Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล
Untreated Carpal Tunnel Syndrome.JPG
ภาพของผู้ป่วยกลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนลที่ไม่ได้รับการรักษา แสดงให้เห็นการฟีบลงของกล้ามเนื้อที่ฐานของนิ้วโป้ง (เกิดการอะโทรฟี)
สาขาวิชา ศัลยศาสตร์ออโธพีดิกส์, ศัลยศาสตร์พลาสติก
อาการ ความเจ็บปวด, อาการชา, เจ็บคล้ายหนามแทง ในนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง, ไม่สามารถกำมือได้
สาเหตุ การกดบีบของเส้นประสาทมีเดียนตรงคาร์ปัลทันเนล
ปัจจัยเสี่ยง พันธุกรรม, โรคอ้วน, การทำงานที่ใช่ข้อมือซ้ำไปมา, การตั้งครรภ์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
วิธีวินิจฉัย ตามอาการ, อีเล็กโทรไดแอกนอสติกเทสต์
การป้องกัน การออกกำลังกาย
การรักษา ค้ำยันที่ข้อมือ, ฉีดคอร์ทิโคสเตอรอยด์, ศัลยกรรม
ความชุก 5–10%

กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล (อังกฤษ: Carpal tunnel syndrome; CTS) หรือชื่ออื่น ๆ ประสาทถูกกดในช่องผ่านข้อมือ, กลุ่มอาการช่องข้อมือ, กลุ่มอาการชาและปวดที่มือ เป็นอาการทางการแพทย์ที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียรช่วงที่ผ่านข้อมือตรงบริเวณคาร์ปัลทันเนล อาการที่พบหลัก ๆ ได้แก่ความเจ็บปวด, อาการชา และ เจ็บเหมือนโดนหนามทิ่มในนิ้วโป้ง, นิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางฝั่งนิ้วโป้ง อาการมักจะแสดงออกและเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลากลางคืน การเจ็บปวดอาจลามไปถึงแขน และอาจพบการที่ไม่สามารถกำมือได้ นอกจากนี้หากไม่ได้รับการรักษาและทิ้งไว้ กล้ามเนื้อที่ฐานของนิ้วโป้งจะฟีบลง ในกรณีส่วนใหญ่มักพบว่ามือทั้งสองข้างแสดงอาการ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการได้แก่โรคอ้วน, การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือบ่อย ๆ, การตั้งครรภ์, พันธุกรรม และ โรคไขข้อรูมาตอยด์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่อาจเสนอ (tentative evidence) ว่าภาวะไฮโปไทรอยด์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าโรคเบาหวานมีความเชื่อมโยงที่อ่อนมากกับโรคนี้ และการใช่ยาคุมกำเนิดก็ไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเกิดโรคแต่อย่างใด ชนิดของการทำงานที่ใช้ข้อมือมาก เช่น การทำงานบนคอมพิวเตอร์, การทำงานกับเครื่องมือที่มีการสั่น เช่น เครื่องขุดเจาะถนน และการทำงานที่ต้องมีการกำมือแน่น การวินิจฉัยอาการนั้นขึ้นอยู่กับอาการแสดงและการทดสอบทางกายบางประการ นอจกากนี้สามารถยืนยันผลการตรวจสอบได้ด้วยการตรวจอิเล็กโทรไดแอกนอซิส

ในประเทศไทย เมื่อปี 2013 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยด้วยอาการนี้อยู่ราว 100,000 กรณีต่อปี ผู้ป่วยส่วนมากเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องมีการมัดหนังยาง, แม่บ้าน, คนครัว และพนักงานออฟฟิศ ในขณะที่ราว 5% ของประชากรสหรัฐอเมริกามีอาการนี้ มักเริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มากถึง 33% ของผู้ป่วยมักมีอาการที่ดีขึ้นเองในเวลาเกือบปี โรคนี้เป็นที่รู้จักและอธิบายอย่างจริงจังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение