Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การเป็นพิษจากสารหนู
การเป็นพิษจากสารหนู | |
---|---|
ชื่ออื่น | Arsenic toxicity, arsenic overdose |
พื้นที่ที่พบระดับสารหนูในน้ำบาดาลสูง | |
สาขาวิชา | พิษวิทยา |
อาการ |
เฉียบพลัน: อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องร่วง เรื้อรัง: ผิวหนังหนาและเข้มขึ้น, มะเร็ง |
สาเหตุ | สารหนู |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจปัสสาวะ, เลือดและเส้นผม |
การป้องกัน | การดื่มน้ำที่ไม่ปนเปื้อนสารหนู |
การรักษา | กรดไดเมอร์แคปโตซักซินิก, กรด 2,3-ไดเมอร์แคปโต-1-โพรเพนซัลโฟนิก |
ความชุก | >200 ล้านคน |
การเป็นพิษจากสารหนู เป็นภาวะที่พบสารหนูในร่างกายสูงกว่าปกติ สารหนูจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์กว่า 200 ชนิดซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมและการสังเคราะห์-ฟื้นฟูดีเอ็นเอ หากได้รับในชั่วเวลาอันสั้นจะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วงและมีอาการผิดปกติทางสมอง ในขณะที่ระยะยาวจะทำให้ผิวหนังหนาและเข้ม ปวดท้อง ท้องร่วง เหน็บชา มีอาการผิดปกติทางหัวใจและมะเร็ง สาเหตุทั่วไปของการได้รับสารหนูในปริมาณมากคือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อน (ระดับแนะนำของสารหนูในน้ำดื่มคือต่ำกว่า 10–50 µg/L) การทานยาแผนโบราณ การสูบบุหรี่และการใช้ยาฆ่าแมลง การวินิจฉัยจะใช้การตรวจปัสสาวะ เลือดและเส้นผม
การรักษาพิษจากสารหนูจะใช้กรดไดเมอร์แคปโตซักซินิกและกรด 2,3-ไดเมอร์แคปโต-1-โพรเพนซัลโฟนิก รวมถึงการชำระเลือดผ่านเยื่อ การป้องกันทั่วไปคือการดื่มน้ำที่ไม่ปนเปื้อนสารหนู ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประชาชนกว่า 200 ล้านคนทั่วโลกมีระดับสารหนูในร่างกายสูงกว่าปกติ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสารหนูมากที่สุดคือบังคลาเทศและเบงกอลตะวันตก มนุษย์ทราบถึงพิษสารหนูมานานกว่าพันปีแล้ว ตามที่มีบันทึกใน Ebers Papyrus ของอียิปต์เมื่อ 1500 ปีก่อนคริสตกาล
สารอนินทรีย์ |
|
||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สารอินทรีย์ |
|
||||||||||
ยาและเภสัชภัณฑ์ |
|
||||||||||
สารชีวภาพ (รวมถึง พิษสัตว์, ชีวพิษ, ภาวะอาหารเป็นพิษ) |
|
||||||||||
อื่นๆ | |||||||||||
|