Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

คลอโรควิน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
คลอโรควิน
Chloroquine.svg
Chloroquine 3D structure.png
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง /ˈklɔːrəkwɪn/
ชื่อทางการค้า Aralen, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.com Chloroquine Phosphate
ข้อมูลทะเบียนยา
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงยา ตับ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 1–2 เดือน
ตัวบ่งชี้
  • (RS)-N'-(7-chloroquinolin-4-yl)-N,N-diethyl-pentane-1,4-diamine
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
NIAID ChemDB
ECHA InfoCard 100.000.175
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตร C18H26ClN3
มวลต่อโมล 319.872 กรัม/โมล
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Clc1cc2nccc(c2cc1)NC(C)CCCN(CC)CC
  • InChI=1S/C18H26ClN3/c1-4-22(5-2)12-6-7-14(3)21-17-10-11-20-18-13-15(19)8-9-16(17)18/h8-11,13-14H,4-7,12H2,1-3H3,(H,20,21) Yes check.svg 7
  • Key:WHTVZRBIWZFKQO-UHFFFAOYSA-N Yes check.svg 7
  (verify)
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

คลอโรควิน (อังกฤษ: Chloroquine) เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคมาลาเรียในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากโรค ไข้มาลาเรียบางชนิด, สายพันธุ์ดื้อยา และกรณีป่วยที่ซับซ้อนมักจะใช้ยาอื่นหรือต้องใช้ยาอื่นเพิ่มเติม บางครั้งคลอโรควินจะใช้สำหรับโรคบิดติดเชื้ออะมีบา (Amebiasis) ที่เกิดขึ้นนอกลำไส้, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคลูปัส (Lupus erythematosus) มีการศึกษาการยาใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัย คลอโรควินเป็นยารับประทาน ยายังถูกใช้ในการทดลองเพื่อรักษาโรค COVID-19 ในปี พ.ศ. 2563

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ, เบื่ออาหาร, ท้องร่วง และผื่นที่ผิวหนัง ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงรวมถึง ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น, ความเสียหายของกล้ามเนื้อ, การชัก และระดับเซลล์เม็ดเลือดต่ำ คลอโรควิน เป็นสมาชิกของกลุ่มยา 4-อะมิโนควิโนลิน (4-aminoquinoline) โดยทำงานต่อต้านรูปแบบที่ไม่อาศัยเพศของปรสิตมาลาเรียในเซลล์เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามกลไกของยาสำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคลูปัสยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน

คลอโรควิน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2476-2477) โดยฮานส์ อันเดอร์ซัก (Hans Andersag) ถูกบรรจุอยู่ในรายชื่อยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด ที่จำเป็นในระบบสุขภาพ สามารถใช้เป็นยาสามัญได้ในสหรัฐอเมริกา ราคาขายส่งในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ประมาณ $0.04 ดอลลาร์สหรัฐ และในสหรัฐอเมริกามีราคาประมาณ $5.30 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการรับประทานหนึ่งครั้ง

การใช้ในทางการแพทย์

มาลาเรีย

แผนภาพการกระจายของโรคมาลาเรีย:
 การปรากฏเพิ่มขึ้นของมาลาเรียชนิดดื้อต่อยาคลอโรควินหรือต่อยาหลายขนาน
 การปรากฏของมาลาเรียชนิดดื้อต่อยาคลอโรควิน
 ไม่มีเชื้อ Plasmodium falciparum หรือการดื้อยาคลอโรควิน
 ไม่มีมาลาเรีย

คลอโรควิน มีการใช้มานานในการรักษาหรือป้องกันโรคมาลาเรียจากปรสิตในสกุลพลาสโมเดียมได้แก่ Plasmodium vivax, P. ovale, และ P. malariae ยกเว้นปรสิตมาลาเรีย Plasmodium falciparum เนื่องจากเชื้อเริ่มพัฒนาความต้านทานต่อยาในวงกว้าง

คลอโรควิน มีการใช้อย่างกว้างขวางในการจัดการยาสำหรับมวลชน ซึ่งอาจมีส่วนร่วมทำให้เกิดขึ้นและเกิดการแพร่กระจายของการดื้อยา แนะนำให้ตรวจสอบว่าคลอโรควินยังคงมีประสิทธิภาพในการรักษาในภูมิภาคก่อนที่จะใช้ ในพื้นที่ที่มีการดื้อยา ยาต้านมาลาเรียชนิดอื่นเช่นเมโฟลควิน (Mefloquine) หรืออะโตวาโควน (Atovaquone) อาจถูกนำมาใช้แทน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ แนะนำให้รักษามาลาเรียด้วยคลอโรวินเพียงอย่างเดียวเนื่องจากมีประสิทธิภาพมากกว่าสูตรยาผสม

โรคบิดติดเชื้ออะมีบา

ในการรักษาฝีในตับจากการติดเชื้ออะมีบา อาจใช้คลอโรควินทดแทนหรือเพิ่มเติมจากยาอื่น ๆ ในกรณีที่คนไข้อาการไม่ดีขึ้นด้วยยาเมโทรไนดาโซล (Metronidazole) หรือไนโตรอิมิดาโซล (Nitroimidazole) อื่น ๆ ภายใน 5 วัน หรือแพ้ยาเมโทรไนดาโซล หรือไนโตรอิมิดาโซล

โรครูมาติก

เนื่องจากคลอโรควินมีฤทธิ์ยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันอย่างอ่อน จึงถูกนำมาใช้ในโรคภูมิต้านทานผิดปกติบางอย่างเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) และโรคลูปัส อีริทีมาโตซัส (Lupus erythematosus)

ผลข้างเคียง

ยามีผลข้างเคียงต่อ กล้ามเนื้อร่วมประสาท, การได้ยิน, สุขภาพจิต, ระบบทางเดินอาหาร, สมอง, ผิวหนัง, ตา, ช้ำ/ เลือดออกง่าย, หลอดเลือดหัวใจ (หายาก) และปฏิกิริยาในเลือด

  • ชัก
  • หูหนวกหรือหูอื้อ
  • คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, ปวดท้องและเบื่ออาหาร
  • ปวดศีรษะชั่วคราวและไม่รุนแรง
  • การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ/ อารมณ์ (เช่น ความสับสน, การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ, ความคิด/ พฤติกรรมที่ผิดปกติ, ภาวะซึมเศร้า, ความรู้สึกว่าถูกเฝ้าดู, ประสาทหลอน)
  • อาการคันผิวหนัง, ริมฝีปาก/ เล็บ/ ผิวหนังซีด, ผมร่วง และผื่นที่ผิวหนัง
    • อาการคันที่เกิดจากคลอโรควินเป็นเรื่องธรรมดามากในหมู่ชาวแอฟริกันผิวสี (70%) แต่พบได้น้อยกว่าในเผ่าพันธุ์อื่น โดยจะเพิ่มขึ้นตามอายุและรุนแรงจนถึงขั้นหยุดการรักษาด้วยยา อาการโดยรวมจะแย่ลงในช่วงมีไข้จากมาลาเรีย โดยความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์กับปริมาณปรสิตมาลาเรียในเลือด หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่ามีพื้นฐานจากทางพันธุกรรม และเกี่ยวข้องกับการกระทำของคลอโรควินกับโอปิออยด์ รีเซพเตอร์ (Opioid receptor) จากระบบประสาทส่วนกลางหรือส่วนปลาย
  • รสชาติโลหะที่ไม่พึงประสงค์
    • อาการนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยสูตรยาซึ่ง "กลบการรับรสและควบคุมการปลดปล่อยยา" เช่นการใช้อิมัลชันหลายตัว
  • โรคจอตาเหตุจากคลอโรควิน
    • อาจผันกลับไม่ได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นกับการใช้ยาในระยะยาวเป็นเวลาหลายปีหรือในปริมาณสูง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยคลอโรควินระยะยาวควรได้รับการตรวจคัดกรองในระยะเริ่มต้นและในทุก ๆ ห้าปีหลังจากการใช้ยา ผู้ป่วยควรได้รับการคัดกรองสำหรับการมองเห็นที่เปลี่ยนแปลง เช่น การเห็นภาพเบลอ, การโฟกัสยาก หรือมองเห็นวัตถุเพียงครึ่งหนึ่ง
  • ความดันโลหิตต่ำและการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    • เป็นที่ประจักษ์ว่าคลอโรควินทั้งก่อให้เกิดการรบกวนการนำไฟฟ้าหัวใจ (การปิดกั้นทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าหัวใจ (Bundle-branch block), การปิดกั้นหัวใจห้องบนและล่าง (Atrioventricular block)) หรือก่อให้เกิดพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy) - มักจะเกิดพร้อมกับภาวะหัวใจโต, กล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว และภาวะหัวใจล้มเหลว การเปลี่ยนแปลงอาจไม่สามารถย้อนกลับได้ มีรายงานผู้ป่วยเพียงสองรายเท่านั้นที่ต้องทำการปลูกถ่ายหัวใจ ซึ่งพิจารณาว่ามีความเสี่ยงต่ำมากสำหรับกรณีนี้ การตรวจชิ้นเนื้อหัวใจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดงให้เห็นอาการบ่งโรคในอินคลูชั่นบอดี ในไซโทพลาซึมของเซลล์
  • ภาวะขาดเม็ดเลือดทุกชนิด (Pancytopenia), โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia), ภาวะเม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์ต่ำเฉียบพลัน แบบชั่วคราว (Reversible agranulocytosis), เกล็ดเลือดต่ำ, ภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ (Neutropenia)

ในหญิงมีครรภ์

คลอโรควิน ไม่แสดงว่ามีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์เมื่อใช้ในการป้องกันโรคมาลาเรีย คลอโรควินจำนวนเล็กน้อยถูกขับออกมาในน้ำนมแม่ในการให้นมบุตร อย่างไรก็ตามเนื่องจากยานี้สามารถจ่ายให้กับทารกได้อย่างปลอดภัย ผลกระทบจึงไม่เป็นอันตราย การศึกษากับหนูทดลองแสดงให้เห็นว่าคลอโรควินที่มีการติดเครื่องหมายด้วยกัมมันตภาพรังสี ผ่านไปยังรกอย่างรวดเร็วและสะสมในดวงตาของทารกในครรภ์ ซึ่งยังคงมีอยู่ห้าเดือนหลังจากที่ยาถูกกำจัดออกจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ยังคงมีคำแนะนำให้ป้องกันหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ไม่ให้เดินทางไปยังภูมิภาคที่มีความเสี่ยงกับโรคมาลาเรีย

ในผู้สูงอายุ

ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาว่าคลอโรควินนั้น ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปหรือไม่ อย่างไรก็ตามยาจะถูกกำจัดออกทางไต และควรมีการตรวจสอบความเป็นพิษอย่างรอบคอบในผู้ที่มีการทำงานของไตไม่ดี

ปฏิกิริยาระหว่างยา

  • ระดับของแอมพิซิลลิน - อาจลดลงได้ด้วยคลอโรควิน
  • ยาลดกรด - อาจลดการดูดซึมของคลอโรควิน
  • ไซเมทิดีน - อาจยับยั้งกระบวนการเผาผลาญของคลอโรควิน ซึ่งจะเพิ่มระดับคลอโรควินในร่างกาย
  • ระดับของไซโคลสปอริน (Cyclosporine) - อาจเพิ่มขึ้นจากคลอโรควิน
  • คาโอลิน (ดินขาว) - อาจลดการดูดซึมของคลอโรควิน
  • เมโฟลควิน (Mefloquine) - อาจเพิ่มความเสี่ยงของการชัก

การได้รับยาเกินขนาด

การใช้ยาคลอโรควินเกินขนาดเป็นอันตรายมาก ยาจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วจากลำไส้ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2504 พบว่าเด็กสามคนที่ใช้ยาเกินขนาดเสียชีวิตภายใน 2 1/2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา ในขณะที่ปริมาณของการใช้ยาเกินขนาดไม่ได้รับการอ้างถึง สำหรับคลอโรควินเป็นที่ทราบกันว่ามีดัชนีการรักษา (Therapeutic index) แคบ อาการของการใช้ยาเกินขนาด ได้แก่ ปวดศีรษะ, ง่วงนอน, รบกวนการมองเห็น, คลื่นไส้และอาเจียน, ภาวะไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว (Cardiovascular collapse), ชัก, และระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

อะนาล็อก (ความเปรียบเหมือน) ของคลอโรควิน และ ไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) คือ มีค่าครึ่งชีวิตในเลือดยาว (32-56 วัน) และสามารถมีการกระจายปริมาณที่มาก (580–815 ล./กก.) ช่วงการรักษา, ความเป็นพิษ และความเป็นอันตราย มักจะพิจารณาเป็น 0.03 ถึง 15 มก./ล., 3.0 ถึง 26 มก./ล. และ 20 ถึง 104 มก./ล. ตามลำดับ อย่างไรก็ตามมีรายงานกรณีของผู้ป่วยที่ไม่เป็นพิษโดยมีขนาดมากถึง 39 มก./ล. การแนะนำช่วงที่สามารถทนได้ต่อสารนี้ในแต่ละกรณี อาจมีความแตกต่างมากกว่าที่ได้รับการยอมรับกันมาก่อน

วิทยาเภสัช

  • การดูดซึม: รวดเร็วและเกือบสมบูรณ์
  • การกระจาย: กระจายอย่างกว้างขวางในเนื้อเยื่อของร่างกาย
  • การจับโปรตีน: 55%
  • เมแทบอลิซึม: บางส่วนที่ตับในรูปสารเมแทบอไลต์หลัก ดีเซทิลคลอโรควิน (Desethylchloroquine)
  • การขับถ่าย: ทางปัสสาวะ (⩾50% เป็นยาที่ไม่เปลี่ยนแปลง); ความเป็นกรดของปัสสาวะเพิ่มขึ้นจากการกำจัดยา

คลอโรควิน มีการกระจายในระดับที่สูงมากเนื่องจากมันแพร่กระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อไขมันของร่างกาย คลอโรควิน และสารที่เกี่ยวข้องกับควินิน มีความสัมพันธ์กับกรณีของความเป็นพิษของจอประสาทตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อให้ในปริมาณที่สูงขึ้นเป็นเวลานาน การสะสมของยาในปริมาณหนึ่งอาจส่งผลนำไปสู่การมองเห็นภาพซ้อนและจนถึงตาบอด ด้วยขนาดยาที่ต้องได้รับในระยะยาวมีข้อแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบจักษุแพทย์เป็นประจำ

คลอโรควิน ยังเป็นสารตัวกระทำไลโซโซโมโทรปิก (Lysosomotropic agent) ซึ่งหมายความว่ามันจะสะสมอยู่ในไลโซโซมของเซลล์ในร่างกาย ค่า pKa สำหรับไนโตรเจนในสารควิโนลีน (Quinoline) ของคลอโรควินคือ 8.5 ซึ่งหมายความว่ามีการดึงโปรตอนออกประมาณ 10% ที่ค่า pH ของร่างกาย ซึ่งคำนวณโดยสมการเฮนเดอร์สัน-แฮสเซลบาลช์ สิ่งนี้จะลดลงประมาณ 0.2% ที่ค่าไลโซโซมัลพีเอช (Lysosomal pH) 4.6 เนื่องจากรูปแบบที่มีการดึงโปรตอนออก สามารถซีมผ่านเมมเบรนได้มากกว่ารูปแบบที่มีโปรตอน เป็นผลใน "การดักจับ" เชิงปริมาณของสารประกอบของไลโซโซม (ผลการรักษาเชิงปริมาณของปรากฏการณ์นี้ เกี่ยวข้องกับค่า pKa ของไนโตรเจนทั้งหมดในโมเลกุล อย่างไรก็ตามก็เพียงพอสำหรับแสดงหลักการของการรักษานี้)

ลักษณะไลโซโซโมโทรปิกของคลอโรควิน เชื่อว่าเป็นสาเหตุของฤทธิ์ในการต่อต้านมาลาเรีย; ยามุ่งเน้นไปที่ แวคิวโอลอาหารที่เป็นกรดของปรสิตและรบกวนกระบวนการที่สำคัญ คุณสมบัติของไลโซโซโมโทรปิกดังกล่าว ยังเป็นที่ยอมรับในการนำไปใช้ทดลองในหลอดทดลองเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับไขมันภายในเซลล์, กลไกการกินตัวเองของเซลล์ (Autophagy) และอะพอพโทซิส

กลไกการออกฤทธิ์

อนุพันธ์ของควิโนลีน ที่ใช้ทางการแพทย์

มาลาเรีย

ภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ปรสิตมาลาเรียซึ่งอยู่ในช่วงวงจรชีวิตแบบไม่มีเพศ จะต้องทำให้เฮโมโกลบินเสื่อมสภาพเพื่อให้ได้กรดอะมิโนที่จำเป็น ซึ่งปรสิตต้องการในการนำไปสร้างโปรตีนของตัวเองและสำหรับการเผาผลาญพลังงาน การย่อยจะดำเนินการในแวคิวโอลของเซลล์ปรสิต

เฮโมโกลบินประกอบด้วยหน่วยโปรตีน (ซึ่งถูกย่อยโดยปรสิต) และหน่วยฮีม (Heme; ซึ่งไม่ได้ใช้โดยปรสิต) ในระหว่างกระบวนการนี้ปรสิตจะปลดปล่อยโมเลกุลฮีมที่เป็นพิษและละลายน้ำได้ หรือกึ่งหนึ่งของฮีม (Heme moiety) ประกอบด้วยวงแหวนพอร์ไพริน เรียกว่าไอเอิร์น(ทู) -โพรโตพอร์ไพริน นายน์ (Fe (II) -protoporphyrin IX (FP)) เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลายโดยโมเลกุลนี้ปรสิตสังเคราะห์ผลึกชีวภาพของฮีม (Biocrystallizes heme) เพื่อสร้างฮีโมโซอิน (Hemozoin) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ไม่มีพิษ ฮีโมโซอินถูกเก็บสะสมในแวคิวโอลย่อยอาหารของปรสิตในรูปผลึกที่ไม่ละลายน้ำ

รูปแบบฮีโมโซอิน (Hemozoin) ของ P. falciparum : ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดเป็นตัวยับยั้งอย่างแรงของการเติบโตของผลึกฮีโมโซอิน

คลอโรควินเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงโดยการแพร่กระจายอย่างง่าย ยับยั้งเซลล์ปรสิตและแวคิวโอลย่อยอาหาร คลอโรควินก็จะส่งถ่ายโปรตอน (ไปยัง CQ2+) เนื่องจากแวคิวโอลย่อยอาหารนั้นเป็นที่ทราบกันว่ามีสภาวะเป็นกรด (pH 4.7); คลอโรควินไม่สามารถผ่านไปโดยการแพร่กระจาย คลอโรควินปกคลุมโมเลกุลฮีโมโซอินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตกผลึกทางชีวภาพเพิ่มเติมของฮีม จึงนำไปสู่การสะสมของฮีม คลอโรควินเชื่อมต่อกับฮีม (หรือ FP) เพื่อสร้างเอฟพี-คลอโรควิน คอมเพล็กซ์ (FP-chloroquine complex); คอมเพล็กซ์นี้มีพิษสูงต่อเซลล์และรบกวนการทำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ การกระทำของพิษ FP-chloroquine และ FP ส่งผลให้เซลล์สลายและท้ายที่สุดปรสิตเซลล์กลืนกินตัวเอง (Autodigestion) โดยสาระสำคัญแล้วเซลล์ปรสิตจะจมอยู่ในผลผลิตเมตาบอลิซึมของตัวเอง ทำให้ปรสิตที่ไม่ก่อให้เกิดฮีโมโซอินจึงมีความต้านทานต่อคลอโรควิน

การดื้อยาในโรคมาลาเรีย

ตั้งแต่รายงานฉบับแรกของการดื้อยาคลอโรควินของเชื้อ P. falciparum ในคริสต์ทศวรรษ 1950 สายพันธุ์ดื้อยาได้ปรากฏขึ้นทั่วแอฟริกาตะวันออก และตะวันตก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกาใต้ ประสิทธิภาพของคลอโรควินกับเชื้อ P. falciparum ได้ลดลงเมื่อสายพันธุ์ของปรสิตที่ดื้อต่อยาพัฒนาขึ้น โดยได้ต่อต้านยาอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกลไกที่ระบายคลอโรควินออกจาก แวคิวโอลย่อยอาหาร เซลล์ที่ทนต่อคลอโรควินสามารถขจัดยาออกในอัตรา 40 เท่าของเซลล์ที่ไวต่อคลอโรควิน การกลายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องนั้นตรวจสอบย้อนกลับไปที่โปรตีนทั่วเซลล์เมมเบรนของแวคิวโอลย่อยอาหาร รวมถึงชุดการกลายพันธุ์ที่สำคัญในยีน P. falciparum chloroquine resistance transporter (PfCRT) ที่เป็นโปรตีนกลายพันธุ์ แต่ไม่ใช่ชนิดที่เหนือกว่าของประเภทยีนควบคุมโปรตีนขนส่ง การขนส่งคลอโรควินแสดงออกในเซลล์ไข่ของกบเล็บแอฟริกา (Xenopus oocytes) และได้รับการประมาณว่าคลอโรควิน รั่วไหลออกจากด้านที่กระทำการของแวคิวโอลย่อยอาหารของเซลล์ไข่ ปรสิตที่ดื้อยามักจะมีการกลายพันธุ์ของยีนควบคุมโปรตีนขนส่ง ABC transporter P. falciparum multidrug (PfMDR1) แม้ว่าการกลายพันธุ์เหล่านี้มีจะความสำคัญรองเมื่อเทียบกับยีน PfCRT สำหรับเวราพามิล (Verapamil) ซึ่งเป็น Ca2+ channel blocker ได้รับการค้นพบว่ามีความสามารถคืนค่าในการรักษาความเข้มข้นของคลอโรควินและความไวต่อยานี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการพบว่าการผันแปรในโปรตีนของยีนควบคุมโปรตีนขนส่งคลอโรควินของปรสิต (chloroquine-transporter CG2) นั้นเกี่ยวข้องกับการดื้อยาคลอโรควิน แต่กลไกการดื้อยาอื่น ๆ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน การวิจัยเกี่ยวกับกลไกของคลอโรควินและวิธีที่ปรสิตที่ได้รับคลอโรควินดื้อต่อยา ยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากกลไกการดื้อยาอื่น ๆ นั้นมีความเป็นไปได้

สารอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงต่อต้านการดื้อยาคลอโรควินในมาลาเรียคือ คลอเฟนะมีน (Chlorpheniramine), เกฟิตินิบ (Gefitinib), ไอแมตินิบ (Imatinib), ทาริควิดาร์ (Tariquidar) และ โซซูควิดาร์ (Zosuquidar)

การต้านไวรัส

คลอโรควิน มีฤทธิ์ต้านไวรัส โดยเพิ่มค่า pH ในเส้นทางขนส่ง Late endosomes to lysosomes ทำให้กลไกการปล่อยไวรัสจากเอนโดโซม หรือไลโซโซม ผิดปกติ - การปล่อยของไวรัสต้องมีค่า pH ต่ำ ดังนั้นไวรัสจึงไม่สามารถปล่อยสารพันธุกรรมลงในเซลล์และทำกระบวนการทำซ้ำได้

ดูเหมือนว่าคลอโรควิน จะทำหน้าที่เป็นตัวชักพาอิออนสังกะสี (Zinc ionophore) ซึ่งจะช่วยให้ธาตุสังกะสีภายนอกเซลล์ เข้าสู่เซลล์และยับยั้งเอนไซม์ RNA-dependent RNA polymerase ของไวรัส กลไกการออกฤทธิ์นี้ได้รับการรายงานบางส่วนในสิทธิบัตรที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2553 เกี่ยวกับการใช้การรักษาแบบผสมผสานของยาปฏิชีวนะไตรเมโทพริม (Trimethoprim) และสังกะสีในอัตราส่วนที่กำหนด ซึ่งมีรายงานว่ามีการต่อต้านการติดเชื้อของอาร์เอ็นเอไวรัสทางเดินหายใจ

อื่น ๆ

คลอโรควิน ยับยั้งการดูดซึมวิตามินบี 1 (ไทอามีน) ซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะบนยีนควบคุมโปรตีนขนส่ง SLC19A3

ต่อต้านโรคไขข้อรูมาตอยด์ ทำงานโดยการยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์, เอนไซม์ phospholipase A2, การส่งสัญญาณจากแอนติเจนในเซลล์เดนดริติก, การปลดปล่อยเอนไซม์จากไลโซโซม, การปลดปล่อยอนุมูลออกซิเจนอิสระ (reactive oxygen species) จากเซลล์มาโครฟาจ และผลผลิตของไซโตไคน์ชนิด Interleukin-1 (IL-1)

ประวัติการค้นพบ

ในประเทศเปรู ชาวพื้นเมืองได้สกัดเปลือกของต้นซิงโคนา (Cinchona officinalis) และใช้สารสกัด เพื่อต่อสู้กับอาการหนาวสั่นและเป็นไข้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ด ต่อมาในปี ค.ศ.1633 (พ.ศ. 2175-2176) ยาสมุนไพรนี้ได้รับการแนะนำในยุโรป ซึ่งมีการใช้ในสรรพคุณเดียวกันอย่างแพร่หลายและเริ่มนำมาใช้ในการต่อต้านมาลาเรีย สารควิโนลีน ในยาต้านมาลาเรียควินิน ถูกแยกออกจากสารสกัดในปี ค.ศ.1820 (พ.ศ. 2362-2363) และคลอโรควินเป็นอะนาล็อกของควิโนลีน

คลอโรควิน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2476-2477) โดยฮานส์ อันเดอร์ซัก (Hans Andersag) และเพื่อนร่วมงานในห้องทดลองของไบเออร์ในบริษัทอุตสาหกรรมอิกิ ฟาร์บึน (I.G. Farbenindustrie) ในเมืองเอเบอร์เฟล์ด (Elberfeld) ซึ่งตั้งชื่อว่า "Resochin" ซึ่งถูกเพิกเฉยเป็นเวลากว่าสิบปีเพราะได้รับพิจารณาว่าเป็นพิษต่อมนุษย์มากเกินไป แทนที่จะใช้คลอโรควิน อะนาล็อกของคลอโรควินคือ 3-methyl-chloroquine (Sontochin) ถูกใช้โดยกองทัพน้อยแอฟริกาของเยอรมัน (DAK) หลังจากกองกำลังพันธมิตรมาถึงเมืองตูนิส Sontochin ได้ถูกครอบครองโดยกองทัพสหรัฐ และได้ส่งกลับไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อทำการวิเคราะห์ นำไปสู่การค้นพบคลอโรควินอีกครั้ง [43] [44] การทดลองทางคลินิกที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน สำหรับการพัฒนายาต้านมาลาเรียแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คลอโรควินมีคุณค่าการรักษาที่สำคัญในฐานะยาต้านมาลาเรีย โดยได้ถูกนำเข้าสู่การปฏิบัติทางคลินิกในปี พ.ศ. 2490 สำหรับการรักษาโรคมาลาเรีย

การผลิตและการค้า

แผงยาเม็ดเรโซชิน (Resochin®)

สูตรยา

คลอโรควิน ผลิตเป็นยาเม็ดในรูปแบบเกลือฟอสเฟต, เกลือซัลเฟต และเกลือไฮโดรคลอไรด์ โดยคลอโรควินมักจะถูกจ่ายในรูปแบบเกลือฟอสเฟต

ชื่อทางการค้า

ชื่อทางการค้ารวมถึง Chloroquine FNA, Resochin, Dawaquin และ Lariago

การใช้ในสัตว์

คลอโรควิน ในรูปแบบทางเคมีต่าง ๆ ใช้ในการรักษาและควบคุมการเจริญเติบโตของดอกไม้ทะเลและสาหร่าย และการติดเชื้อโปรโตซัวจำนวนมากในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เช่น การติดเชื้อปรสิต Amyloodinium ocellatum ในปลา

การวิจัย

โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19)

ในช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ในช่วงการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562-2563 นักวิจัยทางการแพทย์ชาวจีนระบุว่า การวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับยาคลอโรควินดูเหมือนว่าจะมี "ผลการยับยั้งที่ค่อนข้างดี" ในโคโรนาไวรัส SARS-CoV-2 และได้ส่งคำขอให้เริ่มใช้การทดสอบทางคลินิก อย่างไรก็ตามควรเกิดขึ้นในการตั้งค่าการทดลองที่ได้รับอนุมัติ หรือภายใต้รายละเอียดที่ระบุไว้โดยแผนปฏิบัติ "การใช้การแทรกแซงการตรวจสอบที่ไม่ลงทะเบียนในงานฉุกเฉินที่มีการติดตาม Monitored Emergency Use of Unregistered and Investigational Interventions (MEURI)" ขององค์การอนามัยโลก

คลอโรควิน ได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของจีน, เกาหลีใต้ และอิตาลี สำหรับการทดลองรักษาโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หน่วยงานเหล่านี้ระบุข้อห้ามสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน ผลเบื้องต้นจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า คลอโรควินมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19), "พบการปรับปรุงที่ดีขึ้นของภาพถ่ายรังสีปอด, การเสริมสร้างการลดจำนวนไวรัส และทำให้ระยะเวลาป่วยสั้นลง"

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 ข่าวของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC) รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากการใช้ผลิตภัณฑ์คลอโรควินเพื่อควบคุมปรสิตของปลาในทางที่ผิด

โรคไวรัสซาร์ส

คลอโรควิน ได้รับการเสนอเพื่อใช้ในการรักษาโรคซาร์สด้วย ในการทดสอบในหลอดทดลองสามารถยับยั้งไวรัส SARS-CoV ในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2547 กลุ่มนักวิจัยที่สถาบันวิจัยการแพทย์ริกา (Rega Institute for Medical Research) ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับคลอโรควิน โดยระบุว่า คลอโรควินทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งที่มีประสิทธิภาพของการจำลองตัวของโคโรนาไวรัสกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) ในหลอดทดลอง

โรคชิคุนกุนยา

คลอโรควิน ได้รับการพิจารณาในปี พ.ศ. 2546 ในแบบจำลองทางคลินิกเบื้องต้นว่าเป็นตัวกระทำที่มีศักยภาพ ในการต่อต้านการติดเชื้อไวรัสโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

อื่น ๆ

คุณสมบัติการเพิ่มความไวของเซลล์เนื้องอกต่อรังสี (radiosensitizing) และต่อเคมีบำบัด (chemosensitizing) ของคลอโรควิน เริ่มถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกลยุทธ์ต่อต้านมะเร็งในมนุษย์ ในวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ คลอโรควินใช้สำหรับการทดลองในหลอดทดลอง เพื่อยับยั้งการย่อยสลายโดยไลโซโซม (Lysosomal degradation) ของผลิตภัณฑ์โปรตีน

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение