกำลังพยายามเพื่อลุกขึ้นจากท่านอนคว่ำบนท้อง เขาจะทดแทนความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเชิงกรานด้วยการใช้กล้ามเนื้อปลายแขนแทน เริ่มแรกจากการยืนขึ้นโดยใช้แขนและเข่า จากนั้นจึง ใช้มือในการ "เดิน" นำขาเพื่อยืนขึ้นตรง อีกอาการเฉพาะของ DMD คืออาการซูโดไฮเปอร์ทรอฟี (pseudohypertrophy; การโต) ของกล้ามเนื้อลิ้น คาล์ฟ และไหล่ (ในอายุ 4 หรือ 5ปี)
แหล่งข้อมูลอื่น
- โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน เก็บถาวร 2011-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- CureDuchenne - An organization working to find a cure for Duchenne Muscular Dystrophy
- Dystrophy.com - General information about dystrophy treatments, organizations and causes
- Muscular Dystrophy - pediatric-orthopedics.com เก็บถาวร 2009-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- CDC’s National Center on Birth Defects and Developmental Disabilities (previously listed below as "Duchenne/Becker Muscular Dystrophy, NCBDDD") at CDC
- Online 'Mendelian Inheritance in Man' (OMIM) MUSCULAR DYSTROPHY -310200 on NCBI
- Genes and Disease Page at NCBI
- Muscular Dystrophies ที่เว็บไซต์ Curlie
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
The Nine Primary Muscular Dystrophies | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||
National/International Organizations | |||||||||
US government Institutes and Legislation | |||||||||
National/International Events |
|
||||||||
Recent or Ongoing Clinical Trials | |||||||||
|
Neuromuscular- junction disease |
|||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Myopathy/ congenital myopathy |
|
||||||||||||||||||||||
|