Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคซนสมาธิสั้น

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคซนสมาธิสั้น
ชื่ออื่น attention-deficit disorder, hyperkinetic disorder (ICD-10)
ภาพเด็กหลายคน
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีความยากลำบากในการจดจ่อกับการทำงานให้เสร็จ
สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์, กุมารเวชศาสตร์
อาการ Difficulty paying attention, excessive activity, difficulty controlling behavior
การตั้งต้น อายุไม่เกิน 6–12 ปี
ระยะดำเนินโรค นานกว่า 6 เดือน
สาเหตุ Both genetic and environmental factors
วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการโดยผ่านการวินิจฉัยแยกสาเหตุอื่นออกแล้ว
โรคอื่นที่คล้ายกัน Normally active young child, conduct disorder, oppositional defiant disorder, learning disorder, bipolar disorder, fetal alcohol spectrum disorder
การรักษา Counseling, lifestyle changes, medications
ยา Stimulants, atomoxetine, guanfacine, clonidine
ความชุก 51.1 million (2015)

สมาธิสั้น (อังกฤษ: attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคของระบบประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่

แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์ DSM-IV และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์ ICD-10 อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่ และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ

การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน

โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970 มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษา

สัญญาณและอาการ

สมาธิสั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม: กลุ่มเฉื่อยชา กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้ และกลุ่มที่มีการอาการทั้งสองอย่าง

กลุ่มเฉื่อยชามีอาการบางส่วนดังนี้

  • ฟุ้งซ่านได้อย่างได้ง่าย ขาดรายละเอียด ลืมของ และเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งบ่อยครั้ง
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะทำงานหนึ่งอย่าง
  • กลายเป็นคนเบื่องานในเวลาอันสั้น หากไม่ได้ทำงานที่สนุก
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะจัดระเบียบในการดำเนินงาน หรือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • มีปัญหาในการส่งการบ้าน และมักจะทำของหาย (เช่น ดินสอ ของเล่น งานที่ได้รับมอบหมาย) ที่จำเป็นต้องใช้ให้งานเสร็จ
  • ไม่ฟังเวลาที่ผู้อื่นพูด
  • ฝันกลางวัน สับสนได้ง่าย และเคลื่อนไหวช้า
  • ลำบากในการคิด การประมวลผล และไม่ถูกต้องเหมือนคนอื่น ๆ
  • ไม่ฟังตามคำแนะนำ

กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • อยู่ไม่เป็นที่ กระสับกระส่าย
  • พูดไม่หยุด
  • ชน แตะ เล่น กับทุกอย่างที่อยู่ในสายตา
  • มีปัญหากับการนั่งในที่ทานอาหาร นั่งในโรงเรียน ทำการบ้าน
  • มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
  • มีปัญหาในการทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้ความเงียบ

อาการอยู่นิ่งไม่ได้นี้มีแนวโน้มจะหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะกลับกลายเป็นอาการ "ความระส่ำระส่ายภายใน" ในกลุ่มวัยรุ่นและกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้น

ผู้ทีมีอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ไม่มีความอดทน
  • ระเบิดความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม แสดงอารมณ์โดยขาดการควบคุม และ แสดงโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ตามมา
  • มีปัญหาในการรอคอยสิ่งที่ต้องการ หรือขัดการสนทนาของบุคคลอื่น

คนที่มีสมาธิสั้นนั้นมักจะมีความยากลำบากในการเข้าสังคม เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม การรักษามิตรภาพ ซึ่งเป็นอาการที่พบกับผู้ป่วยสมาธิสั้นทุกกลุ่ม เด็กและวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งที่เป็นสมาธิสั้นถูกปฏิเสธจากสังคมและเพื่อนร่วมงาน ในขณะที่มีเพียง 10-15% ของกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนสมาธิสั้นที่ถูกปฏิเสธจากสังคม ผู้ที่เป็นสมาธิสั้นมีสมาธิที่ไม่ปกติ ส่งผลให้มีความยากลำบากในการประมวลผลทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ซึ่งอาจจะส่งผลลบต่อการการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม พวกเขาอาจจะเหม่อลอยในวงสนทนา ทำให้ตามวงสนทนาไม่ทัน

เด็กที่มีสมาธิสั้นจะมีความยากลำบากในการจัดการความโกรธ เช่นเดียวกับการเขียน มีพัฒนาการทางการพูด เขียนหนังสือและเคลื่อนไหวที่ช้า ถึงแม้ว่าโรคสมาธิสั้นจะทำให้เกิดความบกพร่องเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมสมัยใหม่ เด็กหลายคนที่มีสมาธิสั้นสามารถรวมสมาธิเพื่อทำงานที่พวกเขาสนใจได้

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение