Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรคแผลเปื่อยเพปติก
แผลเปื่อยเพปติก Peptic ulcer disease | |
---|---|
ชื่ออื่น | Peptic ulcer, stomach ulcer, gastric ulcer, duodenal ulcer |
แผลเปื่อยกระเพาะ | |
สาขาวิชา |
วิทยาทางเดินอาหาร ศัลยกรรมทั่วไป |
อาการ | แสบร้อนกลางอก, ปวดท้องส่วนบน, คลื่นไส้, เรอ, อาเจียน, เลือดปนอุจจาระ, น้ำหนักลด, น้ำหนักเพิ่ม, ท้องอืด, เบื่ออาหารผิวและตาขาวเป็นสีเหลือง, กลืนลำบาก |
ภาวะแทรกซ้อน | เลือดออก, ทางเดินอาหารทะลุ, แผลทะลุ, กระเพาะอาหารอุดตัน |
สาเหตุ | Helicobacter pylori, ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์, การสูบบุหรี่, โรคโครห์น |
วิธีวินิจฉัย | ขึ้นอยู่กับอาการ, ยืนยันโดยการส่องกล้อง หรือกลืนแบเรียม |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | มะเร็งกระเพาะอาหาร, โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ, การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร, ถุงน้ำดีอักเสบ |
การรักษา | หยุดสูบบุหรี่, หยุด NSAID, หยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การให้ยา |
ยา | ยายับยั้งการหลั่งกรด, สารต้านตัวรับเอช2, ยาปฏิชีวนะ |
ความชุก | 87.4 ล้าน (2015) |
การเสียชีวิต | 267,500 (2015) |
โรคแผลเปื่อยเพปติก (อังกฤษ: Peptic ulcer disease หรือ PUD) คือการแตกที่เยื่อบุด้านในของกระเพาะอาหาร หรือในส่วนแรกของลำไส้เล็ก หรือบางครั้งเป็นในหลอดอาหารส่วนล่าง แผลเปื่อยในกระเพาะอาหารจะเรียกว่า แผลเปื่อยกระเพาะ (gastric ulcer) ถ้าเป็นในส่วนแรกของลำไส้จะเรียกว่า แผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer) อาการที่พบบ่อยที่สุดของแผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้นคือ ตื่นตอนกลางคืนโดยมีอาการปวดท้องส่วนบน และอาการปวดท้องส่วนบนจะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร ถ้าเป็นแผลเปื่อยกระเพาะ อาการปวดอาจแย่ลงเมื่อรับประทานอาหาร อาการปวดมักเป็นปวดแบบแสบร้อน หรือปวดตื้อ อาการอื่น ๆ ได้แก่ เรอ อาเจียน น้ำหนักลด หรือไม่อยากอาหาร ผู้สูงอายุประมาณหนึ่งในสามจะไม่มีอาการใด ๆ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด เช่น เลือดออกในกระเพาะและลำไส้ ทางเดินอาหารทะลุ และการอุดตันของกระเพาะอาหาร โดยอาการเลือดออกเกิดขึ้นได้มากถึงร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคนี้
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แผลเปื่อยเพปติก |
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Gastric ulcer images
- "Peptic Ulcer". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2020. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
ทางเดินอาหารส่วนบน |
|
||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทางเดินอาหารส่วนล่าง: ลำไส้ |
|
||||||||||
เลือดออกใน กระเพาะอาหารและลำไส้/ เลือดในอุจจาระ |
|||||||||||
ต่อมช่วยย่อยอาหาร |
|
||||||||||
ช่องท้องร่วมอุ้งเชิงกราน |
|
||||||||||
|