Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

Cotard delusion

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
Cotard's delusion
ชื่ออื่น Cotard's syndrome, Walking Corpse Syndrome
Jules Cotard.jpg
ภาพของนักประสาทวิทยา Jules Cotard (ค.ศ.1840–89)
สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์

Cotard delusion (อาการหลงผิดกอตาร์) หรือ Cotard's syndrome (กลุ่มอาการกอตาร์) หรือ Walking Corpse Syndrome (กลุ่มอาการศพเดินได้) เป็นโรคทางจิตหาได้ยากที่คนไข้มีอาการหลงผิดว่าตนเองตายแล้ว (ไม่ว่าจะโดยอุปมาหรือจริง ๆ) หรือไม่มีอยู่จริง ๆ หรือกำลังเปื่อยเน่าอยู่ หรือได้สูญเสียเลือดหรืออวัยวะภายในไป หรือบางครั้งในกรณีที่มีน้อย อาจจะมีการหลงผิดว่ามีชีวิตเป็นอมตะ

อาการ

อาการหลักของ Cotard's syndrome คืออาการหลงผิดโดยการปฏิเสธไม่ยอมรับ (delusion of negation) คือบ่อยครั้งคนไข้ปฏิเสธว่าตนมีอยู่หรือว่าบางส่วนของร่างกายของตนมีอยู่ อาการปรากฏเป็น 3 ระยะ

  • ในระยะแรก "Germination" คนไข้มีอาการซึมเศร้าพร้อมกับอาการโรคจิตอื่น ๆ (psychotic depression) และอาการไฮโปคอนดริเอซิส
  • ในระยะที่สอง "Blooming" คนไข้ปรากฏอาการของ Cotard delusion และอาการหลงผิดโดยการปฏิเสธไม่ยอมรับอย่างเต็มที่
  • ในระยะที่สาม "Chronic" คนไข้มีอาการหลงผิดอย่างรุนแรงและมีอาการซึมเศร้าแบบเรื้อรัง

คนไข้อาการนี้มักจะไม่สุงสิงกับคนอื่นและมักจะละเลยความสะอาดและสุขภาพของตน อาการหลงผิดนี้ทำให้คนไข้ไม่สามารถเข้าใจความจริง มีผลเป็นความเห็นผิดเพี้ยนอย่างรุนแรง เป็นอาการที่บ่อยครั้งพบในคนไข้โรคจิตเภท แม้ว่าอาการนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดประสาทหลอน (hallucination) แต่มีความหลงผิดที่มีกำลังเหมือนกับที่พบในคนไข้โรคจิตเภท

ความเป็นจริงที่ผิดเพี้ยน

ในปี ค.ศ. 1996 ยังและลีฟเฮดพรรณนาถึงกรณีคนไข้อาการนี้ผู้ประสบความบาดเจ็บที่สมองหลังจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์

อาการต่าง ๆ ของคนไข้เกิดขึ้นท่ามกลางความรู้สึกรวม ๆ ว่า (สิ่งที่ประสบ) ไม่ใช่เรื่องจริง (เหมือนกับความรู้สึกเมื่อฝันว่าสิ่งที่ฝันไม่เป็นจริง) และความที่ตนเองตายแล้ว ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลของเมืองเอดินบะระ มารดาได้พาเขาไปที่ประเทศแอฟริกาใต้ เขาเชื่อว่า เขาได้ถูกพาไปยังนรก (ซึ่งยืนยันได้โดยความที่อากาศร้อน) และเขาได้สิ้นชีวิตไปแล้วเพราะภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นความเสี่ยงในระยะต้น ๆ ของการฟื้นตัวของเขา หรือเพราะโรคเอดส์ (เพราะได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับคนไข้โรคเอดส์ที่สิ้นชีวิตไปเพราะภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) หรือเพราะการฉีดยาเกินเพื่อโรคไข้เหลือง เขาคิดว่าเขาได้ "ขอยืมวิญญาณมารดาของเขาเพื่อที่จะพาเขาไปดูรอบ ๆ นรก" และเธอ (จริง ๆ แล้ว) ยังนอนหลับอยู่ในประเทศสกอตแลนด์

ตัวอย่างของความจริงที่ผิดเพี้ยนที่เป็นผลมาจากอาการหลงผิดกอตาร์พบในคนไข้อายุ 14 ปีผู้มีโรคลมชัก (epilepsy) คุณหมอกุมารจิตเวชในแผนกผู้ป่วยนอกที่ดูแลเขาพรรณนาถึงประวัติที่เขาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความตายที่เขารู้สึกเศร้าใจตลอดเวลา ไม่ค่อยเล่น ไม่สุงสิงกับคนอื่นและมีสภาพผิดปกติอื่น ๆ ทางร่างกาย เขาจะมีอาการอย่างนี้ 2 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งเป็นอยู่นาน 3 อาทิตย์ถึง 3 เดือน ในแต่ละครั้ง เด็กกล่าวว่า "ทุกคนตายแล้ว รวมทั้งต้นไม้ด้วย" และจะพรรณนาถึงตัวเองว่าเป็นกายที่ตายแล้ว และเตือนว่า โลกจะถูกทำลายภายใน 2-3 ชม. เขาจะไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่น่าชอบใจและไม่มีความสนใจในกิจกรรมอะไร ๆ

พยาธิสรีรภาพ

สภาพทางจิตและทางประสาทที่เป็นฐานของอาการนี้อาจจะสัมพันธ์กับอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ delusional misidentification (การระบุผิดด้วยความหลงผิด) ซึ่งเป็นความเชื่อว่าบุคคล สิ่งของหรือว่าสถานที่มีการเปลี่ยนตัวหรือแปรสภาพไป โดยสภาพทางประสาท อาการนี้เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับอาการหลงผิดคะกราส์ และอาการหลงผิดทั้งสองเชื่อกันว่าเป็นผลจากการขาดการเชื่อมต่อกันระหว่างเขตในสมองที่รู้จำใบหน้า (fusiform face area) กับเขตที่เชื่อมอารมณ์ความรู้สึกกับความรู้จำนั้น (อะมิกดะลาและเขตลิมบิกอื่น ๆ)

การขาดการเชื่อมต่อทำให้เกิดความรู้สึกว่าใบหน้าที่ได้เห็นไม่ใช่เป็นของบุคคลที่เห็น ดังนั้นจึงไม่เกิดความรู้สึกคุ้นเคยที่ใบหน้านี้ควรจะทำให้เกิดและทำให้เกิดความรู้สึกแบบ derealization คือเหมือนกับสิ่งที่ประสบนั้นไม่ใช่เป็นจริง ถ้าใบหน้าที่เห็นเป็นใบหน้าที่คนไข้รู้จัก คนไข้ก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นของตัวปลอม (ซึ่งเป็นอาการของอาการหลงผิดคะกราส์) แต่ถ้าคนไข้เห็นหน้าตนเองแล้วไม่เกิดความรู้สึกว่าใบหน้ากับตนเองนั้นสัมพันธ์กัน ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า ตนเองไม่มีอยู่จริง ๆ

สิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ แสดงว่า อาการนี้สัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้าง (parietal lobe) คนไข้อาการนี้จะมีการฝ่อในสมองมากกว่ากลุ่มควบคุมโดยเฉพาะในสมองกลีบหน้าด้านใน (median)

อาการนี้พบโดยหลักในคนไข้โรคจิต เช่น โรคจิตเภท แต่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกับความเจ็บป่วยทางประสาทหรือทางจิตและมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับโรคซึมเศร้าและความรู้สึกแบบ derealization คือเหมือนกับสิ่งที่ประสบนั้นไม่ใช่เป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว ยังเกิดขึ้นในคนไข้โรคไมเกรนอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว อาการหลงผิดนี้ยังเกิดจากผลข้างเคียงลบของยาต้านไวรัสอะไซโคลเวียร์ คืออาการมีความสัมพันธ์กับซีรั่มของเลือดที่มี CMMG ในระดับสูง (CMMG เป็น metabolite ของอะไซโคลเวียร์) คนไข้ที่มีไตเสียหายดูเหมือนจะมีความเสี่ยงแม้กับระดับยาที่ลดลงและในกรณีที่กล่าวถึงในสิ่งตีพิมพ์ การฟอกไตสามารถกำจัดอาการหลงผิดได้ภายใน 2-3 ชม. ซึ่งบอกเป็นนัยว่า อาการหลงผิดเช่นนี้อาจจะไม่ใช่เหตุที่เพียงพอเพื่อที่จะให้เข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทางจิตเวช

งานวิจัยพบว่า วัฒนธรรมมีผลต่อประสบการณ์หลงผิดของคนไข้อาการนี้ ซึ่งสนับสนุนความคิดว่า มีระบบประชานโดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นอมตะ โดยที่ความคิดหลักในปัจจุบันเชื่อว่า ความรู้สึกว่าเป็นอมตะและอาการหลงผิดอื่น ๆ เป็นวิวัฒนาการในมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความกดดันทางสังคม

การบำบัดรักษา

มีรายงานถึงการรักษาด้วยยาที่ประสบความสำเร็จหลายรายงาน มีทั้งการใช้การรักษาวิธีเดียวและการรักษาหลายวิธี มีการใช้ยาแก้ซึมเศร้า ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) และยารักษาอารมณ์ (mood stabilizer) หลายรายงานกล่าวถึงผลบวกที่เกิดขึ้นจากการช็อตด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy) ซึ่งโดยมากจะทำพร้อมกับการบำบัดด้วยยา

ประวัติ

อาการนี้มีชื่อตามประสาทแพทย์ชาวฝรั่งเศสนามว่าฌูล กอตาร์ (ค.ศ. 1840-1889) ผู้ได้พรรณนาถึงอาการนี้เป็นครั้งแรกในการบรรยายที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1880 ซึ่งเขาเรียกอาการนี้ว่า le délire de négation (อาการเพ้อโดยปฏิเสธไม่ยอมรับ) เขาแสดงว่า อาการมีระดับต่าง ๆ กันตั้งแต่เบาจนถึงหนัก ความสิ้นหวังและความเกลียดตนเองเป็นอาการของระดับเบา ส่วนระดับหนักมีอาการหลงผิดขั้นรุนแรงและความซึมเศร้าแบบเรื้อรัง

ในการบรรยายครั้งหนึ่ง นพ. กอตาร์ได้กล่าวถึงคนไข้คนหนึ่งซึ่งมีนามสมมติว่านางสาว X ผู้ปฏิเสธถึงการมีอยู่ของหลายส่วนในร่างกายของเธอและว่าเธอต้องทานอาหาร หลังจากนั้นเธอก็เชื่อว่าเธอถูกพระเจ้าสาปชั่วกาลนานและไม่สามารถเสียชีวิตได้โดยธรรมชาติ ในที่สุดเธอก็เสียชีวิตเพราะขาดอาหาร

ดูเพิ่ม


Новое сообщение