Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ข้ออักเสบติดเชื้อ
ข้ออักเสบติดเชื้อ (Septic arthritis) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Infectious arthritis, joint infection |
ภาพจากการส่องกล้องเข้าข้อต่อ แสดงให้เห็นผิวข้อต่อที่มีการอักเสบติดเชื้อ | |
สาขาวิชา | ศัลยกรรมกระดูก |
อาการ | ข้ออักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน มักเป็นที่ตำแหน่งเดียว |
การตั้งต้น | รวดเร็ว |
สาเหตุ | แบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา, ปรสิต |
ปัจจัยเสี่ยง | การใส่ข้อเทียม, เคยเป็นข้ออักเสบ, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง |
วิธีวินิจฉัย | การเจาะดูดน้ำจากข้อต่อ และส่งตรวจเพาะเชื้อ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ข้ออักเสบรูมาตอยด์, ข้ออักเสบปฏิกิริยา, ข้อเสื่อม, เกาต์ |
การรักษา | ยาปฏิชีวนะ, การผ่าตัด |
ยา | แวนโคมัยซิน, เซฟไตรอะโซน, เซฟตาซิดีม |
พยากรณ์โรค | อัตราตาย 15% เมื่อได้รับการรักษา, 66% หากไม่ได้รับการรักษา |
ความชุก | 5 per 100,000 per year |
ข้ออักเสบติดเชื้อ (อังกฤษ: septic arthritis, infectious arthritis) หรือ ข้ออักเสบแบบมีหนอง (อังกฤษ: suppurative arthritis) คือภาวะที่มีเชื้อก่อโรคเข้าไปอยู่ในข้อต่อแล้วทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อ โดยทั่วไปแล้วจะทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อต่อที่อักเสบ ซึ่งมักเป็นที่ข้อต่อเพียงตำแหน่งเดียว และมีผลให้ไม่สามารถขยับข้อต่อที่อักเสบได้มากเท่าปกติ โรคมักเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมได้ ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาจพบเป็นหลายข้อต่อพร้อมกันได้แต่พบไม่บ่อย โดยมักพบในเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิด ทั้งนี้ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยหัดเดินอาจมีอาการที่ไม่ชัดเจนและคล้ายคลึงกับอาการของโรคอื่นๆ ได้ ทั้งโรคที่เป็นโรคติดเชื้อและไม่ใช่โรคติดเชื้อ
ข้ออักเสบติดเชื้อในผู้ป่วยเด็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแบบไม่จำเพาะเจาะจง และมักเป็นการติดเชื้อผ่านทางกระแสเลือดเข้าไปยังข้อต่อ โดยมักพบในเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัว ช่องทางอื่นของการติดเชื้อคือการเกิดการบาดเจ็บต่อข้อต่อโดยตรง หรือเกิดฝีหนองบริเวณข้างเคียงแล้วลุกลามมายังข้อต่อ สาเหตุอื่นที่พบได้น้อยกว่าคือการติดเชื้อแบคทีเรียแบบจำเพาะบางชนิด เช่น เชื้อวัณโรค ไวรัส เชื้อรา และปรสิต เด็กที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในลักษณะนี้ได้แก่ ทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนด เด็กและวัยรุ่นที่มีโรคเลือด โรคกระดูกเจริญผิดเพี้ยนจากไต และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงจะเป็นคนที่ใส่ข้อเทียม คนที่เคยเป็นข้ออักเสบจากสาเหตุอื่นๆ มาก่อน เบาหวาน และคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติและการตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะน้ำในข้อต่อส่งตรวจ และการสร้างภาพทางการแพทย์ เช่น การอัลตราซาวด์ข้อต่อ
ผู้ป่วยเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหรือทันเวลาอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ การรักษาในช่วงแรกมักเป็นการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น แวนโคมัยซิน เซฟไตรอะโซน หรือเซฟตาซิดีม หากเป็นที่ข้อต่อขนาดใหญ่ (เช่น ข้อสะโพก ข้อไหล่) มักต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายหนองออกจากข้อ หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวกับข้อต่อได้ เช่น ข้อต่อถูกทำลายจนไม่สามารถฟื้นฟูได้ หรือมีข้อเคลื่อน เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
ข้ออักเสบ (ข้อต่อเดียว / น้อยข้อต่อ / หลายข้อต่อ) |
|
||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Other |