Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

กลุ่มอาการเรย์โนด์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
กลุ่มอาการเรย์โนด์
ชื่ออื่น Raynaud's, Raynaud's disease, Raynaud's phenomenon, Raynaud's syndrome
Raynaud syndrome on female airman's hand.jpg
มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์โน
การออกเสียง
สาขาวิชา วิทยารูมาตอยด์
อาการ ตรงที่เกิดอาการกลายเป็นสีขาว, จากนั้นน้ำเงิน, จากนั้นแดง, อาการแสบไหม้
ภาวะแทรกซ้อน ปวดผิวหนัง, เนื้อตายเน่า
การตั้งต้น 15–30 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
ระยะดำเนินโรค เป็นได้ครั้งละหลายชั่วโมง
ปัจจัยเสี่ยง ความหนาวเย็น, ความเครียดทางจิตใจ
วิธีวินิจฉัย ตามอาการ
โรคอื่นที่คล้ายกัน คอซัลเกีย, เอริโธรเมลัลเกีย
การรักษา หลีกเลี่ยงความเย็น, ยายับยั้งแคลเซียมชานเนิล, อิโลปรอสต์
ความชุก 4% ของประชากร

กลุ่มอาการเรย์โนด์ (หรือ "เรย์โน" ตามการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส; อังกฤษ: Raynaud syndrome) หรือปรากฏการณ์เรย์โนด์ (อังกฤษ: Raynaud's phenomenon) เป็นอาการทางการแพทย์ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศส ออกุสต์ กาเบรียล มอริซ เรย์โน ผู้อธิบายอาการนี้ครั้งแรกในวิทยานิพนธ์ของเขาในปี 1862 อาการเรย์โนเกิดจากการหดเกร็งของหลอดเลือดฝอย ส่งผลให้เกิดชุด (episodes) ของการไหลเวียนเลือดที่ลดลงในหลอดเลือดฝอยตอนปลาย โดยทั่วไปมักปรากฏอาการนี้นิ้วมือ และบ้างที่นิ้วเท้า และพบได้น้อยในจมูก, หู และริมฝีปาก ช่วงเหล่านี้ส่งผลให้ผิวหนังเกิดกลายเป็นสีขาว จากนั้นจึงเป็นสีน้ำเงิน บ่อยครั้งอาจมีอาการชา หรือเจ็บปวด และทันใดที่การไหลเวียนเลือดกลับคืนมา บริเวณผิวหนังตรงนั้นจะกลายเป็นสีแดงและมีอาการแสบไหม้ โดยทั่วไปเกิดขึ้นครั้งละหลายนาที แต่บางกรณีอาจเกิดเป็นชั่วโมง

ตัวกระตุ้นโดยทั่วไปคือความหนาวเย็นและภาวะเครียดทางอารมณ์ อาการเรย์โนยังแบ่งออกเป็นเรย์โนปฐมภูมิ (Primary Raynaud's) หรือไอดิโอพาติก ซึ่งเกิดจากอาการหรือสาเหตุที่ไม่ทราบ ส่วนเรย์โนทุติยภูมิ (Secondary Raynaud's) เกิดจากอาการอื่น มีวัยเกิดโรคที่แก่กว่า และมีอาการเจ็บปวดที่รุนแรงกว่ามาก รวมถึงอาจปรากฏแบบอสมมาตรและเกี่ยวกับบาดแผลบนผิวหนัง เรย์โนทุติยภูมิอาจเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อคอนเนคทีฟ เช่น สเคลอโรเดอร์มา และ ลูปัส, อาการบาดเจ็บที่มือ, การสั่นไหวเป็นเวลาต่อเนื่อวยาวนาน, การสูบบุหรี่, ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ และยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด โดยทั่วไปการวินิจฉัยจะดำเนินไปตามอาการ

การรักษาขั้นต้นคือการป้องกันไม่ให้ตรงที่เกิดอาการถูกความหนาวเย็น ส่วนการควบคุมอื่น ๆ อาจมีการสั่งห้ามใช้นิโคตินหรือตัวกระตุ้นอื่น ๆ บางกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นอาจให้ยากลุ่มยับยั้งแคลเซียมชานเนิล และ อิโลปรอสต์ ในกรณีที่ร้ายแรงมากบางกรณีอาจพบการเจ็บปวดของผิวหนัง หรือ การตายเน่าของเนื้อเยื่อ ซึ่งพบได้ยากมาก

มีผู้ป่วยด้วยอาการนี้ราว 4% ของประชากร เวลาเกิดโรคอยู่ตั้งแต่ 15 ถึง 30 ปี และพบมากกว่าในผู้หญิง ส่วนเรย์โนแบบทุติยภูมิมีกพบในผู้สูงอายุมากกว่า ทั้งสองแบบของเรย์โนพบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение