กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล |
|
ภาพของผู้ป่วยกลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนลที่ไม่ได้รับการรักษา แสดงให้เห็นการฟีบลงของกล้ามเนื้อที่ฐานของนิ้วโป้ง (เกิดการอะโทรฟี) |
สาขาวิชา |
ศัลยศาสตร์ออโธพีดิกส์, ศัลยศาสตร์พลาสติก
|
อาการ |
ความเจ็บปวด, อาการชา, เจ็บคล้ายหนามแทง ในนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง, ไม่สามารถกำมือได้ |
สาเหตุ |
การกดบีบของเส้นประสาทมีเดียนตรงคาร์ปัลทันเนล
|
ปัจจัยเสี่ยง |
พันธุกรรม, โรคอ้วน, การทำงานที่ใช่ข้อมือซ้ำไปมา, การตั้งครรภ์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
|
วิธีวินิจฉัย |
ตามอาการ, อีเล็กโทรไดแอกนอสติกเทสต์
|
การป้องกัน |
การออกกำลังกาย
|
การรักษา |
ค้ำยันที่ข้อมือ, ฉีดคอร์ทิโคสเตอรอยด์, ศัลยกรรม |
ความชุก |
5–10% |
กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล (อังกฤษ: Carpal tunnel syndrome; CTS) หรือชื่ออื่น ๆ ประสาทถูกกดในช่องผ่านข้อมือ, กลุ่มอาการช่องข้อมือ, กลุ่มอาการชาและปวดที่มือ เป็นอาการทางการแพทย์ที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียรช่วงที่ผ่านข้อมือตรงบริเวณคาร์ปัลทันเนล อาการที่พบหลัก ๆ ได้แก่ความเจ็บปวด, อาการชา และ เจ็บเหมือนโดนหนามทิ่มในนิ้วโป้ง, นิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางฝั่งนิ้วโป้ง อาการมักจะแสดงออกและเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลากลางคืน การเจ็บปวดอาจลามไปถึงแขน และอาจพบการที่ไม่สามารถกำมือได้ นอกจากนี้หากไม่ได้รับการรักษาและทิ้งไว้ กล้ามเนื้อที่ฐานของนิ้วโป้งจะฟีบลง ในกรณีส่วนใหญ่มักพบว่ามือทั้งสองข้างแสดงอาการ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการได้แก่โรคอ้วน, การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือบ่อย ๆ, การตั้งครรภ์, พันธุกรรม และ โรคไขข้อรูมาตอยด์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่อาจเสนอ (tentative evidence) ว่าภาวะไฮโปไทรอยด์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าโรคเบาหวานมีความเชื่อมโยงที่อ่อนมากกับโรคนี้ และการใช่ยาคุมกำเนิดก็ไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเกิดโรคแต่อย่างใด ชนิดของการทำงานที่ใช้ข้อมือมาก เช่น การทำงานบนคอมพิวเตอร์, การทำงานกับเครื่องมือที่มีการสั่น เช่น เครื่องขุดเจาะถนน และการทำงานที่ต้องมีการกำมือแน่น การวินิจฉัยอาการนั้นขึ้นอยู่กับอาการแสดงและการทดสอบทางกายบางประการ นอจกากนี้สามารถยืนยันผลการตรวจสอบได้ด้วยการตรวจอิเล็กโทรไดแอกนอซิส
ในประเทศไทย เมื่อปี 2013 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยด้วยอาการนี้อยู่ราว 100,000 กรณีต่อปี ผู้ป่วยส่วนมากเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องมีการมัดหนังยาง, แม่บ้าน, คนครัว และพนักงานออฟฟิศ ในขณะที่ราว 5% ของประชากรสหรัฐอเมริกามีอาการนี้ มักเริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มากถึง 33% ของผู้ป่วยมักมีอาการที่ดีขึ้นเองในเวลาเกือบปี โรคนี้เป็นที่รู้จักและอธิบายอย่างจริงจังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค |
|
ทรัพยากรภายนอก |
|